Posts

สิทธิการเบิก เครื่องช่วยฟัง สำหรับประกันสังคม

       หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการ เบิกเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ประกันตน (ประกันสังคม) ซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ ประเภทและค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค กรณีสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรืออวัยวะบางส่วน

 

       การรับสิทธิ์ต้องเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้รับสิทธิ์เมื่อส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ขอรับการรักษาพยาบาล

 

ข้อบ่งชี้ของการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง
สำหรับผู้ประกันตน (ประกันสังคม)


        สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง และมีการได้ยินที่ยังคงเหลืออยู่ (Residual Hearing) ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่า หลังสิ้นสุดการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด โดยต้องระบุสาเหตุความจำเป็นในการใส่เครื่องช่วยฟัง ลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ดังนี้

     1.ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือการผ่าตัด มีข้อห้ามในการผ่าตัด แพทย์ผู้รักษาพิจารณาแล้วว่าการผ่าตัดไม่เกิดประโยชน์ หรือผู้ป่วยปฏิเสธการผ่าตัด

     2. สูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูเสื่อมอย่าเฉียบพลัน หลังการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 100 วัน

     3. การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการสื่อความหมาย และการดำรงชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

     4. การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาษาและการพูด หรือมีความพิการซ้อน

 

ส่องช่องหู ตรวจการได้ยิน ประกันสังคม

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
เบิกเครื่องช่วยฟัง ประกันสังคม :

1. สูญเสียการได้ยินทั้ง 2 ข้าง

2. ข้างที่ดีกว่า จะต้องมีค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินทางอากาศ (Air Conduction Threshold) ของความถี่ 500, 1,000 และ 2,000 เฮิรตซ์ เท่ากับ หรือ มากกว่า 40 เดซิเบล

 

 

 

การเบิกค่ารักษาพยาบาล

เครื่องช่วยฟังแต่ละประเภท


– เครื่องช่วยฟัง แบบกล่อง ระบบอนาล็อก เครื่องละ 7,000 บาท
– เครื่องช่วยฟัง แบบกล่อง ระบบดิจิตอล เครื่องละ 9,000 บาท
– เครื่องช่วยฟัง แบบทัดหลังใบหู ระบบดิจิตอล ข้างละ 12,000 บาท
– เครื่องช่วยฟัง แบบใส่ในช่องหู ระบบดิจิตอล ข้างละ 12,500 บาท
– เครื่องช่วยฟัง แบบนำเสียงผ่านกระดูกแบบหูเดียว ระบบดิจิตอล ข้างละ 12,500 บาท

(ราคานี้รวมค่าบริการทางการแพทย์แล้ว 3,000 บาท)


 

 

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ผู้ประกันตนติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาของผู้ประกันตนโดยตรง ถึงขั้นตอนและกระบวนการเบิกค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง

 

 

ประกันสังคม เครื่องช่วยฟัง

 

การเบิกเครื่องช่วยฟังใหม่ สามารถเบิกได้ต่อเมื่อ “อายุการใช้งานเครื่องช่วยฟัง อย่างน้อย 3 ปี และตรวจสอบแล้วว่าเครื่องช่วยฟังไม่สามารถใช้งานได้ หรือไม่เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยิน”

 

 

 

 


เราพร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาการได้ยิน

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

 

ประสาทหูเทียม (สำหรับเด็ก)

 

ผู้เข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม

กรณีเด็ก มีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้


  • หูหนวก ทั้ง 2 ข้าง (สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
  • อายุแรกเกิด ถึง 4 ปี ที่ไม่รับรู้เสียงพูด และไม่มีพัฒนาการด้านทักษะการฟัง การพูด และภาษา (สำหรับมูลนิธิ เด็กต้องอายุไม่เกิน 3 ขวบ)
  • อายุมากกว่า 5 ปี แต่ยังจำแนกคำพูดได้น้อยกว่า 50% ไม่ได้ประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง
  • ผู้ปกครองต้องทุ่มเท เอาใจใส่ และส่งเสริมการมีพัฒนาการทางด้านทักษะการฟัง และการพูดของเด็กเป็นอย่างดี

หมายเหตุ : อายุ ไม่ได้ระบุแน่ชัด ขึ้นอยู่กับการประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัดของทีมแพทย์ และการประเมินความพร้อมของครอบครัวในการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด

          สำหรับความคาดหวังของการผ่าตัดประสาทหูเทียมในเด็กนั้น ผู้ปกครองจะเป็นผู้คาดหวังในการผ่าตัดเสียส่วนใหญ่ว่า หลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้วเด็กจะต้องได้ยินและมีพัฒนาการตามช่วงวัยเหมือนเด็กปกติทั่วไป ซึ่งความเป็นจริงแล้ว สำหรับเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด การรับรู้และพัฒนาการของเด็กจะช้ากว่าเด็กปกติ

    และเมื่อเข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม พัฒนาการของเด็กจะพัฒนาได้ช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครองและความพร้อมของตัวเด็กเอง

 

 

          ดังนั้นหลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ผู้ปกครองจำเป็นต้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ให้ความสำคัญกับการฝึกฟัง ฝึกพูด เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้เด็กเติบโตอย่างสมวัย (กรณีเด็กที่ทำการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้วไม่ได้รับการฝึกฟัง ฝึกพูด อาจทำให้เด็กเลือกใช้ภาษามือ และท่าทางแทนการสื่อสารด้วยภาษาพูด)

 

การสูญเสียการได้ยินเป็นเวลานาน ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้ และควรได้รับการฟื้นฟู ไม่เกิน 6 เดือน

 

สอบถามข้อมูลเทคโนโลยีประสาทหูเทียมเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

3 ขั้นตอน การผ่าตัดประสาทหูเทียม

 

การผ่าตัดประสาทหูเทียม เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงหูหนวก และไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง

 

          ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์จะพิจารณาให้ประสาทหูเทียมเป็นวิธีแก้ปัญหาการได้ยินในระยะยาว มีขั้นตอนและกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นตอนการเตรียมการก่อนผ่าตัด การเตรียมตัวผ่าตัด และการดูแลและฟื้นฟูหลังผ่าตัด

 

3 ขั้นตอน การผ่าตัดประสาทหูเทียม

1. ขั้นตอนการเตรียมการก่อนผ่าตัด


ผู้ป่วยที่ผ่าตัดประสาทหูเทียมต้องได้รับการประเมินก่อนผ่าตัด โดยกระบวนการประเมินความเหมาะสม และความพร้อมของร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าประสาทหูเทียมคือคำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วยเอง

  • การทดสอบการได้ยิน เช่น ระดับการได้ยิน ความเข้าใจภาษา การทำงานของระบบประสาทการได้ยิน
  • การทดสอบด้านการแพทย์ การตรวจร่างกายและทำ MRI เพื่อตรวจสุขภาพโดยทั่วไป ได้แก่ การซักประวัติผู้ป่วย สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน การตรวจความผิดปกติของชั้นหู การประเมินโครงสร้างภายในของหู รวมถึงการตรวจเลือด ปัสสาวะ ปอด หัวใจ เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายก่อนผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมด้วยการดมยาสลบ
  • การทดสอบด้านจิตวิทยา เพื่อรับรองความสามารถในการรับมือกับการผ่าตัด และมีส่วนร่วมในการติดตามผล ดูแลและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังการผ่าตัด

 

2. ขั้นตอนการเตรียมตัวผ่าตัด


กระบวนการผ่าตัดประสาทหูเทียม ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 – 3 ชั่วโมง สำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั้นพบน้อยมาก ศัลยแพทย์จะเป็นคนปรึกษาเรื่องความเสี่ยงกับตัวผู้ป่วยเอง

  • ผู้ป่วยควรงดน้ำ อาหารทุกชนิด ก่อนเวลาผ่าตัดประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยที่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ควรงดเว้นก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน หรือตามคำสั่งของแพทย์ (เพื่อป้องกันผู้ป่วยที่ต้องใช้วิธีดมยาสลบ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากปอดทำงานหนัก ส่งผลให้ปอดอักเสบจากการสูดสำลัก หรือไอมากหลังผ่าตัดได้)
  • ผู้ป่วยควรงดใช้ยา 1 สัปดาห์ ก่อนผ่าตัด (แอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบอื่น ๆ) หากเป็นยารักษาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์
  • การผ่าตัดใช้วิธีการดมยาสลบ โดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

การดำเนินการ ประกอบด้วยสองส่วน :
      การฝังของตัวรับสัญญาณ– ตัวรับสัญญาณที่ติดตั้งอยู่บนกระดูกหลังใบหูภายใต้ผิวหนัง อิเล็กโทรดมีการเชื่อมต่อไปยังตัวรับส่งเสียงโดยตรงกับประสาทหู
       การเชื่อมต่อภายนอกของตัวแปลงสัญญาณ– ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ สำหรับการเปิดเครื่องประสาทหูเทียม (ตัวแปลงสัญญาณเสียง) หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น

 

3. ขั้นตอนการดูแลและฟื้นฟูหลังผ่าตัด


  • เมื่อผ่าตัดเสร็จ แพทย์จะให้ผู้ป่วยอยู่พักฟื้นเพื่อสังเกตอาการประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นจะย้ายผู้ป่วยไปพักฟื้นต่อที่หอผู้ป่วย
  • ผู้ป่วยใช้เวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3 – 4 วัน
  • แพทย์จะให้ยาแก้ปวด เมื่อผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยจะถูกสั่งงดน้ำ และอาหารทุกชนิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด

เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นประมาณ 4 สัปดาห์ นักแก้ไขการได้ยินจะทำการเปิดเครื่องประสาทหูเทียม และติดตั้งโปรแกรมในอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระดับการได้ยิน และปรับการตั้งค่าการติดตามผลในครั้งต่อๆ ไป นักแก้ไขการได้ยินจะทำการติดตามผลเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 หรือ 2 ครั้ง

 

            ผลสําเร็จและการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด การได้ยินในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม จะไม่เหมือนการได้ยินปกติ ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกฝนจึงจะสามารถฟัง แปลผล และสื่อสารได้ จึงมีความจําเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว และบุคลากรหลายด้าน ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ นักแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษ หรือ ครูที่โรงเรียน เพื่อน ที่ต้องเอาใจใส่ พูดคุยกระตุ้นเพื่อให้ได้ฝึกฟังและพูดตลอดเวลา

สามารถอ่านข้อมูลคุณสมบัติผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียมได้ที่ คุณสมบัติผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียม

 


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม เราพร้อมให้คำปรึกษา

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line Official: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

การผ่าตัดประสาทหูเทียม ต้องทำอย่างไร cochlear

 

การผ่าตัดประสาทหูเทียม

อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง


โดยมีหลักเกณฑ์และข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

 

ผู้ที่เหมาะสมกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม ควรมีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้

  1. ผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับเสียงบกพร่องระดับรุนแรงถึงหูหนวก (Sensorineural Severe to Profound Hearing Loss) ทั้งสองข้าง
  2. ไม่ได้ประโยชน์ หรือได้ประโยชน์น้อยจากการใส่เครื่องช่วยฟัง
  3. ไม่มีอุปสรรค หรือข้อห้ามในการเข้ารับการผ่าตัด
  4. คนไข้มีความต้องการใช้การสื่อสารด้วยภาษาพูด (พูดคุยกับคนรอบข้าง ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ)

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เด็ก และ ผู้ใหญ่

  • เด็ก
  • ผู้ที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงตั้งแต่กำเนิด ไม่ได้รับประโยชน์ หรือได้รับประโยชน์น้อยจากการใส่เครื่องช่วยฟัง ควรได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมโดยเร็วที่สุด (เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่มีพัฒนาการที่รวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการฝึกทักษะทางด้านการพูด และการฟัง เพื่อให้เด็กพัฒนาได้อย่างเต็มที่และสมวัย)
  • ผู้ใหญ่
  • ผู้ที่มีภาษาพูดได้ตามปกติมาก่อน แล้วเกิดการสูญเสียการได้ยินในภายหลัง หรือมีการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้น การได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมเร็ว จะช่วยฟื้นภาษาที่หายไปได้เร็วขึ้น (การสูญเสียการได้ยินเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้)

 

ข้อกำหนด สำหรับ….เด็ก

  1. หูหนวกแต่กำเนิดทั้ง 2 ข้าง (ระดับการได้ยินตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
  2. อายุแรกเกิด ถึง 4 ปี ที่ไม่รับรู้เสียงพูด และไม่มีพัฒนาทักษะการฟัง ภาษา และการพูด (สำหรับมูลนิธิ เด็กต้องอายุไม่เกิน 3 ขวบ)
  3. อายุมากกว่า 5 ปี แต่ยังจำแนกคำพูดได้น้อยกว่า 50% ไม่ได้ประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง
  4. ผู้ปกครองต้องทุ่มเท เอาใจใส่ และส่งเสริมการมีพัฒนาการทางด้านทักษะการฟัง และการพูดของเด็กเป็นอย่างดี

ข้อกำหนด สำหรับ….ผู้ใหญ่

  1. หูหนวกทั้ง 2 ข้าง ภายหลังมีภาษาแล้ว (ระดับการได้ยินตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
  2. ไม่มีพยาธิสภาพที่เส้นประสาทการได้ยิน
  3. มีการสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด แต่ใส่เครื่องช่วยฟังต่อเนื่อง ใช้ภาษาพูด ต่อมามีการสูญเสียการได้ยินมากขึ้น หรือไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง / หูดับเฉียบพลัน / ติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย / ประสาทหูเสื่อมตามวัย
  4. ต้องการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด สามารถพูดคุยกับคนรอบข้าง และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ
  5. อายุของผู้ที่ต้องการผ่าตัดประสาทหูเทียม ไม่ได้ระบุแน่ชัด ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสภาพร่างกายแต่ละบุคคล

 

 

สำหรับผู้ต้องการผ่าตัดประสาทหูเทียม สามารถอ่านสิทธิ์การเบิกเพิ่มเติมได้ที่ : สิทธิ์การเบิก

ประสาทหูเทียม คืออะไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ประสาทหูเทียม

 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม เราพร้อมให้คำปรึกษา

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

สิทธิการเบิกเครื่องช่วยฟัง ประสาทหูเทียม

 

หลายท่านที่กังวลเรื่อง “สิทธิการเบิกเครื่องช่วยฟัง” อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน และประสาทหูเทียม เรารวมข้อมูลที่อัพเดท ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2560

 

1. สำหรับ ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ

สามารถเบิกให้กับตนเอง สามีหรือภรรยา ลูกหรือบิดามารดา ได้ดังนี้

  • เบิกค่าเครื่องช่วยฟังได้ ข้างละ 13,500 บาท
  • เบิกค่าอุปกรณ์ประสาทหูเทียมได้ ชุดละ 850,000 บาท

หมายเหตุ เบิกเครื่องช่วยฟังเครื่องใหม่ได้ เมื่อการใช้งานเครื่องช่วยฟัง ครบ 3 ปี

 

2. สำหรับ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม

สามารถเบิกอุปกรณ์ช่วยการได้ยินประเภทเครื่องช่วยฟัง ให้กับตนเองได้เท่านั้น

  • เครื่องช่วยฟังประเภททัดหลังหู เบิกได้ข้างละ 12,000 บาท
  • เครื่องช่วยฟังประเภทในช่องหู เบิกได้ข้างละ 12,500 บาท

 

 

หากมีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai