ฝุ่น PM 2.5 อันตราย สำหรับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว

 

รู้จักกับ ฝุ่นละออง PM 2.5

      สารบัญ

 


 

PM 2.5 คืออะไร?

 

PM 2.5 (Particulate matters) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบกับขนาด 1 ใน 25 ส่วน ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม ขนาดเล็กมากจนสามารถผ่านขนจมูกที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นเข้าสู่ทางเดินหายใจไปยังปอดและกระแสเลือดได้โดยง่าย

 

PM 2.5 microns and human hair

 

       อีกทั้งตัวฝุ่น PM 2.5 นี้ ยังเป็นพาหะในการนำสารอื่นๆ เข้าสู่ร่างกาย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็ง และเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (Inflammation) รวมถึงอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายขึ้น ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและสมอง เป็นต้น

 

 

pollution

แหล่งกำเนิด ฝุ่น PM 2.5

มี 2 แหล่งกำเนิดใหญ่ คือ

 

1. แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต

2. การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และสารก่อมะเร็ง เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)

 

 

กลุ่มเสี่ยงใด? ควรระวัง

ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5

       ความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจะสูงขึ้นในบุคคลบางกลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง เด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้ทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีค่ามลพิษในอากาศสูง หรือเกินค่ามาตรฐาน

otolaryngology

  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และผู้ป่วยไซนัส อาการอาจกำเริบได้ ซึ่งโรคภูมิแพ้จมูกนี้มีอาการเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบไปยังหูชั้นกลางกับช่องจมูก ซึ่งมีท่ออากาศเชื่อมต่อกัน เมื่อท่อเกิดการอุดตัน อากาศที่ถูกกักไว้ภายในจะทำให้รู้สึกปวดหู หูอื้อ และอาจมีมูกขังภายใน จนเกิดการติดเชื้อและเกิดหูชั้นกลางอักเสบ ถ้าเป็นเรื้อรังอาจมีหนองไหลออกจากหูเนื่องจากมีเยื่อแก้วหูทะลุ
  • ในสตรีมีครรภ์ พบว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพทารกในครรภ์ โดยอาจทำให้เด็กในครรภ์เติบโตช้า (Intrauterine Growth Retardation: IUGR) หรือทารกคลอดก่อนกำหนด (Premature Labor) และเพิ่มการตายปริกำเนิด (Perinatal Mortality) ได้

 

PM 2.5 อันตราย ในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว

       กองระบาดวิทยา¹ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า จำนวนผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ และหัวใจและหลอดเลือด มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ปริมาณความเข้มข้นของมลพิษอากาศและฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้นเช่นกัน

       เมื่อพิจารณาผู้ป่วยตามการวินิจฉัยโรคจากรายงานของโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวัง ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล พบว่า ในช่วงที่มีปัญหามลพิษอากาศและฝุ่น PM 2.5 (พฤศจิกายน 2563 – มีนาคม 2564) มีผู้ป่วย ที่เข้ามารับการรักษาจำนวน 2,631 ราย ได้แก่ โรคหอบหืด จำนวน 970 ราย (ร้อยละ 36.87) โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง 912 ราย (34.66) โรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ 730 ราย (27.75) และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 19 ราย (0.72)

       จากการแบ่งกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุระหว่าง 60 ปีขึ้นไป มีการเจ็บป่วยสูงสุด ร้อยละ 44.43 (ดังภาพแผนภูมิ) โดยผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล เป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อน เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ คิดเป็นร้อยละ 52.83 และกลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 47.17 ที่มีอาการป่วยในวันที่มีค่าเฉลี่ยฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้น

กลุ่มเฝ้าระวัง จำนวนผู้ป่วย ฝุ่น PM2.5

 

นอกจากนี้กรมควบคุมโรค² ยังรายงานว่า ฝุ่น PM 2.5 นั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางจิตเวช โดย PM2.5 มีผลต่อการอักเสบของหลอดเลือด และระบบประสาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสารสื่อประสาท ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ภาวะเครียด และการฆ่าตัวตายตามมา

 

 

อาการผิดปกติของร่างกาย

เมื่อสัมผัส กับฝุ่น PM 2.5


  • ตาแดง บริเวณเปลือกตาบวม ใต้ตาช้ำ สังเกตได้จากสีที่คล้ำขึ้น มีน้ำตาไหลบ่อย ๆ skin-rash ผื่นคัน
  • ผิวหนังเป็นตุ่มหรือผื่น นูนแดงกระจายไปทั่ว
  • ผิวหนังปวดแสบปวดร้อน มีอาการระคายเคือง
  • เป็นลมพิษ ถ้าเป็นหนักมากอาจเกิดลมพิษบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ
  • ทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ เหี่ยวย่นง่าย
  • รู้สึกคัน แสบ หรือแน่นในโพรงจมูก มีน้ำมูกแบบใส
  • ไอ จาม รู้สึกแน่นหน้าอก
  • ตัวร้อน มีไข้

ผลกระทบทางสุขภาพระยะยาว ได้แก่ เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง  โรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด

 

องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) กำหนดให้ฝุ่น PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง

 

 

ดัชนีคุณภาพอากาศเท่าไหร่?

ถึงปลอดภัยต่อสุขภาพ


       ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) ตามมาตรฐานของ US-EPA 2016 แบ่งเป็น 6 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 501 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพ

  • ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าตั้งแต่  0 – 50 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีเขียว หมายถึง คุณภาพอากาศดี ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าตั้งแต่  51 – 100 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีเหลือง หมายถึง คุณภาพปานกลาง มีผลกระทบต่อผู้ที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ
  • ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าสูงกว่า 101 – 150 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีส้ม หมายถึง มีผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง (ผู้เป็นโรคหอบหืด ภูมิแพ้ เด็กและผู้สูงอายุ)
  • ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าสูงตั้งแต่ 151 – 200 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีแดง หมายถึง มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าสูงตั้งแต่ 201 – 300 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีม่วง หมายถึง มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก

 

AQI US ดัชนีคุณภาพอากาศ

เช็คดัชนีคุณภาพอากาศ วันนี้ ;  AQI : มาตรฐาน US-EPA ,  AQI : มาตรฐานไทย

 

 

เมื่อค่าดัชนีคุณภาพอากาศสูงกว่า 101 หรือแสดงเป็นสีส้ม แนะนำให้กลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัว ควรงดกิจกรรมนอกบ้าน หรือหากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรสวมหน้ากาก N95 เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน

 

 


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน การได้ยินลดลง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  Facebook button  Line button

 


ขอขอบคุณข้อมูล : www.brh.go.th, allwellhealthcare.com, www.daikin.co.th,        
¹moph.go.th, ²moph.go.th
www.bangkokpattayahospital.com,  www.praram9.com