การได้ยินดี ผู้สูงอายุสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติสุข แต่หากผู้สูงอายุเริ่มหูไม่ได้ยิน หูตึง อาจเริ่มถอนตัวจากกิจกรรมทางสังคมและลดการมีปฏิสัมพันธ์ลง
Posts
ขึ้นชื่อว่า “ผู้สูงอายุ” ก็จะมาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บสารพัด ใดๆ เลย การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ แต่เหล่าสูงวัยเองก็มักหนีไม่พ้น หูเอย ตาเอย แขนขาเอย โดยเฉพาะหู ที่เริ่มจะไม่ได้ยินหรือหูตึงนั่นเอง แล้วจะมีวิธีการรับมือหูตึงในวัยสูงอายุนี้ได้อย่างไร?

ผู้สูงอายุ หูตึง ผลกระทบมากกว่าที่คิด
ไม่ว่าใครก็ตาม เมื่อต้องเผชิญกับภาวะสูญเสียการได้ยิน หูไม่ได้ยิน หรือ หูตึง มักจะรู้สึกว่าการสื่อสารกับผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หรือน่าอึดอัดใจ
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับอาการหูไม่ค่อยได้ยิน ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนโดนแยกออกจากโลกภายนอก รู้สึกซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในด้านอื่นได้อีกด้วย
หูตึง ประสาทหูเสื่อม ตามอายุ
ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุ หรือประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) เป็นอาการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในหูชั้นใน ความเสื่อมจะกระทบไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นความถี่ช่วงเสียงพูด ทำให้เริ่มฟังไม่ชัดเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือด เป็นต้น
“สูงวัย อย่างมีความสุข” ได้อย่างไร?

มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่มีการสูญเสียการได้ยิน ทั้งที่ยอมรับตัวเองได้ และยังไม่ยอมรับตัวเองว่าหูไม่ได้ยิน การยอมรับตัวเองได้เร็ว และหาอุปกรณ์ช่วย จะเป็นผลดีต่อตัวผู้สูงอายุเอง
ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน
เรียนรู้ 4 วิธีการรับมือ สำหรับผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว

1. ลูกหลานควรเห็นอกเห็นใจ และผู้สูงอายุต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง
การดูแลหรือพูดคุยกับผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยินหรือหูตึง อาจทำให้ลูกหลานรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าใจได้ในครั้งเดียวที่พูดด้วย แต่เชื่อเถอะว่าคนที่รู้สึกอึดอัดใจมากกว่า ก็คือตัวผู้สูงอายุเอง ที่ต้องสูญเสียความสามารถทางการได้ยิน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกับผู้สูงอายุแล้วท่านไม่เข้าใจ ลองเปลี่ยนวิธีการพูดหรือเปลี่ยนประโยคพูดใหม่ อย่าพูดจบแล้วเดินหนี เพราะท่านอาจคิดมาก น้อยใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่สำคัญกับคนในครอบครัว
ตัวผู้สูงอายุเองก็ควรพูดหรือโต้ตอบไปตามที่ตนเองเข้าใจ อย่าคิดมากและอย่ากลัวที่จะพูด การพูดโต้ตอบเพื่อกระตุ้นให้สมองได้ทำงานบ้าง หยุดเครียดคิดมากวิตกกังวลและใช้ชีวิตให้มีความสุข ทำความเข้าใจและยอมรับว่าร่างกายของตนนั้นเสื่อมถอยลงตามอายุ และอารมณ์ที่แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือน้อยใจ 1 วัน หลากหลายอารมณ์นั่นก็เพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
2. ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง ลูกหลานต้องมีความอดทน

การยอมรับว่าตนเองหูไม่ได้ยิน หรือสูญเสียความสามารถทางการได้ยินไปเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการเสื่อมของประสาทการได้ยินที่ค่อยๆ เสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว และคิดว่าตนเองไม่ได้มีปัญหาการได้ยิน
ลูกหลานหรือคนในครอบครัวจำเป็นต้องสื่อสารกับท่านด้วยความอดทน พยายามพูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในขณะเดียวกันต้องพยายามให้ท่านได้รับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ท่านได้ยิน เพื่อรอวันที่ท่านพร้อมจะเปิดใจรับความช่วยเหลือ
3. ผู้สูงอายุควรหากิจกรรมทำ ลูกหลานส่งเสริมความมีคุณค่าให้กับผู้สูงอายุ

มีผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอารมณ์ของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความคิดในแง่ลบต่างๆ หรือความอึดอัดที่ทำให้หงุดหงิดง่าย
ดังนั้น ผู้สูงอายุควรหากิจกรรม หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบทำ เพื่อลดความเครียด วิตกกังวล เช่น การเดินออกกำลังกาย ปลูกผัก รดน้ำต้นไม้ หรือพบปะเพื่อนฝูง และลูกหลานควรทำความเข้าอกเข้าใจกับอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญในแต่ละวัน จะทำให้เราเข้าใจการแสดงออกของท่านได้มากขึ้น หมั่นหากิจกรรมทำร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว
4. คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ค่อยได้ยิน ให้พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ พูดช้าๆ และทำรูปปากให้ชัดเจนเพื่อที่อย่างน้อยท่านจะได้สามารถอ่านปาก ประกอบเสียงที่ได้ยินได้บ้าง
ผู้สูงอายุจะจำได้ไม่ดีเท่าคนที่อายุน้อย เพราะเกิดจากความเสื่อมและความช้าของสมองในการรับรู้และประมวลผล
การแก้ปัญหาหูไม่ได้ยิน หูตึง ในผู้สูงอายุ
อาการหูตึงในผู้สูงอายุ หรือการที่ประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัยนั้นเป็นภาวะความเสื่อมของอวัยวะ การช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วยฟังถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงจากผู้พูด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยินอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวของผู้ร่วมสนทนาหรือผู้พูดที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของอาการหูตึงในผู้สูงอายุและพยายามปรับการพูด เพื่อให้ผู้สูงอายุทำความเข้าใจบทสนทนาระหว่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยหลักการพูดเมื่อต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ได้ยิน มีดังนี้
• พยายามพูดในที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน หรือลดเสียงรบกวนรอบข้างระหว่างการพูดคุย
• พูดออกเสียงช้าๆ ชัดๆ พูดคำให้ครบ ไม่พูดงึมงำในคอ และตรวจสอบว่าผู้สูงอายุท่านเข้าใจ
• ใช้ท่าทางมือและสีหน้าประกอบในการสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร
อินทิเม็กซ์ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ให้มีสุขภาพการได้ยินที่ดีไปพร้อมกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ปรึกษาการได้ยินในผู้สูงอายุ
บริการทดสอบการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai
รู้จักกับ ฝุ่นละออง PM 2.5
สารบัญ
- PM 2.5 คืออะไร?
- แหล่งกำเนิด ฝุ่น PM 2.5
- กลุ่มเสี่ยง ที่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5
- อาการผิดปกติ เมื่อสัมผัส PM 2.5
- ดัชนีคุณภาพอากาศ AQI
PM 2.5 คืออะไร?
PM 2.5 (Particulate matters) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบกับขนาด 1 ใน 25 ส่วน ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม ขนาดเล็กมากจนสามารถผ่านขนจมูกที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นเข้าสู่ทางเดินหายใจไปยังปอดและกระแสเลือดได้โดยง่าย
อีกทั้งตัวฝุ่น PM 2.5 นี้ ยังเป็นพาหะในการนำสารอื่นๆ เข้าสู่ร่างกาย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็ง และเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (Inflammation) รวมถึงอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายขึ้น ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและสมอง เป็นต้น
แหล่งกำเนิด ฝุ่น PM 2.5
มี 2 แหล่งกำเนิดใหญ่ คือ
1. แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต
2. การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และสารก่อมะเร็ง เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
กลุ่มเสี่ยงใด? ควรระวัง
ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5
ความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจะสูงขึ้นในบุคคลบางกลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง เด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้ทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีค่ามลพิษในอากาศสูง หรือเกินค่ามาตรฐาน
- ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และผู้ป่วยไซนัส อาการอาจกำเริบได้ ซึ่งโรคภูมิแพ้จมูกนี้มีอาการเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบไปยังหูชั้นกลางกับช่องจมูก ซึ่งมีท่ออากาศเชื่อมต่อกัน เมื่อท่อเกิดการอุดตัน อากาศที่ถูกกักไว้ภายในจะทำให้รู้สึกปวดหู หูอื้อ และอาจมีมูกขังภายใน จนเกิดการติดเชื้อและเกิดหูชั้นกลางอักเสบ ถ้าเป็นเรื้อรังอาจมีหนองไหลออกจากหูเนื่องจากมีเยื่อแก้วหูทะลุ
- ในสตรีมีครรภ์ พบว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพทารกในครรภ์ โดยอาจทำให้เด็กในครรภ์เติบโตช้า (Intrauterine Growth Retardation: IUGR) หรือทารกคลอดก่อนกำหนด (Premature Labor) และเพิ่มการตายปริกำเนิด (Perinatal Mortality) ได้
PM 2.5 อันตราย ในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว
กองระบาดวิทยา¹ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า จำนวนผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ และหัวใจและหลอดเลือด มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ปริมาณความเข้มข้นของมลพิษอากาศและฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้นเช่นกัน
เมื่อพิจารณาผู้ป่วยตามการวินิจฉัยโรคจากรายงานของโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวัง ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล พบว่า ในช่วงที่มีปัญหามลพิษอากาศและฝุ่น PM 2.5 (พฤศจิกายน 2563 – มีนาคม 2564) มีผู้ป่วย ที่เข้ามารับการรักษาจำนวน 2,631 ราย ได้แก่ โรคหอบหืด จำนวน 970 ราย (ร้อยละ 36.87) โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง 912 ราย (34.66) โรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ 730 ราย (27.75) และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 19 ราย (0.72)
จากการแบ่งกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุระหว่าง 60 ปีขึ้นไป มีการเจ็บป่วยสูงสุด ร้อยละ 44.43 (ดังภาพแผนภูมิ) โดยผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล เป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อน เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ คิดเป็นร้อยละ 52.83 และกลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 47.17 ที่มีอาการป่วยในวันที่มีค่าเฉลี่ยฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้น
นอกจากนี้กรมควบคุมโรค² ยังรายงานว่า ฝุ่น PM 2.5 นั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางจิตเวช โดย PM2.5 มีผลต่อการอักเสบของหลอดเลือด และระบบประสาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสารสื่อประสาท ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ภาวะเครียด และการฆ่าตัวตายตามมา
อาการผิดปกติของร่างกาย
เมื่อสัมผัส กับฝุ่น PM 2.5
- ตาแดง บริเวณเปลือกตาบวม ใต้ตาช้ำ สังเกตได้จากสีที่คล้ำขึ้น มีน้ำตาไหลบ่อย ๆ
- ผิวหนังเป็นตุ่มหรือผื่น นูนแดงกระจายไปทั่ว
- ผิวหนังปวดแสบปวดร้อน มีอาการระคายเคือง
- เป็นลมพิษ ถ้าเป็นหนักมากอาจเกิดลมพิษบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ
- ทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ เหี่ยวย่นง่าย
- รู้สึกคัน แสบ หรือแน่นในโพรงจมูก มีน้ำมูกแบบใส
- ไอ จาม รู้สึกแน่นหน้าอก
- ตัวร้อน มีไข้
ผลกระทบทางสุขภาพระยะยาว ได้แก่ เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด
องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) กำหนดให้ฝุ่น PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง
ดัชนีคุณภาพอากาศเท่าไหร่?
ถึงปลอดภัยต่อสุขภาพ
ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) ตามมาตรฐานของ US-EPA 2016 แบ่งเป็น 6 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 501 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพ
- ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าตั้งแต่ 0 – 50 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีเขียว หมายถึง คุณภาพอากาศดี ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
- ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าตั้งแต่ 51 – 100 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีเหลือง หมายถึง คุณภาพปานกลาง มีผลกระทบต่อผู้ที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ
- ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าสูงกว่า 101 – 150 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีส้ม หมายถึง มีผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง (ผู้เป็นโรคหอบหืด ภูมิแพ้ เด็กและผู้สูงอายุ)
- ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าสูงตั้งแต่ 151 – 200 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีแดง หมายถึง มีผลกระทบต่อสุขภาพ
- ดัชนีคุณภาพอากาศ ค่าสูงตั้งแต่ 201 – 300 คุณภาพอากาศจะถูกแสดงเป็นสีม่วง หมายถึง มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก
เช็คดัชนีคุณภาพอากาศ วันนี้ ; AQI : มาตรฐาน US-EPA , AQI : มาตรฐานไทย
เมื่อค่าดัชนีคุณภาพอากาศสูงกว่า 101 หรือแสดงเป็นสีส้ม แนะนำให้กลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัว ควรงดกิจกรรมนอกบ้าน หรือหากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรสวมหน้ากาก N95 เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน
ปรึกษาปัญหาการได้ยิน การได้ยินลดลง
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111
ขอขอบคุณข้อมูล : www.brh.go.th, allwellhealthcare.com, www.daikin.co.th,
¹moph.go.th, ²moph.go.th
www.bangkokpattayahospital.com, www.praram9.com
หวัดเป็นโรคที่สามารถเป็นกันได้ทุกฤดู โดยเฉพาะในฤดูฝนและฤดูหนาวที่มีอากาศค่อนข้างเย็น การรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่ตลอดเวลาจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหวัดได้
คนทั่วไปมักชินกับการเป็นหวัดและคิดว่าอาการไม่รุนแรง กินยานอนพักเดี๋ยวก็หาย จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญสักเท่าไหร่นัก แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วนั้น หวัดอาจไม่ใช่เพียงโรคธรรมดาอย่างที่คุณคิดก็ได้
คนเป็นหวัด โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ หากเกิดกับคนทั่วไปที่มีอายุยังไม่มากนัก นอกจากจะมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นแล้วจำเป็นต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายวัน ไม่สามารถทำกิจกรรมชีวิตได้ตามปกติ
แต่ทว่าไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดกับผู้สูงอายุ ก็จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ซึ่งโรคแทรกซ้อนเหล่านี้น่ากลัวกว่าไข้หวัดใหญ่เองเสียอีก
โรคแทรกซ้อนหลังเป็นหวัด อันตรายสำหรับผู้สูงอายุ
ในทางการแพทย์ถือว่ากลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออันตรายจากโรคหวัด นอกจากผู้สูงอายุแล้วยังมีเด็กเล็กๆ และผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ที่มีความเสี่ยงเช่นกัน กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนไปยังระบบอื่นๆ ในร่างกายได้ง่ายเมื่อเกิดเป็นหวัดที่รุนแรง เช่น
– ระบบหัวใจ : เยื่อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คนที่เป็นจะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะหากผู้สูงอายุท่านเป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็มีโอกาสที่โรคจะทรุดหนัก อาจเกิดอาการหัวใจวายได้
– ระบบประสาท : สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คนที่เป็นจะมีอาการปวดศีรษะมาก ง่วงซึม ไปจนถึงขั้นหมดสติ
– ระบบหายใจ : หลอดลมอักเสบ ปอดบวม เกิดฝีในปอด หรือเกิดหนองในเยื่อหุ้มปอด อาการแสดงคือ จะรู้สึกว่าแน่นหน้าอกและเหนื่อยหอบ
– เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่อวัยวะอื่นๆ : เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางหรือหูชั้นในอักเสบ บางรายมีอาการหูอื้อ ปวดหู หรือมีเสียงดังในหู
จากโรคแทรกซ้อนดังกล่าว พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มที่ได้รับอันตรายจนถึงกับเสียชีวิต คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากปอดบวม โรคหัวใจ หรือโรคประจำตัวที่เป็นอยู่
ไข้หวัดใหญ่ เมื่อเป็นแล้วอาการจะรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza ที่พบได้ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ติดเชื้อ หากร่างกายอ่อนแอสัมผัสกับสิ่งของหรือบริเวณที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็จะรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ดังนั้น การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ได้
แพทย์แนะนำกลุ่มที่ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
” ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป คนที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเป็นโลหิตจางอย่างรุนแรง คนที่เข้ามารับการรักษาโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลเป็นเวลานานๆ “
ขอขอบคุณข้อมูล : สาระสุขภาพ พิมพ์ครั้งที่ 3, โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยิน หากท่านรู้สึกว่าการได้ยินลดลง
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111
วัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสมอง ทุกอย่างจะเริ่มทำงานช้าลงในขณะที่อายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการทำงานของประสาทการรับเสียงที่เริ่มเสื่อมลงด้วยเช่นกัน
4 ข้อควรรู้ ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้
1. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ แบบค่อยเป็นค่อยไป
ในวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นการสูญเสียความสามารถทางการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป ของหูทั้งสองข้าง เป็นอาการที่เกิดได้ทั่วไปซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น
และพบประมาณ 30 คน จาก 100 คนในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป บางคนจึงไม่รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงแรก และยังคงได้รับผลกระทบไม่มาก
2.ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบ “มากกว่าที่หู”
ผู้มีอาการประสาทหูเสื่อมตามอายุที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังมีแนวโน้มที่จะมีความรู้สึกหดหู่มากกว่าผู้ที่ประสาทหูเสื่อมที่ใส่เครื่องช่วยฟัง*
เนื่องจากปัญหาการฟังและการสื่อสาร ทำให้อยากแยกตัวเองออกจากคนรอบข้าง ครอบครัว และเพื่อน ส่งผลให้เกิดความหดหู่ เศร้า และรู้สึกโดดเดี่ยว นอกจากนั้นความบกพร่องทางการได้ยินอาจนำไปสู่อันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น ไม่ได้ยินเสียง รถ ที่กำลังวิ่งเข้ามาขณะเดินอยู่บนถนน
3. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ มักมีปัญหาในการฟังเสียงสูง ได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้
อาการของผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามอายุ โดยทั่วไปรู้สึกว่าได้ยินเสียงคนอื่นพูดพึมพำ มีปัญหาการได้ยินเสียงสูงเช่น เสียงนาฬิกาเดิน มีปัญหาการฟังและความเข้าใจในบทสนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่มีเสียงรบกวนมาก ฟังเสียงผู้ชายง่ายกว่าเสียงผู้หญิง บางเสียงที่รู้สึกว่าดังมากเกินไปและน่ารำคาญ หรือมีเสียงดังในหู
ประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่แล้วจะส่งผลต่อการรับเสียงสูงจึงทำให้รู้สึกว่าได้ยินเสียงแต่จับคำพูดไม่ได้ ดังนั้นเรามักสังเกตว่าผู้สูงอายุยังคงพูดเสมอว่าได้ยินได้เห็นซึ่งจริงๆ แล้วคือการได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้ เนื่องจากเสียงบางเสียงผู้สูงอายุไม่สามารถได้ยิน
4. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ เสื่อมตามอายุ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ และปัญหาทางด้านสุขภาพ
ประสาทหูเสื่อมตามอายุไม่สามารถป้องกันได้ ไม่สามารถรักษาให้หายได้ สาเหตุของประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในอวัยวะของหูชั้นใน ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ อายุที่มากขึ้น ปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ผลข้างเคียงจากยา เช่น แอสไพริน ยาเคมีบำบัด และยาปฏิชีวนะบางตัว
สมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้านการได้ยินต้องการเสียงเข้าไปกระตุ้น เพื่อให้คงสมรรถภาพในการทำงานของประสาทการได้ยิน หากไม่มีเสียงเข้าไปกระตุ้น ประสิทธิภาพของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้านการได้ยินจะเสื่อมถอยลง
การช่วยเหลือผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามวัยด้วยเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังจะช่วยให้การได้ยินดีขึ้น แม้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีความบกพร่องทางการได้ยินแต่เป็นที่น่าเสียดายว่ายังได้รับการตรวจการได้ยินในอัตราน้อยกว่าที่เป็นอยู่
สำหรับผู้สุงอายุที่มีปัญหาได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้ หรือผู้ที่สงสัยว่าจะมีอาการประสาทหูเสื่อม สามารถนัดหมายเข้ารับการตรวจช่องหูเพื่อดูสุขภาพของช่องหู ตรวจสมรรถภาพของหูชั้นกลาง และการตรวจการได้ยินเพื่อให้ทราบความบกพร่องในแต่ละความถี่ โดยนักแก้ไขการได้ยินได้ที่ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ ทุกสาขา
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ยินดีให้บริการ
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
* https://www.nidcd.nih.gov/health/age-related-hearing-loss
** https://www.asha.org/uploadedFiles/AIS-Hearing-Loss-Age-Related.pdf
โฟลิก หรือ โฟเลต เป็นวิตามินตัวเดียวกัน นั่นคือ วิตามินบี 9 เพียงแต่มีชื่อเรียกแตกต่างกัน โดย “โฟลิก” เป็นชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้น ส่วน “โฟเลต” เป็นชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ

Lucy Wills
โฟเลต (Folate) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 เมื่อ Lucy Wills รายงานว่า สารสกัดจากยีสต์สามารถรักษาภาวะโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติกในหญิงตั้งครรภ์ได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1941 สารนี้ได้ถูกพบในพืชผักอีกหลายชนิด เช่น ผักขม อัลฟาฟา จึงถูกเรียกว่า “โฟเลต” ซึ่งมาจากคำในภาษาลาตินว่า Folium หมายถึง ใบไม้ เมื่อเอ่ยถึงสารโฟเลต จึงทำให้นึกถึงใบไม้ ใบหญ้า ผักใบเขียว
โฟลิก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ควบคุมการทำงานของสมอง มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน และไม่ใช่แค่ลดโอกาสเสี่ยงการพิการแต่กำเนิดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการอ่อนเพลีย ป้องกันภาวะซีดหรือโลหิตจาง ป้องกันโรค NCDs และโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
โฟลิก โฟเลต กับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลตหรือโฟลิกสูง ทั้งนี้มีผลการวิจัยยืนยันว่า…
“การได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอประมาณ 800 ไมโครกรัมต่อวัน สามารถลดระดับของสารโฮโมซีสเตอีนได้ถึงร้อยละ 25 จึงสามารถชะลอการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุได้ (Homocysteine Lowering Trialists’ Collaboration, 1998)”
สารโฮโมซีสเตอีนในเลือดเกิดจากการรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เป็นสารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หากมีมากเกินกว่าระดับที่ควรเป็นจะทำลายหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดที่อยู่ในสมอง รวมถึงหลอดเลือดที่เลี้ยงประสาทหู โดยจะมีผลทำให้หลอดเลือดดังกล่าวมีโอกาสตีบและอุดตันได้ง่ายกว่าที่ระดับของโฮโมซีสเตอีนในเลือดปกติ

รับประทานโฟลิกในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับวิตามินบี 6 และ บี 12 จะช่วยลดภาวะที่มีสารโฮโมซิสเทอีนเลือดสูง และลดความเสี่ยงโรคโลหิตจาง
ดังนั้น โฟลิก หรือโฟเลต มีความสำคัญในการรักษาระดับของโฮโมซีสเตอีนในเลือดไม่ให้สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น ลดโอกาสเสี่ยงจากผนังหลอดเลือดถูกทำลาย และยังมีส่วนช่วยในการชะลอการสูญเสียการได้ยิน
ปรึกษาทุกปัญหาการได้ยินและตรวจการได้ยิน ได้ที่
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
หูตึงกับผู้สูงอายุ มักเป็นของคู่กัน เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายได้ผ่านการใช้งานมาอย่างหนักแล้วย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา
ปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากความสามารถในการรับเสียงลดลง มักมีอาการหูอื้อ หรือหูตึง โดยมีอาการเริ่มแรกคือ ไม่ค่อยได้ยินเสียงแหลมๆ หรือเสียงที่มีความถี่สูง เช่น เสียงผู้หญิง เสียงดนตรีคีย์สูงๆ หรือเมื่ออยู่ในสถานที่ซึ่งมีเสียงรบกวนก็อาจฟังไม่เข้าใจ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลงโดยไม่รู้ตัว และเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการพบปะ พูดคุยกับผู้อื่น เนื่องจากเมื่อสนทนาแล้วต้องให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ เสียงดังๆ ผู้สูงอายุบางคนอาจจะต้องมองหน้า มองปาก เพราะฟังด้วยหูอย่างเดียวไม่รู้เรื่องแล้ว
“สิ่งนี้เป็นสัญญาณเตือนว่า…ถึงเวลาที่ควรพาท่านเข้ารับการรักษาหรือควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาทางด้านการได้ยินแล้ว เพราะหากปล่อยไว้นาน ท่านอาจจะไม่ได้ยินอีกเลย ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลต่อการเกิดปัญหาซึมเศร้าได้”
การป้องกันและดูแลการได้ยิน ในผู้สูงอายุ
- ควรตรวจสุขภาพการได้ยินเป็นประจำทุกปี เมื่ออายุ 60 ปี ขึ้นไป
- ควบคุมดูแลโรคประจำตัว เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจทำให้หูตึงได้
- ในกรณีที่มีปัญหาการได้ยินขั้นรุนแรง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวัน ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง (Hearing aids) ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นได้
“การใส่เครื่องช่วยฟัง จะช่วยกระตุ้นการได้ยินให้ส่งคลื่นเสียงไปยังสมอง เพื่อคงการทำงานของสมองไว้”
ลูกหลานควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด คอยให้กำลังใจ มีปฏิสัมพันธ์กับท่านอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะคงการได้ยิน และสร้างความสุขให้กับท่าน
เราพร้อมให้คำปรึกษาปัญหาการได้ยิน หูตึง หูหนวก ไม่ได้ยิน
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
หูตึงกับผู้สูงอายุนั้นมักเป็นของคู่กัน มีคนกล่าวว่าเมื่ออายุมากขึ้นทุกอย่างในร่างกายจะหย่อนยานลง ยกเว้นหูเท่านั้นที่ตึงขึ้น! ปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุมักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว บางคนไม่ทันได้สังเกตพอรู้ตัวอีกทีก็รู้สึกว่าตัวเองฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง ต้องให้คนอื่นพูดซ้ำ ๆ เสียงดัง ๆ
นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า ท่านควรเข้ารับการรักษาหรือควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการได้ยินได้แล้ว เพราะหากปล่อยไว้นาน นอกจากจะไม่ได้ยินหรือพูดคุยฟังสื่อสารไม่รู้เรื่องแล้ว อาจก่อให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้
การสูญเสียการได้ยิน
ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
สูญเสียการได้ยิน สมองเสื่อมลง 30-40%
ผลการศึกษา ความสามารถทางสติปัญญา ด้านความคิดและความจำในผู้ส
ผู้สูงอายุ ใช้สมองแทบทุกส่วนในการฟัง
ทำไมสูญเสียการได้ยินแล้วสม องจึงเสื่อม?
การสูญเสียการได้ยินทำให้ต้
จากการทดสอบ พบว่าการฟังในผู้สูงอายุต้อ
ทดสอบความเร็วในการพูดและคว
การฟังของผู้สูงอายุลำบากกว ่าคนทั่วไป?
การฟังในผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
- Temporal (Timing)
ในผู้สูงอายุความคิดและความจำ (Memory Timing) มักจะมีปัญหา บางคนระดับการได้ยินเท่าเดิ มแต่มีความสามารถในการจำสิ่ งต่างๆ ลดลง และถ้ายิ่งในผู้สูงอายุที่ม ีปัญหาการได้ยินและมีปัญหาเรื่องความจำก็จะยิ่งมีปั ญหาในการฟังมากขึ้น อุปสรรคการฟังในผู้สูงอายุน ั้นเกิดจากระบบการได้ยินส่วนกล างหรือการประมวลผลของสมอง ไม่ใช่เกิดแค่ที่เซลล์รับเส ียงในหูชั้นใน
- Spectral
เป็นการรับรู้เกี่ยวกับความถี่ (Pitch Perception) ในผู้สูงอายุที่มีการสูญเสี ยการได้ยิน มักมีการเสื่อมของเซลล์ขนรั บเสียงชั้นใน (Inner Hair Cell ) ร่วมด้วย ซึ่งปกติแล้วทำหน้าที่แปลงส ัญญาณเสียงส่งไปที่สมอง เมื่อมีการเสื่อมจึงทำให้กา รรับรู้ความถี่เสียงเพี้ยน แยกรับเสียงเฉพาะจงเจาะในแต ่ละความถี่ไม่ได้ เสียงที่ได้ยินจะกลายเป็นเส ียงคล้ายเสียงรบกวน ซ่าๆ สมองจึงแปลความหมายสิ่ง ที่ฟังลำบาก
ลดความเสี่ยงสมองเสื่อมจากป ัญหาการได้ยิน
ผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียก
การใช้เครื่องช่วยฟัง มีประโยชน์อย่างไร?
- ช่วยลดความยากในการฟัง ใช้ความตั้งใจในการฟังลดลง
- เมื่อได้ยินเสียงแล้ว สมองทำงานลดลง ดึงข้อมูลเฉพาะส่วนที่เกี่ย
วข้องมาใช้ - ลดความเครียดที่อาจส่งผลต
่อสมอง ลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่ อม
ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยเครื่องช่วยฟัง
บริการตรวจการได้ยิน และทดลองเครื่องช่วยฟัง
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai