Tag Archive for: หูตึง

หูไม่ค่อยได้ยิน วัยทำงาน

หูไม่ค่อยได้ยิน ในวัยทำงาน อาจเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงและความก้าวหน้าในอาชีพ เรียนรู้วิธีรักษาสมดุล Work-life balance แม้หูไม่ได้ยิน พร้อมเคล็ดลับการจัดการปัญหาการได้ยิน

อันตรายของเสียง ผลกระทบ สูญเสียการได้ยิน หูตึง วัยทำงาน

อันตรายของเสียง ผลกระทบมากกว่าที่คุณคิด หากคุณต้องสัมผัสกับเสียงดังเป็นระยะเวลานานๆ นอกจากเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึงแล้ว ยังเสี่ยงกับปัญหาด้านอื่นๆ อีกด้วย

4 วิธีการรับมือ ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน

       ขึ้นชื่อว่า “ผู้สูงอายุ” ก็จะมาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บสารพัด ใดๆ เลย การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ แต่เหล่าสูงวัยเองก็มักหนีไม่พ้น หูเอย ตาเอย แขนขาเอย โดยเฉพาะหู ที่เริ่มจะไม่ได้ยินหรือหูตึงนั่นเอง แล้วจะมีวิธีการรับมือหูตึงในวัยสูงอายุนี้ได้อย่างไร?  

ผู้สูงอายุ หูตึง ผลกระทบมากกว่าที่คิด


       ไม่ว่าใครก็ตาม เมื่อต้องเผชิญกับภาวะสูญเสียการได้ยิน หูไม่ได้ยิน หรือ หูตึง มักจะรู้สึกว่าการสื่อสารกับผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หรือน่าอึดอัดใจ

       โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับอาการหูไม่ค่อยได้ยิน ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนโดนแยกออกจากโลกภายนอก รู้สึกซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในด้านอื่นได้อีกด้วย

หูตึง ประสาทหูเสื่อม ตามอายุ

      ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุ หรือประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) เป็นอาการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในหูชั้นใน ความเสื่อมจะกระทบไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นความถี่ช่วงเสียงพูด ทำให้เริ่มฟังไม่ชัดเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือด เป็นต้น

“สูงวัย อย่างมีความสุข” ได้อย่างไร?

ดูแลผู้สูงอายุ

       มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่มีการสูญเสียการได้ยิน ทั้งที่ยอมรับตัวเองได้ และยังไม่ยอมรับตัวเองว่าหูไม่ได้ยิน การยอมรับตัวเองได้เร็ว และหาอุปกรณ์ช่วย จะเป็นผลดีต่อตัวผู้สูงอายุเอง

ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน

เรียนรู้ 4 วิธีการรับมือ สำหรับผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว

1. ลูกหลานควรเห็นอกเห็นใจ และผู้สูงอายุต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง

       การดูแลหรือพูดคุยกับผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยินหรือหูตึง อาจทำให้ลูกหลานรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าใจได้ในครั้งเดียวที่พูดด้วย แต่เชื่อเถอะว่าคนที่รู้สึกอึดอัดใจมากกว่า ก็คือตัวผู้สูงอายุเอง ที่ต้องสูญเสียความสามารถทางการได้ยิน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกับผู้สูงอายุแล้วท่านไม่เข้าใจ ลองเปลี่ยนวิธีการพูดหรือเปลี่ยนประโยคพูดใหม่ อย่าพูดจบแล้วเดินหนี เพราะท่านอาจคิดมาก น้อยใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่สำคัญกับคนในครอบครัว

       ตัวผู้สูงอายุเองก็ควรพูดหรือโต้ตอบไปตามที่ตนเองเข้าใจ อย่าคิดมากและอย่ากลัวที่จะพูด การพูดโต้ตอบเพื่อกระตุ้นให้สมองได้ทำงานบ้าง หยุดเครียดคิดมากวิตกกังวลและใช้ชีวิตให้มีความสุข ทำความเข้าใจและยอมรับว่าร่างกายของตนนั้นเสื่อมถอยลงตามอายุ และอารมณ์ที่แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือน้อยใจ 1 วัน หลากหลายอารมณ์นั่นก็เพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

2. ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง ลูกหลานต้องมีความอดทน

ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง และลูกหลานต้องมีความอดทน

       การยอมรับว่าตนเองหูไม่ได้ยิน หรือสูญเสียความสามารถทางการได้ยินไปเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการเสื่อมของประสาทการได้ยินที่ค่อยๆ เสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว และคิดว่าตนเองไม่ได้มีปัญหาการได้ยิน
       ลูกหลานหรือคนในครอบครัวจำเป็นต้องสื่อสารกับท่านด้วยความอดทน พยายามพูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในขณะเดียวกันต้องพยายามให้ท่านได้รับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ท่านได้ยิน เพื่อรอวันที่ท่านพร้อมจะเปิดใจรับความช่วยเหลือ

3. ผู้สูงอายุควรหากิจกรรมทำ ลูกหลานส่งเสริมความมีคุณค่าให้กับผู้สูงอายุ

       มีผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอารมณ์ของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความคิดในแง่ลบต่างๆ หรือความอึดอัดที่ทำให้หงุดหงิดง่าย

       ดังนั้น ผู้สูงอายุควรหากิจกรรม หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบทำ เพื่อลดความเครียด วิตกกังวล เช่น การเดินออกกำลังกาย ปลูกผัก รดน้ำต้นไม้ หรือพบปะเพื่อนฝูง และลูกหลานควรทำความเข้าอกเข้าใจกับอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญในแต่ละวัน จะทำให้เราเข้าใจการแสดงออกของท่านได้มากขึ้น หมั่นหากิจกรรมทำร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว

4. คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ

คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ-

      เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ค่อยได้ยิน ให้พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ พูดช้าๆ และทำรูปปากให้ชัดเจนเพื่อที่อย่างน้อยท่านจะได้สามารถอ่านปาก ประกอบเสียงที่ได้ยินได้บ้าง

      ผู้สูงอายุจะจำได้ไม่ดีเท่าคนที่อายุน้อย เพราะเกิดจากความเสื่อมและความช้าของสมองในการรับรู้และประมวลผล

      การแก้ปัญหาหูไม่ได้ยิน หูตึง ในผู้สูงอายุ

      อาการหูตึงในผู้สูงอายุ หรือการที่ประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัยนั้นเป็นภาวะความเสื่อมของอวัยวะ การช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วยฟังถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงจากผู้พูด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยินอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน ใส่เครื่องช่วยฟัง

      อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวของผู้ร่วมสนทนาหรือผู้พูดที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของอาการหูตึงในผู้สูงอายุและพยายามปรับการพูด เพื่อให้ผู้สูงอายุทำความเข้าใจบทสนทนาระหว่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยหลักการพูดเมื่อต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ได้ยิน มีดังนี้

• พยายามพูดในที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน หรือลดเสียงรบกวนรอบข้างระหว่างการพูดคุย
• พูดออกเสียงช้าๆ ชัดๆ พูดคำให้ครบ ไม่พูดงึมงำในคอ และตรวจสอบว่าผู้สูงอายุท่านเข้าใจ
• ใช้ท่าทางมือและสีหน้าประกอบในการสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร

อินทิเม็กซ์ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ให้มีสุขภาพการได้ยินที่ดีไปพร้อมกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

intimex อินทิเม็กซ์

ปรึกษาการได้ยินในผู้สูงอายุ

บริการทดสอบการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

หูเสียสองข้าง ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง

กลไกการได้ยินของมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ การได้ยินทำให้เรารับรู้เสียงรอบตัวของเรา รับรู้มิติของเสียง และความสมดุล

การได้ยินไม่ได้เกิดขึ้นในหู แต่มันเกิดขึ้นในสมองของคุณ

       เสียงเดินทางผ่านหูของคุณ แก้วหูสั่นและทำให้กระดูกหูชั้นกลางเคลื่อนไหว เซลล์ขนเล็กๆ ภายในหูชั้นในจะเคลื่อนตัวขึ้นอยู่กับว่าเป็นเสียงต่ำ กลาง หรือสูง การเคลื่อนไหวเหล่านี้กระตุ้นเซลล์ประสาทในเส้นประสาทการได้ยินของคุณ จากนั้นสัญญาณจะข้ามไปยังอีกซีกหนึ่งของสมองส่วนการได้ยินของคุณ เพื่อตีความหมายว่าเป็นเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่นๆ

เมื่อคุณ สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง

       สมองของคุณต้องการข้อมูลที่ป้อนเข้ามาจากหูทั้งสองข้าง เพื่อแปรผลจากเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง แต่ใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว จะลดโอกาสการได้ยินและความเข้าใจของสมองลง 50 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งลดความสามารถในการรับรู้ความลึกและช่วงพื้นที่ที่คุณจะได้ยิน

Hearing

       เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง คุณจะได้ยินเสียงดีขึ้น ตอนนี้สมองรู้แล้วว่าจะเก็บข้อมูลใด และจะทิ้งข้อมูลใด ข้อมูลสำคัญจะเป็นเสียงพูด การสนทนา เพลง และเสียงที่มีความหมาย ข้อมูลที่ไม่สำคัญ เช่น เสียงรบกวนต่างๆ คุณจะได้ยินน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

       การได้ยินที่ดีขึ้นช่วยให้สมองทำสิ่งเหล่านี้ได้ หากคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง จะส่งสัญญาณที่เหมาะสมไปยังสมอง ให้แปรความหมายจากโทนเสียง และความถี่ต่างๆ ได้ และสามารถเติมเต็มในส่วนที่คุณอาจพลาดไป

หูเสียสองข้าง ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?

       เมื่อคุณพบว่าคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง และผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังได้แนะนำให้คุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น คุณมักมีคำถาม “ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?”

       หากคุณสูญเสียการได้ยินสองข้าง และนี่คือประโยชน์เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟัง

9 ประโยชน์ เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น เมื่อ ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง

สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินสองข้าง


ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ได้ยินเสียงรบกวนลดลง

1. ได้ยินเสียงรบกวนลดลง

      หนึ่งในสาเหตุที่ผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังพบบ่อยที่สุด คือ การเข้าใจคำพูดในสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น ในร้านอาหาร

      การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ช่วยให้สมองประมวลผลเสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เน้นเสียงคำพูด และกรองเสียงรบกวนออก ความสามารถในการทำงานของสมองเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น หากคุณใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว

2. ลดอาการเหนื่อยล้า จากการฟัง

      การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้อาการเหนื่อยล้าจากการฟังลดลง เนื่องจากสมองมีข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการแปรความหมายของเสียงที่ได้ยินแล้ว ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว ต้องใช้พลังมากขึ้น ตั้งใจฟังมากขึ้น สมองต้องทำงานหนักเพื่อ “เติมคำในช่องว่าง” ให้กับคุณ

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ลดอาการเหนื่อยล้า จากการฟัง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ให้ความรู้สึกสมดุล ได้ยินเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น

3. ให้ความรู้สึกสมดุล ได้ยินเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น

        เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ข้อมูลของเสียงที่ได้ยินถูกป้อนอย่างสมดุลเข้าสู่หูทั้งสอง สมองจึงพึ่งพาหูแต่ละข้างอย่างเท่าเทียมกันในการฟัง ยิ่งสมองแปรผลและเข้าใจเสียงที่ได้ยินมากขึ้นเท่าใด คำพูดที่คุณได้ยินก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นเท่านั้น

4. รู้ทิศทางของเสียง

      หูสองข้าง ทำให้เราระบุที่มาได้ว่าเสียงมาจากทิศทางไหน เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง หูทั้งสองข้างทำงานร่วมกัน คลื่นเสียงจากหูทั้งสองข้างจะส่งไปยังสมอง เพื่อช่วยให้คุณระบุตำแหน่งที่มาของเสียง เช่น รู้ว่าเสียงไซเรนจากรถพยาบาล กำลังมาจากทิศทางไหนเมื่อคุณขับรถ

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง รู้ทิศทางของเสียง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ช่วงของการได้ยินเสียง กว้างขึ้นจาก 180◦ เป็น 360◦

5. การได้ยินเสียง มีช่วงกว้างขึ้นจาก 180 เป็น 360

      การได้ยินเสียงจากด้านใดด้านหนึ่งจะจำกัดปริมาณเสียงที่คุณได้ยินจากอีกด้านหนึ่ง ความเข้าใจเสียงของคุณจึงถูกจำกัด การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้คุณสามารถได้ยินเสียงอย่างชัดเจนจากทั้งสองทิศทาง คุณจะได้ยินเสียงง่ายขึ้นและได้ยินคนพูดคุยรอบตัวคุณ เพิ่มช่วงการได้ยินจาก 180 เป็น 360 องศาทีเดียว

6. เพิ่มความสามารถในการ “เลือกฟัง”

      เมื่อมีคนพูดคุยหลายคนพร้อมกัน เช่น ในร้านอาหาร การเข้าใจคู่สนทนาเป็นเรื่องลำบากมากหากคุณใส่เครื่องช่วยฟังในข้างเดียว เนื่องจากเสียงทุกเสียงจะเข้ามาที่หูข้างที่คุณใส่เครื่องช่วยฟัง เสียงทั้งหมดผสมผสานรวมกัน คุณจะไม่สามารถแยกเสียงคำพูดออกจากเสียงรบกวนรอบข้างได้เลย ความสามารถในการ “เลือกฟัง” จะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณได้ยินจากหูทั้งสองข้างเท่านั้น

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เพิ่มความสามารถในการเลือกฟัง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง รองรับเสียงดังได้ดีขึ้น

7. รองรับเสียงดังได้ดีขึ้น

      หูแต่ละข้าง รองรับความดังของเสียงได้ในระดับหนึ่ง การได้ยินด้วยหูทั้งสองข้าง ทำให้เสียงดังที่เข้ามาถูกแบ่งระหว่างหูสองข้าง จึงทำให้คุณสามารถทนต่อเสียงดังในสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงตลอดวัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานในแต่ละวันของคุณได้ดีขึ้น

8. ประหยัดแบตเตอรี่

      เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างจะถูกส่งไปที่สมอง ซึ่งจะเพิ่มความดังตามธรรมชาติให้กับคุณ ทำให้การตั้งระดับความดังของเครื่องช่วยฟังไม่จำเป็นต้องดังมาก ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว คุณต้องการความดังมากเพื่อชดเชยหูข้างที่ไม่ได้ยิน

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ประหยัดแบตเตอรี่
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง หูทั้งสองข้างแข็งแรง

9. หูทั้งสองข้างแข็งแรง

      หากคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้างและใส่เครื่องช่วยฟังในหูข้างเดียว คุณกำลังบังคับให้หูข้างเดียวทำงานสองข้าง คล้ายกับมีแขนที่อ่อนแอสองข้างที่ยกน้ำหนักด้วยแขนข้างเดียว หูข้างที่มีการสูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังจะอ่อนแอลง เนื่องจากสมองได้พึ่งพาหูข้างที่ใส่เครื่องช่วยฟังมากขึ้น เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อ หากคุณไม่ใช้มันคุณอาจสูญเสียมันไปได้ หากคุณสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้างควรได้รับการกระตุ้นของเสียงที่เข้ามาอย่างเพียงพอผ่านการใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อส่งเสริมให้คุณประสบความสำเร็จในการฟังในระยะยาว

พิจารณา การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เมื่อคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้าง

ขอรับคำแนะนำการเลือกเครื่องช่วยฟัง บริการทดลองเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

เช็คสัญญาณปัญหาการได้ยิน-อาการหูตึง

 

        หูไม่ได้ยิน หรือหูตึง ปัญหาการได้ยินที่คนส่วนมากมักมองข้ามและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร รู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อเริ่มสื่อสารกับผู้อื่นลำบากแล้ว

        อาการของการสูญเสียการได้ยินหรือหูตึง มีหลายระดับขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรง บางรายสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยในหูทั้งสองข้าง บางรายสูญเสียการได้ยินรุนแรงในหูข้างเดียว หรือบางรายสูญเสียการได้ยินในแต่ละข้างไม่เท่ากัน ดังนั้นประสบการณ์การฟังย่อมแตกต่างกัน

 

เช็คสัญญาณอาการที่เข้าข่ายผู้มีปัญหาการได้ยิน

ตรวจเช็คอาการดังต่อไปนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและหาวิธีป้องกันให้กับการได้ยินของคุณ


ดูทีวีเสียงดัง อาการหูตึง

  • เพื่อนหรือครอบครัวบอกว่าคุณเปิดทีวีหรือวิทยุดังเกินไป
  • คุณมีปัญหาในการทำความเข้าใจคำพูด โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง
  • คุณมีปัญหาในการสนทนาทางโทรศัพท์
  • คุณมีความรู้สึกว่าได้ยิน แต่ฟังไม่เข้าใจ
  • คุณไม่แน่ใจว่าเสียงมาจากทิศทางไหน
  • คุณมักจะขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ
  • คุณต้องพึ่งพาคู่สมรสหรือคนที่คุณรักเพื่อช่วยให้คุณได้ยิน
  • คุณพบว่าตัวเองกำลังหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม
  • คุณรู้สึกอ่อนเพลียหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เกิดจากความเหนื่อยล้าในการฟัง
  • คุณมีอาการเสียงดังในหู
  • คุณมีอาการหูอื้อ

 

     หากพบว่าตัวคุณเองมีปัญหาการได้ยินตามอาการดังกล่าว กรณีเพิ่งเริ่มมีอาการ แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก เพื่อทำการรักษา หรือกรณีไม่แน่ใจว่าตัวคุณเองมีปัญหาการได้ยินหรือไม่ บางครั้งได้ยินดี แต่ในบางครั้งกลับไม่ได้ยิน

       แนะนำให้คุณตรวจการได้ยิน คุณจะทราบถึงระดับการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด มีปัญหาการได้ยินในช่วงความถี่เสียงไหน เพื่อให้คุณเตรียมความพร้อมและหาวิธีการป้องกันหรือวิธีการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยคุณสามารถเข้ารับบริการตรวจการได้ยินได้ที่โรงพยาบาล หรือศูนย์บริการเอกชนใกล้บ้าน

 

 

คุณสามารถตรวจการได้ยินประจำปีได้โดยไม่ต้องรอให้แพทย์สั่ง หรือรอให้ตัวคุณเองไม่ได้ยิน

 

    


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน บริการตรวจการได้ยิน (Pure-Tone Audiometry)

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111

hearingchiangmai    Line: @hearingchiangmai

 

ขอบคุณข้อมูลจาก healthyhearing.com
เครื่องช่วยฟังกับผู้สูงอายุ

      

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและอวัยวะเริ่มถดถอยและเสื่อมลง

 

      การสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึงในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของประสาทหูหรือเซลล์ขน (Hair cell) ในการรับเสียง โดยเสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสื่อมในวัยผู้สูงอายุนั้นจะค่อยๆ เริ่มเสื่อมอย่างช้าๆ ส่งผลให้การได้ยินค่อยๆ ลดลง

 

คุณยายไม่ได้ยิน

      ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่จะช่วยรักษาหรือฟื้นฟูให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติดังเดิมได้

      ทั้งนี้การใส่เครื่องช่วยฟังจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ยินดีขึ้น เครื่องช่วยฟังจะทำหน้าที่ขยายเสียง โดยเสียงจะเป็นตัวเข้าไปกระตุ้นประสาทหูที่เหลืออยู่ให้ทำงานและคงสภาพการได้ยินไว้

 

 

หูตึงระดับใด ที่ผู้สูงอายุควรใส่เครื่องช่วยฟัง?

หูตึงมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย – ระดับรุนแรง


ระดับการสูญเสียได้ยินกับการใส่เครื่องช่วยฟังในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้

  • หูตึงระดับเล็กน้อย (26 – 40 dB) ยังสามารถสื่อสารได้ ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
  • หูตึงระดับปานกลาง (41 – 55 dB) เริ่มสื่อสารด้วยเสียงที่ดังขึ้น จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
  • หูตึงระดับค่อนข้างรุนแรง (56 – 70 dB) เริ่มสื่อสารด้วยการตะโกน จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
  • หูตึงระดับรุนแรง (71 – 90 dB) จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง ประเภทกำลังขยายสูง*

หมายเหตุ

สูญเสียการได้ยิน มากกว่า 40 dB ขึ้นไป แพทย์แนะนำการใส่อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง
สูญเสียการได้ยิน มากกว่า 80 dB ขึ้นไป แพทย์แนะนำการผ่าตัดประสาทหูเทียม (หลักเกณฑ์การผ่าตัดประสาทหูเทียม)

 

เครื่องช่วยฟัง กับ ผู้สูงอายุ


เครื่องช่วยฟังกับผู้สูงอายุ     นอกจากแว่นตาแล้ว เครื่องช่วยฟังก็ยังเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในวัยผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยเช่นกัน การใส่เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลามากกว่า 5 – 10 ปี เป็นเรื่องค่อนข้างยากในการฟัง เนื่องจากตัวผู้สูงอายุเองไม่ได้ยินเสียงบางเสียงมานาน เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้วอาจทำให้รู้สึกรำคาญได้ จึงจำเป็นต้องค่อยๆ ปรับตัวและให้เวลากับมัน (อ่าน 10 เทคนิคการเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง)

       หรือในบางท่านได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการซื้อเครื่องช่วยฟังในอินเทอร์เน็ตมาใส่เอง ใส่แล้วมีเสียงดังรบกวน ทำให้ฟังไม่รู้เรื่องมากกว่าเดิม บางท่านเสียงดังจนปวดหู ทำให้รู้สึกรำคาญ ทนใส่ไม่ไหวและไม่อยากใส่เครื่องอีกเลย

 

      ดังนั้น การใส่เครื่องช่วยฟังที่ดีควรเริ่มใส่ตั้งแต่ท่านเริ่มไม่ค่อยได้ยิน หรือเริ่มสื่อสารกับคนรอบข้างลำบาก ซึ่งโดยมากแล้วแพทย์จะแนะนำให้ใส่เมื่อมีการสูญเสียการได้ยิน มากกว่า 40 dB ขึ้นไป และควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจการได้ยินและปรับเครื่องตามผลการได้ยิน เพื่อให้ท่านใส่เครื่องช่วยฟังแล้วฟังสบาย สื่อสารกับคนรอบข้างกับลูกหลานได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยินผู้สูงอายุ (Pure-Tone Audiometry)

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

หูตึง ป้องกัน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง หูฟัง หูหนวก หูดับ เครื่องช่วยฟัง

 

แท้จริงแล้ว ปัญหาการได้ยินหรืออาการหูตึง เราไม่สามารถป้องกันได้ 100% และจะพบว่าในบางรายมีสาเหตุเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย เช่น วัยชราหรือวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นการเสื่อมที่ไม่สามารถป้องกันได้

 

แต่หากมาจากสาเหตุของการที่ต้องเจอ หรือสัมผัสกับเสียงดังเป็นเวลานานๆ และบ่อยครั้ง เราสามารถป้องกันได้ ดังนี้

 

5 วิธีป้องกันหูตึง ดังต่อไปนี้


 

1.  หลีกเลี่ยงเสียงดัง ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ สถานที่ไหนที่ต้องเผชิญกับเสียงดัง ก็ควรออกห่าง หลีกเลี่ยง หรือหาอุปกรณ์ป้องกัน เพราะไม่คุ้มเลยกับการที่เราจะมีปัญหาการได้ยินในอนาคต

 

แล้วจะสังเกตได้อย่างไร ว่าเสียงดังเกินไป?

  • คุณต้องพูดเสียงดังกว่าเดิม เพื่อให้คู่สนทนาเข้าใจ
  • คุณไม่ค่อยเข้าใจว่าอีกฝ่ายกำลังพูดอะไร
  • คุณรู้สึกปวดหู
  • มีอาการหูอื้อ หรือได้ยินเสียงอู้อี้

 

        ระดับความดังของเสียง จะถูกวัดออกมาเป็นค่าเดซิเบล (dB) ยิ่งเสียงดังมาก ค่าเดซิเบลยิ่งสูง เสียงที่ดังมากกว่า 85 เดซิเบลเป็นค่าที่สูงจนเสียงมีผลต่อการทำลายการได้ยิน จึงไม่ควรอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นเวลานานๆ

 

ตัวอย่างระดับความดังของเสียง

  • เสียงกระซิบ – 30 เดซิเบล
  • เสียงพูดคุยทั่วไป – 60 เดซิเบล
  • เสียงการจราจรคับคั่ง – 70 ถึง 85 เดซิเบล
  • เสียงรถจักรยานยนต์ – 90 เดซิเบล
  • เสียงเพลงผ่านหูฟังในระดับสูงที่สุด – 100 ถึง 110 เดซิเบล
  • เสียงเครื่องบินกำลังขึ้น – 120 เดซิเบล

หรือคุณอาจลองใช้แอพในมือถือ ที่สามารถวัดระดับความดังของเสียง เพื่อเลี่ยงอยู่ในพื้นที่ที่ดังเกิน 85 เดซิเบลได้

 

2. ฟังเพลงแต่พอดี การฟังเพลงผ่านหูฟังถือว่าเป็นอันตรายต่อหูเป็นอย่างมาก จึงควรระมัดระวังในการฟัง ดังนี้

  • ฟังในระดับความดังที่พอดี ไม่ดังจนเกินไป ซึ่งปกติแล้วไม่ควรเกิน 60% ของความดังสูงสุด
  • ไม่ควรใช้หูฟังนานเกิน 1 ชั่วโมง หากจะใช้นานๆ ควรพักหูประมาณ 5 นาทีก่อนใช้ใหม่

แค่ลดระดับเสียงลดนิดหน่อย ก็ช่วยรักษาการได้ยินของคุณได้นานขึ้นได้

 

3. ป้องกันเวลาไปงานอีเวนท์ หากมีความจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมหรือออกงานอีเวนท์ที่มีเสียงดัง เช่น คอนเสิร์ต สนามกีฬา ที่เที่ยวกลางคืน ควรป้องกันดังนี้

  • อยู่ห่างจากจุดที่มีเสียงดัง เช่น ลำโพงขยายเสียง
  • พยายามพักหู โดยการออกห่างจุดที่มีเสียงดัง ทุก 15 นาที
  • หลังจากกลับจากงานที่มีเสียงดัง ควรพักผ่อนอย่างเงียบๆ ประมาณ 18 ชั่วโมง
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน เช่น Earplug

 

4. ทำงานอย่างระมัดระวัง หากคุณต้องทำงานในที่ที่มีเสียงดังตลอดเวลา ควรคุยกับหัวหน้างานว่าจะมีผลต่อการได้ยินในอนาคต จึงควรให้ที่ทำงานช่วยป้องกันดังนี้

  • หากเป็นไปได้ ควรปรับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีเสียงดังลดน้อยลง
  • ไม่ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังติดต่อกันหลายชั่วโมงต่อวัน
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน เช่น Earplug

 

5. ตรวจการได้ยินสม่ำเสมอ โดยปกติแล้วควรตรวจการได้ยินทุกปี หรือหากรู้สึกว่ากำลังมีปัญหาการได้ยินก็ยิ่งรีบมาตรวจการได้ยินให้เร็วที่สุด  นักแก้ไขการได้ยินหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้ให้คำแนะนำอย่างถูกต้องให้กับคุณ

 

แค่ 5 ข้อง่ายๆ แค่นี้ ก็ช่วยรักษาการได้ยินให้อยู่กับคุณไปนานๆ ได้

 

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

4 วิธีการสื่อสารกับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง

 

       การพูดคุยสื่อสารกับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง คู่สนทนาควรทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ใส่เครื่องช่วยฟังคือ ผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน การใส่เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินนั้นกลับมาได้ยินอีกครั้ง ซึ่งการได้ยินจะชัดเจนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของประสาทหูที่คงเหลืออยู่

       นอกจากการได้ยินแล้วผู้ใส่เครื่องช่วยฟังยังมีเรื่องของการแปลความหมาย การจับคำพูดที่มักเป็นอุปสรรค ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังจะเข้าใจในเรื่องที่สนทนาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์การแปลความหมายของคำพูดด้วยเช่นกัน

 

การพูดคุยสื่อสารกับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง

คู่สนทนา ควรปฏิบัติด้วยความเข้าใจ 4 วิธี ดังนี้


 

1. พูดใกล้ๆ ช้าลงเล็กน้อย ระดับความดังปกติ

       คู่สนทนาจะต้องสนทนาใกล้ๆ และสนทนาในหูข้างที่เปอร์เซ็นต์การได้ยินคงเหลือมากที่สุด สนทนาช้าๆ ชัดๆ ในระดับความดังปกติ ไม่จำเป็นต้องสนทนาเสียงดัง หรือตะโกน

 

2. พูดต่อหน้า เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินมองเห็นหน้า และเห็นรูปปากชัดเจน 

       คู่สนทนาจำเป็นต้องสนทนาให้เห็นหน้า เนื่องจากผู้ใส่เครื่องช่วยฟังบางรายมีเปอร์เซ็นต์การแปลความหมายของคำพูดเหลือน้อย อาจจะต้องใช้การมองรูปปากร่วมกับการฟังด้วย

 

3. การใช้ท่าทางประกอบการสนทนา

       กรณีที่มีการสูญเสียการได้ยินค่อนข้างมากไม่สามารถรับรู้ได้จากการฟังเพียงอย่างเดียว คู่สนทนาอาจจะต้องมีท่าทางประกอบ เช่น ทานข้าว ดื่มน้ำ ฯลฯ

 

4. การฝึกการฟัง

       ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังควรฝึกการฟังในสถานการณ์ต่างๆ โดยเริ่มจากการพูดคุย แบบ 1 ต่อ 1 ในห้องเงียบ หลังจากนั้นค่อยๆ เพิ่มความยากขึ้นโดยพูดคุยในที่ที่มีเสียงรบกวน และพูดคุย 2 – 3 คน ตามลำดับ

 

หูตึง หรือประสาทหูเสื่อม อาการมักจะค่อยๆ เริ่มเสื่อมตามอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นลักษณะเสื่อมแบบถาวร การคงสภาพประสาทหูที่เหลืออยู่ให้ใช้งานได้หรือเสื่อมช้าลง ด้วยการเลือกใส่เครื่องช่วยฟัง

 

 

สอบถามข้อมูลการเลือกเครื่องช่วยฟังเพิ่มเติม ได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

หูตึง กับผู้สูงอายุ

 

 หูตึงกับผู้สูงอายุ มักเป็นของคู่กัน เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายได้ผ่านการใช้งานมาอย่างหนักแล้วย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา

 

      ปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากความสามารถในการรับเสียงลดลง มักมีอาการหูอื้อ หรือหูตึง โดยมีอาการเริ่มแรกคือ ไม่ค่อยได้ยินเสียงแหลมๆ หรือเสียงที่มีความถี่สูง เช่น เสียงผู้หญิง เสียงดนตรีคีย์สูงๆ หรือเมื่ออยู่ในสถานที่ซึ่งมีเสียงรบกวนก็อาจฟังไม่เข้าใจ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลงโดยไม่รู้ตัว และเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการพบปะ พูดคุยกับผู้อื่น เนื่องจากเมื่อสนทนาแล้วต้องให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ เสียงดังๆ ผู้สูงอายุบางคนอาจจะต้องมองหน้า มองปาก เพราะฟังด้วยหูอย่างเดียวไม่รู้เรื่องแล้ว

 

 

“สิ่งนี้เป็นสัญญาณเตือนว่า…ถึงเวลาที่ควรพาท่านเข้ารับการรักษาหรือควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาทางด้านการได้ยินแล้ว เพราะหากปล่อยไว้นาน ท่านอาจจะไม่ได้ยินอีกเลย ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลต่อการเกิดปัญหาซึมเศร้าได้”

 

การป้องกันและดูแลการได้ยิน ในผู้สูงอายุ

  • ควรตรวจสุขภาพการได้ยินเป็นประจำทุกปี เมื่ออายุ 60 ปี ขึ้นไป
  • ควบคุมดูแลโรคประจำตัว เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจทำให้หูตึงได้
  • ในกรณีที่มีปัญหาการได้ยินขั้นรุนแรง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวัน ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง (Hearing aids) ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นได้

 

 

“การใส่เครื่องช่วยฟัง จะช่วยกระตุ้นการได้ยินให้ส่งคลื่นเสียงไปยังสมอง เพื่อคงการทำงานของสมองไว้”

 

ลูกหลานควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด คอยให้กำลังใจ มีปฏิสัมพันธ์กับท่านอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะคงการได้ยิน และสร้างความสุขให้กับท่าน

 

 


 

เราพร้อมให้คำปรึกษาปัญหาการได้ยิน หูตึง หูหนวก ไม่ได้ยิน

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

หูตึง การได้ยิน ป้องกัน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง

      ถ้าให้เลือกได้ คุณก็คงอยากมีสุขภาพการได้ยินที่ดี ไม่อยากสูญเสียการได้ยินหรือมีปัญหาหูตึงใช่ไหมครับ? การรู้วิธีดูแลตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในยุคนี้เราก็มีข้อมูลมากมายให้เรียนรู้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลไหนถูกหรือผิด งั้นมาเช็คดูกันว่า ความเชื่อที่คุณมีเกี่ยวกับ “หูตึง” มีอันไหนถูก อันไหนผิดบ้าง

 

5 ความเชื่อถูกผิด เกี่ยวกับ “หูตึง”


1. สูงวัย สาเหตุหลักของหูตึง : ผิด

      คนส่วนมากมักจะคิดว่าสาเหตุหลักของการสูญเสียการได้ยินมาจากความแก่ชรา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด แท้จริงแล้วสาเหตุหลักของการสูญเสียการได้ยินคือ “เสียงดัง” ที่เราเจอในชีวิตประจำวันต่างหาก

  • เด็กอเมริกันในวัยเรียนจำนวน 15% สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันที่อยู่กับเสียงดังบ่อยๆ
  • โรงงานส่วนมากยังไม่ใส่ใจในการให้พนักงานใส่อุปกรณ์ป้องกันหู เช่น Earplug ก่อนไปทำงานที่ต้องเจอะเจอกับเสียงดัง เช่น เสียงเครื่องจักรต่างๆ

      เสียงดังหลายชนิด เราอาจคาดไม่ถึงว่าหากเราต้องได้ยินทุกวัน วันละหลายชั่วโมง ก็ส่งผลให้เราหูตึงได้ เช่น เสียงเพลงที่ฟังจากหูฟัง เสียงดนตรีในสถานที่เที่ยวกลางคืน เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงไดร์เป่าผม และอื่นๆ ที่ไม่ควรได้ยินต่อเนื่องกันนานเกินไป

 

2. หูตึง สามารถรักษาให้หายขาดได้ : ผิด

      ที่จริงแล้ว อวัยวะต่างๆ ภายในหูนั้น เป็นสิ่งที่บอบบางมาก ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า เราได้ยินเสียงได้อย่างไร?

ได้ยิน หูตึง หูหนวก หูดับ เซลล์ขน เชียงใหม่

2.1 คลื่นเสียงถูกนำเข้าสู่รูหูของคุณโดยผ่านใบหู

2.2 คลื่นเสียงจะไปกระทบกับเยื่อแก้วหูก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน

2.3 กระดูหูเล็กๆ สามชิ้นจะสั่นสะเทือนไปพร้อมกับแก้วหู ส่งสัญญาณเสียงจากหูชั้นกลางไปสู่หูชั้นในรูปหอยโข่ง

2.4 ของเหลวในหูชั้นในสั่น ทำให้เซลล์ขนสั่นตามไปด้วย และเกิดการเปลี่ยนแปลงจากพลังงานการสั่นสะเทือนเป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งจะถูกส่งไปที่เส้นประสาทการได้ยินที่สมอง ศูนย์กลางการได้ยินของสมองจะทำหน้าที่แปลความหมายของกระแสไฟฟ้านั้นให้กลายเป็นเสียงต่อไป

      จากขั้นตอนสุดท้าย จะเห็นว่า เซลล์ขน มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เราทุกคนได้ยินเสียง แต่เซลล์ขนก็สามารถถูกทำลายได้จากการที่เราฟังเสียงดังนานๆ และบ่อยเกินไป และที่น่าตกใจก็คือ

 

เมื่อเซลล์ขนภายในหูของเรา ถูกทำลายไปแล้ว จะไม่สามารถสร้างใหม่ขึ้นมาได้ จึงทำให้เกิดปัญหาการได้ยิน หูตึงหรือหูหนวก

 

      ดังนั้น หูตึงหรือหูหนวก จึงไม่สามารถรักษาให้กลับมาได้ยินสมบูรณ์แบบ 100% ได้ ทางที่ดีจึงควรรู้ป้องกันให้เรามีสุขภาพการได้ยินที่ดีกันดีกว่า

 

3. หูตึง จะซื้อเครื่องช่วยฟังที่ไหนก็ได้ : ผิด

      หลายท่านอาจเข้าใจว่า เครื่องช่วยฟังเป็นเพียงแค่เครื่องขยายเสียงเพียงเท่านั้น จึงไปหาซื้อจากอินเตอร์เน็ต ร้านขายยา หรือร้านทั่วไป โดยไม่ได้รับการตรวจการได้ยินก่อน แต่ที่จริงแล้วเครื่องช่วยฟังจัดว่าเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่ใช่แค่ช่วยขยายเสียงให้เราได้ยินชัดขึ้น แต่ยังสามารถช่วยเติมการได้ยินในคลื่นความถี่ที่เราสูญเสียไป โดยไม่กระทบกับคลื่นความถี่ที่เราได้ยินดีอยู่ ลองอ่านบทความเพิ่มเติมได้ โดยการคลิกที่นี่ ครับ

 

4. หูตึง เป็นเวรกรรม ป้องกันไม่ได้ : ผิด

      อย่างที่ผมเขียนไปในข้อที่ 1 ว่าเราทุกคนสามารถป้องกันไม่ให้อยู่ในสถานที่เสียงดัง หรือใช้อุปกรณ์ที่เสียงดัง บ่อยจนเกินไป เพราะใช่ว่าทุกคนจะแก่ชราแล้วมีปัญหาการได้ยินนะครับ คุณเองก็สามารถเลือกได้ ให้ตนเองเป็นคนที่เติบโตขึ้นพร้อมสุขภาพที่ดี

 

5. การตรวจการได้ยินทุกปี ป้องกันหูตึงได้ : ถูก

      การใส่ใจในการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นเรื่องที่ดีมากครับ แต่หลายคนมักไม่ค่อยใส่ใจการตรวจการได้ยิน เพราะคิดว่าไม่จำเป็น แต่แท้ที่จริงแล้ว หากคุณมาตรวจการได้ยินและรู้วิธีการป้องกันการสูญเสียการได้ยินตั้งแต่เนิ่นๆ คุณก็จะมีสุขภาพการได้ยินที่ดีไปได้ยาวนานยิ่งขึ้น

 

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ มีความเชื่อไหนที่คุณเข้าใจผิดมาตลอดบ้าง?  เราอยากให้ทุกคนมีข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อจะได้มีการได้ยินที่ดีนะครับ แต่หากมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินตรงไหนเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ตลอดเวลาครับ

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก The New York Times