เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบในช่องหู

 

      หูเริ่มไม่ได้ยิน หรือหูตึง ผู้คนส่วนใหญ่มักมองหาเครื่องช่วยฟังที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากรู้สึกอาย ไม่มั่นใจ ไม่อยากให้คนอื่นเห็น และในปัจจุบันเครื่องช่วยฟังขนาดเล็กมีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ หลากหลายขนาด ทั้งนี้แล้วการเลือกเครื่องช่วยฟังขนาดเล็กควรดูกำลังขยายของเครื่อง ว่าเหมาะสมกับระดับการได้ยินของตัวคุณเองหรือไม่

 

เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก

มีรูปแบบเครื่องเป็นอย่างไร เหมาะกับระดับการได้ยินแบบไหนบ้าง

 

CIC Model

เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบในช่องหู CIC

    เมื่อพูดถึงเครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก เรามักจะนึกถึงเครื่องช่วยฟังที่ใส่เข้าไปในช่องหู เนื่องจากเครื่องมีขนาดเล็กใส่แล้วไม่มีใครมองเห็น และเครื่องช่วยฟังแบบในช่องหูนี้ มีด้วยกันทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่

           Invisible in the canal (IIC)

           Completely in the canal (CIC)

           In the canal (ITC)

           In the ear (ITE)

 

      เครื่องช่วยฟังขนาดเล็ก แบบในช่องหู ถูกออกแบบให้มีหลากหลายขนาด หลากหลายรูปแบบ เพื่อรองรับระดับการได้ยินและไลฟ์สไตล์ของผู้สวมใส่

 

4 รูปแบบ เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก

แบบในช่องหู


      เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบในช่องหู มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ขนาด คุณสมบัติเครื่อง และกำลังขยายในการรองรับระดับการสูญเสียการได้ยิน เป็นต้น

เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก ในช่องหู

▪ Invisible in the canal (IIC)

      เครื่องช่วยฟังแบบในช่องหู IIC เล็กที่สุดในบรรดาเครื่องช่วยฟังรูปแบบทั้งหมด เหมาะสำหรับผู้ที่หูตึงเล็กน้อยถึงหูตึงปานกลาง หรืออยู่ในเกณฑ์การสูญเสียการได้ยินในระดับ 26 – 55 เดซิเบล (Mild – Moderate Hearing loss)

ข้อดี : เครื่องขนาดเล็กกะทัดรัด ซ่อนอยู่ในรูหู น้ำหนักเบา ไม่มีสายเกะกะ ใช้งานคล่องตัว

ข้อเสีย : ไม่มีปุ่มสำหรับการเพิ่ม-ลดเสียง หรือปุ่มเปลี่ยนโปรแกรม กำลังขยายจำกัด การหยิบจับใช้งานอาจไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

 

▪ Completely in the canal (CIC)

เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบในช่องหู CIC

เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบในช่องหู ITC

      เครื่องช่วยฟัง แบบในช่องหู CIC เหมาะสำหรับผู้ที่หูตึงเล็กน้อยถึงหูตึงปานกลาง หรืออยู่ในเกณฑ์การสูญเสียการได้ยินในระดับ 26 – 55 เดซิเบล (Mild – Moderate Hearing loss)

ข้อดี : เครื่องมีขนาดเล็ก ซ่อนอยู่ในรูหู น้ำหนักเบา ไม่มีสายเกะกะ ใช้งานคล่องตัว

ข้อเสีย : ปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง และปุ่มเปลี่ยนโปรแกรม สามารถเพิ่มได้เฉพาะในบางรุ่น ฟังก์ชันการทำงานมีน้อย การหยิบจับใช้งานอาจไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

 

▪ In the canal (ITC)

เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบในช่องหู ITC

เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบในช่องหู ITC

      เครื่องช่วยฟัง แบบในช่องหู ITC เหมาะสำหรับผู้ที่หูตึงเล็กน้อยถึงหูตึงมาก หรืออยู่ในเกณฑ์การสูญเสียการได้ยินในระดับ 26 – 70 เดซิเบล (Mild – Moderately Severe Hearing loss)

ข้อดี : เครื่องมีขนาดเล็ก อยู่ในช่องหู ใช้งานคล่องตัว สามารถเพิ่มปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง และปุ่มเปลี่ยนโปรแกรม เชื่อมต่ออุปกรณ์แบบไร้สายได้ในบางรุ่น ฟังก์ชันการทำงานและการใช้งานสอบถามผู้จำหน่ายเพิ่มเติม

ข้อเสีย : เครื่องมีขนาดใหญ่กว่า IIC และ CIC มองเห็นได้ในบางส่วน

 

▪ In the ear (ITE) ; In the ear full shell (ITE FS), In the ear half shell (ITE HS)

ITE_FS

เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบในช่องหู ITE FS

      เครื่องช่วยฟัง แบบในช่องหู ITE เหมาะสำหรับผู้ที่หูตึงเล็กน้อยถึงหูตึงรุนแรง หรืออยู่ในเกณฑ์การสูญเสียการได้ยินในระดับ 26 – 90 เดซิเบล (Mild – Severe Hearing loss)

ข้อดี : เครื่องใส่ในช่องหู ใช้งานคล่องตัว มีปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง และปุ่มเปลี่ยนโปรแกรม เชื่อมต่ออุปกรณ์แบบไร้สายได้ในบางรุ่น ฟังก์ชันการทำงานมีให้เลือกหลากหลาย สอบถามผู้จำหน่ายเพิ่มเติม

ข้อเสีย : เครื่องมีขนาดค่อนข้างใหญ่ มองเห็นได้

 

 

การเลือกเครื่องช่วยฟังขนาดเล็ก แบบในช่องหู ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน หรือทุกคนจะใส่เครื่องขนาดเล็กๆ ได้ เนื่องจากเครื่องช่วยฟังแบบในช่องหูมีข้อจำกัด เช่น กำลังขยายเครื่อง ลักษณะช่องหู เป็นต้น

 

 

ประเภทเครื่องช่วยฟังดิจิตอล

เครื่องช่วยฟัง รูปแบบอื่นๆ

 

ปรึกษาระดับการได้ยิน และการเลือกเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

 


ขอขอบคุณข้อมูล : bernafon