หูตึง ป้องกัน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง หูฟัง หูหนวก หูดับ เครื่องช่วยฟัง

 

แท้จริงแล้ว ปัญหาการได้ยินหรืออาการหูตึง เราไม่สามารถป้องกันได้ 100% และจะพบว่าในบางรายมีสาเหตุเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย เช่น วัยชราหรือวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นการเสื่อมที่ไม่สามารถป้องกันได้

 

แต่หากมาจากสาเหตุของการที่ต้องเจอ หรือสัมผัสกับเสียงดังเป็นเวลานานๆ และบ่อยครั้ง เราสามารถป้องกันได้ ดังนี้

 

5 วิธีป้องกันหูตึง ดังต่อไปนี้


 

1.  หลีกเลี่ยงเสียงดัง ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ สถานที่ไหนที่ต้องเผชิญกับเสียงดัง ก็ควรออกห่าง หลีกเลี่ยง หรือหาอุปกรณ์ป้องกัน เพราะไม่คุ้มเลยกับการที่เราจะมีปัญหาการได้ยินในอนาคต

 

แล้วจะสังเกตได้อย่างไร ว่าเสียงดังเกินไป?

  • คุณต้องพูดเสียงดังกว่าเดิม เพื่อให้คู่สนทนาเข้าใจ
  • คุณไม่ค่อยเข้าใจว่าอีกฝ่ายกำลังพูดอะไร
  • คุณรู้สึกปวดหู
  • มีอาการหูอื้อ หรือได้ยินเสียงอู้อี้

 

        ระดับความดังของเสียง จะถูกวัดออกมาเป็นค่าเดซิเบล (dB) ยิ่งเสียงดังมาก ค่าเดซิเบลยิ่งสูง เสียงที่ดังมากกว่า 85 เดซิเบลเป็นค่าที่สูงจนเสียงมีผลต่อการทำลายการได้ยิน จึงไม่ควรอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นเวลานานๆ

 

ตัวอย่างระดับความดังของเสียง

  • เสียงกระซิบ – 30 เดซิเบล
  • เสียงพูดคุยทั่วไป – 60 เดซิเบล
  • เสียงการจราจรคับคั่ง – 70 ถึง 85 เดซิเบล
  • เสียงรถจักรยานยนต์ – 90 เดซิเบล
  • เสียงเพลงผ่านหูฟังในระดับสูงที่สุด – 100 ถึง 110 เดซิเบล
  • เสียงเครื่องบินกำลังขึ้น – 120 เดซิเบล

หรือคุณอาจลองใช้แอพในมือถือ ที่สามารถวัดระดับความดังของเสียง เพื่อเลี่ยงอยู่ในพื้นที่ที่ดังเกิน 85 เดซิเบลได้

 

2. ฟังเพลงแต่พอดี การฟังเพลงผ่านหูฟังถือว่าเป็นอันตรายต่อหูเป็นอย่างมาก จึงควรระมัดระวังในการฟัง ดังนี้

  • ฟังในระดับความดังที่พอดี ไม่ดังจนเกินไป ซึ่งปกติแล้วไม่ควรเกิน 60% ของความดังสูงสุด
  • ไม่ควรใช้หูฟังนานเกิน 1 ชั่วโมง หากจะใช้นานๆ ควรพักหูประมาณ 5 นาทีก่อนใช้ใหม่

แค่ลดระดับเสียงลดนิดหน่อย ก็ช่วยรักษาการได้ยินของคุณได้นานขึ้นได้

 

3. ป้องกันเวลาไปงานอีเวนท์ หากมีความจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมหรือออกงานอีเวนท์ที่มีเสียงดัง เช่น คอนเสิร์ต สนามกีฬา ที่เที่ยวกลางคืน ควรป้องกันดังนี้

  • อยู่ห่างจากจุดที่มีเสียงดัง เช่น ลำโพงขยายเสียง
  • พยายามพักหู โดยการออกห่างจุดที่มีเสียงดัง ทุก 15 นาที
  • หลังจากกลับจากงานที่มีเสียงดัง ควรพักผ่อนอย่างเงียบๆ ประมาณ 18 ชั่วโมง
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน เช่น Earplug

 

4. ทำงานอย่างระมัดระวัง หากคุณต้องทำงานในที่ที่มีเสียงดังตลอดเวลา ควรคุยกับหัวหน้างานว่าจะมีผลต่อการได้ยินในอนาคต จึงควรให้ที่ทำงานช่วยป้องกันดังนี้

  • หากเป็นไปได้ ควรปรับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีเสียงดังลดน้อยลง
  • ไม่ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังติดต่อกันหลายชั่วโมงต่อวัน
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน เช่น Earplug

 

5. ตรวจการได้ยินสม่ำเสมอ โดยปกติแล้วควรตรวจการได้ยินทุกปี หรือหากรู้สึกว่ากำลังมีปัญหาการได้ยินก็ยิ่งรีบมาตรวจการได้ยินให้เร็วที่สุด  นักแก้ไขการได้ยินหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้ให้คำแนะนำอย่างถูกต้องให้กับคุณ

 

แค่ 5 ข้อง่ายๆ แค่นี้ ก็ช่วยรักษาการได้ยินให้อยู่กับคุณไปนานๆ ได้

 

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai