Posts

สัมมนา หูตึง ดูแลสมอง

 

กิจกรรม ความรู้ที่นอกจากจะทำให้มี

“สมองที่ใสปิ๊ง ไม่เป็นอัลไซเมอร์”
ยังเข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพการได้ยินอีกด้วย

 

 

เสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13:00 – 16:00 น. ที่ห้องประชุม “ครัวคุณขวัญ”

 

หูตึง ใส่เครื่องช่วยฟัง ไม่เป็นอัลไซเมอร์

การได้ทำความรู้จักสังคมใหม่ๆ ก็เป็นอีกวิธีให้สมองได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ภายในงานทุกคนจึงได้แนะนำตัวเอง และรู้จักกับเพื่อนใหม่ แชร์ความสุขด้วยกัน

 

“เดียร์” ผู้เชี่ยวชาญการได้ของผู้สูงอายุ
ได้แชร์ความรู้เรื่องสมอง ภาวะเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์ และความเกี่ยวข้องกันกับสุขภาพการได้ยิน

 

สัมมนา หูตึง สมองดี

“ครูตาล” นักกิจกรรมบำบัดจากแสงเหนือ
บรรยายวิธีการบริหารสมองแบบนิวโรบิกส์ ที่สามารถฝึกทำเองที่บ้านได้ วันละไม่กี่นาที

 

ทุกคนร่วมกันทำเวิร์คช็อป “กิจกรรมบริการสมอง”
ร่วมกับ “ครูตาล” และ “ครูตอย” นักกิจกรรมบำบัด
หลายคนทำคล่อง บางคนก็ยังไม่คล่อง แต่ก็ทำให้สมองได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างมีความสุข

 

ทุกคนที่มาร่วมงาน จะได้รับบัตรกำนัล
+ ตรวจสุขภาพการได้ยิน 600 บาท
+ ฟื้นฟูทักษะการได้ยิน 600 บาท
+ คัดกรองสมองเสื่อม 500 บาท
รวมมูลค่า 1,700 บาท แต่เราใจดี ให้ฟรี
.
ใครอยากมาร่วมกิจกรรมดีๆ แบบนี้
เราจะจัดทุกเดือนนะครับ


.
ศูนย์สุขภาพการได้ยิน อินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ หูตึง การได้ยิน

      หูตึงกับผู้สูงอายุนั้นมักเป็นของคู่กัน มีคนกล่าวว่าเมื่ออายุมากขึ้นทุกอย่างในร่างกายจะหย่อนยานลง ยกเว้นหูเท่านั้นที่ตึงขึ้น! ปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุมักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว บางคนไม่ทันได้สังเกตพอรู้ตัวอีกทีก็รู้สึกว่าตัวเองฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง ต้องให้คนอื่นพูดซ้ำ ๆ เสียงดัง ๆ

 

นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า ท่านควรเข้ารับการรักษาหรือควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการได้ยินได้แล้ว เพราะหากปล่อยไว้นาน นอกจากจะไม่ได้ยินหรือพูดคุยฟังสื่อสารไม่รู้เรื่องแล้ว อาจก่อให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้

 

การสูญเสียการได้ยิน

ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม


สูญเสียการได้ยิน สมองเสื่อมลง 30-40%

      ผลการศึกษา ความสามารถทางสติปัญญา ด้านความคิดและความจำในผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียการได้ยินเทียบกับคนที่มีการได้ยินปกติ พบว่าคนที่มีการสูญเสียการได้ยินจะมีอัตราการเสื่อมของสมอง 30-40% เนื่องจากคนที่มีการสูญเสียการได้ยินจะต้องใช้ความพยายามในการตั้งใจฟัง ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานสมอง และสมองต้องทำงานหนักเพื่อดึงความจำระยะยาวมาใช้ เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่ฟัง

 

 

ผู้สูงอายุ ใช้สมองแทบทุกส่วนในการฟัง

ทำไมสูญเสียการได้ยินแล้วสมองจึงเสื่อม?


      การสูญเสียการได้ยินทำให้ต้องใช้ความพยายามในการตั้งใจฟัง ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานสมอง สมองต้องทำงานหนัก จนอาจก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้

elderly-hearing-loss

      จากการทดสอบ พบว่าการฟังในผู้สูงอายุต้องใช้สมองแทบทุกส่วนช่วยกัน ทดสอบการรับรู้ของสมองในการฟังจดจำคำพูด พบว่าในคนที่อายุน้อย การฟังและจดจำคำพูดจะใช้สมองทำงานเฉพาะส่วน แตกต่างกับผู้สูงอายุที่ใช้สมองทำงานช่วยกันแทบทุกส่วน ต้องใช้ความพยายามและพลังงานในการฟังมากกว่า เพราะโครงสร้างสมองเปลี่ยนแปลง ต้องอาศัยกระบวนการรับรู้ เรียบเรียง ดึงข้อมูลจากสมองแตกต่างกัน

      ทดสอบความเร็วในการพูดและความสามารถในการจำ พบว่า ถ้าหากพูดเร็ว ผู้สูงอายุจะจำได้ไม่ดีเท่าคนที่อายุน้อย เพราะเกิดจากความเสื่อมและความช้าของสมองในการรับรู้และประมวลผล

 

การฟังของผู้สูงอายุลำบากกว่าคนทั่วไป?


      การฟังในผู้สูงอายุโดยเฉพาะในที่ที่มีเสียงรบกวน ต้องอาศัยความสามารถในการเข้าใจคำพูดมากกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดมากในผู้สูงอายุ ดังนี้

  • Temporal (Timing)
    ในผู้สูงอายุความคิดและความจำ (Memory Timing) มักจะมีปัญหา บางคนระดับการได้ยินเท่าเดิมแต่มีความสามารถในการจำสิ่งต่างๆ ลดลง และถ้ายิ่งในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินและมีปัญหาเรื่องความจำก็จะยิ่งมีปัญหาในการฟังมากขึ้น อุปสรรคการฟังในผู้สูงอายุนั้นเกิดจากระบบการได้ยินส่วนกลางหรือการประมวลผลของสมอง ไม่ใช่เกิดแค่ที่เซลล์รับเสียงในหูชั้นใน
  • Spectral
    เป็นการรับรู้เกี่ยวกับความถี่ (Pitch Perception) ในผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียการได้ยิน มักมีการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงชั้นใน (Inner Hair Cell ) ร่วมด้วย ซึ่งปกติแล้วทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงส่งไปที่สมอง เมื่อมีการเสื่อมจึงทำให้การรับรู้ความถี่เสียงเพี้ยน แยกรับเสียงเฉพาะจงเจาะในแต่ละความถี่ไม่ได้ เสียงที่ได้ยินจะกลายเป็นเสียงคล้ายเสียงรบกวน ซ่าๆ สมองจึงแปลความหมายสิ่งที่ฟังลำบาก

 

ลดความเสี่ยงสมองเสื่อมจากปัญหาการได้ยิน


      ผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียการได้ยิน ย่อมมีภาวะเสี่ยงต่อสมองเสื่อม การแก้ไขปัญหาการได้ยินจึงเกิดขึ้น ทางเลือกหนึ่งคือ การใช้เครื่องช่วยฟัง

 

การใช้เครื่องช่วยฟัง มีประโยชน์อย่างไร?


  1. ช่วยลดความยากในการฟัง ใช้ความตั้งใจในการฟังลดลง
  2. เมื่อได้ยินเสียงแล้ว สมองทำงานลดลง ดึงข้อมูลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องมาใช้
  3. ลดความเครียดที่อาจส่งผลต่อสมอง ลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม

 

 

ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยเครื่องช่วยฟัง

 

 

บริการตรวจการได้ยิน และทดลองเครื่องช่วยฟัง
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai