Posts

ยาเป็นพิษต่อหู Ototoxic

ยาเป็นพิษต่อหู (Ototoxic Drugs) กลุ่มยาที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น สูญเสียการได้ยิน หูอื้อ หรือเสียงดังในหู และปัญหาการทรงตัว พบได้ในยาแก้ปวดทั่วไป ยารักษาเบาหวาน

2 เทคนิค ฟื้นฟูการฟัง หลังใส่เครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ

เทคนิค ฟื้นฟูการฟัง หลังจากใส่เครื่องช่วยฟังในผู้สูงอายุ จะช่วยให้ผู้สูงอายุคุ้นชินกับเสียง แยกแยะเสียงคำพูด เสียงสิ่งแวดล้อมและเสียงรบกวนได้ ทั้งนี้จะต้องฝึกฝน

4 เทคนิค ออกกำลังกาย ผู้มีปัญหาการได้ยิน และ ใส่เครื่องช่วยฟัง

ออกกำลังกาย ชะลอการเสื่อมลงของการสูญเสียการได้ยินได้ ผู้มีปัญหาการได้ยิน และผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง จะพบกับอุปสรรคในการออกกำลังกาย หากคุณต้องเข้าฟิตเนสร่วมกิจกรรมกลุ่มรับฟังเสียงเทรนเนอร์ เรามี 4 เทคนิคให้คุณนำไปปรับใช้

4 วิธีการรับมือ ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน

       ขึ้นชื่อว่า “ผู้สูงอายุ” ก็จะมาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บสารพัด ใดๆ เลย การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ แต่เหล่าสูงวัยเองก็มักหนีไม่พ้น หูเอย ตาเอย แขนขาเอย โดยเฉพาะหู ที่เริ่มจะไม่ได้ยินหรือหูตึงนั่นเอง แล้วจะมีวิธีการรับมือหูตึงในวัยสูงอายุนี้ได้อย่างไร?  

ผู้สูงอายุ หูตึง ผลกระทบมากกว่าที่คิด


       ไม่ว่าใครก็ตาม เมื่อต้องเผชิญกับภาวะสูญเสียการได้ยิน หูไม่ได้ยิน หรือ หูตึง มักจะรู้สึกว่าการสื่อสารกับผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หรือน่าอึดอัดใจ

       โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับอาการหูไม่ค่อยได้ยิน ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนโดนแยกออกจากโลกภายนอก รู้สึกซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในด้านอื่นได้อีกด้วย

หูตึง ประสาทหูเสื่อม ตามอายุ

      ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุ หรือประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) เป็นอาการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในหูชั้นใน ความเสื่อมจะกระทบไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นความถี่ช่วงเสียงพูด ทำให้เริ่มฟังไม่ชัดเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือด เป็นต้น

“สูงวัย อย่างมีความสุข” ได้อย่างไร?

ดูแลผู้สูงอายุ

       มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่มีการสูญเสียการได้ยิน ทั้งที่ยอมรับตัวเองได้ และยังไม่ยอมรับตัวเองว่าหูไม่ได้ยิน การยอมรับตัวเองได้เร็ว และหาอุปกรณ์ช่วย จะเป็นผลดีต่อตัวผู้สูงอายุเอง

ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน

เรียนรู้ 4 วิธีการรับมือ สำหรับผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว

1. ลูกหลานควรเห็นอกเห็นใจ และผู้สูงอายุต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง

       การดูแลหรือพูดคุยกับผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยินหรือหูตึง อาจทำให้ลูกหลานรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าใจได้ในครั้งเดียวที่พูดด้วย แต่เชื่อเถอะว่าคนที่รู้สึกอึดอัดใจมากกว่า ก็คือตัวผู้สูงอายุเอง ที่ต้องสูญเสียความสามารถทางการได้ยิน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกับผู้สูงอายุแล้วท่านไม่เข้าใจ ลองเปลี่ยนวิธีการพูดหรือเปลี่ยนประโยคพูดใหม่ อย่าพูดจบแล้วเดินหนี เพราะท่านอาจคิดมาก น้อยใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่สำคัญกับคนในครอบครัว

       ตัวผู้สูงอายุเองก็ควรพูดหรือโต้ตอบไปตามที่ตนเองเข้าใจ อย่าคิดมากและอย่ากลัวที่จะพูด การพูดโต้ตอบเพื่อกระตุ้นให้สมองได้ทำงานบ้าง หยุดเครียดคิดมากวิตกกังวลและใช้ชีวิตให้มีความสุข ทำความเข้าใจและยอมรับว่าร่างกายของตนนั้นเสื่อมถอยลงตามอายุ และอารมณ์ที่แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือน้อยใจ 1 วัน หลากหลายอารมณ์นั่นก็เพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

2. ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง ลูกหลานต้องมีความอดทน

ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง และลูกหลานต้องมีความอดทน

       การยอมรับว่าตนเองหูไม่ได้ยิน หรือสูญเสียความสามารถทางการได้ยินไปเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการเสื่อมของประสาทการได้ยินที่ค่อยๆ เสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว และคิดว่าตนเองไม่ได้มีปัญหาการได้ยิน
       ลูกหลานหรือคนในครอบครัวจำเป็นต้องสื่อสารกับท่านด้วยความอดทน พยายามพูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในขณะเดียวกันต้องพยายามให้ท่านได้รับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ท่านได้ยิน เพื่อรอวันที่ท่านพร้อมจะเปิดใจรับความช่วยเหลือ

3. ผู้สูงอายุควรหากิจกรรมทำ ลูกหลานส่งเสริมความมีคุณค่าให้กับผู้สูงอายุ

       มีผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอารมณ์ของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความคิดในแง่ลบต่างๆ หรือความอึดอัดที่ทำให้หงุดหงิดง่าย

       ดังนั้น ผู้สูงอายุควรหากิจกรรม หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบทำ เพื่อลดความเครียด วิตกกังวล เช่น การเดินออกกำลังกาย ปลูกผัก รดน้ำต้นไม้ หรือพบปะเพื่อนฝูง และลูกหลานควรทำความเข้าอกเข้าใจกับอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญในแต่ละวัน จะทำให้เราเข้าใจการแสดงออกของท่านได้มากขึ้น หมั่นหากิจกรรมทำร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว

4. คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ

คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ-

      เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ค่อยได้ยิน ให้พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ พูดช้าๆ และทำรูปปากให้ชัดเจนเพื่อที่อย่างน้อยท่านจะได้สามารถอ่านปาก ประกอบเสียงที่ได้ยินได้บ้าง

      ผู้สูงอายุจะจำได้ไม่ดีเท่าคนที่อายุน้อย เพราะเกิดจากความเสื่อมและความช้าของสมองในการรับรู้และประมวลผล

      การแก้ปัญหาหูไม่ได้ยิน หูตึง ในผู้สูงอายุ

      อาการหูตึงในผู้สูงอายุ หรือการที่ประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัยนั้นเป็นภาวะความเสื่อมของอวัยวะ การช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วยฟังถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงจากผู้พูด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยินอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน ใส่เครื่องช่วยฟัง

      อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวของผู้ร่วมสนทนาหรือผู้พูดที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของอาการหูตึงในผู้สูงอายุและพยายามปรับการพูด เพื่อให้ผู้สูงอายุทำความเข้าใจบทสนทนาระหว่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยหลักการพูดเมื่อต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ได้ยิน มีดังนี้

• พยายามพูดในที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน หรือลดเสียงรบกวนรอบข้างระหว่างการพูดคุย
• พูดออกเสียงช้าๆ ชัดๆ พูดคำให้ครบ ไม่พูดงึมงำในคอ และตรวจสอบว่าผู้สูงอายุท่านเข้าใจ
• ใช้ท่าทางมือและสีหน้าประกอบในการสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร

อินทิเม็กซ์ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ให้มีสุขภาพการได้ยินที่ดีไปพร้อมกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

intimex อินทิเม็กซ์

ปรึกษาการได้ยินในผู้สูงอายุ

บริการทดสอบการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

หูเสียสองข้าง ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง

กลไกการได้ยินของมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ การได้ยินทำให้เรารับรู้เสียงรอบตัวของเรา รับรู้มิติของเสียง และความสมดุล

การได้ยินไม่ได้เกิดขึ้นในหู แต่มันเกิดขึ้นในสมองของคุณ

       เสียงเดินทางผ่านหูของคุณ แก้วหูสั่นและทำให้กระดูกหูชั้นกลางเคลื่อนไหว เซลล์ขนเล็กๆ ภายในหูชั้นในจะเคลื่อนตัวขึ้นอยู่กับว่าเป็นเสียงต่ำ กลาง หรือสูง การเคลื่อนไหวเหล่านี้กระตุ้นเซลล์ประสาทในเส้นประสาทการได้ยินของคุณ จากนั้นสัญญาณจะข้ามไปยังอีกซีกหนึ่งของสมองส่วนการได้ยินของคุณ เพื่อตีความหมายว่าเป็นเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่นๆ

เมื่อคุณ สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง

       สมองของคุณต้องการข้อมูลที่ป้อนเข้ามาจากหูทั้งสองข้าง เพื่อแปรผลจากเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง แต่ใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว จะลดโอกาสการได้ยินและความเข้าใจของสมองลง 50 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งลดความสามารถในการรับรู้ความลึกและช่วงพื้นที่ที่คุณจะได้ยิน

Hearing

       เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง คุณจะได้ยินเสียงดีขึ้น ตอนนี้สมองรู้แล้วว่าจะเก็บข้อมูลใด และจะทิ้งข้อมูลใด ข้อมูลสำคัญจะเป็นเสียงพูด การสนทนา เพลง และเสียงที่มีความหมาย ข้อมูลที่ไม่สำคัญ เช่น เสียงรบกวนต่างๆ คุณจะได้ยินน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

       การได้ยินที่ดีขึ้นช่วยให้สมองทำสิ่งเหล่านี้ได้ หากคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง จะส่งสัญญาณที่เหมาะสมไปยังสมอง ให้แปรความหมายจากโทนเสียง และความถี่ต่างๆ ได้ และสามารถเติมเต็มในส่วนที่คุณอาจพลาดไป

หูเสียสองข้าง ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?

       เมื่อคุณพบว่าคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง และผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังได้แนะนำให้คุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น คุณมักมีคำถาม “ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?”

       หากคุณสูญเสียการได้ยินสองข้าง และนี่คือประโยชน์เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟัง

9 ประโยชน์ เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น เมื่อ ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง

สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินสองข้าง


ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ได้ยินเสียงรบกวนลดลง

1. ได้ยินเสียงรบกวนลดลง

      หนึ่งในสาเหตุที่ผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังพบบ่อยที่สุด คือ การเข้าใจคำพูดในสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น ในร้านอาหาร

      การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ช่วยให้สมองประมวลผลเสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เน้นเสียงคำพูด และกรองเสียงรบกวนออก ความสามารถในการทำงานของสมองเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น หากคุณใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว

2. ลดอาการเหนื่อยล้า จากการฟัง

      การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้อาการเหนื่อยล้าจากการฟังลดลง เนื่องจากสมองมีข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการแปรความหมายของเสียงที่ได้ยินแล้ว ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว ต้องใช้พลังมากขึ้น ตั้งใจฟังมากขึ้น สมองต้องทำงานหนักเพื่อ “เติมคำในช่องว่าง” ให้กับคุณ

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ลดอาการเหนื่อยล้า จากการฟัง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ให้ความรู้สึกสมดุล ได้ยินเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น

3. ให้ความรู้สึกสมดุล ได้ยินเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น

        เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ข้อมูลของเสียงที่ได้ยินถูกป้อนอย่างสมดุลเข้าสู่หูทั้งสอง สมองจึงพึ่งพาหูแต่ละข้างอย่างเท่าเทียมกันในการฟัง ยิ่งสมองแปรผลและเข้าใจเสียงที่ได้ยินมากขึ้นเท่าใด คำพูดที่คุณได้ยินก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นเท่านั้น

4. รู้ทิศทางของเสียง

      หูสองข้าง ทำให้เราระบุที่มาได้ว่าเสียงมาจากทิศทางไหน เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง หูทั้งสองข้างทำงานร่วมกัน คลื่นเสียงจากหูทั้งสองข้างจะส่งไปยังสมอง เพื่อช่วยให้คุณระบุตำแหน่งที่มาของเสียง เช่น รู้ว่าเสียงไซเรนจากรถพยาบาล กำลังมาจากทิศทางไหนเมื่อคุณขับรถ

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง รู้ทิศทางของเสียง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ช่วงของการได้ยินเสียง กว้างขึ้นจาก 180◦ เป็น 360◦

5. การได้ยินเสียง มีช่วงกว้างขึ้นจาก 180 เป็น 360

      การได้ยินเสียงจากด้านใดด้านหนึ่งจะจำกัดปริมาณเสียงที่คุณได้ยินจากอีกด้านหนึ่ง ความเข้าใจเสียงของคุณจึงถูกจำกัด การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้คุณสามารถได้ยินเสียงอย่างชัดเจนจากทั้งสองทิศทาง คุณจะได้ยินเสียงง่ายขึ้นและได้ยินคนพูดคุยรอบตัวคุณ เพิ่มช่วงการได้ยินจาก 180 เป็น 360 องศาทีเดียว

6. เพิ่มความสามารถในการ “เลือกฟัง”

      เมื่อมีคนพูดคุยหลายคนพร้อมกัน เช่น ในร้านอาหาร การเข้าใจคู่สนทนาเป็นเรื่องลำบากมากหากคุณใส่เครื่องช่วยฟังในข้างเดียว เนื่องจากเสียงทุกเสียงจะเข้ามาที่หูข้างที่คุณใส่เครื่องช่วยฟัง เสียงทั้งหมดผสมผสานรวมกัน คุณจะไม่สามารถแยกเสียงคำพูดออกจากเสียงรบกวนรอบข้างได้เลย ความสามารถในการ “เลือกฟัง” จะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณได้ยินจากหูทั้งสองข้างเท่านั้น

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เพิ่มความสามารถในการเลือกฟัง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง รองรับเสียงดังได้ดีขึ้น

7. รองรับเสียงดังได้ดีขึ้น

      หูแต่ละข้าง รองรับความดังของเสียงได้ในระดับหนึ่ง การได้ยินด้วยหูทั้งสองข้าง ทำให้เสียงดังที่เข้ามาถูกแบ่งระหว่างหูสองข้าง จึงทำให้คุณสามารถทนต่อเสียงดังในสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงตลอดวัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานในแต่ละวันของคุณได้ดีขึ้น

8. ประหยัดแบตเตอรี่

      เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างจะถูกส่งไปที่สมอง ซึ่งจะเพิ่มความดังตามธรรมชาติให้กับคุณ ทำให้การตั้งระดับความดังของเครื่องช่วยฟังไม่จำเป็นต้องดังมาก ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว คุณต้องการความดังมากเพื่อชดเชยหูข้างที่ไม่ได้ยิน

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ประหยัดแบตเตอรี่
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง หูทั้งสองข้างแข็งแรง

9. หูทั้งสองข้างแข็งแรง

      หากคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้างและใส่เครื่องช่วยฟังในหูข้างเดียว คุณกำลังบังคับให้หูข้างเดียวทำงานสองข้าง คล้ายกับมีแขนที่อ่อนแอสองข้างที่ยกน้ำหนักด้วยแขนข้างเดียว หูข้างที่มีการสูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังจะอ่อนแอลง เนื่องจากสมองได้พึ่งพาหูข้างที่ใส่เครื่องช่วยฟังมากขึ้น เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อ หากคุณไม่ใช้มันคุณอาจสูญเสียมันไปได้ หากคุณสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้างควรได้รับการกระตุ้นของเสียงที่เข้ามาอย่างเพียงพอผ่านการใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อส่งเสริมให้คุณประสบความสำเร็จในการฟังในระยะยาว

พิจารณา การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เมื่อคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้าง

ขอรับคำแนะนำการเลือกเครื่องช่วยฟัง บริการทดลองเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

รับมือ สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน ด้วยโซลูชัน เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง

เมื่อ สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน จะรับมือปัญหานี้อย่างไร เมื่อเราต้องพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ติดต่อประสานงานภายนอกองค์กร ปัจจุบันมีเทคโนยีช่วยการได้ยิน

5 เคล็ดลับ เอาชนะความท้าทาย สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน

เมื่ออุปสรรคการ สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน ส่งผลต่อศักยภาพการทำงาน ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์เข้าใจถึงความท้าทายที่มาพร้อมกับความบกพร่องทางการได้ยินนี้ และ

เช็คสัญญาณปัญหาการได้ยิน-อาการหูตึง

 

        หูไม่ได้ยิน หรือหูตึง ปัญหาการได้ยินที่คนส่วนมากมักมองข้ามและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร รู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อเริ่มสื่อสารกับผู้อื่นลำบากแล้ว

        อาการของการสูญเสียการได้ยินหรือหูตึง มีหลายระดับขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรง บางรายสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยในหูทั้งสองข้าง บางรายสูญเสียการได้ยินรุนแรงในหูข้างเดียว หรือบางรายสูญเสียการได้ยินในแต่ละข้างไม่เท่ากัน ดังนั้นประสบการณ์การฟังย่อมแตกต่างกัน

 

เช็คสัญญาณอาการที่เข้าข่ายผู้มีปัญหาการได้ยิน

ตรวจเช็คอาการดังต่อไปนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและหาวิธีป้องกันให้กับการได้ยินของคุณ


ดูทีวีเสียงดัง อาการหูตึง

  • เพื่อนหรือครอบครัวบอกว่าคุณเปิดทีวีหรือวิทยุดังเกินไป
  • คุณมีปัญหาในการทำความเข้าใจคำพูด โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง
  • คุณมีปัญหาในการสนทนาทางโทรศัพท์
  • คุณมีความรู้สึกว่าได้ยิน แต่ฟังไม่เข้าใจ
  • คุณไม่แน่ใจว่าเสียงมาจากทิศทางไหน
  • คุณมักจะขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ
  • คุณต้องพึ่งพาคู่สมรสหรือคนที่คุณรักเพื่อช่วยให้คุณได้ยิน
  • คุณพบว่าตัวเองกำลังหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม
  • คุณรู้สึกอ่อนเพลียหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เกิดจากความเหนื่อยล้าในการฟัง
  • คุณมีอาการเสียงดังในหู
  • คุณมีอาการหูอื้อ

 

     หากพบว่าตัวคุณเองมีปัญหาการได้ยินตามอาการดังกล่าว กรณีเพิ่งเริ่มมีอาการ แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก เพื่อทำการรักษา หรือกรณีไม่แน่ใจว่าตัวคุณเองมีปัญหาการได้ยินหรือไม่ บางครั้งได้ยินดี แต่ในบางครั้งกลับไม่ได้ยิน

       แนะนำให้คุณตรวจการได้ยิน คุณจะทราบถึงระดับการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด มีปัญหาการได้ยินในช่วงความถี่เสียงไหน เพื่อให้คุณเตรียมความพร้อมและหาวิธีการป้องกันหรือวิธีการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยคุณสามารถเข้ารับบริการตรวจการได้ยินได้ที่โรงพยาบาล หรือศูนย์บริการเอกชนใกล้บ้าน

 

 

คุณสามารถตรวจการได้ยินประจำปีได้โดยไม่ต้องรอให้แพทย์สั่ง หรือรอให้ตัวคุณเองไม่ได้ยิน

 

    


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน บริการตรวจการได้ยิน (Pure-Tone Audiometry)

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111

hearingchiangmai    Line: @hearingchiangmai

 

ขอบคุณข้อมูลจาก healthyhearing.com
หูตึง ป้องกัน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง หูฟัง หูหนวก หูดับ เครื่องช่วยฟัง

 

แท้จริงแล้ว ปัญหาการได้ยินหรืออาการหูตึง เราไม่สามารถป้องกันได้ 100% และจะพบว่าในบางรายมีสาเหตุเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย เช่น วัยชราหรือวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นการเสื่อมที่ไม่สามารถป้องกันได้

 

แต่หากมาจากสาเหตุของการที่ต้องเจอ หรือสัมผัสกับเสียงดังเป็นเวลานานๆ และบ่อยครั้ง เราสามารถป้องกันได้ ดังนี้

 

5 วิธีป้องกันหูตึง ดังต่อไปนี้


 

1.  หลีกเลี่ยงเสียงดัง ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ สถานที่ไหนที่ต้องเผชิญกับเสียงดัง ก็ควรออกห่าง หลีกเลี่ยง หรือหาอุปกรณ์ป้องกัน เพราะไม่คุ้มเลยกับการที่เราจะมีปัญหาการได้ยินในอนาคต

 

แล้วจะสังเกตได้อย่างไร ว่าเสียงดังเกินไป?

  • คุณต้องพูดเสียงดังกว่าเดิม เพื่อให้คู่สนทนาเข้าใจ
  • คุณไม่ค่อยเข้าใจว่าอีกฝ่ายกำลังพูดอะไร
  • คุณรู้สึกปวดหู
  • มีอาการหูอื้อ หรือได้ยินเสียงอู้อี้

 

        ระดับความดังของเสียง จะถูกวัดออกมาเป็นค่าเดซิเบล (dB) ยิ่งเสียงดังมาก ค่าเดซิเบลยิ่งสูง เสียงที่ดังมากกว่า 85 เดซิเบลเป็นค่าที่สูงจนเสียงมีผลต่อการทำลายการได้ยิน จึงไม่ควรอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นเวลานานๆ

 

ตัวอย่างระดับความดังของเสียง

  • เสียงกระซิบ – 30 เดซิเบล
  • เสียงพูดคุยทั่วไป – 60 เดซิเบล
  • เสียงการจราจรคับคั่ง – 70 ถึง 85 เดซิเบล
  • เสียงรถจักรยานยนต์ – 90 เดซิเบล
  • เสียงเพลงผ่านหูฟังในระดับสูงที่สุด – 100 ถึง 110 เดซิเบล
  • เสียงเครื่องบินกำลังขึ้น – 120 เดซิเบล

หรือคุณอาจลองใช้แอพในมือถือ ที่สามารถวัดระดับความดังของเสียง เพื่อเลี่ยงอยู่ในพื้นที่ที่ดังเกิน 85 เดซิเบลได้

 

2. ฟังเพลงแต่พอดี การฟังเพลงผ่านหูฟังถือว่าเป็นอันตรายต่อหูเป็นอย่างมาก จึงควรระมัดระวังในการฟัง ดังนี้

  • ฟังในระดับความดังที่พอดี ไม่ดังจนเกินไป ซึ่งปกติแล้วไม่ควรเกิน 60% ของความดังสูงสุด
  • ไม่ควรใช้หูฟังนานเกิน 1 ชั่วโมง หากจะใช้นานๆ ควรพักหูประมาณ 5 นาทีก่อนใช้ใหม่

แค่ลดระดับเสียงลดนิดหน่อย ก็ช่วยรักษาการได้ยินของคุณได้นานขึ้นได้

 

3. ป้องกันเวลาไปงานอีเวนท์ หากมีความจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมหรือออกงานอีเวนท์ที่มีเสียงดัง เช่น คอนเสิร์ต สนามกีฬา ที่เที่ยวกลางคืน ควรป้องกันดังนี้

  • อยู่ห่างจากจุดที่มีเสียงดัง เช่น ลำโพงขยายเสียง
  • พยายามพักหู โดยการออกห่างจุดที่มีเสียงดัง ทุก 15 นาที
  • หลังจากกลับจากงานที่มีเสียงดัง ควรพักผ่อนอย่างเงียบๆ ประมาณ 18 ชั่วโมง
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน เช่น Earplug

 

4. ทำงานอย่างระมัดระวัง หากคุณต้องทำงานในที่ที่มีเสียงดังตลอดเวลา ควรคุยกับหัวหน้างานว่าจะมีผลต่อการได้ยินในอนาคต จึงควรให้ที่ทำงานช่วยป้องกันดังนี้

  • หากเป็นไปได้ ควรปรับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีเสียงดังลดน้อยลง
  • ไม่ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังติดต่อกันหลายชั่วโมงต่อวัน
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน เช่น Earplug

 

5. ตรวจการได้ยินสม่ำเสมอ โดยปกติแล้วควรตรวจการได้ยินทุกปี หรือหากรู้สึกว่ากำลังมีปัญหาการได้ยินก็ยิ่งรีบมาตรวจการได้ยินให้เร็วที่สุด  นักแก้ไขการได้ยินหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้ให้คำแนะนำอย่างถูกต้องให้กับคุณ

 

แค่ 5 ข้อง่ายๆ แค่นี้ ก็ช่วยรักษาการได้ยินให้อยู่กับคุณไปนานๆ ได้

 

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

8 วิธี ชะลอประสาทหูเสื่อม

 

        ปัญหาการได้ยิน หรือการได้ยินบกพร่องเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัยไม่เพียงแต่ในวัยผู้สูงอายุเท่านั้น และสำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยินอันเนื่องมาจากประสาทหูเสื่อม ควรหาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมลงหรือเสื่อมเร็วขึ้นกว่าปกติ และควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น โดย

 

8 วิธี ชะลอความเสื่อมของประสาทหู


1. หลีกเลี่ยงเสียงดัง เช่น บริเวณที่มีการก่อสร้าง สถานบันเทิง เป็นต้น

2. ควบคุมโรคให้ดี หากเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด โรคเลือด โรคเหล่านี้ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูน้อยลง ประสาทรับเสียงเสื่อมมากหรือเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น

3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น ยาแอสไพริน ยาควินิน

4. หลีกเลี่ยงอันตราย ที่อาจก่อให้อุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู เช่น การเล่นฟุตบอล กีฬาเทควันโด้

5. หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ

6. ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน), งดการสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน) ซึ่งสารคาเฟอีนและสารนิโคติน ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูน้อยลง ทำให้ประสาทรับเสียงเสื่อมมาก หรือเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น

7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล

8. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่

 

ชะลอความเสื่อมของ ประสาทหู

ประสาทหูเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมตามอายุ ไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ แต่หากเสื่อมจากสาเหตุอื่น ควรพบแพทย์หู คอ จมูกเพื่อตรวจหาสาเหตุโดยเร็ว

 

 

ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai