เครื่องช่วยฟังกับผู้สูงอายุ

      

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและอวัยวะเริ่มถดถอยและเสื่อมลง

 

      การสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึงในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของประสาทหูหรือเซลล์ขน (Hair cell) ในการรับเสียง โดยเสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสื่อมในวัยผู้สูงอายุนั้นจะค่อยๆ เริ่มเสื่อมอย่างช้าๆ ส่งผลให้การได้ยินค่อยๆ ลดลง

 

คุณยายไม่ได้ยิน

      ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่จะช่วยรักษาหรือฟื้นฟูให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติดังเดิมได้

      ทั้งนี้การใส่เครื่องช่วยฟังจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ยินดีขึ้น เครื่องช่วยฟังจะทำหน้าที่ขยายเสียง โดยเสียงจะเป็นตัวเข้าไปกระตุ้นประสาทหูที่เหลืออยู่ให้ทำงานและคงสภาพการได้ยินไว้

 

 

หูตึงระดับใด ที่ผู้สูงอายุควรใส่เครื่องช่วยฟัง?

หูตึงมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย – ระดับรุนแรง


ระดับการสูญเสียได้ยินกับการใส่เครื่องช่วยฟังในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้

  • หูตึงระดับเล็กน้อย (26 – 40 dB) ยังสามารถสื่อสารได้ ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
  • หูตึงระดับปานกลาง (41 – 55 dB) เริ่มสื่อสารด้วยเสียงที่ดังขึ้น จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
  • หูตึงระดับค่อนข้างรุนแรง (56 – 70 dB) เริ่มสื่อสารด้วยการตะโกน จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
  • หูตึงระดับรุนแรง (71 – 90 dB) จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง ประเภทกำลังขยายสูง*

หมายเหตุ

สูญเสียการได้ยิน มากกว่า 40 dB ขึ้นไป แพทย์แนะนำการใส่อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง
สูญเสียการได้ยิน มากกว่า 80 dB ขึ้นไป แพทย์แนะนำการผ่าตัดประสาทหูเทียม (หลักเกณฑ์การผ่าตัดประสาทหูเทียม)

 

เครื่องช่วยฟัง กับ ผู้สูงอายุ


เครื่องช่วยฟังกับผู้สูงอายุ     นอกจากแว่นตาแล้ว เครื่องช่วยฟังก็ยังเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในวัยผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยเช่นกัน การใส่เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลามากกว่า 5 – 10 ปี เป็นเรื่องค่อนข้างยากในการฟัง เนื่องจากตัวผู้สูงอายุเองไม่ได้ยินเสียงบางเสียงมานาน เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้วอาจทำให้รู้สึกรำคาญได้ จึงจำเป็นต้องค่อยๆ ปรับตัวและให้เวลากับมัน (อ่าน 10 เทคนิคการเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง)

       หรือในบางท่านได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการซื้อเครื่องช่วยฟังในอินเทอร์เน็ตมาใส่เอง ใส่แล้วมีเสียงดังรบกวน ทำให้ฟังไม่รู้เรื่องมากกว่าเดิม บางท่านเสียงดังจนปวดหู ทำให้รู้สึกรำคาญ ทนใส่ไม่ไหวและไม่อยากใส่เครื่องอีกเลย

 

      ดังนั้น การใส่เครื่องช่วยฟังที่ดีควรเริ่มใส่ตั้งแต่ท่านเริ่มไม่ค่อยได้ยิน หรือเริ่มสื่อสารกับคนรอบข้างลำบาก ซึ่งโดยมากแล้วแพทย์จะแนะนำให้ใส่เมื่อมีการสูญเสียการได้ยิน มากกว่า 40 dB ขึ้นไป และควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจการได้ยินและปรับเครื่องตามผลการได้ยิน เพื่อให้ท่านใส่เครื่องช่วยฟังแล้วฟังสบาย สื่อสารกับคนรอบข้างกับลูกหลานได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยินผู้สูงอายุ (Pure-Tone Audiometry)

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai