เทคนิค ฟื้นฟูการฟัง หลังจากใส่เครื่องช่วยฟังในผู้สูงอายุ จะช่วยให้ผู้สูงอายุคุ้นชินกับเสียง แยกแยะเสียงคำพูด เสียงสิ่งแวดล้อมและเสียงรบกวนได้ ทั้งนี้จะต้องฝึกฝน
Posts
ออกกำลังกาย ชะลอการเสื่อมลงของการสูญเสียการได้ยินได้ ผู้มีปัญหาการได้ยิน และผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง จะพบกับอุปสรรคในการออกกำลังกาย หากคุณต้องเข้าฟิตเนสร่วมกิจกรรมกลุ่มรับฟังเสียงเทรนเนอร์ เรามี 4 เทคนิคให้คุณนำไปปรับใช้
ขึ้นชื่อว่า “ผู้สูงอายุ” ก็จะมาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บสารพัด ใดๆ เลย การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ แต่เหล่าสูงวัยเองก็มักหนีไม่พ้น หูเอย ตาเอย แขนขาเอย โดยเฉพาะหู ที่เริ่มจะไม่ได้ยินหรือหูตึงนั่นเอง แล้วจะมีวิธีการรับมือหูตึงในวัยสูงอายุนี้ได้อย่างไร?
ผู้สูงอายุ หูตึง ผลกระทบมากกว่าที่คิด
ไม่ว่าใครก็ตาม เมื่อต้องเผชิญกับภาวะสูญเสียการได้ยิน หูไม่ได้ยิน หรือ หูตึง มักจะรู้สึกว่าการสื่อสารกับผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หรือน่าอึดอัดใจ
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับอาการหูไม่ค่อยได้ยิน ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนโดนแยกออกจากโลกภายนอก รู้สึกซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในด้านอื่นได้อีกด้วย
หูตึง ประสาทหูเสื่อม ตามอายุ
ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุ หรือประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) เป็นอาการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในหูชั้นใน ความเสื่อมจะกระทบไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นความถี่ช่วงเสียงพูด ทำให้เริ่มฟังไม่ชัดเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือด เป็นต้น
“สูงวัย อย่างมีความสุข” ได้อย่างไร?
มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่มีการสูญเสียการได้ยิน ทั้งที่ยอมรับตัวเองได้ และยังไม่ยอมรับตัวเองว่าหูไม่ได้ยิน การยอมรับตัวเองได้เร็ว และหาอุปกรณ์ช่วย จะเป็นผลดีต่อตัวผู้สูงอายุเอง
ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน
เรียนรู้ 4 วิธีการรับมือ สำหรับผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว
1. ลูกหลานควรเห็นอกเห็นใจ และผู้สูงอายุต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง
การดูแลหรือพูดคุยกับผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยินหรือหูตึง อาจทำให้ลูกหลานรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าใจได้ในครั้งเดียวที่พูดด้วย แต่เชื่อเถอะว่าคนที่รู้สึกอึดอัดใจมากกว่า ก็คือตัวผู้สูงอายุเอง ที่ต้องสูญเสียความสามารถทางการได้ยิน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกับผู้สูงอายุแล้วท่านไม่เข้าใจ ลองเปลี่ยนวิธีการพูดหรือเปลี่ยนประโยคพูดใหม่ อย่าพูดจบแล้วเดินหนี เพราะท่านอาจคิดมาก น้อยใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่สำคัญกับคนในครอบครัว
ตัวผู้สูงอายุเองก็ควรพูดหรือโต้ตอบไปตามที่ตนเองเข้าใจ อย่าคิดมากและอย่ากลัวที่จะพูด การพูดโต้ตอบเพื่อกระตุ้นให้สมองได้ทำงานบ้าง หยุดเครียดคิดมากวิตกกังวลและใช้ชีวิตให้มีความสุข ทำความเข้าใจและยอมรับว่าร่างกายของตนนั้นเสื่อมถอยลงตามอายุ และอารมณ์ที่แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือน้อยใจ 1 วัน หลากหลายอารมณ์นั่นก็เพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
2. ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง ลูกหลานต้องมีความอดทน
การยอมรับว่าตนเองหูไม่ได้ยิน หรือสูญเสียความสามารถทางการได้ยินไปเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการเสื่อมของประสาทการได้ยินที่ค่อยๆ เสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว และคิดว่าตนเองไม่ได้มีปัญหาการได้ยิน
ลูกหลานหรือคนในครอบครัวจำเป็นต้องสื่อสารกับท่านด้วยความอดทน พยายามพูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในขณะเดียวกันต้องพยายามให้ท่านได้รับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ท่านได้ยิน เพื่อรอวันที่ท่านพร้อมจะเปิดใจรับความช่วยเหลือ
3. ผู้สูงอายุควรหากิจกรรมทำ ลูกหลานส่งเสริมความมีคุณค่าให้กับผู้สูงอายุ
มีผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอารมณ์ของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความคิดในแง่ลบต่างๆ หรือความอึดอัดที่ทำให้หงุดหงิดง่าย
ดังนั้น ผู้สูงอายุควรหากิจกรรม หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบทำ เพื่อลดความเครียด วิตกกังวล เช่น การเดินออกกำลังกาย ปลูกผัก รดน้ำต้นไม้ หรือพบปะเพื่อนฝูง และลูกหลานควรทำความเข้าอกเข้าใจกับอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญในแต่ละวัน จะทำให้เราเข้าใจการแสดงออกของท่านได้มากขึ้น หมั่นหากิจกรรมทำร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว
4. คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ค่อยได้ยิน ให้พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ พูดช้าๆ และทำรูปปากให้ชัดเจนเพื่อที่อย่างน้อยท่านจะได้สามารถอ่านปาก ประกอบเสียงที่ได้ยินได้บ้าง
ผู้สูงอายุจะจำได้ไม่ดีเท่าคนที่อายุน้อย เพราะเกิดจากความเสื่อมและความช้าของสมองในการรับรู้และประมวลผล
การแก้ปัญหาหูไม่ได้ยิน หูตึง ในผู้สูงอายุ
อาการหูตึงในผู้สูงอายุ หรือการที่ประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัยนั้นเป็นภาวะความเสื่อมของอวัยวะ การช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วยฟังถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงจากผู้พูด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยินอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวของผู้ร่วมสนทนาหรือผู้พูดที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของอาการหูตึงในผู้สูงอายุและพยายามปรับการพูด เพื่อให้ผู้สูงอายุทำความเข้าใจบทสนทนาระหว่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยหลักการพูดเมื่อต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ได้ยิน มีดังนี้
• พยายามพูดในที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน หรือลดเสียงรบกวนรอบข้างระหว่างการพูดคุย
• พูดออกเสียงช้าๆ ชัดๆ พูดคำให้ครบ ไม่พูดงึมงำในคอ และตรวจสอบว่าผู้สูงอายุท่านเข้าใจ
• ใช้ท่าทางมือและสีหน้าประกอบในการสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร
อินทิเม็กซ์ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ให้มีสุขภาพการได้ยินที่ดีไปพร้อมกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ปรึกษาการได้ยินในผู้สูงอายุ
บริการทดสอบการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai
กลไกการได้ยินของมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ การได้ยินทำให้เรารับรู้เสียงรอบตัวของเรา รับรู้มิติของเสียง และความสมดุล
การได้ยินไม่ได้เกิดขึ้นในหู แต่มันเกิดขึ้นในสมองของคุณ
เสียงเดินทางผ่านหูของคุณ แก้วหูสั่นและทำให้กระดูกหูชั้นกลางเคลื่อนไหว เซลล์ขนเล็กๆ ภายในหูชั้นในจะเคลื่อนตัวขึ้นอยู่กับว่าเป็นเสียงต่ำ กลาง หรือสูง การเคลื่อนไหวเหล่านี้กระตุ้นเซลล์ประสาทในเส้นประสาทการได้ยินของคุณ จากนั้นสัญญาณจะข้ามไปยังอีกซีกหนึ่งของสมองส่วนการได้ยินของคุณ เพื่อตีความหมายว่าเป็นเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่นๆ
เมื่อคุณ สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง
สมองของคุณต้องการข้อมูลที่ป้อนเข้ามาจากหูทั้งสองข้าง เพื่อแปรผลจากเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง แต่ใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว จะลดโอกาสการได้ยินและความเข้าใจของสมองลง 50 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งลดความสามารถในการรับรู้ความลึกและช่วงพื้นที่ที่คุณจะได้ยิน
เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง คุณจะได้ยินเสียงดีขึ้น ตอนนี้สมองรู้แล้วว่าจะเก็บข้อมูลใด และจะทิ้งข้อมูลใด ข้อมูลสำคัญจะเป็นเสียงพูด การสนทนา เพลง และเสียงที่มีความหมาย ข้อมูลที่ไม่สำคัญ เช่น เสียงรบกวนต่างๆ คุณจะได้ยินน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป
การได้ยินที่ดีขึ้นช่วยให้สมองทำสิ่งเหล่านี้ได้ หากคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง จะส่งสัญญาณที่เหมาะสมไปยังสมอง ให้แปรความหมายจากโทนเสียง และความถี่ต่างๆ ได้ และสามารถเติมเต็มในส่วนที่คุณอาจพลาดไป
หูเสียสองข้าง ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?
เมื่อคุณพบว่าคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง และผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังได้แนะนำให้คุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น คุณมักมีคำถาม “ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?”
หากคุณสูญเสียการได้ยินสองข้าง และนี่คือประโยชน์เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟัง
9 ประโยชน์ เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น เมื่อ ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง
สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินสองข้าง
1. ได้ยินเสียงรบกวนลดลง
หนึ่งในสาเหตุที่ผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังพบบ่อยที่สุด คือ การเข้าใจคำพูดในสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น ในร้านอาหาร
การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ช่วยให้สมองประมวลผลเสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เน้นเสียงคำพูด และกรองเสียงรบกวนออก ความสามารถในการทำงานของสมองเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น หากคุณใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว
2. ลดอาการเหนื่อยล้า จากการฟัง
การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้อาการเหนื่อยล้าจากการฟังลดลง เนื่องจากสมองมีข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการแปรความหมายของเสียงที่ได้ยินแล้ว ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว ต้องใช้พลังมากขึ้น ตั้งใจฟังมากขึ้น สมองต้องทำงานหนักเพื่อ “เติมคำในช่องว่าง” ให้กับคุณ
3. ให้ความรู้สึกสมดุล ได้ยินเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น
เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ข้อมูลของเสียงที่ได้ยินถูกป้อนอย่างสมดุลเข้าสู่หูทั้งสอง สมองจึงพึ่งพาหูแต่ละข้างอย่างเท่าเทียมกันในการฟัง ยิ่งสมองแปรผลและเข้าใจเสียงที่ได้ยินมากขึ้นเท่าใด คำพูดที่คุณได้ยินก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นเท่านั้น
4. รู้ทิศทางของเสียง
หูสองข้าง ทำให้เราระบุที่มาได้ว่าเสียงมาจากทิศทางไหน เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง หูทั้งสองข้างทำงานร่วมกัน คลื่นเสียงจากหูทั้งสองข้างจะส่งไปยังสมอง เพื่อช่วยให้คุณระบุตำแหน่งที่มาของเสียง เช่น รู้ว่าเสียงไซเรนจากรถพยาบาล กำลังมาจากทิศทางไหนเมื่อคุณขับรถ
5. การได้ยินเสียง มีช่วงกว้างขึ้นจาก 180◦ เป็น 360◦
การได้ยินเสียงจากด้านใดด้านหนึ่งจะจำกัดปริมาณเสียงที่คุณได้ยินจากอีกด้านหนึ่ง ความเข้าใจเสียงของคุณจึงถูกจำกัด การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้คุณสามารถได้ยินเสียงอย่างชัดเจนจากทั้งสองทิศทาง คุณจะได้ยินเสียงง่ายขึ้นและได้ยินคนพูดคุยรอบตัวคุณ เพิ่มช่วงการได้ยินจาก 180 เป็น 360 องศาทีเดียว
6. เพิ่มความสามารถในการ “เลือกฟัง”
เมื่อมีคนพูดคุยหลายคนพร้อมกัน เช่น ในร้านอาหาร การเข้าใจคู่สนทนาเป็นเรื่องลำบากมากหากคุณใส่เครื่องช่วยฟังในข้างเดียว เนื่องจากเสียงทุกเสียงจะเข้ามาที่หูข้างที่คุณใส่เครื่องช่วยฟัง เสียงทั้งหมดผสมผสานรวมกัน คุณจะไม่สามารถแยกเสียงคำพูดออกจากเสียงรบกวนรอบข้างได้เลย ความสามารถในการ “เลือกฟัง” จะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณได้ยินจากหูทั้งสองข้างเท่านั้น
7. รองรับเสียงดังได้ดีขึ้น
หูแต่ละข้าง รองรับความดังของเสียงได้ในระดับหนึ่ง การได้ยินด้วยหูทั้งสองข้าง ทำให้เสียงดังที่เข้ามาถูกแบ่งระหว่างหูสองข้าง จึงทำให้คุณสามารถทนต่อเสียงดังในสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงตลอดวัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานในแต่ละวันของคุณได้ดีขึ้น
8. ประหยัดแบตเตอรี่
เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างจะถูกส่งไปที่สมอง ซึ่งจะเพิ่มความดังตามธรรมชาติให้กับคุณ ทำให้การตั้งระดับความดังของเครื่องช่วยฟังไม่จำเป็นต้องดังมาก ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว คุณต้องการความดังมากเพื่อชดเชยหูข้างที่ไม่ได้ยิน
9. หูทั้งสองข้างแข็งแรง
หากคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้างและใส่เครื่องช่วยฟังในหูข้างเดียว คุณกำลังบังคับให้หูข้างเดียวทำงานสองข้าง คล้ายกับมีแขนที่อ่อนแอสองข้างที่ยกน้ำหนักด้วยแขนข้างเดียว หูข้างที่มีการสูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังจะอ่อนแอลง เนื่องจากสมองได้พึ่งพาหูข้างที่ใส่เครื่องช่วยฟังมากขึ้น เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อ หากคุณไม่ใช้มันคุณอาจสูญเสียมันไปได้ หากคุณสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้างควรได้รับการกระตุ้นของเสียงที่เข้ามาอย่างเพียงพอผ่านการใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อส่งเสริมให้คุณประสบความสำเร็จในการฟังในระยะยาว
พิจารณา การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เมื่อคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้าง
ขอรับคำแนะนำการเลือกเครื่องช่วยฟัง บริการทดลองเครื่องช่วยฟัง
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai
เมื่อ สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน จะรับมือปัญหานี้อย่างไร เมื่อเราต้องพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ติดต่อประสานงานภายนอกองค์กร ปัจจุบันมีเทคโนยีช่วยการได้ยิน
เมื่ออุปสรรคการ สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน ส่งผลต่อศักยภาพการทำงาน ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์เข้าใจถึงความท้าทายที่มาพร้อมกับความบกพร่องทางการได้ยินนี้ และ
หลายคนอาจมีข้อสงสัย….
หูทั้งสองข้าง ได้ยินเท่ากันหรือไม่? เท้าข้างหนึ่งของคุณมักจะใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่งเล็กน้อย เช่นเดียวกับสายตาที่สั้นหรือยาวกว่ากันเล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หูข้างหนึ่งอาจได้ยินดีกว่าอีกข้างหนึ่ง แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
¹งานวิจัยค้นพบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางหูขวา มีปัญหาในการเรียนในโรงเรียนมากกว่าเด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูซ้าย
หูซ้าย และหูขวา
หูทั้งสองข้าง รับรู้เสียงแตกต่างกัน
¹Yvonne Sininger, Ph.D. ศาสตราจารย์ด้านศัลยศาสตร์ศีรษะและคอ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ร่วมกับทีมงาน ได้ทำการศึกษาการได้ยินของทารกแรกเกิดมากกว่า 3,000 ราย ก่อนออกจากโรงพยาบาล พวกเขาพบว่า หูข้างซ้ายปรับเข้ากับเสียงดนตรีได้ดีกว่า และหูข้างขวารับเสียงคล้ายเสียงพูดได้ดีกว่า
การวิจัยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างที่เริ่มต้นที่หู “เราคิดเสมอว่าหูซ้ายและขวาของเราทำงานในลักษณะเดียวกัน” Sininger กล่าว ด้วยเหตุนี้ เรามักจะคิดว่ามันไม่สำคัญว่าหูข้างไหนที่มีความบกพร่องในตัวบุคคล ตอนนี้เราเห็นว่ามันอาจมีความหมายอย่างลึกซึ้งต่อพัฒนาการทางการพูดและภาษาของแต่ละคน
การค้นพบนี้จะช่วยให้แพทย์ พัฒนาการพูดและภาษาในทารกแรกเกิดที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและฟื้นฟูผู้ที่สูญเสียการได้ยิน
นั่นอาจอธิบายได้ว่า…
³ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างซ้ายมาก อาจพบว่าตัวเองไม่สามารถเข้าใจอารมณ์หรือการโต้เถียงของสมาชิกในครอบครัวได้น้อยลง ในขณะที่ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างขวามาก อาจสูญเสียความสามารถในการให้เหตุผลเชิงตรรกะบางส่วน หรือการแยกแยะสิ่งต่างๆ ลดลง
ซึ่งตรงข้ามกับสมองของมนุษย์เรา กล่าวคือ…
²สมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะเหตุผล การมีวิจารณญาณ ตัวเลข ภาษา และสมองซีกขวา (Right Hemisphere) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ การจินตนาการ ดนตรี ศิลปะ อารมณ์
สอดคล้องกับงานวิจัย ในปี ค.ศ. 1960 ของ Roger W. Sperry ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ได้ศึกษาสมองสองซีกของมนุษย์ และค้นพบว่า สมองทั้งสองซีกจะทำงานกลับข้างกัน สมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของร่างกายทางด้านขวา และสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของร่างกายทางด้านซ้าย
¹นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ Cone-Wesson แห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนา ผู้วิจัยร่วมกับ Sininger ยังอธิบายว่า “หากบุคคลใดหูหนวกอย่างสมบูรณ์ การค้นพบของเราอาจเสนอแนวทางแก่ศัลยแพทย์ในการใส่ประสาทหูเทียมในหูข้างซ้ายหรือข้างขวาของแต่ละคน และมีอิทธิพลต่อวิธีตั้งโปรแกรมประสาทหูเทียมหรือเครื่องช่วยฟังเพื่อประมวลผลเสียง” Cone-Wesson อธิบาย “โปรแกรมประมวลผลเสียงสำหรับอุปกรณ์ช่วยฟังสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับหูแต่ละข้างได้ เพื่อให้ได้สภาวะที่ดีที่สุดสำหรับการได้ยินเสียงคำพูดหรือเสียงดนตรี”
การให้ข้อมูลของคุณกับผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินและเครื่องช่วยฟัง จะเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม รวมถึงการปรับแต่งเสียงเพื่อการใช้งานเครื่องช่วยฟังของคุณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทดสอบการได้ยิน ปรึกษาการเลือกเครื่องช่วยฟัง
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai
ขอขอบคุณข้อมูล : ¹University Of California – Los Angeles, Left And Right Ears Not Created Equal As Newborns Process Sound. ScienceDaily. [2004, Sep10]., ²กลไกสมองสองซีกกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์. ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย, 2559, healthyhearing.com
ทำไมต้องตรวจการได้ยิน?
การตรวจการได้ยินสำคัญอย่างไร?
คนเราใช้หูในการรับฟัง การจะพูดคุยหรือสื่อสารได้ดีนั้นหูจะต้องได้ยินก่อน โดยมากแล้วการได้ยินของคนเรามักจะลดลงตามอายุและอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการฟังเสียงดังเกินไป การรับประทานยาที่มีผลต่อระบบประสาทหู โรคประจำตัว เป็นต้น
ตรวจการได้ยิน หรือทดสอบการได้ยิน (Hearing Test) จะช่วยให้ทราบระดับการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด อยู่ในเกณฑ์การได้ยินปกติดีหรือไม่ การตรวจการได้ยินไม่จำเป็นต้องรอให้แพทย์สั่ง สามารถเข้ารับการตรวจได้เมื่อรู้สึกการได้ยินลดลง
5 ระดับ การสูญเสียการได้ยิน
สูญเสียการได้ยิน ระดับเล็กน้อยหรือหูตึงเล็กน้อย ไปจนถึงสูญเสียการได้ยินระดับหูหนวก
ระดับการได้ยินที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์การได้ยินปกตินั้น ระดับความดังจะต้องไม่เกิน 25 เดซิเบล (dB) แต่หากเมื่อใดที่ต้องใช้ระดับความดังมากกว่า 25 เดซิเบล (dB) ถือว่าเข้าข่ายการได้ยินผิดปกติ หรือเรียกว่า การสูญเสียการได้ยิน บกพร่องทางการได้ยินหรือหูตึงนั่นเอง
การตรวจการได้ยินจะช่วยป้องกันความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจส่งผลให้การได้ยินลดลง เพราะเมื่อใดที่ประสบปัญหาการได้ยิน เมื่อนั้นย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน กรณีสูญเสียการได้ยินแบบถาวร จะไม่สามารถรักษาให้กลับมาได้ยินดีดังเดิมได้
ปัจจุบันผลตรวจการได้ยินได้ถูกนำมาใช้ประกอบการสมัครงานในบางสายงาน บางตำแหน่ง หรือแม้กระทั่งการสมัครเข้าศึกษาต่อของสถานศึกษาบางแห่ง จำเป็นต้องใช้ในการยื่นประกอบการสมัครด้วย โปรดตระหนักถึงการได้ยินของท่าน
สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงรุนแรง ควรใช้ เครื่องช่วยฟัง
สูญเสียการได้ยินระดับหูหนวก ควรได้รับการผ่าตัด ประสาทหูเทียม
หากพบว่าการได้ยินของท่านลดลง แนะนำให้ตรวจการได้ยิน
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
หูไม่ได้ยิน หรือหูตึง ปัญหาการได้ยินที่คนส่วนมากมักมองข้ามและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร รู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อเริ่มสื่อสารกับผู้อื่นลำบากแล้ว
อาการของการสูญเสียการได้ยินหรือหูตึง มีหลายระดับขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรง บางรายสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยในหูทั้งสองข้าง บางรายสูญเสียการได้ยินรุนแรงในหูข้างเดียว หรือบางรายสูญเสียการได้ยินในแต่ละข้างไม่เท่ากัน ดังนั้นประสบการณ์การฟังย่อมแตกต่างกัน
เช็คสัญญาณอาการที่เข้าข่ายผู้มีปัญหาการได้ยิน
ตรวจเช็คอาการดังต่อไปนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและหาวิธีป้องกันให้กับการได้ยินของคุณ
- เพื่อนหรือครอบครัวบอกว่าคุณเปิดทีวีหรือวิทยุดังเกินไป
- คุณมีปัญหาในการทำความเข้าใจคำพูด โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง
- คุณมีปัญหาในการสนทนาทางโทรศัพท์
- คุณมีความรู้สึกว่าได้ยิน แต่ฟังไม่เข้าใจ
- คุณไม่แน่ใจว่าเสียงมาจากทิศทางไหน
- คุณมักจะขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ
- คุณต้องพึ่งพาคู่สมรสหรือคนที่คุณรักเพื่อช่วยให้คุณได้ยิน
- คุณพบว่าตัวเองกำลังหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม
- คุณรู้สึกอ่อนเพลียหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เกิดจากความเหนื่อยล้าในการฟัง
- คุณมีอาการเสียงดังในหู
- คุณมีอาการหูอื้อ
หากพบว่าตัวคุณเองมีปัญหาการได้ยินตามอาการดังกล่าว กรณีเพิ่งเริ่มมีอาการ แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก เพื่อทำการรักษา หรือกรณีไม่แน่ใจว่าตัวคุณเองมีปัญหาการได้ยินหรือไม่ บางครั้งได้ยินดี แต่ในบางครั้งกลับไม่ได้ยิน
แนะนำให้คุณตรวจการได้ยิน คุณจะทราบถึงระดับการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด มีปัญหาการได้ยินในช่วงความถี่เสียงไหน เพื่อให้คุณเตรียมความพร้อมและหาวิธีการป้องกันหรือวิธีการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยคุณสามารถเข้ารับบริการตรวจการได้ยินได้ที่โรงพยาบาล หรือศูนย์บริการเอกชนใกล้บ้าน
คุณสามารถตรวจการได้ยินประจำปีได้โดยไม่ต้องรอให้แพทย์สั่ง หรือรอให้ตัวคุณเองไม่ได้ยิน
ปรึกษาปัญหาการได้ยิน บริการตรวจการได้ยิน (Pure-Tone Audiometry)
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111