ไข้หวัดใหญ่กับผู้สูงอายุ

 

หวัดเป็นโรคที่สามารถเป็นกันได้ทุกฤดู โดยเฉพาะในฤดูฝนและฤดูหนาวที่มีอากาศค่อนข้างเย็น การรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่ตลอดเวลาจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหวัดได้

 

        คนทั่วไปมักชินกับการเป็นหวัดและคิดว่าอาการไม่รุนแรง กินยานอนพักเดี๋ยวก็หาย จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญสักเท่าไหร่นัก แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วนั้น หวัดอาจไม่ใช่เพียงโรคธรรมดาอย่างที่คุณคิดก็ได้

 

หวัด ไข้หวัดใหญ่

        คนเป็นหวัด โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ หากเกิดกับคนทั่วไปที่มีอายุยังไม่มากนัก นอกจากจะมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นแล้วจำเป็นต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายวัน ไม่สามารถทำกิจกรรมชีวิตได้ตามปกติ

        แต่ทว่าไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดกับผู้สูงอายุ ก็จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ซึ่งโรคแทรกซ้อนเหล่านี้น่ากลัวกว่าไข้หวัดใหญ่เองเสียอีก

 

โรคแทรกซ้อนหลังเป็นหวัด อันตรายสำหรับผู้สูงอายุ


       ในทางการแพทย์ถือว่ากลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออันตรายจากโรคหวัด นอกจากผู้สูงอายุแล้วยังมีเด็กเล็กๆ และผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ที่มีความเสี่ยงเช่นกัน กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนไปยังระบบอื่นๆ ในร่างกายได้ง่ายเมื่อเกิดเป็นหวัดที่รุนแรง เช่น

 

– ระบบหัวใจ : เยื่อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คนที่เป็นจะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะหากผู้สูงอายุท่านเป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็มีโอกาสที่โรคจะทรุดหนัก อาจเกิดอาการหัวใจวายได้

 

– ระบบประสาท : สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คนที่เป็นจะมีอาการปวดศีรษะมาก ง่วงซึม ไปจนถึงขั้นหมดสติ

 

– ระบบหายใจ : หลอดลมอักเสบ ปอดบวม เกิดฝีในปอด หรือเกิดหนองในเยื่อหุ้มปอด อาการแสดงคือ จะรู้สึกว่าแน่นหน้าอกและเหนื่อยหอบ

 

– เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่อวัยวะอื่นๆ : เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางหรือหูชั้นในอักเสบ บางรายมีอาการหูอื้อ ปวดหู หรือมีเสียงดังในหู

 

       จากโรคแทรกซ้อนดังกล่าว พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มที่ได้รับอันตรายจนถึงกับเสียชีวิต คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากปอดบวม โรคหัวใจ หรือโรคประจำตัวที่เป็นอยู่

 

 

ไข้หวัดใหญ่ เมื่อเป็นแล้วอาการจะรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza ที่พบได้ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ติดเชื้อ หากร่างกายอ่อนแอสัมผัสกับสิ่งของหรือบริเวณที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็จะรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ดังนั้น การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ได้

 

 

old-asian-vaccinated

      แพทย์แนะนำกลุ่มที่ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่ ได้แก่

” ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป คนที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเป็นโลหิตจางอย่างรุนแรง คนที่เข้ามารับการรักษาโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลเป็นเวลานานๆ “

 

 

ขอขอบคุณข้อมูล : สาระสุขภาพ พิมพ์ครั้งที่ 3, โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม

 

ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยิน หากท่านรู้สึกว่าการได้ยินลดลง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  Facebook button  Line button