Posts

5-ปัจจัย-ออดิโอแกรม-เดียวกัน-ผลลัพธ์การได้ยิน-แตกต่างกัน

ออดิโอแกรม เดียวกัน เครื่องช่วยฟังรุ่นเดียวกัน ประเภทเดียวกัน แต่ผลลัพธ์การได้ยินแตกต่างกัน เนื่องด้วยปัจจัย 5 ปัจจัยนี้ และนอกจากนี้นักโสตสัมผัสวิทยายังอธิบายว่า

ยาเป็นพิษต่อหู Ototoxic

ยาเป็นพิษต่อหู (Ototoxic Drugs) กลุ่มยาที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น สูญเสียการได้ยิน หูอื้อ หรือเสียงดังในหู และปัญหาการทรงตัว พบได้ในยาแก้ปวดทั่วไป ยารักษาเบาหวาน

คัดกรองการได้ยิน ผู้สูงอายุ หูไม่ได้ยิน

คัดกรองการได้ยิน ผู้สูงอายุ หูไม่ได้ยิน คุณสามารถทำการทดสอบให้กับผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัว ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ Finger Rub Test โดยการใช้นิ้วมือถูกันในระยะห่าง ประมาณ 1 นิ้ว

Why Hearing Test ทำไมต้องตรวจการได้ยิน

 

ทำไมต้องตรวจการได้ยิน?

การตรวจการได้ยินสำคัญอย่างไร?

 

        คนเราใช้หูในการรับฟัง การจะพูดคุยหรือสื่อสารได้ดีนั้นหูจะต้องได้ยินก่อน โดยมากแล้วการได้ยินของคนเรามักจะลดลงตามอายุและอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการฟังเสียงดังเกินไป การรับประทานยาที่มีผลต่อระบบประสาทหู โรคประจำตัว เป็นต้น

        ตรวจการได้ยิน หรือทดสอบการได้ยิน (Hearing Test) จะช่วยให้ทราบระดับการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด อยู่ในเกณฑ์การได้ยินปกติดีหรือไม่ การตรวจการได้ยินไม่จำเป็นต้องรอให้แพทย์สั่ง สามารถเข้ารับการตรวจได้เมื่อรู้สึกการได้ยินลดลง

 

5 ระดับ การสูญเสียการได้ยิน

สูญเสียการได้ยิน ระดับเล็กน้อยหรือหูตึงเล็กน้อย ไปจนถึงสูญเสียการได้ยินระดับหูหนวก

Hearing Level ระดับการได้ยิน

 

          ระดับการได้ยินที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์การได้ยินปกตินั้น ระดับความดังจะต้องไม่เกิน 25 เดซิเบล (dB) แต่หากเมื่อใดที่ต้องใช้ระดับความดังมากกว่า 25 เดซิเบล (dB) ถือว่าเข้าข่ายการได้ยินผิดปกติ หรือเรียกว่า การสูญเสียการได้ยิน บกพร่องทางการได้ยินหรือหูตึงนั่นเอง

 

result ผลตรวจการได้ยิน

 

          การตรวจการได้ยินจะช่วยป้องกันความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจส่งผลให้การได้ยินลดลง เพราะเมื่อใดที่ประสบปัญหาการได้ยิน เมื่อนั้นย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน กรณีสูญเสียการได้ยินแบบถาวร จะไม่สามารถรักษาให้กลับมาได้ยินดีดังเดิมได้

 

          ปัจจุบันผลตรวจการได้ยินได้ถูกนำมาใช้ประกอบการสมัครงานในบางสายงาน บางตำแหน่ง หรือแม้กระทั่งการสมัครเข้าศึกษาต่อของสถานศึกษาบางแห่ง จำเป็นต้องใช้ในการยื่นประกอบการสมัครด้วย โปรดตระหนักถึงการได้ยินของท่าน

 

 

สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงรุนแรง ควรใช้ เครื่องช่วยฟัง

สูญเสียการได้ยินระดับหูหนวก ควรได้รับการผ่าตัด ประสาทหูเทียม

 

 

หากพบว่าการได้ยินของท่านลดลง แนะนำให้ตรวจการได้ยิน

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

World Hearing Day 2023
ตรวจการได้ยิน ทดสอบการได้ยิน

 

ความบกพร่องทางการได้ยิน เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ตั้งแต่ทารกแรกคลอด วัยเด็ก ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่สูงอายุ

 

      การพูดคุยสื่อสารมีความสำคัญ เมื่อความสามารถในการสื่อสารกับคนรอบข้างลดลง ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และนั่นอาจถึงเวลาที่คุณควรเข้ารับการตรวจการได้ยิน เพื่อเตรียมความพร้อมและหาวิธีป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่อาจเกิดขึ้น

      ปัจจุบันทารกแรกคลอด อายุตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จะได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน OAE

 

รู้จักกับ การตรวจการได้ยิน

การตรวจการได้ยิน แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ


       1. ตรวจการได้ยิน ว่าการได้ยินอยู่ในระดับใด ได้แก่ Pure tone audiometry

       2. ตรวจวัดความเข้าใจในความหมายของคำพูด ได้แก่ Speech discrimination score

       3. ตรวจหาตำแหน่งของพยาธิสภาพในระบบการได้ยิน เป็นการตรวจแบบพิเศษ ค่อนข้างเฉพาะ ได้แก่ Short Increment Sensitivity Index (SISI), Alternate Binaural (ABLB), Tone decay test, Stapedial reflex decay test, Brainstem electrical response audiometry, Oto-acoustic emission (OAE)

 

 

1. ตรวจการได้ยิน คืออะไร? ตรวจเพื่ออะไร?


      การตรวจการได้ยิน เป็นการตรวจเพื่อทดสอบความสามารถในการรับฟังเสียง ว่าได้ยินปกติหรือไม่ มีการได้ยินอยู่ในระดับใด (dB) หรือมีความผิดปกติ บกพร่องในช่วงความถี่เสียงที่เท่าไหร่ (Hz) เกิดที่หูข้างไหน

ระดับการได้ยินปกติ

Audiogram ผลตรวจการได้ยินปกติ (สีแดง หูข้างขวา สีน้ำเงิน หูข้างซ้าย)

 

 

ระดับการได้ยิน ในเกณฑ์ปกติ จะอยู่ระหว่าง – 10 ถึง 25 เดซิเบล

กรณีมากกว่า 25 เดซิเบล ถือว่าการได้ยินผิดปกติ

 

 

 

      การตรวจระดับการได้ยินดังกล่าว เป็นการตรวจแบบ Pure tone audiometry โดยการปล่อยเสียงบริสุทธิ์ (Pure tone) ณ ความถี่ต่างๆ ได้แก่ 250 500 1000 2000 4000 6000 และ 8000 Hz จะตรวจด้วย 2 วิธีการ ดังนี้;

Pure tone audiometry - Air conduction

ตรวจการได้ยินโดยเสียงผ่านอากาศ (Air conduction)

 

      1) ตรวจการได้ยินโดยเสียงผ่านอากาศ (Air conduction) คือ การวัดการทำงานของหูชั้นนอก และหูชั้นกลาง

      2) ตรวจการได้ยินโดยเสียงผ่านกระดูก (Bone conduction) คือ การวัดการทำงานของปลายประสาทหู ของหูชั้นใน

 

 

 

2. ตรวจวัดความเข้าใจในความหมายของคำพูด ตรวจอย่างไร?


      การตรวจวัดความเข้าใจในความหมายของคำพูด (Speech discrimination score) ผู้ตรวจจะมีชุดคำพูดให้ผู้เข้ารับการตรวจพูดตาม ที่ระดับ 35 เดซิเบล (dB) เหนือระดับจุดเริ่มต้นได้ยิน เพื่อวัดความสามารถในการพูดตามได้ถูกต้องกี่เปอร์เซ็นต์ (%)

 

types of hearing loss

     ผู้ที่มีการนำเสียงเสีย (หูชั้นกลาง) จะพูดตามได้ถูกต้องกว่า ผู้ที่มีประสาทรับเสียงเสีย (หูชั้นใน)

     ดังนั้น ประสาทรับเสียงในหูชั้นใน มีผลต่อการแปลความหมายของคำพูด แม้ว่าจะได้ยินเสียงดังแต่ก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายของคำพูดได้ หรือแม้กระทั่งพูดเสียงดังมาก ก็อาจทำให้ได้ยินเสียงผิดเพี้ยนไป

 

 

3. ตรวจหาตำแหน่งของพยาธิสภาพในระบบการได้ยิน


      การตรวจลักษณะนี้ จะเป็นการตรวจแบบพิเศษ ค่อนข้างเฉพาะ บางวิธีการตรวจจำเป็นต้องมีวิสัญญีแพทย์

– การตรวจ Short Increment Sensitivity Index (SISI) : การตรวจวัดความสามารถในการทำงานของปลายประสาทหูชั้นใน

– การตรวจ Alternate Binaural (ABLB) : การตรวจเปรียบเทียบการทำงานของหูข้างที่เสียกับหูข้างที่ดี

– การตรวจ Tone decay test : การตรวจความล้าของประสาทรับเสียงในการฟังเสียงดังต่อเนื่อง เช่น ผู้มีเนื้องอกกดทับเส้นประสาทรับเสียง

– การตรวจ Stapedial reflex decay test : การตรวจสมรรถภาพของหูชั้นกลาง

– การตรวจ Brainstem electrical response audiometry : การตรวจวัดระดับการได้ยินแบบอัตโนมัติ ด้วยคลื่นไฟฟ้าผ่านก้านสมอง

– การตรวจ Otoacoustic emission (OAE) : การตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน ใช้ตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กทารกแรกเกิด

 

 

ผลตรวจการได้ยินจะถูกนำไปใช้ประกอบการหาสาเหตุเพื่อวินิจฉัยโรค และเป็นแนวทางการรักษาสำหรับแพทย์ในขั้นตอนต่อไป

ตรวจวินิจฉัยโรค

หมายเหตุ ปัจจุบันผลตรวจการได้ยินยังได้ถูกนำไปใช้ในการสมัครงานบางตำแหน่ง บางสายงานอาชีพเฉพาะ การสมัครเข้าศึกษาในสถานศึกษาบางแห่ง

 


บริการตรวจการได้ยิน ตรวจประจำปี ตรวจทดลองเครื่องช่วยฟัง

ตรวจติดตามผลหลังจากใส่เครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  Facebook button  Line button


ขอขอบคุณข้อมูล : www.rama.mahidol.ac.th,
การตรวจวัดการได้ยิน – สุจิตรา ประสานสุข (Vol. 30; 2546) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ตรวจ OAE ทารกแรกคลอด

       OAE หรือ Otoacoustic Emission คือ การตรวจคัดกรองการได้ยินสำหรับทารกแรกเกิด (Newborn Hearing Screening) โดยการปล่อยเสียงกระตุ้น วัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนภายในหูชั้นใน ใช้เวลาตรวจประมาณ 10 วินาที – 2 นาที ขณะทารกนอนนิ่งๆ หรือนอนหลับ ภายในห้องเงียบ เครื่องจะแสดงผลการตรวจอัตโนมัติ ทราบผลได้ทันที และมีความแม่นยำสูง โดยส่วนใหญ่จะตรวจหลังจากทารกมีอายุ 2 วันขึ้นไปก่อนกลับบ้าน

 


       รายงานจากองค์กรอนามัยโลกในปี พ.ศ.2555 พบว่าประชากรโลก 360 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5.3 ของประชากรทั้งหมดที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยเด็กที่สูญเสียการได้ยินแบบถาวร มีจำนวน 1 – 3 รายต่อทารกปกติ 1,000 ราย และ 2 – 4 รายต่อทารกที่รักษาตัวในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) ทั้งนี้ประเทศไทยมีการตรวจพบทารกที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 1.7 – 4 ต่อทารก 1,000 ราย

       ดังนั้น การตรวจ OAE ในทารกจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อตรวจหาความผิดปกติของการได้ยินที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กในอนาคตได้


 

OAE ผลตรวจจะแสดงอยู่ 2 ค่า คือ

  • PASS หมายถึง ทารกมีการได้ยินปกติ การทำงานของหูชั้นกลาง และประสาทรับเสียงภายในหูชั้นในปกติ
  • REFER หมายถึง ส่งตรวจซ้ำ อาจเกิดจากภาวะที่ทารกมีสิ่งอุดกั้นในช่องหู เช่น ไข น้ำคร่ำ ขี้หู ทำให้ไปขัดขวางการตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน หรือการทำงานของหูชั้นกลางและหูชั้นในมีความผิดปกติ จำเป็นต้องส่งตรวจ OAE ซ้ำ อีก 2 ครั้ง หากผลยัง REFER จะต้องทำการตรวจด้วยวิธีอื่น เช่น การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (ABR; Auditory Brainstem Response) เพื่อการวินิจฉัยต่อไป (กรณีทารกตรวจคัดกรองไม่ผ่านควรได้รับการยืนยันว่าสูญเสียการได้ยิน ภายในอายุ 3 เดือน และควรได้รับการฟื้นฟูการได้ยินก่อนอายุ 6 เดือน)

 

ขั้นตอนการตรวจ OAE ในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่

 

       กรณีผลตรวจ PASS ผู้ปกครองต้องคอยหมั่นสังเกตพัฒนาการทางการฟังและการพูดของเด็กในช่วงอายุต่างๆ ร่วมด้วย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายหลังได้ (อ่านข้อมูลทารกกลุ่มเสี่ยงและพัฒนาการตามช่วงอายุ)

       สาเหตุการเกิดความผิดปกติภายหลัง ได้แก่ การติดเชื้อหัด คางทูม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การได้รับยาที่มีพิษต่อหู การฟังเสียงดังมากเกินไป การอักเสบของหูชั้นกลาง ประสาทหูเสื่อมจากกรรมพันธุ์ที่มีอาการภายหลัง เป็นต้น

 

OAE ตรวจการได้ยิน ทารก เด็ก

“งานวิจัยพบว่า เด็กที่ตรวจพบความผิดปกติการได้ยินและได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ก่อนอายุ 6 เดือน เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านภาษาดีกว่าเด็กที่ตรวจพบช้ากว่าอายุ 6 เดือน”

 

 

 

ปรึกษาทุกปัญหาการได้ยินและตรวจการได้ยิน ได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
โรงพยาบาลสินแพทย์
จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2561 ม.ค. – ก.พ.;62(1): 53 – 65;เชิญขวัญ ฐิติรุ่งเรือง, ภาณินี จารุศรีพันธุ์, เสาวรส ภทรภักดิ์. การคัดกรองการสูญเสีย
การได้ยินในเด็ก.
วิดีโอคลิปการตรวจ OAE โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่

5 เหตุผล คนไม่ยอมทดสอบการได้ยิน

 

       การทดสอบการได้ยิน หรือ การตรวจการได้ยิน (Hearing Test) เป็นการตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยิน เพื่อหาระดับการได้ยินของหูทั้ง 2 ข้าง และเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของระบบการได้ยิน โดยระดับการได้ยิน “ปกติ” จะอยู่ระหว่าง -10 ถึง 25 เดซิเบล หากระดับการได้ยินมากกว่า 25 เดซิเบล ถือว่าการได้ยินของคุณมีความผิดปกติ และต่อไปนี้คือ

 

5 เหตุผล ที่คนส่วนมาก “ไม่ยอมทดสอบการได้ยิน”

 

1. ฉันยังเด็กเกินไปที่จะทำการทดสอบการได้ยิน


ทดสอบการได้ยิน Hearing Test

    คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการสูญเสียการได้ยิน มักเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากหรือในผู้สูงอายุ ซึ่งการสูญเสียการได้ยินยังสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม การเกิดอุบัติเหตุ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และการได้รับเสียงดังเป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเช่นกัน หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีอาการสูญเสียการได้ยิน อย่าให้อายุเป็นตัวกำหนดการทดสอบการได้ยิน ทุกคนควรมีการทดสอบการได้ยินอย่างน้อย 1 ครั้ง

 

2. ฉันยังได้ยินเสียงดีอยู่


    สัญญาณเริ่มต้นของการสูญเสียการได้ยินมักจะสามารถชดเชยได้โดยการเพิ่มระดับเสียงขึ้น การเอนตัวเพื่อฟังการสนทนา หรือการขอให้คู่สนทนาพูดซ้ำ วิธีการเหล่านี้มีความเป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาการได้ยิน คุณอาจคิดว่าผู้คนกำลังพูดเบาเกินไปหรือสภาพแวดล้อมของคุณมีเสียงดังเกินไป แต่ถ้าคนอื่นสังเกตเห็นความบกพร่องทางการได้ยินของคุณ หรือถ้าคนรอบข้างคุณไม่ตอบสนองต่อเสียงรบกวนเช่นเดียวกับคุณ คุณควรพิจารณาเข้ารับการตรวจเช็คการได้ยินของคุณ

 

3. ฉันอาย


    การสูญเสียการได้ยินมักเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และคนส่วนมากมักจะอายกับการใส่เครื่องช่วยฟัง บางคนมีความกังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์เมื่อรู้ว่าต้องใส่เครื่องช่วยฟัง อย่างไรก็ตามการขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง อาจเป็นเรื่องที่น่าอายและเกิดความรำคาญใจเช่นกัน

    ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเครื่องช่วยฟังในปัจจุบัน ได้มีการออกแบบเครื่องช่วยฟังให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย ขนาดเล็กกะทัดรัด และมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบที่แทบจะไม่สามารถมองเห็นได้ในเวลาที่คุณสวมใส่

 

4. ฉันไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ฉันจำเป็นต้องให้แพทย์แนะนำมาตรวจก่อนหรือไม่?


    คุณสามารถนัดหมายการทดสอบการได้ยินด้วยตัวของคุณเอง และสามารถนัดหมายได้ทันทีเมื่อคุณสงสัยว่าการได้ยินของคุณลดลง คุณไม่จำเป็นต้องรอให้แพทย์ส่งตัวเพื่อทำการทดสอบการได้ยิน

 

5. ฉันไม่สามารถซื้อเครื่องช่วยฟังได้


    แม้ว่าเครื่องช่วยฟังอาจมีราคาแพง แต่ผู้ให้บริการเครื่องช่วยฟังหลายรายมีแผนการจ่ายเงินที่สามารถช่วยบรรเทาความกังวลทางการเงินของคุณได้ และเพื่อการได้ยินที่ดีอีกครั้ง รวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

 

การสูญเสียการได้ยินมีความเชื่อมโยงถึงภาวะซึมเศร้าและสมองเสื่อมได้

 

 

ปรึกษาปัญหาการได้ยิน นัดหมายตรวจการได้ยิน

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

หูตึง เชียงใหม่ เครื่องช่วยฟัง หูดับ หูหนวก

 

สงสัยว่าคนใกล้ตัวกำลังหูตึง มีปัญหาการได้ยิน แต่ไม่รู้จะช่วยเขาอย่างไรดี? บางทีเขาอาจกำลังไม่รู้ตัวว่ากำลังมีปัญหาการได้ยิน แต่พวกเราที่อยู่รอบข้างจะรู้สึกได้เมื่อคุยกับเขา

 

7 เทคนิค ช่วยให้คุณช่วยเหลือผู้ที่กำลังมีปัญหาการได้ยิน


 

1. ให้กำลังใจเขา และพาไปตรวจการได้ยิน

ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินโดยส่วนมากมักจะไม่รู้ตัว เพราะค่อยๆ สูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงปรับตัวได้เองโดยอัตโนมัติ หากเราสังเกตได้เวลาพูดคุยก็ควรให้กำลังใจและบอกว่าเราห่วงใยเขามากขนาดไหน เราอยากให้เขาได้ยินทุกเรื่องราวแบบชัดเจน จะได้คุยกันสนุกมากขึ้น และเราก็ไม่อยากเป็นห่วงเวลาเขาข้ามถนนหรือขับรถที่อาจไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง จึงอยากพาไปตรวจการได้ยินด้วยกัน

 

2. สื่อสารแบบเข้าอกเข้าใจ

บอกคนที่กำลังมีปัญหาการได้ยินว่าคุณพร้อมจะปรับตัวเพื่อพูดคุยกับเขาให้เขาเข้าใจมากขึ้น เช่น ให้เขาเห็นหน้าเห็นปากเวลาพูด ใช้เสียงดังฟังชัด ไม่ช้าไม่เร็วเกินไป และลองทำดูว่าเขาได้ยินและเข้าใจบทสนทนามากขึ้นไหม

 

3. ถามว่าอยากให้ช่วยอะไรบ้าง

ปัญหาการได้ยินของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน จึงต้องการความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่นเวลาไปรับประทานอาหารด้วยกัน คุณควรให้เขาเลือกที่นั่งที่จะทำให้เขาได้ยินและพูดคุยได้ดีที่สุด เพราะโดยปกติทั่วไปที่นั่งตรงมุมห้องและติดกับผนังจะช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนได้ดีที่สุด

 

4. เรียกความมั่นใจกลับคืนมา

คนส่วนมากมักคิดไปเองว่า “ปัญหาการได้ยิน หรือหูตึง = คนแก่” จึงทำให้ผู้ที่กำลังมีปัญหาการได้ยินมักไม่มั่นใจและไม่กล้าแสดงออก เราจึงควรคุยกับเขาว่าเรามองเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องน่าอายอะไร การพูดคุยแบบเปิดอก ด้วยอารมณ์แบบเบาสบาย จะทำให้เขามั่นใจและกล้าจะปรึกษาคุณมากขึ้น

 

5. ใช้อารมณ์ขันเข้าช่วย

ในบางครั้ง ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินอาจไม่เข้าใจสิ่งที่เราพูด เขาจึงตอบไม่ตรงคำถาม หรือพูดไม่ตรงประเด็นบ้าง เราก็ไม่ควรทำให้เป็นเรื่องซีเรียส และลองทำให้เป็นเรื่องสนุกสนานดูบ้าง ไม่อย่างนั้นเขาจะอึดอัดใจ

 

6. พูดซ้ำบ้างก็ได้นะ

มีหลายคำศัพท์ที่อาจยากต่อการเข้าใจ ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินจึงมักขอให้คุณพูดซ้ำ หากเป็นเช่นนั้น แนะนำว่าให้คุณพูดซ้ำด้วยเสียงที่ชัดเจนและความเร็วปานกลาง หรืออาจเลือกใช้คำศัพท์อื่นที่เข้าใจง่ายกว่า และที่สำคัญคืออย่าพูดว่า “ไม่เป็นไร” เพื่อเปลี่ยนหัวข้อสนทนา เพราะจะทำให้เขายิ่งรู้สึกไม่ดีไปกันใหญ่

 

7. ทดลองสิ่งใหม่ๆ

เครื่องช่วยฟังรุ่นใหม่ที่ออกสู่ท้องตลาด มักจะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น คุณลองพาเขาไปลองเครื่องช่วยฟังหลากหลายรุ่น เพื่อเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของเขามากที่สุด บางคนอาจชอบดูโทรทัศน์ หรือชอบพูดคุยโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถเลือกอุปกรณ์เสริมที่เหมาะสมได้

 

 

ไม่มีอะไรยากเกินไป หากเรารักและเข้าใจผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน

 

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai