Posts

ประสาทหูเทียม กับความคาดหวังของผู้ผ่าตัด

 

ผู้เข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม กรณีผู้ใหญ่

มี 4 หลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้


  1. หูหนวกทั้ง 2 ข้าง (สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
  2. ไม่ได้รับประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง / หูดับเฉียบพลัน / ติดเชื้อไวรัส / เสื่อมตามวัย
  3. สุขภาพแข็งแรง ไม่มีอุปสรรค หรือข้อห้ามในการเข้ารับการผ่าตัด
  4. มีความต้องการสื่อสารด้วยภาษาพูด (พูดคุยกับคนรอบข้าง ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ)

หมายเหตุ:  อายุไม่ได้ระบุแน่ชัด ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสภาพร่างกายแต่ละบุคคล

 

       ผู้เข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม ย่อมคาดหวังผลจากการผ่าตัดว่า หลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมจะต้องได้ยินชัดเจนเหมือนคนปกติ 100%  ซึ่งความเป็นจริงแล้วผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียมจะได้ยินเหมือนคนปกติได้นั้นต้องใช้เวลาในการปรับตัว โดยตัวผู้ผ่าตัดเองต้องมีการฝึกฟัง ฝึกพูด สร้างความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ประสาทหูเทียมเสียก่อน

 

          การฟังและการพูดให้ได้เหมือนคนปกติทั่วไปขึ้นอยู่กับชั่วโมงการฝึกฟัง ฝึกพูด และความใส่ใจของผู้ผ่าตัด รวมถึงความร่วมมือของญาติผู้ผ่าตัดในการดูแลและคอยสนับสนุนให้กำลังใจผู้ผ่าตัด

 

 

           สำหรับผู้ใหญ่ที่มีภาษาพูดมาก่อนแล้วเกิดการสูญเสียการได้ยินในภายหลัง และได้เข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมโดยเร็ว จะช่วยให้ผู้ผ่าตัดฟื้นภาษาที่หายไปได้เร็วขึ้น การฟังและการพูดให้ได้เหมือนคนปกติจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

 

“ประสาทหูเทียมจะอยู่กับท่านไปตลอดชีวิต”

ท่านควรตระหนักถึงความสำคัญของการใส่เครื่อง การฝึกฟัง และการฝึกพูด
เพราะยังมีผู้สูญเสียการได้ยินอีกมากที่อยากได้รับโอกาสการได้ยินแบบท่าน

 

 

สอบถามข้อมูลเทคโนโลยีประสาทหูเทียมเพิ่มเติม ได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

3 ขั้นตอน การผ่าตัดประสาทหูเทียม

 

การผ่าตัดประสาทหูเทียม เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงหูหนวก และไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง

 

          ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์จะพิจารณาให้ประสาทหูเทียมเป็นวิธีแก้ปัญหาการได้ยินในระยะยาว มีขั้นตอนและกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นตอนการเตรียมการก่อนผ่าตัด การเตรียมตัวผ่าตัด และการดูแลและฟื้นฟูหลังผ่าตัด

 

3 ขั้นตอน การผ่าตัดประสาทหูเทียม

1. ขั้นตอนการเตรียมการก่อนผ่าตัด


ผู้ป่วยที่ผ่าตัดประสาทหูเทียมต้องได้รับการประเมินก่อนผ่าตัด โดยกระบวนการประเมินความเหมาะสม และความพร้อมของร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าประสาทหูเทียมคือคำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วยเอง

  • การทดสอบการได้ยิน เช่น ระดับการได้ยิน ความเข้าใจภาษา การทำงานของระบบประสาทการได้ยิน
  • การทดสอบด้านการแพทย์ การตรวจร่างกายและทำ MRI เพื่อตรวจสุขภาพโดยทั่วไป ได้แก่ การซักประวัติผู้ป่วย สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน การตรวจความผิดปกติของชั้นหู การประเมินโครงสร้างภายในของหู รวมถึงการตรวจเลือด ปัสสาวะ ปอด หัวใจ เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายก่อนผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมด้วยการดมยาสลบ
  • การทดสอบด้านจิตวิทยา เพื่อรับรองความสามารถในการรับมือกับการผ่าตัด และมีส่วนร่วมในการติดตามผล ดูแลและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังการผ่าตัด

 

2. ขั้นตอนการเตรียมตัวผ่าตัด


กระบวนการผ่าตัดประสาทหูเทียม ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 – 3 ชั่วโมง สำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั้นพบน้อยมาก ศัลยแพทย์จะเป็นคนปรึกษาเรื่องความเสี่ยงกับตัวผู้ป่วยเอง

  • ผู้ป่วยควรงดน้ำ อาหารทุกชนิด ก่อนเวลาผ่าตัดประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยที่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ควรงดเว้นก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน หรือตามคำสั่งของแพทย์ (เพื่อป้องกันผู้ป่วยที่ต้องใช้วิธีดมยาสลบ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากปอดทำงานหนัก ส่งผลให้ปอดอักเสบจากการสูดสำลัก หรือไอมากหลังผ่าตัดได้)
  • ผู้ป่วยควรงดใช้ยา 1 สัปดาห์ ก่อนผ่าตัด (แอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบอื่น ๆ) หากเป็นยารักษาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์
  • การผ่าตัดใช้วิธีการดมยาสลบ โดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

การดำเนินการ ประกอบด้วยสองส่วน :
      การฝังของตัวรับสัญญาณ– ตัวรับสัญญาณที่ติดตั้งอยู่บนกระดูกหลังใบหูภายใต้ผิวหนัง อิเล็กโทรดมีการเชื่อมต่อไปยังตัวรับส่งเสียงโดยตรงกับประสาทหู
       การเชื่อมต่อภายนอกของตัวแปลงสัญญาณ– ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ สำหรับการเปิดเครื่องประสาทหูเทียม (ตัวแปลงสัญญาณเสียง) หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น

 

3. ขั้นตอนการดูแลและฟื้นฟูหลังผ่าตัด


  • เมื่อผ่าตัดเสร็จ แพทย์จะให้ผู้ป่วยอยู่พักฟื้นเพื่อสังเกตอาการประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นจะย้ายผู้ป่วยไปพักฟื้นต่อที่หอผู้ป่วย
  • ผู้ป่วยใช้เวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3 – 4 วัน
  • แพทย์จะให้ยาแก้ปวด เมื่อผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยจะถูกสั่งงดน้ำ และอาหารทุกชนิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด

เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นประมาณ 4 สัปดาห์ นักแก้ไขการได้ยินจะทำการเปิดเครื่องประสาทหูเทียม และติดตั้งโปรแกรมในอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระดับการได้ยิน และปรับการตั้งค่าการติดตามผลในครั้งต่อๆ ไป นักแก้ไขการได้ยินจะทำการติดตามผลเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 หรือ 2 ครั้ง

 

            ผลสําเร็จและการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด การได้ยินในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม จะไม่เหมือนการได้ยินปกติ ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกฝนจึงจะสามารถฟัง แปลผล และสื่อสารได้ จึงมีความจําเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว และบุคลากรหลายด้าน ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ นักแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษ หรือ ครูที่โรงเรียน เพื่อน ที่ต้องเอาใจใส่ พูดคุยกระตุ้นเพื่อให้ได้ฝึกฟังและพูดตลอดเวลา

สามารถอ่านข้อมูลคุณสมบัติผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียมได้ที่ คุณสมบัติผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียม

 


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม เราพร้อมให้คำปรึกษา

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line Official: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

การผ่าตัดประสาทหูเทียม ต้องทำอย่างไร cochlear

 

การผ่าตัดประสาทหูเทียม

อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง


โดยมีหลักเกณฑ์และข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

 

ผู้ที่เหมาะสมกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม ควรมีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้

  1. ผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับเสียงบกพร่องระดับรุนแรงถึงหูหนวก (Sensorineural Severe to Profound Hearing Loss) ทั้งสองข้าง
  2. ไม่ได้ประโยชน์ หรือได้ประโยชน์น้อยจากการใส่เครื่องช่วยฟัง
  3. ไม่มีอุปสรรค หรือข้อห้ามในการเข้ารับการผ่าตัด
  4. คนไข้มีความต้องการใช้การสื่อสารด้วยภาษาพูด (พูดคุยกับคนรอบข้าง ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ)

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เด็ก และ ผู้ใหญ่

  • เด็ก
  • ผู้ที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงตั้งแต่กำเนิด ไม่ได้รับประโยชน์ หรือได้รับประโยชน์น้อยจากการใส่เครื่องช่วยฟัง ควรได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมโดยเร็วที่สุด (เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่มีพัฒนาการที่รวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการฝึกทักษะทางด้านการพูด และการฟัง เพื่อให้เด็กพัฒนาได้อย่างเต็มที่และสมวัย)
  • ผู้ใหญ่
  • ผู้ที่มีภาษาพูดได้ตามปกติมาก่อน แล้วเกิดการสูญเสียการได้ยินในภายหลัง หรือมีการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้น การได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมเร็ว จะช่วยฟื้นภาษาที่หายไปได้เร็วขึ้น (การสูญเสียการได้ยินเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้)

 

ข้อกำหนด สำหรับ….เด็ก

  1. หูหนวกแต่กำเนิดทั้ง 2 ข้าง (ระดับการได้ยินตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
  2. อายุแรกเกิด ถึง 4 ปี ที่ไม่รับรู้เสียงพูด และไม่มีพัฒนาทักษะการฟัง ภาษา และการพูด (สำหรับมูลนิธิ เด็กต้องอายุไม่เกิน 3 ขวบ)
  3. อายุมากกว่า 5 ปี แต่ยังจำแนกคำพูดได้น้อยกว่า 50% ไม่ได้ประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง
  4. ผู้ปกครองต้องทุ่มเท เอาใจใส่ และส่งเสริมการมีพัฒนาการทางด้านทักษะการฟัง และการพูดของเด็กเป็นอย่างดี

ข้อกำหนด สำหรับ….ผู้ใหญ่

  1. หูหนวกทั้ง 2 ข้าง ภายหลังมีภาษาแล้ว (ระดับการได้ยินตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
  2. ไม่มีพยาธิสภาพที่เส้นประสาทการได้ยิน
  3. มีการสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด แต่ใส่เครื่องช่วยฟังต่อเนื่อง ใช้ภาษาพูด ต่อมามีการสูญเสียการได้ยินมากขึ้น หรือไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง / หูดับเฉียบพลัน / ติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย / ประสาทหูเสื่อมตามวัย
  4. ต้องการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด สามารถพูดคุยกับคนรอบข้าง และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ
  5. อายุของผู้ที่ต้องการผ่าตัดประสาทหูเทียม ไม่ได้ระบุแน่ชัด ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสภาพร่างกายแต่ละบุคคล

 

 

สำหรับผู้ต้องการผ่าตัดประสาทหูเทียม สามารถอ่านสิทธิ์การเบิกเพิ่มเติมได้ที่ : สิทธิ์การเบิก

ประสาทหูเทียม คืออะไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ประสาทหูเทียม

 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม เราพร้อมให้คำปรึกษา

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

หูดับ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ประสาทหูเทียม เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง

     พอพูดถึงลาบหมู หลายคนคงน้ำลายไหลอยากทานขึ้นมาเลยใช่ไหมครับ? แต่ทราบไหมครับว่า “ลาบหมูดิบ” อาจทำให้คุณถึงตายได้! และหลายรายก็มีอาการ “หูดับ” จนไม่ได้ยินเสียงอะไรเลยแม้แต่นิด เนื่องจากการติดเชื้อจนอักเสบลุกลาม ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

 

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากอะไร?

     บางคนอาจเรียกว่า โรคไข้หูดับ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสสเต็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ที่เกิดจากการกินลาบหมูดิบ เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็สามารถกระจายไปยังเยื่อหุ้มสมองได้ โดยจะแสดงอาการดังนี้

  • ไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ อาเจียน ซึ่งจะเปิดหลังการรับเชื้อไป 2-5 วัน
  • ประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้ จะมีอาการหูดับหลังการรับเชื้อไป 3-5 วัน
  • บางรายมีอาการแสดงออกทางผิวหนัง เช่นอาการจ้ำเลือด เลือดออกใต้ผิวหนัง
  • อาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ไตวาย โลหิตเป็นพิษ

แล้วจะป้องกันอย่างไรดี?

  • หลีกเลี่ยงการทานลาบ หลู้ ที่ใช้ส่วนประกอบจากหมูดิบ เช่นเนื้อหมูดิบ เลือดหมู
  • เมื่อมีแผล ต้องระมัดระวังในการสัมผัสกับเนื้อหมู
  • หากเลี้ยงหมู ควรดูแลสถานที่ให้ถูกสุขอนามัย และสวมถุงมือ สวมรองเท้าบู๊ท ระหว่างปฏิบัติงาน
  • เลือกซื้อเนื้อหมูจากสถานที่ที่ไว้ใจได้ และไม่เลือกเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ

 

ถ้าหูดับจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะกลับมาได้ยินได้ไหม?

     ถ้าหูดับหรือหูหนวก โดยส่วนมากแล้วเซลล์รับเสียงในหูชั้นในจะถูกทำลายไปจนไม่เหลือพอที่จะทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงจากเครื่องช่วยฟังได้

 

อีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาคือ การผ่าตัดประสาทหูเทียม

ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นประสาทการได้ยิน และผ่านไปยังสมองโดยตรง

ประสาทหูเทียม เชียงใหม่ หูหนวก

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับประสาทหูเทียม คลิกที่นี่

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ เรื่องการเบิกประสาทหูเทียม คลิกที่นี่

 

 

เราพร้อมให้คำปรึกษาหูดับ ประสาทหูเทียม

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai