Posts

ภาคเหนือ ไข้หูดับ ปีพ.ศ.2564

 

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้หูดับในประเทศไทย
ฉบับที่ 21/2564 ประจำสัปดาห์ที่ 22 (วันที่ 30 พ.ค. – 5 มิ.ย. 64)

 

รายงานพบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 171 ราย

เสียชีวิต 11 ราย

 

กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงาน ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี รองลงมาคือ อายุ 55 – 64 ปี และอายุ 45 – 54 ปี ตามลำดับ อาชีพที่พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ คือ รับจ้าง รองลงมาคือ เกษตรกร ภาคที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ ภาคเหนือ รองลงมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ นครราชสีมา และสุโขทัย ตามลำดับ

 

      พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคไข้หูดับเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมและวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการป่วยด้วยโรคไข้หูดับ โรคไข้หูดับเกิดจาก เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis)

 

โรคไข้หูดับ สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ


1. การบริโภคเนื้อหมู และเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ

2. การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ ทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค ติดต่อผ่านทางบาดแผล รอยถลอก และทางเยื่อบุตา

 

 

อาการหลังได้รับเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส ซูอิส หรือไข้หูดับ ในไม่กี่ชั่วโมง จนถึง 5 วัน


  • มีไข้สูง
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้
  • อาเจียน
  • ถ่ายเหลว
  • คอแข็ง
  • สูญเสียการได้ยินถึงขั้นหูหนวกถาวร
  • ข้ออักเสบ
  • เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังติดเชื้อรุนแรง
  • ติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้

 

กลุ่มเสี่ยงที่เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ

 

กรมควบคุมโรค แนะนำวิธีป้องกันโรคไข้หูดับ ดังนี้


  1. ควรรับประทานหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น และเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาวหรือสีคล้ำ ล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังสัมผัส หากรับประทานอาหารปิ้งย่าง ขอให้ทำให้สุกก่อนเสมอ และแยกอุปกรณ์ที่ใช้หยิบเนื้อหมูสุกและดิบ
  2. ผู้ที่สัมผัสกับหมู โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมใส่เสื้อและกางเกงที่ปกปิดมิดชิด ใส่รองเท้าและ ถุงมือทุกครั้งเมื่อเข้าไปทำงานในคอกสุกร หลีกเลี่ยงการจับซากสุกรที่ตายด้วยมือเปล่า ล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด  และผู้จำหน่าย ควรจำหน่ายเนื้อหมูที่มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ทำความสะอาดแผงด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อทุกวันหลังเลิกขาย และเก็บเนื้อหมูที่จะขายในอุณหภูมิที่ตํ่ากว่า 10°C

 

      ทั้งนี้ หากมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังสัมผัสหมูที่ป่วยหรือรับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูไม่สุก ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการรับประทานหมูดิบให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดอัตราการหูหนวกและการเสียชีวิตได้

 

ข้อมูล : สายด่วนกรมควบคุมโรค สอบถามเพิ่มเติมได้ โทร. 1422

 

 

 


เราพร้อมให้คำปรึกษาปัญหาการได้ยิน หูหนวก หูดับ

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

ประสาทหูเทียม (สำหรับเด็ก)

 

ผู้เข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม

กรณีเด็ก มีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้


  • หูหนวก ทั้ง 2 ข้าง (สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
  • อายุแรกเกิด ถึง 4 ปี ที่ไม่รับรู้เสียงพูด และไม่มีพัฒนาการด้านทักษะการฟัง การพูด และภาษา (สำหรับมูลนิธิ เด็กต้องอายุไม่เกิน 3 ขวบ)
  • อายุมากกว่า 5 ปี แต่ยังจำแนกคำพูดได้น้อยกว่า 50% ไม่ได้ประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง
  • ผู้ปกครองต้องทุ่มเท เอาใจใส่ และส่งเสริมการมีพัฒนาการทางด้านทักษะการฟัง และการพูดของเด็กเป็นอย่างดี

หมายเหตุ : อายุ ไม่ได้ระบุแน่ชัด ขึ้นอยู่กับการประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัดของทีมแพทย์ และการประเมินความพร้อมของครอบครัวในการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด

          สำหรับความคาดหวังของการผ่าตัดประสาทหูเทียมในเด็กนั้น ผู้ปกครองจะเป็นผู้คาดหวังในการผ่าตัดเสียส่วนใหญ่ว่า หลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้วเด็กจะต้องได้ยินและมีพัฒนาการตามช่วงวัยเหมือนเด็กปกติทั่วไป ซึ่งความเป็นจริงแล้ว สำหรับเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด การรับรู้และพัฒนาการของเด็กจะช้ากว่าเด็กปกติ

    และเมื่อเข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม พัฒนาการของเด็กจะพัฒนาได้ช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครองและความพร้อมของตัวเด็กเอง

 

 

          ดังนั้นหลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ผู้ปกครองจำเป็นต้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ให้ความสำคัญกับการฝึกฟัง ฝึกพูด เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้เด็กเติบโตอย่างสมวัย (กรณีเด็กที่ทำการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้วไม่ได้รับการฝึกฟัง ฝึกพูด อาจทำให้เด็กเลือกใช้ภาษามือ และท่าทางแทนการสื่อสารด้วยภาษาพูด)

 

การสูญเสียการได้ยินเป็นเวลานาน ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้ และควรได้รับการฟื้นฟู ไม่เกิน 6 เดือน

 

สอบถามข้อมูลเทคโนโลยีประสาทหูเทียมเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

Pork Streptococcus Suis

 

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 19 ตุลาคม 2561

พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หูดับแล้ว 274 ราย เสียชีวิต 26 ราย โดยยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งพบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 317 ราย เสียชีวิต 15 ราย

 

       ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาอายุ 45 – 54 ปี  ภาคเหนือมีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดถึง 199 ราย หรือเกือบ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยทั้งหมด และจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ พะเยา อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ และสระแก้ว ตามลำดับ

 

ไข้หูดับ

 

โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “สเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis)

โดยเชื้อจะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย เป็นเชื้อที่สามารถติดจากหมูสู่คนได้ ซึ่งมีการรายงานเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2511


โรคนี้ติดต่อได้ 2 ทาง คือ

  1. การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ รวมทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมู โดยติดต่อสู่คนทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกาย หรือทางเยื่อบุตา
  2. การบริโภคเนื้อหมู และเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ ที่มีเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะมีอาการหลังรับประทาน 3 – 5 วัน บางรายแสดงอาการหลังจากรับประทานภายใน 1 วัน ซึ่งเชื้อจะเข้าไปทำให้เยื่อหุ้มสมอง เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาจทำให้ประสาทหูทั้ง 2 ข้างอักเสบและเสื่อมจนหูหนวกถาวร และอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

 

วิธีป้องกันโรคไข้หูดับ คือ

  • กินเนื้อหมูปรุงสุกเท่านั้น และควรเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์
  • ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรค โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมรองเท้า บู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง

 

อาการของโรคไข้หูดับ คือ

ไข้สูง  ปวดศีรษะอย่างรุนแรง  เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภายหลังสัมผัสหมูที่ป่วย หรือหลังกินอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูดิบ หรือ สุกๆ ดิบๆ ให้รีบพบแพทย์ทันที และบอกประวัติการกินหมูดิบให้ทราบ เพราะหากมาพบแพทย์เร็วจะช่วยลดอัตราการหูหนวกและการเสียชีวิตได้ และโรคนี้สามารถรักษาหายและมียารักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ

ข้อมูล : สายด่วนกรมควบคุมโรค สอบถามเพิ่มเติมได้ โทร. 1422

 

สำหรับผู้ป่วยโรคไข้หูดับ ที่สูญเสียการได้ยินแล้วนั้น ท่านสามารถกลับมาได้ยินอีกครั้ง ด้วยวิธีการ การผ่าตัดประสาทหูเทียม  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นประสาทการได้ยิน และผ่านไปยังสมองโดยตรง

ประสาทหูเทียม เชียงใหม่ หูหนวก

 

 

เราพร้อมให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่มีอาการหูดับ หรือมีปัญหาการได้ยิน

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

3 ขั้นตอน การผ่าตัดประสาทหูเทียม

 

การผ่าตัดประสาทหูเทียม เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงหูหนวก และไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง

 

          ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์จะพิจารณาให้ประสาทหูเทียมเป็นวิธีแก้ปัญหาการได้ยินในระยะยาว มีขั้นตอนและกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นตอนการเตรียมการก่อนผ่าตัด การเตรียมตัวผ่าตัด และการดูแลและฟื้นฟูหลังผ่าตัด

 

3 ขั้นตอน การผ่าตัดประสาทหูเทียม

1. ขั้นตอนการเตรียมการก่อนผ่าตัด


ผู้ป่วยที่ผ่าตัดประสาทหูเทียมต้องได้รับการประเมินก่อนผ่าตัด โดยกระบวนการประเมินความเหมาะสม และความพร้อมของร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าประสาทหูเทียมคือคำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วยเอง

  • การทดสอบการได้ยิน เช่น ระดับการได้ยิน ความเข้าใจภาษา การทำงานของระบบประสาทการได้ยิน
  • การทดสอบด้านการแพทย์ การตรวจร่างกายและทำ MRI เพื่อตรวจสุขภาพโดยทั่วไป ได้แก่ การซักประวัติผู้ป่วย สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน การตรวจความผิดปกติของชั้นหู การประเมินโครงสร้างภายในของหู รวมถึงการตรวจเลือด ปัสสาวะ ปอด หัวใจ เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายก่อนผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมด้วยการดมยาสลบ
  • การทดสอบด้านจิตวิทยา เพื่อรับรองความสามารถในการรับมือกับการผ่าตัด และมีส่วนร่วมในการติดตามผล ดูแลและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังการผ่าตัด

 

2. ขั้นตอนการเตรียมตัวผ่าตัด


กระบวนการผ่าตัดประสาทหูเทียม ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 – 3 ชั่วโมง สำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั้นพบน้อยมาก ศัลยแพทย์จะเป็นคนปรึกษาเรื่องความเสี่ยงกับตัวผู้ป่วยเอง

  • ผู้ป่วยควรงดน้ำ อาหารทุกชนิด ก่อนเวลาผ่าตัดประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยที่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ควรงดเว้นก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน หรือตามคำสั่งของแพทย์ (เพื่อป้องกันผู้ป่วยที่ต้องใช้วิธีดมยาสลบ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากปอดทำงานหนัก ส่งผลให้ปอดอักเสบจากการสูดสำลัก หรือไอมากหลังผ่าตัดได้)
  • ผู้ป่วยควรงดใช้ยา 1 สัปดาห์ ก่อนผ่าตัด (แอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบอื่น ๆ) หากเป็นยารักษาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์
  • การผ่าตัดใช้วิธีการดมยาสลบ โดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

การดำเนินการ ประกอบด้วยสองส่วน :
      การฝังของตัวรับสัญญาณ– ตัวรับสัญญาณที่ติดตั้งอยู่บนกระดูกหลังใบหูภายใต้ผิวหนัง อิเล็กโทรดมีการเชื่อมต่อไปยังตัวรับส่งเสียงโดยตรงกับประสาทหู
       การเชื่อมต่อภายนอกของตัวแปลงสัญญาณ– ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ สำหรับการเปิดเครื่องประสาทหูเทียม (ตัวแปลงสัญญาณเสียง) หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น

 

3. ขั้นตอนการดูแลและฟื้นฟูหลังผ่าตัด


  • เมื่อผ่าตัดเสร็จ แพทย์จะให้ผู้ป่วยอยู่พักฟื้นเพื่อสังเกตอาการประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นจะย้ายผู้ป่วยไปพักฟื้นต่อที่หอผู้ป่วย
  • ผู้ป่วยใช้เวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3 – 4 วัน
  • แพทย์จะให้ยาแก้ปวด เมื่อผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยจะถูกสั่งงดน้ำ และอาหารทุกชนิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด

เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นประมาณ 4 สัปดาห์ นักแก้ไขการได้ยินจะทำการเปิดเครื่องประสาทหูเทียม และติดตั้งโปรแกรมในอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระดับการได้ยิน และปรับการตั้งค่าการติดตามผลในครั้งต่อๆ ไป นักแก้ไขการได้ยินจะทำการติดตามผลเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 หรือ 2 ครั้ง

 

            ผลสําเร็จและการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด การได้ยินในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม จะไม่เหมือนการได้ยินปกติ ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกฝนจึงจะสามารถฟัง แปลผล และสื่อสารได้ จึงมีความจําเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว และบุคลากรหลายด้าน ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ นักแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษ หรือ ครูที่โรงเรียน เพื่อน ที่ต้องเอาใจใส่ พูดคุยกระตุ้นเพื่อให้ได้ฝึกฟังและพูดตลอดเวลา

สามารถอ่านข้อมูลคุณสมบัติผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียมได้ที่ คุณสมบัติผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียม

 


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม เราพร้อมให้คำปรึกษา

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line Official: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

หูดับ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ประสาทหูเทียม เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง

     พอพูดถึงลาบหมู หลายคนคงน้ำลายไหลอยากทานขึ้นมาเลยใช่ไหมครับ? แต่ทราบไหมครับว่า “ลาบหมูดิบ” อาจทำให้คุณถึงตายได้! และหลายรายก็มีอาการ “หูดับ” จนไม่ได้ยินเสียงอะไรเลยแม้แต่นิด เนื่องจากการติดเชื้อจนอักเสบลุกลาม ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

 

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากอะไร?

     บางคนอาจเรียกว่า โรคไข้หูดับ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสสเต็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ที่เกิดจากการกินลาบหมูดิบ เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็สามารถกระจายไปยังเยื่อหุ้มสมองได้ โดยจะแสดงอาการดังนี้

  • ไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ อาเจียน ซึ่งจะเปิดหลังการรับเชื้อไป 2-5 วัน
  • ประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้ จะมีอาการหูดับหลังการรับเชื้อไป 3-5 วัน
  • บางรายมีอาการแสดงออกทางผิวหนัง เช่นอาการจ้ำเลือด เลือดออกใต้ผิวหนัง
  • อาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ไตวาย โลหิตเป็นพิษ

แล้วจะป้องกันอย่างไรดี?

  • หลีกเลี่ยงการทานลาบ หลู้ ที่ใช้ส่วนประกอบจากหมูดิบ เช่นเนื้อหมูดิบ เลือดหมู
  • เมื่อมีแผล ต้องระมัดระวังในการสัมผัสกับเนื้อหมู
  • หากเลี้ยงหมู ควรดูแลสถานที่ให้ถูกสุขอนามัย และสวมถุงมือ สวมรองเท้าบู๊ท ระหว่างปฏิบัติงาน
  • เลือกซื้อเนื้อหมูจากสถานที่ที่ไว้ใจได้ และไม่เลือกเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ

 

ถ้าหูดับจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะกลับมาได้ยินได้ไหม?

     ถ้าหูดับหรือหูหนวก โดยส่วนมากแล้วเซลล์รับเสียงในหูชั้นในจะถูกทำลายไปจนไม่เหลือพอที่จะทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงจากเครื่องช่วยฟังได้

 

อีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาคือ การผ่าตัดประสาทหูเทียม

ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นประสาทการได้ยิน และผ่านไปยังสมองโดยตรง

ประสาทหูเทียม เชียงใหม่ หูหนวก

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับประสาทหูเทียม คลิกที่นี่

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ เรื่องการเบิกประสาทหูเทียม คลิกที่นี่

 

 

เราพร้อมให้คำปรึกษาหูดับ ประสาทหูเทียม

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

สูญเสียการได้ยิน หูตึง เชียงใหม่

 

      การสูญเสียการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นระดับเล็กน้อยถึงปานกลางที่เรียกว่า “หูตึง” หรือระดับรุนแรงที่เรียกว่า “หูหนวก” ก็ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง เพราะไม่สามารถได้ยินและสื่อสารกับคนรอบข้างได้

 

ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง ที่อาจส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยิน?


  1. อายุที่มากขึ้น โครงสร้างของหูชั้นในเสื่อมลง จึงส่งผลต่อการได้ยิน
  2. การได้ยินเสียงดัง ไม่ว่าจะเป็นการได้ยินเสียงดังสะสมจากการทำงานในที่ที่มีเสียงดัง การได้ยินเสียงดังมากในระยะสั้นเช่นเสียงปืนหรือเสียงระเบิด ก็ล้วนเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
  3. พันธุกรรม ปัญหาการได้ยินสามารถถูกถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้
  4. ยาบางชนิด เช่นยาลดไข้แอสไพริน ยาขับปัสสาวะ หากรับประทานต่อเนื่องนานเกินไป หรือปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ก็อาจทำให้เกิดอาการเสียงดังในหู (Tinnitus) หรือสูญเสียการได้ยิน
  5. การเจ็บป่วย  โรคบางชนิดเช่นไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้หูดับหรือหูหนวกได้
  6. ความเครียดหรือพักผ่อนน้อย เมื่อสะสมนานๆ เข้าก็มีผลต่อประสาทหูเสื่อมได้

 

เลยเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงควรตรวจการได้ยินเป็นประจำทุกปี ควรป้องกันไว้ก่อนสายเกินแก้

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

หูหนวก ประสาทหูเทียม เชียงใหม่ หูดับ

ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว Holly McDonell อายุเพียง 4 ขวบเมื่อเป็นไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบจนหูหนวกขั้นรุนแรง เธอเป็นคนไข้เด็กคนแรกของโลกที่ได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมในปีพ.ศ. 2530

หูหนวก หูดับ ประสาทหูเทียม เชียงใหม่

จากหูหนวก ก็กลับมาได้ยินอย่างมีความสุข ประสาทหูเทียมช่วยเปลี่ยนชีวิตของฉัน

หลังจากนั้น Holly จึงกลับมาได้ยิน และเข้าโรงเรียนปกติเหมือนเด็กทั่วไป เธอเติบโตและทำงานอย่างมีความสุข

หูตึง หูหนวก เชียงใหม่ หูดับ

ฉันได้ทำงานเกี่ยวกับกฏหมาย และนั่นก็ทำให้ฉันได้พบกับ Jamie สามีของฉัน

ภายหลังการแต่งงาน Holly จึงได้มีลูกที่น่ารัก Madeleine และนั่นทำให้เธอได้รับรู้ถึงความสุขของเสียงที่แท้จริง

หูหนวก หูดับ เชียงใหม่ ประสาทหูเทียม

การได้ยินเสียงของลูก ทำให้ฉันชีวิตของฉันเติมเต็มไปด้วยความสุข ฉันรู้สึกตื้นตันจากใจที่ได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียม มันคือความมหัศจรรย์จริงๆ

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2530 มาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 30 ปี Holly ไม่เคยต้องผ่าตัดซ้ำ ประสาทหูเทียมที่เธอใช้ก็ยังเป็นรุ่นเดิม เธอเพียงแค่เปลี่ยนเครื่องแปลงสัญญาณเสียงภายนอก ให้อัพเดทและใช้งานได้เหมาะสมกับชีวิตประจำวันเท่านั้น

สำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นระดับเริ่มต้น ปานกลาง รุนแรงจนกระทั่งดับหรือหูหนวก ก็สามารถกลับมาได้ยินอีกครั้งได้เหมือน Holly เพียงแค่คุณได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมจากแพทย์หรือนักแก้ไขการได้ยิน

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

cochlear implant chiangmai hearing loss

      ถ้าเช้าวันหนึ่ง คุณตื่นมาแล้วพบว่าตัวเองไม่ได้ยินเสียงรอบข้างอีกต่อไป เสียงคู่รัก เสียงคนในครอบครัว เสียงนกร้อง ทุกอย่างล้วนเงียบสงัด คุณจะรู้สึกอย่างไร?

 

หูดับ หูหนวก ประสาทหูเทียม เชียงใหม่

 

      อยากให้คุณได้อ่านเรื่องราวของแพท ที่เกิดและเติบโตแบบคนปกติทั่วไป เธอได้ยินเสียงและมีความสุขจนกระทั่งตอนอายุ 34 ปีในปี 2524 เธอก็มีอาการหูดับ และสูญเสียการได้ยินถึงขั้นหูหนวกสนิทภายใน 3 วันหลังจากเริ่มเกิดอาการ แพทย์ได้แจ้งว่าสาเหตุมาจากเธอติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง

      หลังจากนั้นแพทก็ใช้ชีวิตในโลกอันเงียบสงัดเป็นเวลา 3 ปี จนกระทั่งสามีของเธอได้ดูรายการโทรทัศน์ที่พูดเกี่ยวกับประสาทหูเทียม จึงแนะนำให้แพทเข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม

 

“ฉันรู้สึกว่าส่วนหนึ่งของชีวิตได้สูญหายไป ฉันต้องคอยถามให้คนอื่นพูดหลายรอบเพื่อที่จะอ่านปาก มันคงจะดีถ้าฉันจะมีโอกาสได้ยินอีกครั้ง” แพทได้กล่าวไว้

 

      หลังจากได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ และผ่านขั้นตอนต่างๆ แพทจึงได้รับการผ่าตัดในเดือนเมษายน 2530 ซึ่งเธอเป็นคนไข้คนแรกใน South Dakota ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียม

 

ประสาทหูเทียม Cochlear Nucleus 6

 

ปัจจุบันเธอใช้เครื่องแปลงสัญญาณเสียงของ Cochlear รุ่น Nucleus 6 แพทได้เล่าให้ฟังว่า

 

“เสียงที่ฉันชอบฟังมากที่สุดคือเสียงคนในครอบครัว เสียงนกร้อง เสียงดนตรี จะว่าไปก็ชอบทุกเสียงนั่นแล่ะ”

 

เธอยอมรับว่าประสาทหูเทียมทำให้เธอเหมือนกับเกิดใหม่ เธอไม่ต้องพลาดกับเสียงทุกเสียงในชีวิตประจำวันอีกต่อไป

 

“สำหรับคนที่มีปัญหาหูดับ หูหนวก หรือสูญเสียการได้ยินขั้นรุนแรง ควรรีบได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และประสาทหูเทียมจะเป็นคำตอบ ที่จะทำให้เขาเหล่านั้นได้รับความสุขในชีวิตกลับมาอีกครั้ง”

 

 

      สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องประสาทหูเทียม สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเรา โดยกรอกข้อมูลให้เราติดต่อกลับได้ที่ การขอข้อมูลเพื่อติดต่อกลับ

หรือติดต่อเราได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai