หู คือ อวัยวะในการรับฟังเสียง
ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
การเสื่อมของประสาทหูเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย โดยส่วนใหญ่แล้วมักพบในวัยสูงอายุ สำหรับโรคประสาทหูเสื่อม ชนิดเฉียบพลัน หรือ โรคหูดับฉับพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของประสาทหูชั้นใน เกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ระดับการได้ยินลดลงอย่างรวดเร็ว บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเสียงดังในหู (เสียงจั๊กจั่น จิ้งหรีด) หูอื้อ เวียนศีรษะ อาเจียน เสียการทรงตัว เป็นต้น
ประสาทหูเสื่อม ชนิดเฉียบพลัน แบ่งได้ 2 สาเหตุ ดังนี้
แบบไม่ทราบสาเหตุ
- การติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหัดเยอรมัน งูสวัด คางทูม ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ
- การอุดตันของหลอดเลือดที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงหูชั้นใน
- การรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าไปยังหูชั้นกลาง เช่น การสั่งน้ำมูก/ไอ แบบรุนแรง
แบบทราบสาเหตุ
- การบาดเจ็บ เช่น ศีรษะกระแทก การผ่าตัดหู ความดันชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลง
- เนื้องอก
- การติดเชื้อของหูชั้นใน เช่น การอักเสบ
- สารพิษ/พิษจากยา เช่น ยาแอสไพริน ยาขับปัสสาวะ ยาบางชนิดอาจทำให้ประสาทหูเสื่อมอย่างถาวร เช่น ยาต้านจุลชีพกลุ่ม อะมิโนไกลโคไซด์ (สเตรปโตมัยซิน กานามัยซิน เจนตามัยซิน นีโอมัยซิน อะมิกาซิน) อาจเกิดทันทีหลังจากการใช้ยา หรือหลังจากหยุดยาไประยะหนึ่งแล้ว
- โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
ขั้นตอนการรักษาประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน
ในกรณีผู้ป่วยที่ทราบสาเหตุ แพทย์จะทำการรักษาโดยให้ยารักษาตามอาการ และกรณีผู้ป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วใน 2 สัปดาห์แรก หลังจากมีอาการ และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยสามารถกลับมาได้ยินเป็นปกติได้ (ส่วนใหญ่การได้ยินมักจะดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกของการสูญเสียการได้ยิน)
แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยตรวจวัดระดับการได้ยินเป็นระยะๆ เพื่อประเมินผลการรักษา และอาจนัดติดตามผู้ป่วยในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยบางรายไม่ทราบสาเหตุ อาจพบสาเหตุในภายหลังได้
นอกจากนั้นผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น
โดย;-
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดัง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด ควรควบคุมโรคให้ดี
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น แอสไพริน อะมิโนไกลโคไซด์ ควินิน
- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
- ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน) งดสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล
- นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ
ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ และแนวทางการรักษาโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน เราพร้อมให้คำปรึกษา
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai