เลือกเครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ อย่างไร?
เมื่อผู้สูงอายุที่บ้าน เริ่มมีอาการหูไม่ค่อยได้ยิน
ผู้สูงอายุ หูไม่ได้ยิน หูตึง
และกำลังมองหาเครื่องช่วยฟัง
ผู้สูงอายุบางท่านอาจคิดว่าเครื่องช่วยฟังแบบไหนก็เหมือนกันหมด ช่วยขยายเสียงให้ได้ยิน ในบางรายอดทนใส่ทั้งๆ ที่ใส่แล้วรู้สึกเสียงดัง น่ารำคาญ ใส่แล้วไม่สบายหู หรือบางรายเลือกที่จะไม่ใส่ ใช้วิธีการพูดเสียงดังแทนการใส่เครื่องช่วยฟัง ทั้งนี้สร้างความเหนื่อยล้าให้กับตัวผู้สูงอายุเอง ลูกหลาน และคนรอบข้างที่ต้องคอยสื่อสารเสียงดังกับท่าน
การเลือกเครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ อย่างเหมาะสม
สามารถช่วยลดความเหนื่อยล้าในการฟัง และความเหนื่อยล้าของสมองได้…
นอกจากการสื่อสารที่ยากลำบากแล้ว การใส่เครื่องช่วยฟังที่ขยายเสียงไม่พอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน สามารถสร้างความเหนื่อยล้าในการฟัง และความเหนื่อยล้าให้กับสมองที่ต้องคอยทำความเข้าใจในคำพูดของคู่สนทนา
ด้วยเหตุนี้ การเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับการได้ยินของตัวผู้สูงอายุเองจึงมีส่วนสำคัญ การใส่เครื่องช่วยฟังที่ได้รับการปรับตั้งค่าตามผลการได้ยินจะช่วยลดความเหนื่อยล้าในการฟังของท่านลง เทคโนโลยีที่มีอยู่ในเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูงจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ยินชัดเจนขึ้น รับฟังเสียงต่างๆ ได้อย่างสบายหูมากขึ้น และยังสามารถปรับแต่งรายละเอียดเสียงได้อย่างละเอียด เพื่อรองรับสถานการณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่ผู้สูงอายุท่านต้องเผชิญในแต่ละวัน
นอกจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุแล้ว ปัจจัยในเรื่องขนาดของตัวเครื่อง ควรพิจารณาด้วยเช่นกัน ขนาดตัวเครื่องที่เล็กเกินไป อาจสร้างความลำบากในการใช้งานให้กับผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
การเลือกเครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ
การเลือกเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้สูงอายุ ควรพิจารณาถึงฟังก์ชันการใช้งาน ว่าตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันของท่านหรือไม่ หรือฟังก์ชันเหล่านั้นสามารถเข้ามาช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่ผู้สูงอายุท่านกำลังเผชิญอยู่ได้หรือไม่? อย่างไร?
• คุณมีปัญหาทางด้านการได้ยิน ในสถานการณ์ไหนมากที่สุด?
• มีเสียงหวีด หรือเสียงหึ่งๆ ในหูที่คุณมักได้ยินเป็นประจำ หรือไม่?
• ในแต่ละวัน คุณมักจะทำอะไร และไปที่ไหนบ้าง?
• คุณไปสถานที่ที่มีเสียงจอแจจากการพูดคุยของผู้คนรอบข้าง เช่น ร้านอาหาร หรือห้างสรรพสินค้า บ่อยแค่ไหน?
คำถามเหล่านี้ เป็นตัวอย่างคำถามที่คุณควรตอบและแจ้งให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังทราบ ยิ่งคุณลงรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละวันของคุณได้ละเอียดมากเท่าไหร่ ก็จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเลือกเครื่องช่วยฟังที่ตรงตามความต้องการ และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณมากเท่านั้น
ฟังก์ชันช่วยการได้ยิน
เครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ
• ระบบจัดการเสียงรบกวนรอบข้างได้อย่างอัจฉริยะ ลดเสียงรบกวนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้ฟังเสียงคำพูดได้ชัดเจนมากขึ้น
• โปรแกรมฟังเสียงคำพูดในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน ช่วยให้ฟังเสียงคำพูดได้ชัดเจนกว่าเสียงรอบข้าง
• โปรแกรมรับฟังเสียงในสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ได้อย่างสบายหู ไม่รู้สึกดังรำคาญ
• ระบบจัดการเสียงวี๊ด ในขณะที่คุณพูดคุยกับคนรอบข้างอย่างใกล้ชิด
• โปรแกรมช่วยรับฟังเสียงจากทีวี
• การเชื่อมต่อแบบไร้สาย ด้วยเทคโนโลยี Bluetooth กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สมาร์ทโฟนระบบ iOS และ Android อุปกรณ์เสริม ฯลฯ
ควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สะดวกสบายกับฟังก์ชันเสริม เช่น
√ ปรับเพิ่ม-ลด ระดับเสียง
√ ปรับโหมดการทำงาน
√ เช็คระดับแบตเตอรี่
√ ค้นหาเครื่องช่วยฟัง “Find my hearing aid”
เครื่องช่วยฟัง คุณภาพสูง
ที่ได้รับการเลือกอย่างเหมาะสม
รองรับกับไลฟ์สไตล์ เฉพาะบุคคล จะช่วยให้คุณสู่ความสำเร็จในทุกมิติของชีวิตอย่างยั่งยืน
√ การสื่อสารที่ดีขึ้น : เครื่องช่วยฟังช่วยให้ได้ยินเสียงพูด เสียงสนทนาชัดเจนยิ่งขึ้น การสื่อสารระหว่างกันมีความเข้าใจกันมากขึ้น ความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ลูกค้าดีขึ้น มีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัวและสังคมได้มากขึ้น
√ ความเป็นอิสระในชีวิตเพิ่มขึ้น : เครื่องช่วยฟังช่วยให้สามารถทำงานต่างๆ ได้อย่างอิสระด้วยตนเองมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความรู้สึกเคารพตนเอง มั่นใจ เป็นอิสระ พึ่งพาตนเองได้มากขึ้น และสามารถควบคุมชีวิตของตนเองได้
√ เพิ่มการรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ : เนื่องจากสมองสามารถประมวลผลและตีความเสียงได้ดีขึ้น ทำให้รู้สึกเชื่อมต่อกับโลกรอบตัวมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพจิต และสุขภาพกายโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย
√ เพิ่มความปลอดภัย : เครื่องช่วยฟังช่วยเตือนเสียงที่สำคัญ เช่น เสียงไซเรน เสียงกริ่งประตู และเสียงการจราจรบนท้องถนน ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยในกิจกรรมประจำวัน และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ