4 ข้อควรรู้ ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ

วัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสมอง ทุกอย่างจะเริ่มทำงานช้าลงในขณะที่อายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการทำงานของประสาทการรับเสียงที่เริ่มเสื่อมลงด้วยเช่นกัน

 

4 ข้อควรรู้ ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้


1. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ แบบค่อยเป็นค่อยไป

ในวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นการสูญเสียความสามารถทางการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป ของหูทั้งสองข้าง เป็นอาการที่เกิดได้ทั่วไปซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น

และพบประมาณ 30 คน จาก 100 คนในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป บางคนจึงไม่รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงแรก และยังคงได้รับผลกระทบไม่มาก

 

 


 

2.ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบ “มากกว่าที่หู”

ผู้มีอาการประสาทหูเสื่อมตามอายุที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังมีแนวโน้มที่จะมีความรู้สึกหดหู่มากกว่าผู้ที่ประสาทหูเสื่อมที่ใส่เครื่องช่วยฟัง*

เนื่องจากปัญหาการฟังและการสื่อสาร ทำให้อยากแยกตัวเองออกจากคนรอบข้าง ครอบครัว และเพื่อน ส่งผลให้เกิดความหดหู่ เศร้า และรู้สึกโดดเดี่ยว นอกจากนั้นความบกพร่องทางการได้ยินอาจนำไปสู่อันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น ไม่ได้ยินเสียง รถ ที่กำลังวิ่งเข้ามาขณะเดินอยู่บนถนน

 


 

3. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ มักมีปัญหาในการฟังเสียงสูง ได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้

อาการของผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามอายุ โดยทั่วไปรู้สึกว่าได้ยินเสียงคนอื่นพูดพึมพำ มีปัญหาการได้ยินเสียงสูงเช่น เสียงนาฬิกาเดิน มีปัญหาการฟังและความเข้าใจในบทสนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่มีเสียงรบกวนมาก ฟังเสียงผู้ชายง่ายกว่าเสียงผู้หญิง บางเสียงที่รู้สึกว่าดังมากเกินไปและน่ารำคาญ หรือมีเสียงดังในหู

ประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่แล้วจะส่งผลต่อการรับเสียงสูงจึงทำให้รู้สึกว่าได้ยินเสียงแต่จับคำพูดไม่ได้ ดังนั้นเรามักสังเกตว่าผู้สูงอายุยังคงพูดเสมอว่าได้ยินได้เห็นซึ่งจริงๆ แล้วคือการได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้ เนื่องจากเสียงบางเสียงผู้สูงอายุไม่สามารถได้ยิน

 


 

4. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ เสื่อมตามอายุ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ และปัญหาทางด้านสุขภาพ

ประสาทหูเสื่อมตามอายุไม่สามารถป้องกันได้ ไม่สามารถรักษาให้หายได้ สาเหตุของประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในอวัยวะของหูชั้นใน ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ อายุที่มากขึ้น ปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ผลข้างเคียงจากยา เช่น แอสไพริน ยาเคมีบำบัด และยาปฏิชีวนะบางตัว

 


 

สมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้านการได้ยินต้องการเสียงเข้าไปกระตุ้น เพื่อให้คงสมรรถภาพในการทำงานของประสาทการได้ยิน หากไม่มีเสียงเข้าไปกระตุ้น ประสิทธิภาพของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้านการได้ยินจะเสื่อมถอยลง

 

การช่วยเหลือผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามวัยด้วยเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังจะช่วยให้การได้ยินดีขึ้น แม้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีความบกพร่องทางการได้ยินแต่เป็นที่น่าเสียดายว่ายังได้รับการตรวจการได้ยินในอัตราน้อยกว่าที่เป็นอยู่

 

สำหรับผู้สุงอายุที่มีปัญหาได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้ หรือผู้ที่สงสัยว่าจะมีอาการประสาทหูเสื่อม สามารถนัดหมายเข้ารับการตรวจช่องหูเพื่อดูสุขภาพของช่องหู ตรวจสมรรถภาพของหูชั้นกลาง และการตรวจการได้ยินเพื่อให้ทราบความบกพร่องในแต่ละความถี่ โดยนักแก้ไขการได้ยินได้ที่ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ ทุกสาขา

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ยินดีให้บริการ
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
* https://www.nidcd.nih.gov/health/age-related-hearing-loss
** https://www.asha.org/uploadedFiles/AIS-Hearing-Loss-Age-Related.pdf