การพูดคุยสื่อสารกับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง คู่สนทนาควรทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ใส่เครื่องช่วยฟังคือ ผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน การใส่เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินนั้นกลับมาได้ยินอีกครั้ง ซึ่งการได้ยินจะชัดเจนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของประสาทหูที่คงเหลืออยู่
นอกจากการได้ยินแล้วผู้ใส่เครื่องช่วยฟังยังมีเรื่องของการแปลความหมาย การจับคำพูดที่มักเป็นอุปสรรค ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังจะเข้าใจในเรื่องที่สนทนาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์การแปลความหมายของคำพูดด้วยเช่นกัน
การพูดคุยสื่อสารกับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง
คู่สนทนา ควรปฏิบัติด้วยความเข้าใจ 4 วิธี ดังนี้
1. พูดใกล้ๆ ช้าลงเล็กน้อย ระดับความดังปกติ
คู่สนทนาจะต้องสนทนาใกล้ๆ และสนทนาในหูข้างที่เปอร์เซ็นต์การได้ยินคงเหลือมากที่สุด สนทนาช้าๆ ชัดๆ ในระดับความดังปกติ ไม่จำเป็นต้องสนทนาเสียงดัง หรือตะโกน
2. พูดต่อหน้า เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินมองเห็นหน้า และเห็นรูปปากชัดเจน
คู่สนทนาจำเป็นต้องสนทนาให้เห็นหน้า เนื่องจากผู้ใส่เครื่องช่วยฟังบางรายมีเปอร์เซ็นต์การแปลความหมายของคำพูดเหลือน้อย อาจจะต้องใช้การมองรูปปากร่วมกับการฟังด้วย
3. การใช้ท่าทางประกอบการสนทนา
กรณีที่มีการสูญเสียการได้ยินค่อนข้างมากไม่สามารถรับรู้ได้จากการฟังเพียงอย่างเดียว คู่สนทนาอาจจะต้องมีท่าทางประกอบ เช่น ทานข้าว ดื่มน้ำ ฯลฯ
4. การฝึกการฟัง
ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังควรฝึกการฟังในสถานการณ์ต่างๆ โดยเริ่มจากการพูดคุย แบบ 1 ต่อ 1 ในห้องเงียบ หลังจากนั้นค่อยๆ เพิ่มความยากขึ้นโดยพูดคุยในที่ที่มีเสียงรบกวน และพูดคุย 2 – 3 คน ตามลำดับ
หูตึง หรือประสาทหูเสื่อม อาการมักจะค่อยๆ เริ่มเสื่อมตามอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นลักษณะเสื่อมแบบถาวร การคงสภาพประสาทหูที่เหลืออยู่ให้ใช้งานได้หรือเสื่อมช้าลง ด้วยการเลือกใส่เครื่องช่วยฟัง
สอบถามข้อมูลการเลือกเครื่องช่วยฟังเพิ่มเติม ได้ที่
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai