Cause Of Hearing Loss สาเหตุบกพร่องทางการได้ยิน

 

        ความพิการแต่กำเนิดที่ไม่สามารถตรวจพบได้ระหว่างตั้งครรภ์ หนึ่งในนั้นคือ ความพิการทางการได้ยิน ดังนั้นคุณแม่ที่รู้ว่าตัวเองเริ่มตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลและเข้ารับการฝากครรภ์กับแพทย์โดยเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงการบกพร่องทางการได้ยินที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์

 

ความบกพร่องทางการได้ยิน

จำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ


1. ความบกพร่องทางการได้ยินแต่กำเนิด หรือระหว่างตั้งครรภ์

2. ความบกพร่องทางการได้ยินหลังกำเนิด

 

1. สาเหตุความบกพร่องทางการได้ยินแต่กำเนิด หรือระหว่างตั้งครรภ์ :

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม / กรรมพันธุ์
  • ภาวะแทรกซ้อน / โรคติดเชื้ออื่นๆ ระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน ซิฟิลิส ฯลฯ
  • ภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกคลอด
  • การขาดสารอาหารบางตัว เช่น กรดโฟลิก
  • การใช้ยาบางตัวระหว่างตั้งครรภ์
  • การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น

ความเสี่ยงเหล่านี้ มักส่งผลทำให้ทารกเกิดการสูญเสียการได้ยิน หรือมีอาการหูตึงมาแต่กำเนิดได้

 

2. สาเหตุความบกพร่องทางการได้ยินหลังกำเนิด : เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ

  • ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
  • คลอดก่อนกำหนด ทารกตัวเหลือง และเข้าตู้อบ
  • โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคหัด และโรคคางทูม
  • การติดเชื้อเรื้อรังในหู เช่น โรคหูน้ำหนวก หูชั้นกลางอักเสบ
  • การใช้ยาที่ก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและระบบประสาท
  • การได้รับบาดเจ็บต่อศีรษะหรือหู
  • การฟังเสียงที่ดังเกินไปอย่างต่อเนื่อง
  • อาการหูตึงเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามอายุ
  • ขี้หู (สาเหตุนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงระดับน้อย และสามารถแก้ไขได้ในทันที)

 

แนวทางการป้องกันและรักษา

ความบกพร่องทางการได้ยินแต่กำเนิด


  1. ผู้หญิงทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กมีประสาทหูพิการแต่กำเนิด และเมื่อพบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการฝากครรภ์ และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  2. ขณะตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเอง การใช้ยาปฏิชีวนะควรอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์เท่านั้น
  3. ขณะตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังการใช้ชีวิต ระวังการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ และหลีกเลี่ยงการฉายรังสีเอ็กซ์เรย์
  4. เด็กควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามกำหนดเวลา
  5. เมื่อพบว่าลูกอาจมีอาการหูตึงมาแต่กำเนิดควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อหาทางแก้ไขโดยเร็ว เนื่องจากการฟื้นฟูจะยากหรืออาจไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟังและพบนักแก้ไขการพูด เพื่อฝึกพูด การฝึกอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เด็กสามารถพูดได้

 

ทุกคนสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันความบกพร่องทางการได้ยินหลังกำเนิดได้ ทั้งนี้แล้วขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล และเมื่อใดที่เกิดความบกพร่องทางการได้ยินขึ้น ควรรีบเข้าพบและปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที

อ่าน พัฒนาการการได้ยินของลูกน้อย  สำหรับคุณแม่แรกคลอด เพื่อตรวจเช็คความผิดปกติการได้ยินของลูกน้อยของคุณ

 

 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการได้ยินของลูกน้อย เราพร้อมให้คำปรึกษา

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai