เมื่อพ่อแม่เริ่ม หูตึง ไม่ได้ยิน ก่อนอื่นเลย เราในฐานะที่เป็นลูกก็อย่าไปหงุดหงิดที่ต้องคอยพูดกับท่านซ้ำหลายครั้งนะครับ เพราะพ่อแม่ของเราก็อาจจะไม่มีความสุขเช่นกัน และสิ่งสำคัญที่ควรรู้ก็คือ อาการหูตึง สามารถทำให้เกิดหลายปัญหาตามมา เช่น
- ความไม่มั่นใจในการพูดคุย
- ปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
- สมองทำงานหนักในการพยายามฟัง
- อาจส่งผลต่อสมองเสื่อมในอนาคต
เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการพาพ่อแม่ท่านไปตรวจการได้ยิน และเลือกใส่เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับการได้ยินของท่านได้ แต่ก็มีลูกๆ หลายท่านมาปรึกษาว่าไม่รู้จะพูดกับพ่อแม่ท่านยังไง เพื่อให้ท่านยอมรับเรื่องปัญหาหูตึง และยอมมาตรวจการได้ยินพร้อมกับใส่เครื่องช่วยฟัง วันนี้เราเลยมีคำแนะนำเบื้องต้น เพื่อให้เอาไปพูดคุยกับท่านได้ง่ายขึ้นครับ
7 คำแนะนำ เมื่อพ่อแม่เริ่มหูตึง ไม่ได้ยิน
1. ทำการบ้านล่วงหน้า
ค้นคว้าและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาการหูตึงและเครื่องช่วยฟังแบบต่างๆ เพื่อที่เวลาพูดคุยกับพ่อแม่ จะได้ตอบคำถามที่พวกท่านสงสัยได้อย่างมั่นใจ การที่พ่อแม่รู้ว่าลูกมีข้อมูลที่เตรียมพร้อม จะทำให้ท่านเปิดใจรับฟังมากขึ้น
หรือว่างๆ ก็เข้ามาเยี่ยมชมศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หรือเข้าไปอ่าน บทความเกี่ยวกับการได้ยิน
2. กาลเทศะ
ถ้าพ่อแม่กำลังเครียดหรือไม่สบายใจเรื่องอื่นอยู่ ก็อย่าเพิ่งใจร้อนคุยเรื่องหูตึงหรือเรื่องการใส่เครื่องช่วยฟัง ลองรอคุยในช่วงที่พวกท่านกำลังมีความสุข ปิดทีวีและเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเพื่อกันการรบกวนขณะพูดคุย
3. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ให้ลองนึกภาพตามนะ อีกไม่กี่ปีคุณก็จะแก่ตัวลง และอาจมีปัญหาการได้ยินจนพูดคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง ถึงตอนนั้นคุณก็คงจะหงุดหงิดง่าย ไม่ค่อยมีความสุขใช่ไหมครับ?
พ่อแม่คุณก็เหมือนกัน เวลาคุณคุยกับพวกท่าน ให้ใจเย็นๆ และเข้าใจว่าท่านอาจจะกำลังไม่มีความสุข จึงหงุดหงิดง่าย เราในฐานะที่เป็นลูกจึงควรแสดงความห่วงใย รับรองท่านจะสัมผัสถึงความรัก และยอมฟังคำแนะนำจากคุณเอง
4. พูดถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
อย่ามัวแต่พูดคุยเกี่ยวกับหูตึง หูตึง และหูตึง เพราะอาจทำให้พ่อแม่เครียดและไม่อยากฟัง แต่ให้พูดคุยกับพวกท่านถึงผลกระทบต่างๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ลองแสดงให้พวกท่านเห็นว่าคุณรู้สึกเสียใจแค่ไหนที่เห็นพ่อแม่ไม่มีความสุขในการพูดคุย หรือบางกิจกรรมที่เคยชอบเช่นการดูทีวี ท่านก็ไม่สามารถฟังได้อย่างมีความสุขเหมือนเคย
การบอกพ่อแม่ไปด้วยความเป็นห่วง ว่าเราไม่อยากให้ท่านเหนื่อยกับการพยายามฟัง จะทำให้ท่านเปิดใจและเห็นผลกระทบของอาการหูตึงต่อคุณภาพชีวิตได้
5. เป็นทั้งลูกและเพื่อน
เชื่อไหมครับ พอพ่อแม่แก่ตัวลง ท่านก็อยากมีเพื่อนไปไหนมาไหนด้วย ยิ่งพอเจอกับปัญหาหูตึงและต้องหาเครื่องช่วยฟังใส่ พวกท่านจะยิ่งเครียดว่าจะไปขอคำแนะนำจากที่ไหนดี ตอนนี้แล่ะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่คุณควรจะทำตัวให้ว่างคอยพาท่านไปคุยกับคุณหมอ หรือคุยกับนักแก้ไขการได้ยิน ข้อมูลใหม่ๆ บางอย่างอาจจะยากเกินไปที่ท่านจะเข้าใจ แต่ถ้ามีลูกที่พร้อมเป็นเพื่อน ไปร่วมฟังและช่วยอธิบายให้ท่านเข้าใจมากขึ้น คุณคิดว่าพ่อแม่จะอุ่นใจขนาดไหนครับ?
6. พ่อแม่ไม่ต้อง ลูกจ่ายเอง
เชื่อไหมครับ คนไข้หลายรายที่มาที่ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ ตอนแรกที่ลองใส่เครื่องช่วยฟังแล้วชอบมาก บางรายถึงขั้นหัวเราะด้วยความสุขว่าได้ยินชัดเหมือนเดิมแล้ว แต่พอรู้ราคาเครื่องช่วยฟังเท่านั้นแล่ะ ก็สีหน้าเปลี่ยนไป เพราะกลัวจะสิ้นเปลือง โดยลืมคิดไปว่าการลงทุนเพื่อสุขภาพเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด
เราในฐานะเป็นลูก ให้ลองมองย้อนไปในอดีต ว่าตอนเราเป็นเด็ก ท่านเคยตามใจเรามากขนาดไหน? หมดเงินไปกับเราเท่าไหร่? แล้วตอนนี้แค่เครื่องช่วยฟัง 1-2 เครื่อง เราจะซื้อให้ท่านไม่ได้เชียวเหรอ? ลองเสนอตัวว่าคุณจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ท่านดูสิครับ นอกจากจะทำให้พ่อแม่มีความสุข แต่ก็จะทำให้คุณมีความสุขที่ได้ตอบแทนท่านเช่นกัน
7. เป็นพยาบาลส่วนตัว
ถ้าพ่อแม่ยอมมาตรวจการได้ยินและใส่เครื่องช่วยฟัง เราขอแสดงความยินดีกับคุณด้วยนะครับ แต่นั่นเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นพวกท่านจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เคยชินกับการใส่เครื่องช่วยฟัง
ไม่ว่าจะเป็นการได้ยินเสียงดังอีกครั้งหลังจากไม่ได้ยินมานาน การเก็บรักษาเครื่องช่วยฟัง การนัดหมายเพื่อเจอกับนักแก้ไขการได้ยินอย่างสม่ำเสมอ หลายอย่างเหล่านี้อาจทำให้พ่อแม่เครียด บางรายรู้สึกหงุดหงิดจนถึงขนาดไม่ยอมใส่เครื่องช่วยฟัง เราจึงควรทำหน้าที่เป็นพยาบาลส่วนตัวที่ให้คำแนะนำด้วยความใจเย็น เพียงเท่านี้คงไม่หนักหนาเกินไปที่จะทำให้พ่อแม่ใช่ไหมครับ?
ลองเอาคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้ในการพูดคุยกับพ่อแม่ เรามั่นใจว่าจะทำให้พวกท่านเปิดใจกับคุณมากขึ้น
เราพร้อมให้คำปรึกษา ปัญหาการได้ยิน
ศูนย์สุขภาพการได้ยิน อินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
.
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ http://www.healthyhearing.com/report/33206-How-to-tell-your-parents-they-need-hearing-aids