Posts

คุณสมบัติเครื่องช่วยฟัง เพื่อการเดินทาง

 

      หากคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะท่องเที่ยวแนวธรรมชาติป่าเขา สัมผัสเสียงลม เสียงใบไม้พริ้วไหว เสียงนก หรือท่องเที่ยวทะเล เดินชมหาดทรายสีขาว ฟังเสียงคลื่นกระทบฝั่ง กิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้จะสนุกมากยิ่งขึ้น เพียงคุณเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณเอง

 

 

nature

เลือกเครื่องช่วยฟังอย่างไร?

สำหรับผู้ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยว

 

      เครื่องช่วยฟังมีคุณสมบัติการทำงานที่หลากหลาย การเลือกเครื่องช่วยฟังจึงขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล และถ้าคุณต้องเดินอยู่บ่อยครั้ง ทั้งทางบกโดยรถยนต์ หรือทางอากาศอย่างเครื่องบิน

      คุณสมบัติของเครื่องช่วยฟังเหล่านี้จะช่วยให้คุณไม่พลาดช่วงเวลาสำคัญและสนุกกับการเดินทาง ด้วย 3 คุณสมบัติเพื่อการเดินทาง มีดังนี้

 

 

 

3 คุณสมบัติเครื่องช่วยฟัง เพื่อการเดินทาง

  1. Conversation in Car
  2. Comfort in Airplane
  3. Speech in Noise

 

Conversation in Car of hearing aid1. Conversation in Car

      โปรแกรมการฟังในรถยนต์ เมื่อคุณต้องเดินทางโดยมีเพื่อนร่วมทาง หรือเดินทางกับครอบครัวของคุณ

      โปรแกรม Conversation in Car นี้ จะช่วยให้คุณรับฟังเสียงคำพูดในห้องโดยสารได้อย่างชัดเจน ให้คุณเพลิดเพลินกับการสนทนาตลอดการเดินทาง

 

 

Comfort in airplane travel

2. Comfort in Airplane

      โปรแกรมการฟังที่ออกแบบมาเพื่อรับมือกับเสียงเครื่องบินในห้องโดยสารโดยเฉพาะ

      ไม่ว่าเครื่องบินจะ Takeoff Landing หรือระหว่างการเดินทาง ก็ไม่เป็นปัญหารบกวนการฟังของคุณ หรือแม้แต่เสียงประกาศจากกัปตัน เสียงแอร์โฮสเตสที่คอยให้บริการภายในห้องโดยสารก็จะยังคงชัดเจน ให้การเดินทางของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น

 

 

Speech in noise program3. Speech in Noise

      โปรแกรมการฟังในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน หรือมีคนพลุกพล่าน และแน่นอนว่าเมื่อคุณเดินทางต้องพบปะผู้คนมากมาย เช่น สนามบิน ร้านค้า ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งช้อปปิ้ง

      โปรแกรม Speech in Noise จะช่วยให้เสียงคำพูดดังกว่าเสียงสภาพแวดล้อม ให้คุณสนทนาโต้ตอบกับคู่สนทนาได้อย่างมั่นใจ และสนุกกับทุกๆ ที่ ที่คุณไป

 

 

เพื่อการเดินทางได้อย่างราบรื่น คุณสามารถขอรับคำแนะนำ และเพิ่มโปรแกรมการฟังเพื่อการเดินทางนี้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังของคุณ

Travel with hearing aids

* รายละเอียด ข้อมูลจำเพาะ และคุณสมบัติผลิตภัณฑ์เครื่องช่วยฟังแต่ละรุ่นแตกต่างกัน โปรดศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่น

 


สอบถามข้อมูลเครื่องช่วยฟัง เพิ่มเติม

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  Facebook button  Line button

อายุการใช้งานเฉลี่ย เครื่องช่วยฟัง

 

เครื่องช่วยฟัง อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่คุณจะอยากทราบอายุการใช้งานของมัน ว่าใช้งานได้นานแค่ไหน?

 

เครื่องช่วยฟังมีอายุการใช้งาน สูงสุดกี่ปี?

 

เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูงที่ทันสมัยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยระหว่าง 3 – 7 ปี สำหรับบางคนอาจนานกว่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายปัจจัยในการดูแลรักษาเครื่องและการสวมใส่เครื่องของแต่ละบุคคล

 

 

8 ปัจจัย

มีผลต่ออายุการใช้งานเครื่องช่วยฟัง

 

1. วัสดุที่ใช้ทำเครื่องช่วยฟัง


       แม้ว่าเครื่องช่วยฟังจะได้รับการออกแบบให้มีความทนทาน แต่เครื่องช่วยฟังก็ทำมาจากพลาสติก โลหะ ซิลิกอน โพลีเมอร์ และวัสดุอื่นๆ ที่อาจมีการเสื่อมสลายของโครงสร้างเมื่อเวลาผ่านไป เครื่องช่วยฟังส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในปัจจุบันมีการเคลือบนาโนเพื่อป้องกันน้ำ ฝุ่น และความชื้น แต่ไม่ได้หมายความว่าสารเหล่านั้นจะไม่ถูกทำลายหรือเสื่อมสลายไป

 

 

2. ความถี่ในการทำความสะอาด และระยะเวลาการบำรุงรักษา


“เราอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด เครื่องช่วยฟังก็จะถูกสัมผัสกับสภาพแวดล้อมแบบเดียวกัน”

       ความร้อน ความชื้น ฝุ่น น้ำมันจากผิวหนังและเหงื่อ อุณหภูมิสุดขั้ว และแสงแดด รวมไปถึงขี้หูในช่องหูของคุณ สิ่งสกปรกเหล่านี้จะถูกสะสมไปเรื่อยๆ จนกว่าอุปกรณ์ของคุณจะได้รับการทำความสะอาด

 

เครื่องช่วยฟัง ควรทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน?

ทำความสะอาดเครื่องช่วยฟัง

       บางคนได้รับการทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังเพียงปีละ 1 – 2 ครั้ง ซึ่งไม่เพียงพอที่จะช่วยยืดอายุให้กับอุปกรณ์ของคุณให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ได้

       คุณสามารถทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังด้วยตัวของคุณเองเบื้องต้นเป็นประจำทุกวัน ชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดจะถูกส่งมอบพร้อมกับเครื่องช่วยฟัง เช่น ผ้าเช็ดอุปกรณ์ แปรงสำหรับปัดขี้หูและสิ่งสกปรก เป็นต้น

 

       และทุกๆ 3 – 4 เดือน ควรนำเครื่องเข้ารับการบำรุงรักษา ณ ศูนย์บริการของคุณ สำหรับการทำความสะอาด และการตรวจเช็คชิ้นส่วนอุปกรณ์ เช่น จุกยางซิลิโคน พิมพ์หู ท่อนำเสียง รังถ่าน ฯลฯ เพื่อช่วยให้เครื่องช่วยฟังของคุณมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

 

 

3. สถานที่ใส่เครื่องช่วยฟัง


       เครื่องช่วยฟังที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชื้นหรือมีฝุ่นมาก มักจะประสบปัญหาด้านประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องช่วยฟังในสภาพแวดล้อมอื่นๆ

       หากคุณกังวลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่คุณสวมเครื่องช่วยฟัง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังของคุณสำหรับแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน คุณอาจต้องใช้ปลอกหุ้มป้องกัน หรือกำหนดเวลาในการทำความสะอาดบ่อยขึ้น เพื่อยืดอายุเครื่องช่วยฟังของคุณ

 

 

4. วิธีการจัดเก็บเครื่องช่วยฟัง


จัดเก็บเครื่องช่วยฟังอย่างไร? เมื่อคุณไม่ได้สวมใส่เครื่อง

dry-and-store-global       สำหรับเครื่องช่วยฟังแบบใช้แบตเตอรี่แบบใช้แล้วทิ้ง ควรเก็บเครื่องช่วยฟังไว้ในที่ปลอดภัยและแห้ง หรือใช้สารดูดความชื้นในการดูแลเครื่องของคุณร่วมด้วย กรณีที่มีเครื่องอบ เครื่องอบจะช่วยไล่ความชื้นออกจากตัวเครื่องและทำให้เครื่องแห้ง เหมาะสำหรับผู้ที่มีเหงื่อเยอะ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

       สำหรับเครื่องช่วยฟังแบบชาร์จไฟ แบตเตอรี่ลิเธียมจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 4 – 5 ปี เช่นเดียวกับสมาร์ทโฟน อายุการใช้งานแบตเตอรี่จะสั้นลงเมื่อคุณใช้งานอุปกรณ์นานขึ้น หากคุณสังเกตว่าแบตเตอรี่หมดเร็วกว่าปกติ ติดต่อผู้ให้บริการอุปกรณ์ของคุณ

 

 

5. รูปแบบของเครื่องช่วยฟัง


ITE เครื่องช่วยฟังใส่ในช่องหู       เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู (BTE) มีแนวโน้มที่อายุการใช้งานจะยาวนานกว่าแบบใส่ในช่องหู (ITE) เนื่องจากแบบใส่ในช่องหู ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดจะอยู่ภายในช่องหู ซึ่งมีสภาพร้อนชื้น

       อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังจะถูกเคลือบด้วยสารนาโนบนส่วนประกอบภายในและภายนอก อาจทำให้ความทนทานนี้กลายเป็นอดีตไปในไม่ช้า

 

 

 

6. สรีรวิทยาของร่างกายคุณ


       ผู้ใส่เครื่องบางคนมีผิวมันมาก มีขี้หูหรือเหงื่อออกมาก ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องช่วยฟังได้เช่นกัน คุณไม่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้

       แต่หากคุณมีปัญหาเหล่านี้ คุณควรปรึกษากับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการได้ยินของคุณ เมื่อคุณเลือกเครื่องช่วยฟัง

 

 

7. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


       เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เครื่องช่วยฟังรุ่นใหม่จำนวนมากสามารถเชื่อมต่อไปยังโทรศัพท์ผ่านบลูทูธ เป็นต้น

Software ปรับแต่งเครื่องช่วยฟัง       ความล้าสมัยอาจเป็นปัญหาสำหรับเครื่องช่วยฟังรุ่นที่เก่ามาก เมื่อคุณใช้งานไป 5 – 10 ปี ผู้ผลิตเครื่องช่วยฟังอาจหยุดผลิตชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับเครื่องช่วยฟังรุ่นนั้น ซึ่งอาจทำให้การซ่อมแซมเครื่องช่วยฟังแบบเก่าทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการตั้งโปรแกรมเครื่องช่วยฟังก็จะถูกอัปเดทด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้ยากต่อการตั้งโปรแกรมเครื่องช่วยฟังรุ่นเหล่านั้น

 

Sound Engineerวิจัยและพัฒนาเครื่องช่วยฟัง       ประสิทธิภาพและคุณสมบัติของเครื่องช่วยฟังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีในเครื่องช่วยฟังที่ทันสมัยที่สุดที่มีอยู่เมื่อ 6 – 7 ปีที่แล้วถือเป็นพื้นฐานในปัจจุบัน ในขณะที่บางคนพอใจที่จะยึดติดกับสิ่งที่พวกเขามีอยู่หากยังคงทำงานได้ดี แต่หลายคนที่ซื้อเครื่องช่วยฟังพบว่าตัวเองต้องการได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ที่พร้อมให้ใช้งานในอีก 4 – 5 ปีข้างหน้า

 

 

8. ความต้องการที่เปลี่ยนไป


       ความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้สวมใส่อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานเครื่องช่วยฟังได้เช่นกัน เช่น ระดับการสูญเสียการได้ยินของบุคคลอาจพัฒนาไปถึงจุดที่เครื่องช่วยฟังไม่สามารถรองรับได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ หรือไลฟ์สไตล์ของบุคคลอาจเปลี่ยนไป ต้องใช้เครื่องช่วยฟังที่มีคุณสมบัติที่รองรับไลฟ์สไตล์นั้นๆ

 

 

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง Bernafon

 

        แม้ว่าคุณจะดูแลเครื่องช่วยฟังของคุณเป็นอย่างดีและมีอายุการใช้งานเกินคาด คุณอาจจำเป็นต้องพิจารณาซื้อเครื่องใหม่ เช่นเดียวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน

 

 

 

นวัตกรรมเครื่องช่วยฟังใหม่จะออกทุกๆ 2 – 3 ปี ดังนั้นหลังจาก 5 ปี เครื่องช่วยฟังของคุณอาจล้าสมัย และคุณอาจจำเป็นต้องอัปเกรดเป็นอุปกรณ์ที่ใหม่กว่า เนื่องจากเครื่องช่วยฟังมีอายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และที่สำคัญผู้ผลิตหยุดผลิตชิ้นส่วนทดแทน ทำให้การซ่อมแซมยากขึ้น

 

อัปเดทเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง Bernafon

อัปเดทเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังสำหรับคุณ

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  Facebook button  Line button

 


ขอขอบคุณข้อมูล : healthyhearing.com, hearingyourbest.com
ซื้อเครื่องช่วยฟังที่ไหน

 

หลายท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการ “ซื้อเครื่องช่วยฟัง” อยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น…

 

  • ซื้อเครื่องช่วยฟังได้ที่ไหน

  • เราสามารถซื้อใส่เองได้เลยไหม

  • เราต้องพบแพทย์ที่โรงพยาบาลก่อนหรือไม่

  • เครื่องช่วยฟังในอินเทอร์เน็ตแตกต่างกับเครื่องที่จำหน่ายตามร้านอย่างไร

  • ทำไมเครื่องช่วยฟังในอินเทอร์เน็ต มีราคาถูก

  • เครื่องช่วยฟังทำไมราคาแพง ราคาหลักหมื่นถึงหลักแสน

 

คำถามเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นกับผู้มีปัญหาการได้ยิน และเริ่มมองหาเครื่องช่วยฟังสักเครื่องมาเป็นตัวช่วยในการฟังให้กับตน

 

เริ่มจาก….

 

ซื้อเครื่องช่วยฟัง ได้ที่ไหน?


สถานที่แรกที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง นั่นคือ…

 

Hearing Aid by Hospital เครื่องช่วยฟังโรงพยาบาล         โรงพยาบาล และแน่นอน ท่านสามารถซื้อเครื่องช่วยฟังจากโรงพยาบาล ณ แผนกหู คอ จมูกได้ และจะต้องเป็นโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง ทั้งนี้การใส่เครื่องช่วยฟังที่โรงพยาบาล ท่านจะได้รับการตรวจการได้ยินและเครื่องช่วยฟังของท่านจะถูกปรับตามผลตรวจการได้ยิน

หมายเหตุ : โรงพยาบาลบางแห่งมีแผนกหู คอ จมูก แต่ไม่มีห้องตรวจการได้ยินและไม่มีอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังจำหน่าย (ราคา X,XXX – XX,XXX.-)

 

        ร้านขายยา อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังมีจำหน่ายในร้านขายยาขนาดใหญ่ ท่านสามารถซื้อใส่เองได้โดยไม่ต้องตรวจการได้ยิน ทั้งนี้เครื่องช่วยฟังจากร้านขายยาจะไม่สามารถปรับตามผลตรวจการได้ยินได้ โปรแกรมการตั้งค่าต่างๆ จะถูกตั้งค่ามาจากโรงงาน

หมายเหตุ : เครื่องช่วยฟังจะขยายเสียงทุกเสียง ทุกความถี่เสียงเท่าๆ กัน อาจทำให้รู้สึกรำคาญได้ (ราคา X,XXX.-)

 

        อินเทอร์เน็ต แหล่งรวมทุกอย่างที่ต้องการ ท่านจะพบกับเครื่องช่วยฟังหลากหลายรูปแบบ หลากหลายฟังก์ชั่นการทำงาน โดยที่ท่านสามารถเลือกซื้อใส่ได้เองโดยไม่ต้องตรวจการได้ยิน ทั้งนี้เครื่องช่วยฟังจะไม่ถูกตั้งค่าตามผลตรวจการได้ยินของท่าน โปรแกรมการตั้งค่าต่างๆ จะถูกตั้งค่ามาจากโรงงาน

หมายเหตุ : เครื่องช่วยฟังจะขยายเสียงทุกเสียง ทุกความถี่เสียงเท่าๆ กัน ใส่แล้วอาจทำให้รู้สึกรำคาญ เนื่องจากเครื่องไม่ได้ถูกปรับตามระดับการได้ยิน โปรดศึกษาคุณสมบัติเครื่องช่วยฟังเพิ่มเติม (ราคา XXX – XX,XXX.-)

 

        ร้านจำหน่ายเครื่องช่วยฟัง ท่านจะได้รับการตรวจการได้ยิน เครื่องช่วยฟังของท่านจะถูกปรับตามผลตรวจการได้ยิน และเครื่องช่วยฟังสามารถเพิ่มโปรแกรมการฟัง เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โบสถ์ ฯลฯ ตามไลฟ์สไตล์ของท่านได้ ทั้งนี้การปรับตั้งค่าเครื่องช่วยฟังจะใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเครื่องช่วยฟังยี่ห้อนั้นๆ โปรดศึกษาคุณสมบัติเครื่องช่วยฟังของท่าน

หมายเหตุ : ร้านจำหน่ายเครื่องช่วยฟังจะมีบริการหลังการขาย โปรดสอบถามศูนย์บริการฯ เพิ่มเติม (ราคา X,XXX – XXX,XXX.-)

 


 

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว…

 

         ท่านผู้มีปัญหาการได้ยินพอจะทราบแหล่งข้อมูลในการเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังให้กับตัวท่านเองแล้วว่าซื้อจากที่ไหนได้บ้าง และข้อแตกต่างของแต่ละสถานที่ที่จำหน่ายนั้นแตกต่างกันอย่างไร โปรดพิจารณาจากความคุ้มค่าและประโยชน์ที่ท่านจะได้รับหลังจากนี้

 

 

ซื้อเครื่องช่วยฟัง ต้องพบแพทย์ก่อนไหม?

 

วิธีการเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังที่ดีที่สุด คือ แนะนำให้พบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน ณ โรงพยาบาลหรือศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง ท่านจะได้รับการตรวจวัดระดับการได้ยิน ว่าท่านสูญเสียการได้ยินอยู่ในระดับใด และเหมาะกับเครื่องช่วยฟังประเภทไหน เพื่อการปรับเครื่องช่วยฟังให้พอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ใส่เครื่องแล้วฟังสบายและได้รับประโยชน์สูงสุด

 

 

“กรณีการได้ยินลดลงแบบเฉียบพลัน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้นาน ท่านอาจสูญเสียการได้ยินไปตลอดชีวิต”

Intimex Hearing Aids Service Center ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์

 

บริการตรวจการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  hearingchiangmai  Line: @hearingchiangmai

Thai Languages-Specific Targets

 

รู้หรือไม่ ทั่วโลกเรามีภาษาในการพูดสื่อสารมากกว่า 7,000 ภาษา ซึ่งภาษาพูดที่ใช้กันมากที่สุดคือ ภาษาอังกฤษ และรองลงมาคือ ภาษาจีนแมนดาริน

 

2022 languages with the most speakers

ข้อมูลจาก Ethnologue, 2022

 

    การสื่อสารด้วยภาษาพูดในแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงการพูด ความหนักเบาของน้ำเสียง หรือแม้แต่ความเร็วในการพูด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการรับฟังเสียงสำหรับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง

 

 

 

 

Language Specific Targets

ระบบการตั้งค่าเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ

คิดค้นและพัฒนาโดย Marshall Chasin, AuD และ Neil S. Hockley, MSc


language specific targets

ซอฟต์แวร์ Bernafon’s Oasis fitting รองรับกว่า 7,000 ภาษา

      Language Specific Targets เป็นระบบที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์การตั้งค่าเครื่องช่วยฟังของ Bernafon ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านภาษาในการฟังโดยใช้ปัจจัยทางภาษาศาสตร์ เพื่อสร้างสัญญาณเสียงพูดให้เหมาะสมกับภาษาของผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง

    ระบบการตั้งค่านี้รองรับภาษามากกว่า 7,000 ภาษา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาไทย ภาษาละติน ฯลฯ (สอบถามผู้ให้บริการเครื่องช่วยฟังของท่าน)

 

 

เปรียบเทียบภาษาพูด ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาเกาหลี

การค้นคว้าของ Dr.Marshall Chasin, Au.D., Reg. CASLPO, AuD(C), Unpublished data, 2010.


English result

English: ‘‘My mother is at home.’’ Note the higher intensity of the entence final object as compared with the sentence final elements in Korean. Unpublished data from Chasin (2010).

Korean result

Korean: ‘‘A pretty picture is hanging on the wall.’’ Actual Korean word order: ‘‘A pretty picture the wall on is hanging.’’ The phrase ‘‘on is hanging’’ has significantly lower intensity than the sentence initial subject. Unpublished data from Chasin (2010).

 

       จากการค้นคว้าของ Dr.Marshall Chasin ได้เผยให้เห็นถึงความเข้มของเสียงในรูปประโยคสุดท้ายของภาษาอังกฤษ (object) ที่มีความเข้มสูงกว่ารูปประโยคสุดท้ายของภาษาเกาหลี (Verb)

       และในรูปประโยคภาษาเกาหลี วลี ‘‘on is hanging’’ (Verb) มีความเข้มของเสียงต่ำกว่าประโยคแรก (Subject) อย่างมีนัยสำคัญ

 

Eng VS Korean

ภาพกราฟแสดงระดับความดังเสียงในการ input/output (dB SPL) ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาเกาหลี

         ทั้งนี้จากภาพกราฟแสดงถึงระดับความดังเสียง ในการ input/output (dB SPL) ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาเกาหลี ที่แตกต่างกัน

      Language Specific Targets ระบบการตั้งค่าภาษานี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังคนเกาหลี สามารถรับฟังเสียงได้ง่ายขึ้น

 

 

นอกจากนี้ Dr.Marshall Chasin ได้ยกตัวอย่างระดับความถี่เสียงที่ใช้ในภาษาอื่นๆ สำหรับผู้ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ ไว้ดังนี้

Compare Languages

ภาพตารางแสดงระดับความถี่เสียงกับภาษาอื่นๆ

 

 

Language Specific Targets ระบบการตั้งค่าภาษา จะช่วยให้ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังรับฟังเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ความหนักเบาของเสียง  ฯลฯ ในภาษาภูมิภาคของตนได้ง่ายขึ้น

 

 


ทดลองฟัง เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง Bernafon พร้อมการตั้งค่าผู้ใช้งานภาษาไทย

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai hearingchiangmai Line: @hearingchiangmai

เครื่องช่วยฟังกำลังขยายสูง LEOX
Viron Hearing Aids by Intimex
เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง DFC ตัดเสียงหวีดรบกวน

 

อีกหนึ่งปัญหาของผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟัง คือ

เสียงหวีดรบกวน

 

         ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอิริยาบถใด หรือมีสิ่งใดเข้าใกล้กับเครื่องช่วยฟังของคุณ เครื่องก็มักจะส่งเสียงหวีด (Feedback) รบกวนออกมาทำให้คุณรู้สึกรำคาญ และในบางครั้งยังทำให้คุณรู้สึกขาดความมั่นใจต้องคอยกังวลว่าจะมีเสียงหวีดรบกวนระหว่างการสนทนา หรือสร้างความรำคาญให้กับผู้คนรอบข้างหรือไม่

 

 

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง 

Dynamic Feedback Canceller™ (DFC™)


Dynamic Feedback Canceller datapoint

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง Dynamic Feedback Canceller™ วิเคราะห์สัญญาณสูงสุด 126,000 ครั้งต่อวินาที

      DFC™ เทคโนโลยีตัดเสียงรบกวนอย่างรวดเร็วที่มีอยู่ในเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอลคุณภาพสูงจากเบอร์นาโฟน (Bernafon) ประมวลผลด้วยไมโครชิปใหม่ (Microchip) เทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคุณ

 

ด้วยการขจัดเสียงหวีดรบกวนออกจากเครื่องช่วยฟัง ภายใน 22 มิลลิวินาที*

 

 

 

        หากคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องใส่เครื่องช่วยฟัง สวมหมวก สวมแว่นตา คุยโทรศัพท์ หรือแม้แต่การโอบกอดคนรักของคุณเป็นประจำ เทคโนโลยี DFC™ จะช่วยเสริมสร้างการมีบุคลิกภาพที่ดีให้กับคุณ ให้คุณไม่ต้องคอยกังวลเสียงหวีด (Feedback) จากเครื่องช่วยฟังที่จะคอยรบกวน สร้างความรำคาญให้กับตัวคุณเองและคนรอบข้าง อีกทั้งยังช่วยให้คุณไม่พลาดกับบทสนทนาสำคัญๆ

 

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง

 

เรียนรู้เทคโนโลยี DFC™ เทคโนโลยีขจัดเสียงหวีดรบกวนอย่างรวดเร็ว ที่มีอยู่ในเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง รุ่น Viron และ Leox

 

 


ขอรับข้อมูลเครื่องช่วยฟังเทคโนโลยี DFC™ และทดลองฟัง ได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร : 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

ความแตกต่าง เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง vs เครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคา

      

 

เครื่องช่วยฟัง ไม่ว่าจะราคาถูกหรือราคาแพงต่างมีหลักการทำงานเดียวกัน คือ การขยายเสียง

 

 

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เครื่องช่วยฟังมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลากหลายราคา และหลากหลายคุณสมบัติในการทำงาน เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของแต่ละคน และแน่นอนว่าเครื่องช่วยฟังที่มีราคาแพง ย่อมมีฟังก์ชันการทำงานที่มากกว่าเครื่องช่วยฟังราคาถูก

 

การเลือกเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินหรือบกพร่องทางการได้ยิน นอกจากปัจจัยในเรื่องราคาเครื่องช่วยฟังแล้ว ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใส่เครื่อง คือ เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้วสามารถพูดคุยสื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้อย่างเข้าใจ ใส่เครื่องแล้วฟังสบาย และที่สำคัญคือช่วยให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายขึ้นกว่าการไม่ใส่เครื่อง

 

 

ความแตกต่างของ
เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง vs เครื่องช่วยฟังทั่วไป

เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง เครื่องช่วยฟังทั่วไป อนาล็อก อินเทอร์เน็ต ร้านขายยา

 

เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง เครื่องช่วยฟังทั่วไป
  • ซื้อได้ ณ ศูนย์จำหน่ายเครื่องช่วยฟัง
  • ต้องตรวจวัดระดับการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล (Digital) มี ไมโครชิพ ที่ช่วยขยายเสียงให้เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยินในแต่ความถี่เสียง สามารถแยกสัญญาณเสียงคำพูดออกจากสัญญาณเสียงรบกวนได้ ช่วยให้ฟังเสียงคำพูดได้ชัดเจนกว่าเสียงรบกวนรอบข้าง
  • สามารถปรับรายละเอียดของเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ได้อย่างละเอียด ด้วยซอฟแวร์การปรับเสียงโดยเฉพาะ ช่วยให้มีความแม่นยำมากขึ้น
  • สามารถปรับเสียงตามผลการได้ยิน เพื่อถนอมการได้ยิน
  • มีปุ่ม เพิ่ม – ลด เสียง และปุ่มเปลี่ยนโปรแกรมการฟัง เลือกโปรแกรมเฉพาะการฟังให้เหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ได้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร เสียงช้อนส้อมกระทบกัน โบสถ์ ฯลฯ
  • ราคาค่อนข้างสูง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน
  • ขนาด สี รูปร่าง ดีไซน์ที่ทันสมัย
  • การบริการหลังการขาย (สอบถามกับผู้จำหน่าย)
  • ซื้อได้ตาม ร้านขายยา อินเทอร์เน็ต ซื้อใส่เองได้เลย
  • ไม่ต้องตรวจวัดระดับการได้ยิน
  • มีทั้งเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล หรือระบบอนาล็อก การขยายเสียงไม่ยืดหยุ่นตามระดับการสูญเสียการได้ยินในแต่ละความถี่เสียง (กรณีระบบอนาล็อก ขยายเสียงด้วย ตัวขยายเสียง และจะขยายทุกเสียงเท่าๆ กัน ทั้งเสียงคำพูดและเสียงรบกวน ใส่แล้วอาจรู้สึกรำคาญได้)
  • ไม่สามารถปรับรายละเอียดของเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ได้ และไม่มีซอฟแวร์การปรับแต่งเสียง
  • ไม่สามารถปรับเสียงตามผลการได้ยิน
  • มีปุ่ม เพิ่ม – ลด เสียง และปุ่มเปลี่ยนโปรแกรมการฟัง เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปถูกตั้งค่าจากโรงงาน ไม่สามารถปรับรายละเอียดเสียงเพิ่มได้
  • ราคาถูก ตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน
  • รูปแบบเครื่องช่วยฟังทั่วไป
  • ส่วนใหญ่ไม่มีบริการหลังการขาย (สอบถามกับผู้จำหน่าย)

 

เลือกเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง-vs-เครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคาทั้งนี้ การเลือกเครื่องช่วยฟังไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง หรือเครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคาถูกหรือราคาแพง ควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่ใส่แล้วพอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ประเภทและกำลังขยายของเครื่องจะต้องรองรับระดับการสูญเสียการได้ยิน และคุณสมบัติของเครื่องจะต้องเหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้การใส่เครื่องช่วยฟังเกิดประโยชน์สูงสุด

 

หากเลือกเครื่องช่วยฟังที่ไม่พอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน เมื่อใส่เครื่องไปแล้วอาจสร้างความรำคาญในการรับฟังเสียง ฟังแล้วรู้สึกไม่สบายหู ทำให้ผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟังบางรายอาจเข็ดกับการใส่เครื่อง และไม่อยากใส่เครื่องช่วยฟังอีกเลย หรือในกรณีที่ทนใส่เครื่องไปนานๆ อาจส่งผลให้ ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น หรือ หูตึงเพิ่มมากขึ้น 

 

 

 

ผู้ที่สูญเสียการได้ยิน หรือผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ควรเข้ารับการตรวจการได้ยินเป็นประจำปีทุกปี เพื่อติดตามผลการได้ยินอย่างสม่ำเสมอ

 

 


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน บริการตรวจการได้ยิน และทดลองเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร : 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

เครื่องช่วยฟัง 5 ข้อควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อ

 

        ปัจจัยการสูญเสียการได้ยิน เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาใด ที่ช่วยฟื้นฟูภาวะการสูญเสียการได้ยินให้กลับมาเป็นปกติดังเดิมได้ การใส่เครื่องช่วยฟังจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้การได้ยินดีขึ้น

 

ก่อนซื้อ “เครื่องช่วยฟัง” ต้องรู้อะไรบ้าง?

       เครื่องช่วยฟัง ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลากหลายราคา เครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอลที่ได้รับมาตรฐาน อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถปรับตั้งค่าตามผลตรวจการได้ยิน ขยายเสียงให้พอดีกับการได้ยินที่บกพร่องไปนั้นราคาเครื่องค่อนข้างสูง ราคาตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน

       ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องที่ผู้สวมใส่ต้องการ เรามี 5 ข้อควรรู้ที่จะช่วยในการตัดสินใจซื้อเครื่องช่วยฟังให้กับท่าน ดังนี้

 

5 ข้อควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องช่วยฟัง

สำหรับผู้ที่ไม่เคยใส่ เครื่องช่วยฟัง มาก่อน

 

1. ระดับการสูญเสียการได้ยิน


       อันดับแรก ท่านจะต้องทราบระดับการสูญเสียการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด หรือในระดับความดังกี่เดซิเบล (dB) โดยระดับการสูญเสียการได้ยิน ดังภาพต่อไปนี้

ระดับการได้ยิน เลือกเครื่องช่วยฟัง

กราฟแสดงระดับการได้ยิน

ข้อบ่งชี้ การใส่เครื่องช่วยฟัง ควรใส่เมื่อมีการสูญเสียการได้ยินในระดับ 40 เดซิเบล ขึ้นไป

 

2. กำลังขยายของ เครื่องช่วยฟัง


       ผลการตรวจวัดระดับการสูญเสียการได้ยิน จะช่วยให้ท่านเลือก ประเภทของเครื่องช่วยฟัง ที่เหมาะสมกับผลตรวจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขยายที่สามารถรองรับกับการสูญเสียการได้ยินที่อาจเพิ่มขึ้นได้

ประเภทเครื่องช่วยฟัง

• เครื่องช่วยฟังแบบในช่องหู (In The Ear – ITE) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงค่อนข้างรุนแรง (41 – 70 dB)

• เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (Behind The Ear – BTE) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงค่อนข้างรุนแรง (41 – 70 dB)

• เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูกำลังขยายสูง (Power Behind The Ear – Power BTE) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงขึ้นไป (71 – 90 dB)

 

       หมายเหตุ กรณีสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง 90 เดซิเบลขึ้นไป การใส่เครื่องช่วยฟังจะไม่ได้ประโยชน์ ในกรณีนี้การ ผ่าตัดประสาทหูเทียม จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

 

3. การรับประกัน และบริการหลังการขาย


       การเลือกซื้อเครื่องช่วยฟัง นอกจากเรื่องราคาแล้ว ยังควรคำนึงถึงการรับประกันและบริการหลังการขายของสถานที่จำหน่าย และเมื่อท่านตัดสินใจซื้อเครื่องช่วยฟังแล้ว

สิ่งที่ท่านควรสอบถามเพิ่มเติมกับผู้ให้บริการ คือ

   • ระยะเวลาการรับประกัน และเงื่อนไขในการรับประกัน
   • บริการหลังการขาย เช่น การติดตามผลหลังจากใส่เครื่อง การปรับเครื่องช่วยฟัง การทำความสะอาดเครื่อง
   • ศูนย์ให้บริการ (กรณีเครื่องมีปัญหา) เช่น ศูนย์ซ่อมเครื่อง ระยะเวลาการซ่อม ค่าใช้จ่าย/ราคาอะไหล่ เครื่องสำรองระหว่างซ่อม

       ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังจะต้องมั่นใจว่าหลังจากที่ท่านซื้อเครื่องช่วยฟังไปแล้วและเกิดปัญหาขึ้น ท่านสามารถกลับไปยังศูนย์ที่ให้บริการได้

 

4. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น


       การใช้เครื่องช่วยฟังจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น คือ ค่าใช้จ่ายแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง และค่าใช้จ่ายสารดูดความชื้น เนื่องจากเครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ และในการสวมใส่เครื่องเป็นประจำทุกวัน ความชื้นอาจถูกสะสมอยู่ภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์ชำรุดได้ การใช้สารดูดความชื้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยในการยืดอายุการใช้งานให้กับเครื่องช่วยฟัง

       ค่าใช้จ่ายอื่นๆ สอบถามเพิ่มเติมกับทางศูนย์บริการนั้นๆ

       หมายเหตุ แบตเตอรี่ต้องเป็นแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง เท่านั้น ไม่สามารถนำแบตเตอรี่ชนิดอื่นมาใส่แทนกันได้ เนื่องจากมีประจุไฟที่แตกต่างกัน อาจทำให้เครื่องช่วยฟังเกิดความเสียหายได้

 

5. ความคาดหวังของการใส่เครื่องช่วยฟัง


      ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังครั้งแรก และส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า การใส่เครื่องช่วยฟังนั้นจะทำให้การได้ยินกลับมาได้ยินปกติดังเดิม ซึ่งความเป็นจริงแล้วการใส่เครื่องช่วยฟังเป็นเพียงวิธีการช่วยให้การได้ยินดีขึ้น แต่ไม่สามารถกลับมาได้ยินเป็นปกติ 100% ได้

       การใส่เครื่องช่วยฟังครั้งแรกจำเป็นต้องฝึกทำความคุ้นเคยกับเครื่อง โดยการนับชั่วโมงการใส่เครื่อง ฝึกการฟัง ฝึกการพูด เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

 

เครื่องช่วยฟัง hearing aids

 

ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ โทร: 053-271533, 089-0537111

Call Button CM  Facebook button  Line button

สิทธิการเบิก เครื่องช่วยฟัง สำหรับประกันสังคม

       หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการ เบิกเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ประกันตน (ประกันสังคม) ซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ ประเภทและค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค กรณีสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรืออวัยวะบางส่วน

 

       การรับสิทธิ์ต้องเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้รับสิทธิ์เมื่อส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ขอรับการรักษาพยาบาล

 

ข้อบ่งชี้ของการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง
สำหรับผู้ประกันตน (ประกันสังคม)


        สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง และมีการได้ยินที่ยังคงเหลืออยู่ (Residual Hearing) ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่า หลังสิ้นสุดการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด โดยต้องระบุสาเหตุความจำเป็นในการใส่เครื่องช่วยฟัง ลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ดังนี้

     1.ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือการผ่าตัด มีข้อห้ามในการผ่าตัด แพทย์ผู้รักษาพิจารณาแล้วว่าการผ่าตัดไม่เกิดประโยชน์ หรือผู้ป่วยปฏิเสธการผ่าตัด

     2. สูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูเสื่อมอย่าเฉียบพลัน หลังการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 100 วัน

     3. การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการสื่อความหมาย และการดำรงชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

     4. การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาษาและการพูด หรือมีความพิการซ้อน

 

ส่องช่องหู ตรวจการได้ยิน ประกันสังคม

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
เบิกเครื่องช่วยฟัง ประกันสังคม :

1. สูญเสียการได้ยินทั้ง 2 ข้าง

2. ข้างที่ดีกว่า จะต้องมีค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินทางอากาศ (Air Conduction Threshold) ของความถี่ 500, 1,000 และ 2,000 เฮิรตซ์ เท่ากับ หรือ มากกว่า 40 เดซิเบล

 

 

 

การเบิกค่ารักษาพยาบาล

เครื่องช่วยฟังแต่ละประเภท


เครื่องช่วยฟัง แบบกล่อง ระบบอนาล็อก เครื่องละ 7,000 บาท
เครื่องช่วยฟัง แบบกล่อง ระบบดิจิตอล เครื่องละ 9,000 บาท
เครื่องช่วยฟัง แบบทัดหลังใบหู ระบบดิจิตอล ข้างละ 12,000 บาท
เครื่องช่วยฟัง แบบใส่ในช่องหู ระบบดิจิตอล ข้างละ 12,500 บาท
เครื่องช่วยฟัง แบบนำเสียงผ่านกระดูกแบบหูเดียว ระบบดิจิตอลข้างละ 12,500 บาท

(ราคานี้รวมค่าบริการทางการแพทย์แล้ว 3,000 บาท)


 

 

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ผู้ประกันตนติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาของผู้ประกันตนโดยตรง ถึงขั้นตอนและกระบวนการเบิกค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง

 

 

ประกันสังคม เครื่องช่วยฟัง

 

การเบิกเครื่องช่วยฟังใหม่ สามารถเบิกได้ต่อเมื่อ “อายุการใช้งานเครื่องช่วยฟัง อย่างน้อย 3 ปี และตรวจสอบแล้วว่าเครื่องช่วยฟังไม่สามารถใช้งานได้ หรือไม่เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยิน”

 

 

 

 


เราพร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาการได้ยิน

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai