เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยแบตเตอรี่ ซึ่งปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีให้เลือกใช้งานอยู่ 2 แบบ คือ แบบทำงานด้วยแบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้ง และแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟ โดยบทความนี้จะพาท่านไปทำความรู้จักกับแบตเตอรี่ชนิดใช้แล้วทิ้งว่ามีการทำงานอย่างไร
แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังในปัจจุบันเป็นแบตเตอรี่ชนิด Zinc Air
โดยตัวของแบตเตอรี่เองจะสร้างประจุไฟจากออกซิเจนในอากาศหลังจากมีการดึงสติ๊กเกอร์จากแบตเตอรี่ออก
ดังนั้นเมื่อดึงสติ๊กเกอร์ออกแล้ว ควรวางแบตเตอรี่ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 นาที เพื่อให้อากาศเข้าไปทำปฏิกิริยากับสังกะสีที่อยู่ภายในก้อนแบตเตอรี่ให้เกิดการสร้างประจุไฟขึ้น แล้วจึงนำแบตเตอรี่ใส่เข้ากับเครื่องช่วยฟัง
สังกะสีในแบตเตอรี่เป็นสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ และให้กระแสไฟที่สม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการใช้งานในกำลังไฟขนาด 1.4 โวลต์
แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง มีทั้งหมด 4 ขนาด ดังนี้
เบอร์ |
สี | ขนาด (มิลลิเมตร) | ประเภทเครื่องช่วยฟัง |
อายุการใช้งานเฉลี่ย (วัน) |
A 10 |
เหลือง |
5.8 x 3.6 |
แบบในช่องหู (ITE) |
3 – 7 |
A 312 |
น้ำตาล |
7.9 x 3.6 |
แบบลำโพงในช่องหู (MiniRITE, ITC) |
3 – 10 |
A 13 |
ส้ม |
7.9 x 5.4 |
แบบทัดหลังหูและในช่องหู (BTE, ITE) |
6 – 14 |
A 675 |
ฟ้า |
11.6 x 5.4 |
แบบทัดหลังหูกำลังขยายสูง (PowerBTE) |
9 – 20 |
หมายเหตุ ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังสามารถเลือกซื้อแบตเตอรี่ได้ง่าย โดยวิธีการดูจาก “เบอร์ หรือ สีสติ๊กเกอร์” ของแบตเตอรี่ที่ใช้อยู่ (แบตเตอรี่ชนิดนี้ไม่สามารถชาร์จไฟ หรือนำกลับมาใช้ซ้ำได้)
อายุการใช้งานเฉลี่ยของแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง ขึ้นอยู่กับชั่วโมงในการสวมใส่ ขนาดของแบตเตอรี่และกำลังไฟที่เครื่องช่วยฟังต้องการ โดยทั่วไปแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังขนาดเล็กจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าแบตเตอรี่ขนาดใหญ่
หากประสบปัญหาอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่สั้นลง ในกรณีนี้ควรอ่านคู่มือการใช้งานหรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างทำงานได้อย่างถูกต้อง
สอบถามแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเพิ่มเติม ได้ที่
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai