เลือก อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน อย่างเหมาะสมตามระดับการสูญเสียการได้ยิน เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้มีอาการหูไม่ได้ยิน หูตึง หรือหูหนวก
Posts
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้หูดับในประเทศไทย
ฉบับที่ 21/2564 ประจำสัปดาห์ที่ 22 (วันที่ 30 พ.ค. – 5 มิ.ย. 64)
รายงานพบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 171 ราย
เสียชีวิต 11 ราย
กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงาน ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี รองลงมาคือ อายุ 55 – 64 ปี และอายุ 45 – 54 ปี ตามลำดับ อาชีพที่พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ คือ รับจ้าง รองลงมาคือ เกษตรกร ภาคที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ ภาคเหนือ รองลงมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ นครราชสีมา และสุโขทัย ตามลำดับ
พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคไข้หูดับเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมและวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการป่วยด้วยโรคไข้หูดับ โรคไข้หูดับเกิดจาก เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis)
โรคไข้หูดับ สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ
1. การบริโภคเนื้อหมู และเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ
2. การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ ทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค ติดต่อผ่านทางบาดแผล รอยถลอก และทางเยื่อบุตา
อาการหลังได้รับเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส ซูอิส หรือไข้หูดับ ในไม่กี่ชั่วโมง จนถึง 5 วัน
- มีไข้สูง
- ปวดศีรษะรุนแรง
- เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้
- อาเจียน
- ถ่ายเหลว
- คอแข็ง
- สูญเสียการได้ยินถึงขั้นหูหนวกถาวร
- ข้ออักเสบ
- เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังติดเชื้อรุนแรง
- ติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้
กลุ่มเสี่ยงที่เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ
กรมควบคุมโรค แนะนำวิธีป้องกันโรคไข้หูดับ ดังนี้
- ควรรับประทานหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น และเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาวหรือสีคล้ำ ล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังสัมผัส หากรับประทานอาหารปิ้งย่าง ขอให้ทำให้สุกก่อนเสมอ และแยกอุปกรณ์ที่ใช้หยิบเนื้อหมูสุกและดิบ
- ผู้ที่สัมผัสกับหมู โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมใส่เสื้อและกางเกงที่ปกปิดมิดชิด ใส่รองเท้าและ ถุงมือทุกครั้งเมื่อเข้าไปทำงานในคอกสุกร หลีกเลี่ยงการจับซากสุกรที่ตายด้วยมือเปล่า ล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และผู้จำหน่าย ควรจำหน่ายเนื้อหมูที่มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ทำความสะอาดแผงด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อทุกวันหลังเลิกขาย และเก็บเนื้อหมูที่จะขายในอุณหภูมิที่ตํ่ากว่า 10°C
ทั้งนี้ หากมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังสัมผัสหมูที่ป่วยหรือรับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูไม่สุก ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการรับประทานหมูดิบให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดอัตราการหูหนวกและการเสียชีวิตได้
ข้อมูล : สายด่วนกรมควบคุมโรค สอบถามเพิ่มเติมได้ โทร. 1422
เราพร้อมให้คำปรึกษาปัญหาการได้ยิน หูหนวก หูดับ
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
ด้วยสาเหตุและปัจจัยของผู้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมในแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน ภายหลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้วมีความเป็นไปได้ที่ความสามารถในการรับฟังเสียง หรือการได้รับประโยชน์จากการใช้งานประสาทหูเทียมนั้นจะไม่เท่ากัน
10 ปัจจัย กับประสิทธิภาพ “การใช้ประสาทหูเทียม”
1. ระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยิน หากสูญเสียการได้ยินในช่วงสั้น มีแนวโน้มที่หลังผ่าตัดจะมีความสามารถทางการได้ยินดีกว่าผู้ที่สูญเสียการได้ยินเป็นเวลานาน
2. อายุที่เริ่มสูญเสียการได้ยิน เด็กหรือผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินภายหลังมีภาษาแล้ว มีแนวโน้มที่หลังผ่าตัดจะมีความสามารถทางการได้ยินดีกว่าผู้สูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมช้ากว่าเวลาอันควร
3. อายุที่ทำการผ่าตัด สำหรับผู้ที่หูหนวกก่อนมีภาษา หากได้รับการผ่าตัดเมื่ออายุน้อยจะมีความสามารถทางการได้ยินดีกว่าผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเมื่ออายุมาก
4. ระยะเวลาที่ใช้ประสาทหูเทียม ประสบการณ์ในการใช้อุปกรณ์ประสาทหูเทียมจะช่วยเพิ่มทักษะในการรับรู้เสียงพูด
5. ลักษณะโครงสร้างของหูชั้นใน หากมีความผิดปกติของโครงสร้าง เช่น มีเพียงครึ่งรอบ หรือมีหินปูนอยู่ภายในทำให้ไม่สามารถใส่ขดลวดเข้าไปในหูชั้นในได้อย่างสมบูรณ์
6. ระดับการได้ยินที่เหลืออยู่ ผู้ที่มีการได้ยินเหลืออยู่ มีแนวโน้มที่หลังผ่าตัดจะรับรู้คำพูดได้ดีกว่าผู้ที่ไม่เหลือการได้ยินเลย
7. ความพิการซ้ำซ้อน หากมีความผิดปกติเกี่ยวกับสติปัญญา สมอง หรือจิตใจ จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้การฟังและการพูด
8. สภาพแวดล้อมทางการศึกษา เด็กควรได้รับการส่งเสริมให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการใช้การได้ยินและการพูด
9. จำนวนช่องสัญญาณที่สามารถใช้ได้ เพื่อการรับรู้คำพูดควรมีอย่างน้อย 5 – 8 ช่องสัญญาณ
10. จำนวนของเม็ดอิเล็กโทรดประสาทหูเทียม ที่ใส่เข้าไปภายในหูชั้นใน (อวัยวะก้นหอย) หากมีจำนวนเม็ดอิเล็กโทรดมาก ยิ่งทำให้เกิดการกระตุ้นมาก
การเลือกยี่ห้อประสาทหูเทียมเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งานประสาทหูเทียมให้กับผู้ผ่าตัดได้ดียิ่งขึ้น
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประสาทหูเทียม ได้ที่
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
ผู้เข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม
กรณีเด็ก มีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้
- หูหนวก ทั้ง 2 ข้าง (สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
- อายุแรกเกิด ถึง 4 ปี ที่ไม่รับรู้เสียงพูด และไม่มีพัฒนาการด้านทักษะการฟัง การพูด และภาษา (สำหรับมูลนิธิ เด็กต้องอายุไม่เกิน 3 ขวบ)
- อายุมากกว่า 5 ปี แต่ยังจำแนกคำพูดได้น้อยกว่า 50% ไม่ได้ประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง
- ผู้ปกครองต้องทุ่มเท เอาใจใส่ และส่งเสริมการมีพัฒนาการทางด้านทักษะการฟัง และการพูดของเด็กเป็นอย่างดี
หมายเหตุ : อายุ ไม่ได้ระบุแน่ชัด ขึ้นอยู่กับการประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัดของทีมแพทย์ และการประเมินความพร้อมของครอบครัวในการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด
สำหรับความคาดหวังของการผ่าตัดประสาทหูเทียมในเด็กนั้น ผู้ปกครองจะเป็นผู้คาดหวังในการผ่าตัดเสียส่วนใหญ่ว่า หลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้วเด็กจะต้องได้ยินและมีพัฒนาการตามช่วงวัยเหมือนเด็กปกติทั่วไป ซึ่งความเป็นจริงแล้ว สำหรับเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด การรับรู้และพัฒนาการของเด็กจะช้ากว่าเด็กปกติ
และเมื่อเข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม พัฒนาการของเด็กจะพัฒนาได้ช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครองและความพร้อมของตัวเด็กเอง
ดังนั้นหลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ผู้ปกครองจำเป็นต้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ให้ความสำคัญกับการฝึกฟัง ฝึกพูด เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้เด็กเติบโตอย่างสมวัย (กรณีเด็กที่ทำการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้วไม่ได้รับการฝึกฟัง ฝึกพูด อาจทำให้เด็กเลือกใช้ภาษามือ และท่าทางแทนการสื่อสารด้วยภาษาพูด)
การสูญเสียการได้ยินเป็นเวลานาน ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้ และควรได้รับการฟื้นฟู ไม่เกิน 6 เดือน
สอบถามข้อมูลเทคโนโลยีประสาทหูเทียมเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
ผู้เข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม กรณีผู้ใหญ่
มี 4 หลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้
- หูหนวกทั้ง 2 ข้าง (สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
- ไม่ได้รับประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง / หูดับเฉียบพลัน / ติดเชื้อไวรัส / เสื่อมตามวัย
- สุขภาพแข็งแรง ไม่มีอุปสรรค หรือข้อห้ามในการเข้ารับการผ่าตัด
- มีความต้องการสื่อสารด้วยภาษาพูด (พูดคุยกับคนรอบข้าง ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ)
หมายเหตุ: อายุไม่ได้ระบุแน่ชัด ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสภาพร่างกายแต่ละบุคคล
ผู้เข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม ย่อมคาดหวังผลจากการผ่าตัดว่า หลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมจะต้องได้ยินชัดเจนเหมือนคนปกติ 100% ซึ่งความเป็นจริงแล้วผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียมจะได้ยินเหมือนคนปกติได้นั้นต้องใช้เวลาในการปรับตัว โดยตัวผู้ผ่าตัดเองต้องมีการฝึกฟัง ฝึกพูด สร้างความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ประสาทหูเทียมเสียก่อน
การฟังและการพูดให้ได้เหมือนคนปกติทั่วไปขึ้นอยู่กับชั่วโมงการฝึกฟัง ฝึกพูด และความใส่ใจของผู้ผ่าตัด รวมถึงความร่วมมือของญาติผู้ผ่าตัดในการดูแลและคอยสนับสนุนให้กำลังใจผู้ผ่าตัด
สำหรับผู้ใหญ่ที่มีภาษาพูดมาก่อนแล้วเกิดการสูญเสียการได้ยินในภายหลัง และได้เข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมโดยเร็ว จะช่วยให้ผู้ผ่าตัดฟื้นภาษาที่หายไปได้เร็วขึ้น การฟังและการพูดให้ได้เหมือนคนปกติจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
“ประสาทหูเทียมจะอยู่กับท่านไปตลอดชีวิต”
ท่านควรตระหนักถึงความสำคัญของการใส่เครื่อง การฝึกฟัง และการฝึกพูด
เพราะยังมีผู้สูญเสียการได้ยินอีกมากที่อยากได้รับโอกาสการได้ยินแบบท่าน
สอบถามข้อมูลเทคโนโลยีประสาทหูเทียมเพิ่มเติม ได้ที่
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
สิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลประสาทหูเทียม รายการอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค
ตามหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ประเภทและอัตราค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2560 มีดังนี้
ชุดประสาทหูเทียม cochlear Implant / ชุดประสาทหูเทียม ชนิดฝังก้านสมอง (Brainstem implant) 1 ชุด 850,000 บาท
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสิทธิการเบิกชุดประสาทหูเทียม
- การผ่าตัดประสาทหูเทียม หรือฝังประสาทหูเทียมชนิดฝังที่ก้านสมอง ผู้ป่วยแต่ละรายสามารถเบิกได้คนละ 1 ชุด เท่านั้น
- ใบรับรองแพทย์ ผู้ทำการผ่าตัดจะต้องระบุข้อบ่งชี้ครบทุกข้อ พร้อมทั้งหลักฐานการตรวจการได้ยิน รับรองโดยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดและตรวจสติปัญญาหรือพัฒนาการในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี รับรองโดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา มาเพื่อประกอบการเบิกจ่ายด้วย
คุณสมบัติของชุดประสาทหูเทียม
- มีจำนวน Electrode ตั้งแต่ 12 Electrode ขึ้นไป
- ได้รับรองการใช้จากองค์การอาหารและยาจากสหรัฐสอเมริกา (US FDA) หรือ European Medical Agency (EMA)
- มีการรับประกัน อุปกรณ์ในร่างกาย ไม่น้อยกว่า 10 ปี และเครื่องแปลงสัญญาณเสียงพูด (Speech Processor) ไม่น้อยกว่า 5 ปี
ชุดอุปกรณ์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
- ส่วนที่อยู่ในร่างกาย ประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ คือ ตัวรับสัญญาณ (Receiver) และขั้วไฟฟ้า (Electrode array) ชนิดหลายขั้ว (Multiple Electrodes) ตั้งแต่ 12 Electrode ขึ้นไป
- ส่วนที่อยู่นอกร่างกาย ประกอบด้วย
- เครื่องแปลงสัญญาณเสียงพูด (Speech processor) ชิ้นละ 200,000 บาท หมายเหตุ เบิกได้ 1ชิ้น/5 ปี ในกรณีชำรุดจนซ่อมไม่ได้ - ขดลวดส่งต่อสัญญาณ และแม่เหล็ก (Transmitter/Magnet) ชิ้นละ 10,000 บาท หมายเหตุ เบิกได้ไม่เกิน 1 ชิ้น/ปี ในกรณีชำรุดจนซ่อมไม่ได้ - สายไฟเชื่อมต่อ เครื่องแปลงสัญญาณเสียงพูดเข้ากับขดลวดส่งต่อสัญญาณ (Coil cable) ชิ้นละ 3,500 บาท หมายเหตุ เบิกได้ไม่เกิน 1 ชิ้น/ปี ในกรณีชำรุดจนซ่อมไม่ได้ - แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ (Rechargeable battery) ชิ้นละ 19,000 บาท หมายเหตุ เบิกได้ไม่เกิน 1 ชุด (2 ชิ้น)/2 ปี - แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ไม่ได้ ชิ้นละ 9,000 บาท หมายเหตุ เบิกได้ไม่เกิน 1 ชุด (180 ก้อน)/ปี และราคาไม่เกินก้อนละ 50 บาท
หมายเหตุ สิทธิประกันสังคม ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลประสาทหูเทียมได้
หลักเกณฑ์และข้อกำหนดสำหรับผู้ต้องการผ่าตัดประสาทหูเทียม : คุณสมบัติผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียม
ขั้นตอนและกระบวนการผ่าตัดประสาทหูเทียม ที่ควรรู้ : ขั้นตอนการผ่าตัดประสาทหูเทียม
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิการเบิกประสาทหูเทียม เราพร้อมให้คำปรึกษา
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
การผ่าตัดประสาทหูเทียม เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงหูหนวก และไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์จะพิจารณาให้ประสาทหูเทียมเป็นวิธีแก้ปัญหาการได้ยินในระยะยาว มีขั้นตอนและกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นตอนการเตรียมการก่อนผ่าตัด การเตรียมตัวผ่าตัด และการดูแลและฟื้นฟูหลังผ่าตัด
3 ขั้นตอน การผ่าตัดประสาทหูเทียม
1. ขั้นตอนการเตรียมการก่อนผ่าตัด
ผู้ป่วยที่ผ่าตัดประสาทหูเทียมต้องได้รับการประเมินก่อนผ่าตัด โดยกระบวนการประเมินความเหมาะสม และความพร้อมของร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าประสาทหูเทียมคือคำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วยเอง
- การทดสอบการได้ยิน เช่น ระดับการได้ยิน ความเข้าใจภาษา การทำงานของระบบประสาทการได้ยิน
- การทดสอบด้านการแพทย์ การตรวจร่างกายและทำ MRI เพื่อตรวจสุขภาพโดยทั่วไป ได้แก่ การซักประวัติผู้ป่วย สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน การตรวจความผิดปกติของชั้นหู การประเมินโครงสร้างภายในของหู รวมถึงการตรวจเลือด ปัสสาวะ ปอด หัวใจ เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายก่อนผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมด้วยการดมยาสลบ
- การทดสอบด้านจิตวิทยา เพื่อรับรองความสามารถในการรับมือกับการผ่าตัด และมีส่วนร่วมในการติดตามผล ดูแลและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังการผ่าตัด
2. ขั้นตอนการเตรียมตัวผ่าตัด
กระบวนการผ่าตัดประสาทหูเทียม ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 – 3 ชั่วโมง สำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั้นพบน้อยมาก ศัลยแพทย์จะเป็นคนปรึกษาเรื่องความเสี่ยงกับตัวผู้ป่วยเอง
- ผู้ป่วยควรงดน้ำ อาหารทุกชนิด ก่อนเวลาผ่าตัดประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
- ผู้ป่วยที่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ควรงดเว้นก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน หรือตามคำสั่งของแพทย์ (เพื่อป้องกันผู้ป่วยที่ต้องใช้วิธีดมยาสลบ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากปอดทำงานหนัก ส่งผลให้ปอดอักเสบจากการสูดสำลัก หรือไอมากหลังผ่าตัดได้)
- ผู้ป่วยควรงดใช้ยา 1 สัปดาห์ ก่อนผ่าตัด (แอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบอื่น ๆ) หากเป็นยารักษาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์
- การผ่าตัดใช้วิธีการดมยาสลบ โดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การดำเนินการ ประกอบด้วยสองส่วน :
การฝังของตัวรับสัญญาณ– ตัวรับสัญญาณที่ติดตั้งอยู่บนกระดูกหลังใบหูภายใต้ผิวหนัง อิเล็กโทรดมีการเชื่อมต่อไปยังตัวรับส่งเสียงโดยตรงกับประสาทหู
การเชื่อมต่อภายนอกของตัวแปลงสัญญาณ– ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ สำหรับการเปิดเครื่องประสาทหูเทียม (ตัวแปลงสัญญาณเสียง) หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น
3. ขั้นตอนการดูแลและฟื้นฟูหลังผ่าตัด
- เมื่อผ่าตัดเสร็จ แพทย์จะให้ผู้ป่วยอยู่พักฟื้นเพื่อสังเกตอาการประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นจะย้ายผู้ป่วยไปพักฟื้นต่อที่หอผู้ป่วย
- ผู้ป่วยใช้เวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3 – 4 วัน
- แพทย์จะให้ยาแก้ปวด เมื่อผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
- ผู้ป่วยจะถูกสั่งงดน้ำ และอาหารทุกชนิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด
เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นประมาณ 4 สัปดาห์ นักแก้ไขการได้ยินจะทำการเปิดเครื่องประสาทหูเทียม และติดตั้งโปรแกรมในอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระดับการได้ยิน และปรับการตั้งค่าการติดตามผลในครั้งต่อๆ ไป นักแก้ไขการได้ยินจะทำการติดตามผลเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 หรือ 2 ครั้ง
ผลสําเร็จและการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด การได้ยินในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม จะไม่เหมือนการได้ยินปกติ ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกฝนจึงจะสามารถฟัง แปลผล และสื่อสารได้ จึงมีความจําเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว และบุคลากรหลายด้าน ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ นักแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษ หรือ ครูที่โรงเรียน เพื่อน ที่ต้องเอาใจใส่ พูดคุยกระตุ้นเพื่อให้ได้ฝึกฟังและพูดตลอดเวลา
สามารถอ่านข้อมูลคุณสมบัติผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียมได้ที่ คุณสมบัติผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียม
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม เราพร้อมให้คำปรึกษา
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line Official: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai