Posts
อายุที่เพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและอวัยวะเริ่มถดถอยและเสื่อมลง
การสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึงในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของประสาทหูหรือเซลล์ขน (Hair cell) ในการรับเสียง โดยเสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสื่อมในวัยผู้สูงอายุนั้นจะค่อยๆ เริ่มเสื่อมอย่างช้าๆ ส่งผลให้การได้ยินค่อยๆ ลดลง
ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่จะช่วยรักษาหรือฟื้นฟูให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติดังเดิมได้ ทั้งนี้การใส่เครื่องช่วยฟังจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ยินดีขึ้น เครื่องช่วยฟังจะทำหน้าที่ขยายเสียง โดยเสียงจะเป็นตัวเข้าไปกระตุ้นประสาทหูที่เหลืออยู่ให้ทำงานและคงสภาพการได้ยินไว้
หูตึงระดับใด ที่ผู้สูงอายุควรใส่เครื่องช่วยฟัง?
หูตึงมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย – ระดับรุนแรง
ระดับการสูญเสียได้ยินกับการใส่เครื่องช่วยฟังในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้
- หูตึงระดับเล็กน้อย (26 – 40 dB) ยังสามารถสื่อสารได้ ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
- หูตึงระดับปานกลาง (41 – 55 dB) เริ่มสื่อสารด้วยเสียงที่ดังขึ้น จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
- หูตึงระดับค่อนข้างรุนแรง (56 – 70 dB) เริ่มสื่อสารด้วยการตะโกน จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
- หูตึงระดับรุนแรง (71 – 90 dB) จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง ประเภทกำลังขยายสูง*
หมายเหตุ
สูญเสียการได้ยิน มากกว่า 40 dB ขึ้นไป แพทย์แนะนำการใส่อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง
สูญเสียการได้ยิน มากกว่า 80 dB ขึ้นไป แพทย์แนะนำการผ่าตัดประสาทหูเทียม (หลักเกณฑ์การผ่าตัดประสาทหูเทียม)
เครื่องช่วยฟัง กับผู้สูงอายุ
นอกจากแว่นตาแล้ว เครื่องช่วยฟังก็ยังเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในวัยผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยเช่นกัน การใส่เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลามากกว่า 5 – 10 ปี เป็นเรื่องค่อนข้างยากในการฟัง เนื่องจากตัวผู้สูงอายุเองไม่ได้ยินเสียงบางเสียงมานาน เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้วอาจทำให้รู้สึกรำคาญได้ จึงจำเป็นต้องค่อยๆ ปรับตัวและให้เวลากับมัน (อ่าน 10 เทคนิคการเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง)
หรือในบางท่านได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการซื้อเครื่องช่วยฟังในอินเทอร์เน็ตมาใส่เอง ใส่แล้วมีเสียงดังรบกวน ทำให้ฟังไม่รู้เรื่องมากกว่าเดิม บางท่านเสียงดังจนปวดหู ทำให้รู้สึกรำคาญ ทนใส่ไม่ไหวและไม่อยากใส่เครื่องอีกเลย
ดังนั้น การใส่เครื่องช่วยฟังที่ดีควรเริ่มใส่ตั้งแต่ท่านเริ่มไม่ค่อยได้ยิน หรือเริ่มสื่อสารกับคนรอบข้างลำบาก ซึ่งโดยมากแล้วแพทย์จะแนะนำให้ใส่เมื่อมีการสูญเสียการได้ยิน มากกว่า 40 dB ขึ้นไป และควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจการได้ยินและปรับเครื่องตามผลการได้ยิน เพื่อให้ท่านใส่เครื่องช่วยฟังแล้วฟังสบาย สื่อสารกับคนรอบข้างกับลูกหลานได้ง่ายยิ่งขึ้น
ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยินผู้สูงอายุ (Pure-Tone Audiometry)
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
อีกหนึ่งปัญหาของผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟัง คือ เสียงหวีดรบกวน
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอิริยาบถใด หรือมีสิ่งใดเข้าใกล้กับเครื่องช่วยฟังของคุณ เครื่องก็มักจะส่งเสียงหวีด (Feedback) รบกวนออกมาทำให้คุณรู้สึกรำคาญ และในบางครั้งยังทำให้คุณรู้สึกขาดความมั่นใจต้องคอยกังวลว่าจะมีเสียงหวีดรบกวนระหว่างการสนทนาหรือสร้างความรำคาญให้กับผู้คนรอบข้างหรือไม่

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง Dynamic Feedback Canceller™ วิเคราะห์สัญญาณสูงสุด 126,000 ครั้งต่อวินาที
Dynamic Feedback Canceller™ (DFC™)
เทคโนโลยีที่มีอยู่ในเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอลคุณภาพสูง ประมวลผลด้วยไมโครชิป (Microchip) เทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคุณ
ด้วยการขจัดเสียงหวีดรบกวนออกจากเครื่องช่วยฟัง ภายใน 22 มิลลิวินาที*
ทั้งนี้ หากคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องใส่เครื่องช่วยฟัง สวมหมวก สวมแว่นตา คุยโทรศัพท์ หรือแม้แต่การโอบกอดคนรักของคุณเป็นประจำ เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง DFC™ นี้จะช่วยเสริมสร้างการมีบุคลิกภาพที่ดีให้กับคุณ ให้คุณไม่ต้องคอยกังวลเสียงหวีด (Feedback) จากเครื่องช่วยฟังที่จะคอยรบกวน สร้างความรำคาญให้กับตัวคุณเองและคนรอบข้าง อีกทั้งยังช่วยให้คุณไม่พลาดกับบทสนทนาสำคัญๆ
เรียนรู้เทคโนโลยี DFC™ เทคโนโลยีขจัดเสียงหวีดรบกวนอย่างรวดเร็ว ที่มีอยู่ในเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง รุ่น Viron และ Leox
ขอรับข้อมูลเครื่องช่วยฟังเทคโนโลยี DFC™ และทดลองฟัง ได้ที่
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร : 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
เครื่องช่วยฟัง ไม่ว่าจะราคาถูกหรือราคาแพงต่างมีหลักการทำงานเดียวกัน คือ การขยายเสียง
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เครื่องช่วยฟังมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลากหลายราคา และหลากหลายคุณสมบัติในการทำงาน เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของแต่ละคน และแน่นอนว่าเครื่องช่วยฟังที่มีราคาแพง ย่อมมีฟังก์ชันการทำงานที่มากกว่าเครื่องช่วยฟังราคาถูก
การเลือกเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินหรือบกพร่องทางการได้ยิน นอกจากปัจจัยในเรื่องราคาเครื่องช่วยฟังแล้ว ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใส่เครื่อง คือ เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้วสามารถพูดคุยสื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้อย่างเข้าใจ ใส่เครื่องแล้วฟังสบาย และที่สำคัญคือช่วยให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายขึ้นกว่าการไม่ใส่เครื่อง
ความแตกต่างของ
เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง vs เครื่องช่วยฟังทั่วไป
เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง | เครื่องช่วยฟังทั่วไป |
|
|
ทั้งนี้ การเลือกเครื่องช่วยฟังไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง หรือเครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคาถูกหรือราคาแพง ควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่ใส่แล้วพอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ประเภทและกำลังขยายของเครื่องจะต้องรองรับระดับการสูญเสียการได้ยิน และคุณสมบัติของเครื่องจะต้องเหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้การใส่เครื่องช่วยฟังเกิดประโยชน์สูงสุด
หากเลือกเครื่องช่วยฟังที่ไม่พอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน เมื่อใส่เครื่องไปแล้วอาจสร้างความรำคาญในการรับฟังเสียง ฟังแล้วรู้สึกไม่สบายหู ทำให้ผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟังบางรายอาจเข็ดกับการใส่เครื่อง และไม่อยากใส่เครื่องช่วยฟังอีกเลย หรือในกรณีที่ทนใส่เครื่องไปนานๆ อาจส่งผลให้ ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น หรือ หูตึงเพิ่มมากขึ้น
ผู้ที่สูญเสียการได้ยิน หรือผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ควรเข้ารับการตรวจการได้ยินเป็นประจำปีทุกปี เพื่อติดตามผลการได้ยินอย่างสม่ำเสมอ
ปรึกษาปัญหาการได้ยิน บริการตรวจการได้ยิน และทดลองเครื่องช่วยฟัง
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร : 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
การสูญเสียการได้ยิน โดยสาเหตุเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางพันธุกรรม การสัมผัสกับเสียงดังเป็นเวลานานๆ และตามช่วงวัย ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษาใดที่ช่วยฟื้นฟูภาวะการสูญเสียการได้ยินให้กลับมาเป็นปกติดังเดิมได้ การใส่เครื่องช่วยฟังจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้การได้ยินดีขึ้น
ก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องช่วยฟัง ต้องรู้อะไรบ้าง
ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลากหลายราคา แต่หากเป็นเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถปรับตั้งค่าตามผลตรวจการได้ยิน เพื่อให้พอดีกับการได้ยินที่บกพร่องไปนั้นราคาเครื่องค่อนข้างสูง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องที่ผู้สวมใส่ต้องการ ดังนั้นการเลือกเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ที่ไม่เคยใส่เครื่องช่วยฟังมาก่อน มี 5 ข้อควรรู้ ดังต่อไปนี้
1. ระดับการสูญเสียการได้ยิน
ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟัง ท่านจะต้องทราบระดับการสูญเสียการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด หรือในระดับความดังกี่เดซิเบล (dB) โดยระดับการสูญเสียการได้ยิน มีทั้งหมด 6 ระดับ ดังภาพต่อไปนี้
ข้อบ่งชี้ การใส่เครื่องช่วยฟัง จะใส่ต่อเมื่อสูญเสียการได้ยินในระดับ 40 เดซิเบล ขึ้นไป
2. กำลังขยายของเครื่องช่วยฟัง
ผลการตรวจวัดระดับการสูญเสียการได้ยิน จะช่วยให้ท่านเลือกประเภทของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับผลตรวจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขยายที่สามารถรองรับกับการสูญเสียการได้ยินที่อาจเพิ่มขึ้นได้
• เครื่องช่วยฟังแบบในช่องหู (In The Ear – ITE) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง (26 – 40 dB)
• เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (Behind The Ear – BTE) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับปานกลางถึงค่อนข้างรุนแรง (40 – 70 dB)
• เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูกำลังขยายสูง (Power Behind The Ear – Power BTE) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงขึ้นไป (70 – 90 dB)
หมายเหตุ หากสูญเสียการได้ยินในระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป การใส่เครื่องช่วยฟังจะไม่ได้ประโยชน์ ในกรณีนี้การผ่าตัดประสาทหูเทียมจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
3. การรับประกัน และบริการหลังการขาย
การตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟัง นอกจากเรื่องราคาแล้ว ยังควรคำนึงถึงการรับประกันและบริการหลังการขาย ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องช่วยฟังให้เลือกหลากหลายรุ่น หลากหลายยี่ห้อ และหลากหลายบริษัท ดังนั้นในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟัง 1 เครื่อง สิ่งที่ท่านควรสอบถามเพิ่มเติมกับผู้ให้บริการ คือ
• ระยะเวลาการรับประกัน และเงื่อนไขในการรับประกัน
• บริการหลังการขาย เช่น การติดตามผลหลังจากใส่เครื่อง การปรับเครื่องช่วยฟัง การทำความสะอาดเครื่อง
• ศูนย์ให้บริการ (กรณีเครื่องมีปัญหา) เช่น ศูนย์ซ่อมเครื่อง ระยะเวลาการซ่อม ค่าใช้จ่าย/ราคาอะไหล่ เครื่องสำรองระหว่างซ่อม
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังจะต้องมั่นใจว่าหลังจากที่ท่านซื้อเครื่องช่วยฟังไปแล้วและเกิดปัญหาขึ้น ท่านสามารถกลับไปยังศูนย์ที่ให้บริการได้
4. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
การใช้เครื่องช่วยฟังจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น คือ ค่าใช้จ่ายแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง ค่าใช้จ่ายสารดูดความชื้น เนื่องจากเครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ และในการสวมใส่อาจก่อให้เกิดเหงื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความชื้นภายในเครื่อง อาจส่งผลให้เครื่องช่วยฟังเกิดสนิมขึ้นได้ การใช้สารดูดความชื้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยในการยืดอายุการใช้งานให้กับเครื่องช่วยฟัง
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ สอบถามเพิ่มเติมกับทางศูนย์บริการนั้นๆ
หมายเหตุ แบตเตอรี่ต้องเป็นแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเท่านั้น ไม่สามารถนำแบตเตอรี่ชนิดอื่นมาใส่แทนกันได้ เนื่องจากมีประจุไฟที่แตกต่างกัน อาจทำให้เครื่องช่วยฟังเกิดความเสียหายได้
5. ความคาดหวังของการใส่เครื่องช่วยฟัง
ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังครั้งแรกและส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการใส่เครื่องช่วยฟังนั้นจะทำให้การได้ยินกลับมาได้ยินปกติดังเดิม ซึ่งความเป็นจริงแล้วการใส่เครื่องช่วยฟังเป็นเพียงวิธีการช่วยให้การได้ยินดีขึ้น แต่ไม่สามารถกลับมาได้ยินเป็นปกติ 100% ได้ ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังครั้งแรกจะต้องฝึกทำความคุ้นเคยกับเครื่อง โดยการนับชั่วโมงในการใส่เครื่อง ฝึกการฟัง ฝึกการพูด เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง
ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยิน ได้ที่
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai