Entries by intimex

วิธีเตรียมตัวต้อนรับเทศกาล สงกรานต์ ๒๕๖๘ สำหรับผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง

ม่วนอกม่วนใจ๋ กับป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง

เตรียมตัว ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๘

       เมษายน ประเทศไทยอยู่ในฤดูร้อน สภาพอากาศทางตอนบนมีอากาศที่ร้อนอบอ้าว นอกจากนี้ยังเป็นเดือนแห่งเทศกาลสงกรานต์หรือที่เรียกว่า ปีใหม่ไทย ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งการเล่นสาดน้ำ และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงนี้ สำหรับผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยให้คุณสามารถสนุกสนานกับเทศกาลได้อย่างปลอดภัยและได้ยินอย่างต่อเนื่อง

สงกรานต์ ก่อเจดีย์ทราย

ประเพณีสงกรานต์
หรือ ปีใหม่ไทย

       เทศกาลสงกรานต์ของชาวล้านนา ภาคเหนือ หรือที่เรียกว่า ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง เทศกาลของการเล่นสาดน้ำ ขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทราย สรงน้ำพระ ปักตุง ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัว และกิจกรรมขบวนแห่ต่างๆ ตามแต่ละพื้นที่ของภาคเหนือ ถือเป็นเทศกาลแห่งการพบปะกันอย่างพร้อมหน้าและใช้เวลากับครอบครัว ญาติพี่น้อง

       สำหรับผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ในช่วงเทศกาลนี้

ข้อควรระวัง ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์


       สิ่งที่ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังควรระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงสงกรานต์ ได้แก่ น้ำสกปรก น้ำสี น้ำอบน้ำปรุง แป้ง และดินสอพอง

สงกรานต์ ปะแป้ง ดินสอพอง

       น้ำ ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่น้ำสกปรกและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ยังสามารถสร้างการอุดตันหรือเกาะติดแผงวงจรภายในเครื่องช่วยฟังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหาย และทำให้เครื่องทำงานผิดปกติ เช่น อาการช็อต ติดๆ ดับๆ หรือเครื่องเงียบ เป็นต้น

Warning

” ไม่แนะนำผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง ใส่เครื่องช่วยฟังเล่นน้ำสงกรานต์ ” และ

” ไม่แนะนำให้ใส่ในซองกันน้ำโดยตรง เนื่องจากซองกันน้ำมีละอองน้ำและไอน้ำ”

วิธีการเตรียมตัว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

สำหรับผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง แต่ละช่วงวัย

สงกรานต์ วัยเด็ก

วัยเด็ก : สำหรับเด็กที่ใช้เครื่องช่วยฟัง ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด และอาจพิจารณาถอดเครื่องช่วยฟังออกในขณะที่เล่นน้ำ แต่ต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัยและแห้ง

วัยรุ่น : วัยรุ่นควรระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากมักจะมีกิจกรรมสนุกสนานมากมาย ควรถอดเครื่องช่วยฟังออก เก็บไว้ที่ปลอดภัยและแห้ง

* กรณีพกเครื่องช่วยฟังติดตัว ควรเก็บเครื่องช่วยฟังไว้ในถุงซิปล็อคซองยา หรือกล่องกันน้ำ ก่อนใส่ไว้ในซองกันน้ำ

วัยทำงาน : ผู้ใหญ่วัยทำงานควรวางแผนการใช้งานเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำในช่วงสงกรานต์ และเตรียมอุปกรณ์ป้องกันน้ำให้พร้อม

ผู้สูงอายุ เล่นสงกรานต์

วัยผู้สูงอายุ : สำหรับผู้สูงอายุ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในการรดน้ำสงกรานต์ บอกกล่าวกับลูกหลานว่าท่านใส่เครื่องช่วยฟัง ควรรดน้ำเบาๆ ตั้งแต่ช่วงไหล่ลงมา

สงกรานต์ อุปกรณ์กันน้ำ เครื่องช่วยฟัง

       ตรวจเช็คอุปกรณ์กันน้ำ มีความสมบูรณ์และพร้อมใช้งาน เช่น ถุงซิปล็อคซองยาปิดสนิททุกครั้ง ไม่ฉีกขาด กล่องเก็บเครื่องช่วยฟังกันน้ำขนาดเล็กแบบพกพาปิดสนิท ซองกันน้ำไม่มีรูรั่ว หรือรอยฉีกขาด และเมื่อต้องใช้งานเครื่องช่วยฟัง ให้เลือกใช้ในพื้นที่ปลอดภัยจากน้ำ มือและผมต้องแห้งก่อนสัมผัสหรือหยิบจับ

     *หลังจากเลิกใช้งาน ต้องเก็บไว้ในกระปุกบรรจุสารดูดความชื้น และปิดฝาให้สนิท

       เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการรวมตัวของครอบครัว การเข้าใจถึงความเสี่ยงและวิธีการป้องกันที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานเครื่องช่วยฟังแต่ละช่วงวัยจะช่วยให้ทุกคนในครอบครัวสามารถร่วมสนุกได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ

สงกรานต์ รดน้ำดำหัว

     สุดท้ายนี้ อย่าลืมว่าความสนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเล่นน้ำเท่านั้น การทำบุญ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และการใช้เวลาร่วมกับครอบครัวก็เป็นส่วนสำคัญของเทศกาลนี้เช่นกัน ดังนั้น แม้จะต้องระมัดระวังในการใช้งานเครื่องช่วยฟัง คุณก็ยังสามารถเพลิดเพลินกับกิจกรรมอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับความสุขและได้ยินอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้

แล้วพบกัน…วันที่ 18 เมษายน 2568

ระหว่างช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ท่านสามารถฝากข้อความผ่านช่องทาง
Line Official : @hearingchiangmai

logo intimex อินทิเม็กซ์

 

อินทิเม็กซ์ บริการตรวจการได้ยิน จำหน่ายเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง ออกแบบการได้ยินตามไลฟ์สไตล์บุคคล ดูแลสุขภาพการได้ยินแบบองค์รวม ตลอดการเดินทางสู่การได้ยินดี เพราะเราเชื่อว่า…

 

 

“คุณภาพของการได้ยินที่ดี คือ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

สภาพแวดล้อมที่แตกต่าง กับการเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม

สภาพแวดล้อม เป็นตัวช่วยสำคัญในการเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมสำหรับผู้มีปัญหาการได้ยิน เรียนรู้วิธีเลือกเครื่องช่วยฟัง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ

หูไม่ค่อยได้ยิน สูญเสียสมดุลการทำงาน และสมดุลการใช้ชีวิต

หูไม่ค่อยได้ยิน ในวัยทำงาน อาจเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงและความก้าวหน้าในอาชีพ เรียนรู้วิธีรักษาสมดุล Work-life balance แม้หูไม่ได้ยิน พร้อมเคล็ดลับการจัดการปัญหาการได้ยิน

ซึมเศร้า ความเสี่ยงในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน

ซึมเศร้า ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินที่ไม่ได้รับการรักษา ปัญหาทางอ้อมที่ไม่ควรมองข้าม เรียนรู้วิธีป้องกันและรับมือเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในวัยผู้สูงอายุ

ซ่อมเครื่องช่วยฟัง ข้อจำกัดที่ควรรู้ เมื่อเครื่องช่วยฟังเงียบ

ซ่อมเครื่องช่วยฟัง ข้อจำกัดที่ควรรู้ ค้นพบวิธีแก้ปัญหาการได้ยินและเครื่องช่วยฟังกับศูนย์อินทิเม็กซ์ บริการครบวงจรตั้งแต่การตรวจ การเลือกเครื่องช่วยฟัง และดูแลตลอดอายุการใช้งาน

เครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ชื่นชอบนั่งร้านกาแฟ

เพลิดเพลินกับกาแฟถ้วยโปรด และประสบการณ์ภายในร้านกาแฟ

เครื่องช่วยฟัง ไลฟ์สไตล์ร้านกาแฟ

       ร้านกาแฟในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับดื่มกาแฟเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมทางสังคมที่หลากหลาย คอมมิวนิตี้เล็กๆ ในการแลกเปลี่ยนความคิด แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน สำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน การเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถเพลิดเพลินกับบรรยากาศและประสบการณ์ในร้านกาแฟได้อย่างเต็มที่

Community Coffee shop

Community สังคมผู้ชื่นชอบนั่งร้านกาแฟ

        ร้านกาแฟได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ

        ¹Euromonitor International บริษัทสำรวจข้อมูลทางการตลาดระดับโลก รายงานมูลค่าตลาดกาแฟไทย ในปี 2567 พบว่ากาแฟเป็นสินค้าที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้านการบริโภคกาแฟก็เพิ่มขึ้นทุกปี จาก 30,000 ตัน เป็น 90,000 ตันต่อปี ภายในระยะเวลา 10 ปี เฉลี่ยวันละ 1.5 แก้วต่อวัน และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นของร้านกาแฟในสังคมไทย

บทบาท ของร้านกาแฟในปัจจุบัน

       1. สถานที่นัดพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง
       2. พื้นที่ทำงานนอกสำนักงาน
       3. มุมอ่านหนังสือและพักผ่อน
       4. สถานที่ประชุมธุรกิจอย่างไม่เป็นทางการ
       5. สถานที่ทำกิจกรรม Workshop

       ด้วยความหลากหลายของบทบาทเหล่านี้ ร้านกาแฟจึงเป็นสถานที่ที่ผู้คนใช้เวลาอยู่นานขึ้น และต้องการประสบการณ์ที่ดีในการฟังและสื่อสาร

คุยงาน ร้านกาแฟ

ความท้าทายของผู้มีปัญหาการได้ยินในร้านกาแฟ

       สำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน การนั่งร้านกาแฟอาจเป็นประสบการณ์ที่ท้าทาย เนื่องจากมีเสียงรบกวนหลายประเภท เช่น เสียงเครื่องชงกาแฟ เสียงเพลงบรรเลงภายในร้าน เสียงสนทนาของลูกค้าโต๊ะอื่น เสียงการเคลื่อนไหวของพนักงานและลูกค้า

       เสียงเหล่านี้อาจทำให้ผู้มีปัญหาการได้ยินรู้สึกอึดอัดและไม่สามารถเพลิดเพลินกับบรรยากาศหรือการสนทนาได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังอาจเกิดความกังวลในการสื่อสารกับพนักงาน เช่น การสั่งเมนูหรือการขอความช่วยเหลือ

เลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม

รองรับสถานการณ์ภายในร้านกาแฟ

Coffee Shop Situation

       เทคโนโลยีที่มีอยู่ใน เครื่องช่วยฟัง รุ่น Alpha คุณสมบัติที่โดดเด่นสำหรับไลฟ์สไตล์ร้านกาแฟ Hybrid Sound Processing™ จะช่วยแยกเสียงรบกวน และรักษาระดับการขยายเสียงของการสนทนาให้ถูกต้อง ไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการได้ยินคำพูดและความสบายในการฟัง

       เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง คุณสมบัติการฟังรองรับสถานการณ์ภายในร้านกาแฟ สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสบการณ์การใช้บริการของคุณได้

       เมื่อคุณเลือกเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง คุณสมบัติสำหรับไลฟ์สไตล์ร้านกาแฟ

   1. เพิ่มความมั่นใจในการสื่อสาร : สามารถสั่งเมนูและพูดคุยกับพนักงานได้อย่างมั่นใจ
   2. สนทนากับเพื่อนหรือคู่ธุรกิจได้อย่างราบรื่น : ได้ยินเสียงคู่สนทนาชัดเจนแม้ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวน
   3. เพลิดเพลินกับบรรยากาศ : สามารถรับฟังเสียงดนตรีหรือเสียงบรรยากาศในร้านได้
   4. ลดความเครียดและความเหนื่อยล้า : ไม่ต้องพยายามฟังอย่างหนักเพื่อเข้าใจบทสนทนา
   5. เพิ่มโอกาสทางสังคมและธุรกิจ : สามารถเข้าร่วมการพูดคุย Workshop หรือการประชุมในร้านกาแฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ชื่นชอบนั่งร้านกาแฟ

เลือกอย่างไร และคุณสมบัติใดควรมี


เครื่องช่วยฟัง ร้านกาแฟ

        เครื่องช่วยฟังรุ่นใหม่ได้รับการพัฒนาให้รองรับสถานการณ์เสียงที่หลากหลายในชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมถึงการใช้งานในสถานการณ์จำเพาะเจาะจง อย่างเช่นร้านกาแฟ คุณสมบัติที่ควรพิจารณา เมื่อเลือกเครื่องช่วยฟังสำหรับใช้ในร้านกาแฟ ได้แก่

1. เทคโนโลยีลดเสียงรบกวนอัจฉริยะ (Smart Noise Reduction)
       เทคโนโลยีนี้ช่วยกรองเสียงรบกวนรอบข้างออกไป ทำให้ผู้ใช้สามารถได้ยินเสียงสนทนาชัดเจนขึ้น ในร้านกาแฟเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดเสียงรบกวนจากเครื่องชงกาแฟ เสียงพูดคุยของโต๊ะอื่น

2. ระบบจับเสียงคำพูด ขณะมีเสียงรบกวน (Speech in Noise)
       ความสามารถในการโฟกัสเสียงคำพูดให้ชัดเจนขึ้น ขณะมีเสียงรบกวนรอบข้าง ทำให้ผู้ใช้ติดตามบทสนทนาได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ขณะสั่งเมนูและมีเสียงรบกวนจากเครื่องชงกาแฟ

3. ไมโครโฟนกำหนดทิศทาง (Directional Microphones)
       ไมโครโฟนแบบกำหนดทิศทางช่วยให้ผู้ใช้สามารถโฟกัสเสียงที่อยู่ด้านหน้า เช่น เสียงของคู่สนทนาที่นั่งตรงข้าม โดยลดเสียงจากทิศทางอื่นลง

4. การเชื่อมต่อไร้สาย (Wireless Connectivity)
       คุณสมบัตินี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเครื่องช่วยฟังกับสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่นๆ ได้ เช่น ควบคุมการทำงานของเครื่องช่วยฟังผ่านแอปพลิเคชัน หรือรับฟังเสียงจากอุปกรณ์อื่นๆ ได้โดยตรง

coffee shop activity

เคล็ดลับ การใช้เครื่องช่วยฟังในร้านกาแฟ

1. เลือกที่นั่งที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงดัง เช่น เครื่องชงกาแฟ หรือประตูทางเข้า
2. ใช้แอปพลิเคชันช่วยควบคุมเครื่องช่วยฟัง ปรับการตั้งค่าให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในร้านกาแฟ
3. แจ้งคู่สนทนาเกี่ยวกับการใช้เครื่องช่วยฟัง เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับวิธีการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
4. พกอุปกรณ์เสริม เช่น แบตเตอรี่สำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน

       ผู้สูงอายุวัยเกษียณ มักมีเวลาว่างมากกว่าวัยอื่น หลายคนยังมีไฟในการออกไปใช้ชีวิต ทำตามความฝัน หรือทำในสิ่งที่ตนเองรัก นอกจากนี้ยังชื่นชอบการเข้าสังคม พบปะกลุ่มเพื่อน แต่ในบางรายอาจเริ่มรู้สึกเหงา เนื่องจากบทบาททางสังคมลดลง ภาระหน้าที่ลดลง ด้วยเหตุนี้ควรพาตัวเองไปพบปะผู้คนหรือเข้าสังคม เข้าร่วมกิจกรรม หรือ Workshop ต่างๆ เช่น วาดภาพระบายสี แต่งหน้าเค้ก จัดดอกไม้ ทำเทียนหอม งาน Craft งาน Handmade เพื่อให้เหล่าบรรดาสูงวัยไม่รู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่เป็นภาระ ลดการพึ่งพิงจากบุคคลภายในครอบครัว และลดการเจ็บป่วย ลดโอกาสหรือยืดอายุการป่วยติดเตียงในอนาคต นอกจากนี้ยังได้มิตรภาพและสังคมใหม่ๆ

 

       สถานที่ร้านกาแฟ และ Workshop ในเชียงใหม่ : ร้านกาแฟ Gimmick CNX, ZOHNG – PAINT in the Garden, Baan 104, บ้านข้างวัด, ร้าน Mabu craft space, ร้าน PeacePausePlace, ร้าน Coffee or Me ฟังดนตรี Jazz ฯลฯ

เพิ่มประสบการณ์การนั่งร้านกาแฟ ด้วย เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง

       เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ชื่นชอบนั่งร้านกาแฟไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณได้ยินเสียงชัดเจนขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสบการณ์ทางสังคมของคุณด้วย การเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะช่วยให้คุณสามารถเพลิดเพลินกับบรรยากาศภายในร้านกาแฟ และสนุกสนานกับการทำกิจกรรมของคุณ

       ไม่ว่าคุณจะชอบนั่งจิบกาแฟ พูดคุยกับเพื่อน ทำ Workshop หรือนั่งทำงานในร้านกาแฟ เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง คุณสมบัติเฉพาะสถานการณ์จะช่วยให้คุณสามารถทำกิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างมีความสุขและมั่นใจมากขึ้น เลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะกับระดับการได้ยินและไลฟ์สไตล์ของคุณ

Personalized Programs โปรแกรมการฟังเฉพาะบุคคลระดับมืออาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟัง พร้อมให้คำแนะนำ

ขอขอบคุณข้อมูล : ¹www.matichon.co.th, www.bernafon.com

เพลิดเพลินกับกาแฟถ้วยโปรด

เติมความสุขให้กับชีวิต

logo intimex อินทิเม็กซ์

 

อินทิเม็กซ์ บริการตรวจการได้ยิน จำหน่ายเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง ออกแบบการได้ยินตามไลฟ์สไตล์บุคคล ดูแลสุขภาพการได้ยินแบบองค์รวม ตลอดการเดินทางสู่การได้ยินดี เพราะเราเชื่อว่า…

 

 

“คุณภาพของการได้ยินที่ดี คือ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

4 แร่ธาตุ สารอาหารเพื่อสุขภาพการได้ยิน

4 แร่ธาตุ เสริมสร้างสุขภาพการได้ยิน
สารอาหารสำคัญมีประโยชน์ต่อสุขภาพหูและการได้ยิน

You are what you eat “คุณกินอะไรเข้าไป คุณก็เป็นอย่างนั้น”

      ประโยคที่หลายคนมักคุ้นหู ด้วยเหตุนี้เองอาหารจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพของคุณ นอกจากอาหารจะให้พลังงานแก่ร่างกายแล้ว อาหารยังเป็นแหล่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอันทรงคุณค่าที่มีประโยชน์ในการช่วยบำรุงร่างกาย ปรับสมดุล และปรับอารมณ์ของคุณได้อีกด้วย

      โภชนาการอาหารที่ดีย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพ สุขภาพการได้ยินมีความเชื่อมโยงกับความเป็นอยู่โดยรวม นอกจากเครื่องช่วยฟังจะช่วยปรับปรุงการได้ยินและคุณภาพชีวิตแล้ว การเลือกโภชนาการอาหารเข้ามาดูแลสุขภาพการได้ยิน บำรุงหู บำรุงสมอง และเพิ่มการกระตุ้นระบบการไหลเวียนของโลหิต ถือเป็นการดำเนินขั้นตอนเชิงรุกเพื่อสนับสนุนและปกป้องการได้ยิน โภชนาการที่เหมาะสมสามารถช่วยสนับสนุนสุขภาพหูโดยรวมและอาจชะลอความก้าวหน้าของการสูญเสียการได้ยินได้

food

ความเชื่อมโยง
อาหาร และสุขภาพการได้ยิน

       ความเชื่อมโยงระหว่างอาหารและสุขภาพการได้ยินเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการจัดการกับการสูญเสียการได้ยินของคุณ การรับประทานอาหารที่มีความสมดุลช่วยสนับสนุนสุขภาพของหลอดเลือดและหัวใจสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหูชั้นใน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานของการได้ยิน

       ต่อไปนี้คือ 4 แร่ธาตุ สำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพหูและการได้ยินของคุณ

4 แร่ธาตุ สารอาหารเพื่อสุขภาพการได้ยิน

K Potassium โพแทสเซียม บำรุงหู

โพแทสเซียม (Potassium)

       โพแทสเซียม (Potassium) ช่วยควบคุมของเหลวในหูชั้นในซึ่งมีความสำคัญต่อการได้ยิน ช่วยขยายหลอดเลือดและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ให้ไปเลี้ยงหูชั้นใน

       พบได้ง่ายในอาหารทั่วไป เช่น มะเขือเทศ กล้วย แก้วมังกร ทุเรียน มะพร้าว แตงโม ส้ม โยเกิร์ต ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง มันฝรั่ง คะน้า ผักชี กะเพรา หัวปลี เห็ด ฟักทอง แครอท ลูกเกด ลูกพรุน นม โกโก้ การรับประทานอาหารสดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเลือกอาหารหลากสี จะช่วยให้คุณได้รับโพแทสเซียมเพียงพอ

       ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงหรือผักสีเข้ม เลือกรับประทานอาหารผักที่มีสีซีดมีโพแทสเซียมต่ำ จะช่วยลดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด และช่วยรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

      • อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง (กลุ่มผักสีเข้ม) ได้แก่ ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง

      • อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน

      • อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด) ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา

B9 Folic folate โฟลิก โฟเลต บำรุงหู

โฟเลต (Folate)

       โฟเลต (Folate) หรือวิตามินบี 9 เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเซลล์ใหม่ในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์และโรคซึมเศร้า หากร่างกายขาดโฟเลตอาจเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น หน้ามืด เบื่ออาหาร และซึมเศร้า และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

       โฟเลตในรูปแบบสังเคราะห์ เรียกว่า กรดโฟลิก (Folic) พบในอาหารเสริมและในผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น แป้งและซีเรียลอาหารเช้า

       โฟเลต พบได้ในผักใบเขียว เช่น ผักโขม บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง โหระพา ถั่วลันเตา มะม่วง สตรอว์เบอร์รี่ อะโวคาโด รวมทั้งข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ถั่ว ธัญพืช ขนมปัง ไข่แดง และเครื่องในสัตว์

Mg แมกนีเซียม บำรุงหู

แมกนีเซียม (Magnesium)

       แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อกล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก และระดับน้ำตาลในเลือด งานวิจัยพบว่าสามารถป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับเสียงดังมาก ช่วยปกป้องเซลล์ขนภายในหูชั้นใน นอกจากนี้แมกนีเซียมยังช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ส่งออกซิเจนไปยังหู ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพการได้ยิน และช่วยรักษาระดับแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม และสังกะสีให้เหมาะสม หากขาดแมกนีเซียมอาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน และโรคกระดูกพรุน

       แมกนีเซียม พบในอาหาร เช่น กล้วย มันฝรั่ง ผักโขม มะเขือเทศ บรอกโคลี ถั่วลันเตา ถั่ว ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท กุ้ง แซลมอน เนื้อหมู เนื้อวัว อะโวคาโด นม นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต และดาร์กช็อกโกแลต

       แมกนีเซียมสูงพบได้ในผักใบเขียวเข้ม เมล็ดพืช ถั่ว และดาร์กช็อกโกแลต

Zn zinc แร่ธาตุ สังกะสี บำรุงหู

สังกะสี (Zinc)

       สังกะสี (Zinc) ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้สังกะสียังช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ ลดการอักเสบและสมานแผล สังกะสีอาจช่วยให้การฟื้นตัวจากหวัดเร็วขึ้น มีงานวิจัยเผยให้เห็นว่าสังกะสีอาจมีคุณสมบัติต้านไวรัส ซึ่งหยุดการเติบโตของไรโนไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของหวัด และมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหูอื้อและการติดเชื้อในหูเช่นกัน แม้ว่าสังกะสีอาจมีปฏิกิริยากับยาปฏิชีวนะและยาขับปัสสาวะในบางครั้งก็ตาม

       สังกะสี พบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว และเนื้อหมูสีเข้ม พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วดำ ถั่วแดง เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ อาหารทะเล ปลาทะเล กุ้ง ปู หอยนางรม เห็ด ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาด มันฝรั่ง ธัญพืชอย่างข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ควินัว งา ข้าวกล้อง ซีเรียล ขนมปังธัญพืช ดาร์กช็อกโกแลต ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์จากนม อย่างโยเกิร์ตและชีสชนิดต่างๆ ผลไม้ เช่น อะโวคาโด ทับทิม ฝรั่ง แคนตาลูป พีช กีวี แบล็กเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และบลูเบอร์รี่ 

       โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมและสุขภาพการได้ยิน ใส่ใจกับมื้ออาหารที่คุณรับประทานในแต่ละวัน เลือกเมนูที่มีสารอาหารและแร่ธาตุสำคัญทั้ง 4 ชนิดนี้ เพื่อช่วยส่งเสริมการได้ยินดีให้กับคุณ การปรับเปลี่ยนเมนูอาหารเพียงเล็กน้อย เช่นจากข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง อาจนำมาซึ่งคุณประโยชน์มหาศาลและผลลัพธ์ที่น่าทึ่งกับร่างกายและสุขภาพการได้ยินของคุณ คุณเองก็สามารถสร้างโภชนาการอาหารที่ดีให้กับการได้ยินของคุณเองได้

ข้อควรรู้ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ก่อนสร้างแผนโภชนาการอาหาร ประจำสัปดาห์

ข้อมูลโภชนาการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

       ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาด้านโภชนาการและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบ กระดูกและฟันเปราะหัก โลหิตจาง น้ำหนักลด ความจำเสื่อม อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

• ผู้สูงอายุ ควรได้รับพลังงาน วันละ 1,500 – 2,000 กิโลแคลอรี จากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย วันละ 3 มื้อ แบบพอประมาณ และมีอาหารว่าง 2 มื้อ โดยทุกมื้อควรมีผักและผลไม้เพื่อเพิ่มกากอาหาร

• โปรตีนคุณภาพดี เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน อกไก่ ไข่ขาว นมพร่องมันเนย และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

• คาร์โบไฮเดรต สารอาหารที่ให้พลังงาน ควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ลูกเดือย

• ไขมัน ผู้สูงอายุต้องการพลังงานจากไขมันเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นและวิตามินที่ละลายในไขมันเพียงพอ ไขมันที่มีประโยชน์ เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 จากปลาทะเล ปลาแซลมอน ปลาทู และพืชตระกูลถั่ว น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว และควรงดเว้นไขมันสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย น้ำมัน กะทิ ครีมเข้มข้น

• แคลเซียม ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและสร้างมวลกระดูกให้มีความหนาแน่น ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม อาหารทุกมื้อควรมีแคลเซียมโดยเฉลี่ยมื้อละ 300 มิลลิกรัม อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นมถั่วเหลือง นมสด ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ตรสธรรมชาติ นมเปรี้ยวไม่หวานจัด ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น ฟองเต้าหู้ ปลาตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งกระดูก เช่น ปลาข้าวสาร ผักใบเขียวเข้ม ผักสีส้ม เช่น คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบยอ ฟักทอง แครอท

• น้ำ ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำสะอาด หรือเลือกดื่มน้ำสมุนไพรไม่หวานจัด เช่น น้ำใบเตย น้ำขิง น้ำเก๊กฮวย สลับกับน้ำเปล่า อย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว น้ำช่วยนำสารอาหารต่างๆ ไปยังอวัยวะภายในร่างกายและช่วยขับถ่ายของเสีย ทำให้รู้สึกสดชื่น

egg ไข่

สาระน่ารู้ :

       วารสาร The Journal of Nutrition ตีพิมพ์งานวิจัยใหม่ในปี 2024 นักวิจัยค้นพบว่า การกินไข่มากกว่า 1 ฟองต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ 47 เปอร์เซ็นต์ โคลีนในไข่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างสุขภาพสมอง และยังเน้นย้ำว่า การกินไข่วันละ 2 ครั้งหรือมากกว่านั้นก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูง ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ

       การนำไข่มาเป็นส่วนหนึ่งในมื้ออาหารประจำวัน ถือเป็นกลยุทธ์ที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิผลในการสนับสนุนสุขภาพสมองของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี

พร้อมแล้ว…

มาเริ่มสร้างแผนโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพการได้ยินของคุณกันเลย!!

ตัวอย่าง แผนโภชนาการอาหาร

Weekly-Planner-Hearing

ตัวอย่างเมนูอาหาร 4 แร่ธาตุ เสริมสร้างสุขภาพการได้ยิน

รายการอาหารจากวัตถุดิบที่มีแร่ธาตุในการเสริมสร้างสุขภาพการได้ยิน ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ โพแทสเซียม โฟเลต แมกนีเซียม และสังกะสี

*มื้อเย็น ใช้พลังงานไม่มาก ควรเป็นเมนูที่ย่อยง่ายอย่างเช่น เนื้อปลา และผัก เพื่อการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ

ไอเดียเมนูอาหาร สำหรับแผนโภชนาการของคุณ…

โจ๊กหมู/ไก่ ใส่เห็ดหอม
ข้าวต้มกุ้ง/ปลากระพงแดง
ต้มเลือดหมู
ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง

กะเพราไก่
ก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ๋น
ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่
เย็นตาโฟ
เกี๊ยวกุ้งน้ำใส
ขนมจีนน้ำยาปลาช่อน
ขนมจีนน้ำเงี้ยว
ปลากระพงแดงลวกจิ้ม
ปลาจะละเม็ดขาวนึ่งซีอิ๊ว
ผัดบรอกโคลีกุ้ง
ผัดหน่อไม้ฝรั่งใส่กุ้ง

ผัดถั่วลันเตาใส่ตับ
ผัดถั่วงอกเต้าหู้
ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์

สลัดโรลปูอัด
สลัดอกไก่ย่าง น้ำสลัดงาญี่ปุ่น
สลัดแซลมอน
สลัดทูน่า
ซุปเห็ด ซุปฟักทอง

ลาบอีสาน
ลาบปลาดุก
ลาบไก่
สเต็กแซลมอนกับหน่อไม้ฝรั่ง
สเต็กปลาดอร์รี่ย่าง
สเต็กอกไก่ย่าง
แหนมเนือง

ข้าวไรซ์เบอร์รี่
ข้าวกล้อง
ขนมปังโฮลวีท
ซีเรียล
สมูทตี้ข้าวโอ๊ต กล้วยหอม
เมล็ดธัญพืช ถั่วอบแห้ง
อัลมอนด์
เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ผลไม้ตามฤดูกาล ส้ม สับปะรด กล้วย แก้วมังกร แคนตาลูป

นมถั่วเหลือง/น้ำเต้าหู้
นมจืด (พร่องมันเนย)
น้ำสมุนไพร น้ำขิง น้ำใบเตย น้ำเก๊กฮวย น้ำกระเจี๊ยบ
น้ำผลไม้ น้ำส้ม น้ำฝรั่ง น้ำแอปเปิ้ล

โกโก้ร้อน
ดาร์กช็อกโกแลต
น้ำผลไม้ปั่น กล้วยปั่น อะโวคาโดปั่น เสาวรสมะม่วงปั่น

       การเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายและสมดุล ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสุขภาพการได้ยินเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ สุขภาพการได้ยินที่ดีเป็นส่วนสำคัญของคุณภาพชีวิตที่ดี
       สร้างโภชนาการอาหารประจำสัปดาห์ของคุณแล้ว อย่าลืมสร้างโปรแกรมออกกำลังกาย อีกหนึ่งวิธีในการช่วยเผาผลาญพลังงานให้ร่างกายของคุณสมดุลห่างไกลภาวะอ้วน และยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตเพื่อไปเลี้ยงหูชั้นใน ควบคู่กับการใส่เครื่องช่วยฟังเป็นประจำ ดูแลรักษาอย่างถูกวิธี และตรวจการได้ยินทุกปี เพียงเท่านี้คุณก็จะมีสุขภาพการได้ยินดีและคุณภาพชีวิตที่ดี

เลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับการได้ยิน รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเครื่องช่วยฟัง

ขอขอบคุณข้อมูล : calhearing.com, diasporal.com, mdpi.com, bumrungrad.com

Essential Lifestyle
ไลฟ์สไตล์ที่จำเป็น สำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน

เรียนรู้เพิ่มเติม

logo intimex อินทิเม็กซ์

 

อินทิเม็กซ์ บริการตรวจการได้ยิน จำหน่ายเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง ออกแบบการได้ยินตามไลฟ์สไตล์บุคคล ดูแลสุขภาพการได้ยินแบบองค์รวม ตลอดการเดินทางสู่การได้ยินดี เพราะเราเชื่อว่า…

 

 

“คุณภาพของการได้ยินที่ดี คือ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

สร้างเป้าหมาย สุขภาพการได้ยินดี ด้วย To do lists ตลอดปี 2568

2025 สร้างเป้าหมาย สุขภภาพการได้ยินดี

สุขภาพการได้ยินดี ตลอดทั้งปี

ด้วยเครื่องมือ To do list พิชิตเป้าหมาย

       นับถอยหลังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 นี้ เป็นโอกาสอันดีในการตรวจเช็คและตั้งเป้าหมายใหม่ให้กับการใส่เครื่องช่วยฟังของคุณ เพื่อสุขภาพการได้ยินที่ดีตลอดทั้งปี การมีสุขภาพการได้ยินที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้เราได้ยินเสียงรอบตัวได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม และเราจะสร้างเป้าหมายเพื่อสุขภาพการได้ยินที่ดีได้อย่างไร เรียนรู้การสร้างเป้าหมาย ด้วย To do list เครื่องมือช่วยพิชิตเป้าหมายสุขภาพการได้ยินดี ตลอดทั้งปี 2568 ของคุณ

สร้างเป้าหมาย สุขภาพการได้ยินดี ด้วย To do lists ตลอดปี 2568

สุขภาพการได้ยินดี ดีอย่างไร?

       สุขภาพการได้ยินดี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ไม่เพียงแต่ช่วยให้เราสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ทางสังคมของเราอีกด้วย

       ประโยชน์ของสุขภาพการได้ยินดี มีดังนี้

       • รักษาคุณภาพในการดำเนินชีวิต
       • สร้างความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย
       • สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น
       • รู้สึกมีส่วนร่วมในสังคม
       • เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
       • เห็นคุณค่าในตัวเอง
       • ทำสิ่งดีๆ ให้กับผู้อื่นและสังคม

ชีวิตที่ดี เกิดจากความสัมพันธ์ที่ดี

ความสัมพันธ์ที่ดี กุญแจสู่ชีวิตที่มีความสุข

Robert Waldinger

       งานวิจัยอันโด่งดังของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ใช้เวลายาวนานถึง 75 ปี ในการติดตามศึกษาคนกลุ่มหนึ่ง ตั้งแต่วัยรุ่นถึงวัยชรา เพื่อหาคำตอบว่า “ชีวิตที่ดี คืออะไร?”

       โรเบิร์ต วาลดิงเจอร์ (Robert Waldinger) หัวหน้าทีมวิจัยรุ่นที่ 4 ได้เผยข้อสรุปว่า ความสุขแท้จริงไม่ได้เกี่ยวกับความร่ำรวย ชื่อเสียง หรือการทำงานหนัก แต่เกิดจาก “ความสัมพันธ์ที่ดี” ซึ่งทำให้เรามีความสุขและมีสุขภาพดีขึ้น

       ผลการวิจัยพบว่า :
              •  คนที่เชื่อมโยงทางสังคมมากกว่า มีความสุขมากกว่า สุขภาพแข็งแรงกว่า และมีอายุยืนยาวกว่า
              •  คนที่แยกตัวจากสังคม มีความสุขน้อยกว่า สุขภาพเสื่อมลงเร็วกว่า และมีอายุสั้นกว่า
              •  คุณภาพของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมีผลต่อสุขภาพและความสุข

 


ความสัมพันธ์ที่ดี ไม่เพียงปกป้องสุขภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยปกป้องสมอง

       กล่าวคือ คนที่เชื่อมโยงทางสังคมกับครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชนมากกว่า จะมีความสุขมากกว่า มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงกว่า ความทรงจำดีกว่า และมีอายุยืนยาวกว่าคนที่เชื่อมโยงทางสังคมน้อยกว่า คนที่เชื่อมโยงทางสังคมน้อย คนที่แยกตัวจากผู้อื่นจะพบว่าพวกเขามีความสุขน้อยกว่า สุขภาพของพวกเขาเสื่อมลง การทำงานของสมองเสื่อมลงเร็วกว่า และมีอายุสั้นกว่า

        คุณภาพของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมีผลต่อสุขภาพ การใช้ชีวิตท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ดีและอบอุ่น ช่วยบรรเทาความทุกข์ยากบางอย่างจากการแก่ชราได้ ในวันที่พวกเขาเจ็บปวดทางร่างกาย อารมณ์ของพวกเขาก็ยังคงมีความสุขเหมือนเดิม แต่คนที่อยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่มีความสุข ในวันที่พวกเขาเจ็บปวดทางร่างกาย อารมณ์ของพวกเขาจะยิ่งทวีคูณด้วยความเจ็บปวดทางอารมณ์

สร้างเป้าหมาย สุขภาพการได้ยินดี ด้วย To do lists ตลอดปี 2568

ความสัมพันธ์ที่ดี เริ่มต้นจาก “การฟัง”

       การฟัง เป็นทักษะสำคัญในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดี หากคุณกำลังประสบปัญหาการได้ยินหรือสูญเสียการได้ยิน การใช้เครื่องช่วยฟังสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพการได้ยิน ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และรักษาความสัมพันธ์ของคุณได้อย่างมาก และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้นเริ่มต้นได้จากการเป็นผู้ฟังที่ดี

             1. เป็นผู้ฟังที่ดี : ตั้งใจฟังมากกว่าคิดถึงสิ่งที่จะพูด
            2. ฟังแล้วถาม : ทวนเรื่องที่อีกฝ่ายพูดเพื่อแสดงความเข้าใจ
            3. ฟังมากกว่าพูด : สังเกตทั้งเนื้อหา น้ำเสียง สีหน้า และภาษากาย
            4. จดจำในสิ่งที่สำคัญ : จำชื่อและรายละเอียดของคู่สนทนา
            5. เปิดเผย จริงใจ ถ่อมตัว : สร้างบรรยากาศที่สบายใจในการสนทนา

สร้างเป้าหมาย สุขภาพการได้ยินดี ด้วย To do list

เครื่องมือที่จะช่วยคุณพิชิตเป้าหมายการมีสุขภาพการได้ยินดี ตลอดทั้งปี 2568


สำรวจ ชั่วโมงในการใช้งานเครื่องช่วยฟัง

       การใช้งานเครื่องช่วยฟังของคุณเป็นไปด้วยดีหรือไม่ ตั้งเป้าหมายการใส่เครื่องช่วยฟังในแต่ละวันของคุณ จำนวนชั่วโมงในการใช้งานยิ่งมากยิ่งส่งผลดีต่อตัวคุณ หากคุณเป็นผู้เริ่มต้นหรือมือใหม่ ค่อยๆ เพิ่มจำนวนชั่วโมงการใช้งาน จำนวนชั่วโมงการใช้งานที่เพิ่มขึ้น แนวโน้มสุขภาพการได้ยินของคุณเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่หากจำนวนชั่วโมงการใช้งานลดลงไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ การนัดหมายพบผู้ดูแลเครื่องช่วยฟังเพื่อปรับตั้งค่า อาจช่วยให้จำนวนชั่วโมงในการใส่เครื่องช่วยฟังของคุณเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

happy good health

 

1. To do list สร้างเป้าหมาย จำนวนชั่วโมงการใช้งานต่อวัน

สำรวจ วิธีการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง

       การดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง ก็เหมือนกับการดูแลหูของคุณ เมื่อคุณดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังเป็นอย่างดี เครื่องช่วยฟังของคุณก็จะขยายเสียงได้ชัดเจนทุกเมื่อที่คุณต้องการ ประสิทธิภาพสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหูของคุณและเครื่องช่วยฟังทำงานร่วมกันได้ดี คือ ช่วยให้คุณได้ยิน ลดความเครียดและความเหนื่อยล้าในการฟัง ลดความขัดแย้งกับผู้อื่นลง และสร้างสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ความสุขของคุณก็จะกลับคืนมาพร้อมกับการมีสุขภาพการได้ยินที่ดี

สร้างเป้าหมาย สุขภาพการได้ยินดี ด้วย To do lists ตลอดปี 2568

 

2. To do list สร้างเป้าหมาย การดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง หลังจากเลิกใช้งาน

     อย่าลืมนัดหมายตรวจเช็คเครื่องช่วยฟังกับผู้ดูแลเครื่องช่วยฟังของคุณทุก 3 – 6 เดือน

สำรวจ วิธีการดูแลสุขภาพการได้ยิน

       การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ช่วยให้ห่างไกลโรคภัยต่างๆ รักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่น ช่วยหลีกเลี่ยงอาการหวัดหรือภูมิแพ้ที่อาจส่งผลต่อการได้ยินของคุณ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนักตัว นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับสนิทช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอและยังช่วยลดความเครียด ทำให้ความจำและสมาธิดีขึ้น หากิจกรรมทำระหว่างวัน เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมหากมีโอกาส และอย่าลืมพูดคุยหรือติอต่อกับบุคคลอันเป็นที่รักของคุณ เพียงเท่านี้ก็ทำให้คุณมีสุขภาพกายและใจที่ดีและมีความสุข

สร้างเป้าหมาย สุขภาพการได้ยินดี ด้วย To do lists ตลอดปี 2568

 

3. To do list สร้างเป้าหมาย ดูแลสุขภาพการได้ยิน

       การสร้างเป้าหมายสุขภาพการได้ยินดีด้วย To do list ตลอดปี 2568 เป็นก้าวสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคุณ การมีสุขภาพการได้ยินที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณได้ยินเสียงรอบตัวได้ชัดเจนขึ้น สื่อสารได้ดีขึ้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสุขและสุขภาพที่ดีในระยะยาว

       เริ่มต้นปีใหม่นี้ ด้วยการให้ความสำคัญกับสุขภาพการได้ยินของคุณ ใช้ To do list ที่เราแนะนำ เพื่อสร้างนิสัยที่ดีในการดูแลเครื่องช่วยฟังและสุขภาพโดยรวมของคุณ จำไว้ว่า การได้ยินที่ดี คือ ประตูสู่ความสัมพันธ์ที่ดีและชีวิตที่มีความสุข

ดาวน์โหลด To do list เครื่องมือช่วยสร้างเป้าหมายการใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อพิชิตการมีสุขภาพการได้ยินที่ดี ตลอดปี 2568

เช็กลิสต์นี้ จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุที่บ้านของคุณใส่เครื่องช่วยฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเป้าหมาย คือ การมีสุขภาพการได้ยินดี ตลอดทั้งปี 2568 สุขภาพการได้ยินดี ไม่ใช่แค่การได้ยินดี แต่ต้องสามารถเชื่อมโยงกับผู้อื่น เชื่อมโยงสังคม เชื่อมโยงบุคคลอันเป็นที่รักของคุณ และนั่นก็เพื่อตัวคุณเอง
       • สร้างเป้าหมายการใส่เครื่องช่วยฟังให้กับผู้สูงอายุที่คุณรัก
       • ช่วยสำรวจและส่งเสริมวิธีการใช้งานเครื่องช่วยฟังอย่างถูกวิธี
       • ฝึกสมองด้านความจำ การนึกคิด ลดอาการหลงๆ ลืมๆ ห่างไกลภาวะสมองเสื่อม
       • ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำระหว่างวัน ลดการเนือยนิ่ง
       • ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี
       • ทบทวนการใช้ชีวิตในแต่ละวัน/สัปดาห์/เดือน ภายในระยะเวลา 1 ปี
       • มองเห็นภาพรวมการใช้ชีวิตของตนเอง เพื่อการพัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไข ได้ทันท่วงที

ขอขอบคุณข้อมูล : www.who.int, www.dailygood.org, www.becommon.co

ท้ายสุดนี้ เราหวังว่าเช็กลิสต์ของคุณ จะเต็มไปด้วยเครื่องหมายแห่งความพยายามของคุณ เราปรารถนาที่จะเห็นคุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขในทุกๆ วัน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ความไว้วางใจและรอยยิ้มของท่าน คือ กำลังใจที่มีค่ายิ่งสำหรับพวกเราทุกคน
การที่ท่านเลือกให้ ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพการได้ยินของท่าน นับเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจของพวกเราเป็นอย่างยิ่ง

ในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นี้ ผู้บริหารและพนักงานอินทิเม็กซ์ทุกคน ขอส่งความปรารถนาดีและความห่วงใยมายังท่านและครอบครัว

“ ขออำนวยพรให้ท่านมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขกับการได้ยิน เติมเต็มช่วงเวลาดีๆ ในชีวิตตลอดปีใหม่นี้ ”

 
ผู้บริหารและพนักงาน
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์

logo intimex อินทิเม็กซ์

 

อินทิเม็กซ์ ผู้ให้บริการตรวจการได้ยินและเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง ออกแบบการได้ยินตามไลฟ์สไตล์บุคคล ดูแลสุขภาพการได้ยินแบบองค์รวม ตลอดการเดินทางสู่การได้ยินดี เพราะเราเชื่อว่า…

 

 

“คุณภาพของการได้ยินที่ดี คือ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

เครื่องช่วยฟัง ข้อเสีย และอันตรายที่ควรรู้

เครื่องช่วยฟัง ข้อเสีย และอันตรายอะไรบ้าง? เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน เรียนรู้ข้อเสียของเครื่องช่วยฟังและวิธีการเลือกใช้เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุดในการฟื้นฟูการได้ยินและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สนิม เชื้อรา ภัยร้ายในเครื่องช่วยฟัง และช่องหูของคุณ

สนิม เชื้อรา อันตรายสำหรับเครื่องช่วยฟังและช่องหู หลายคนอาจไม่ทราบว่าเครื่องช่วยฟังสามารถเสียหายได้จากสนิมและเชื้อรา ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์และการอักเสบของช่องหู