Posts

อาการสูญเสียการได้ยินในเด็ก

 

     การสูญเสียการได้ยินในเด็ก มักจะตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองการได้ยินของทารกแรกเกิดหลังคลอด (OAE) ประมาณ 2 วัน และพ่อแม่บางรายอาจตรวจพบการสูญเสียการได้ยินของลูกในภายหลังได้

 

สาเหตุการสูญเสียการได้ยินของทารก

     การสูญเสียการได้ยินของทารก ส่วนใหญ่มีสาเหตุ 3 ประการ


1. การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
2. ผลข้างเคียงที่เป็นพิษจากยา
3. พันธุกรรม (50 – 60 % ของกรณีการสูญเสียการได้ยินของทารก ตามรายงานของ CDC หลายครั้งที่เด็กที่สูญเสียการได้ยินเกิดจากยีนด้อยในพ่อแม่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน โรคเหล่านี้บางโรคอาจถูกตรวจพบโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมในระหว่างตั้งครรภ์)

 

อาการสูญเสียการได้ยิน ในเด็ก

     หากพบพฤติกรรมดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าลูกของคุณอาจมีปัญหาการได้ยิน


Baby and hearing

  • พัฒนาการด้านการพูดและภาษาล่าช้า
  • เด็กไม่สะดุ้ง เมื่อมีเสียงดัง
  • เด็กไม่สามารถระบุตำแหน่งของเสียงได้
  • ผลงานไม่ดีในโรงเรียน
  • ปัญหาพฤติกรรมในโรงเรียน
  • การวินิจฉัยความบกพร่องทางการเรียนรู้

โปรดหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยเป็นไปตาม พัฒนาการแต่ละช่วงวัย หรือไม่

 

 

การตรวจคัดกรองการได้ยิน

ทารกแรกเกิด เด็กเล็ก


     การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารก หรือเด็กเล็ก สามารถตรวจได้ในสถานพยาบาลที่มีแผนกหู คอ จมูก และวิธีที่นิยมตรวจ มีดังนี้

     Otoacoustic emissions (OAE) การวัดการตอบสนองของทารกที่มีต่อเสียง โดยวัดเสียงสะท้อนของหูชั้นในแต่ละข้าง

     – Auditory Brainstem Response (ABR) การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง วัดว่าประสาทหูตอบสนองต่อเสียงอย่างไรผ่านขั้วไฟฟ้าขนาดเล็กที่วางอยู่บนศีรษะของทารก ตรวจในขณะที่ทารกหลับ

หมายเหตุ : ลูกน้อยของคุณจะได้รับการตรวจแบบ ABR ก็ต่อเมื่อการตรวจ OAE ไม่ผ่าน

 

 

เมื่อตรวจพบว่า ลูกมีการสูญเสียการได้ยิน

ควรทำอย่างไร?


 

      การสูญเสียการได้ยินถาวรไม่สามารถกู้คืนได้ และมักจะเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดจากประสาทหูหรือเซลล์ขนเล็กๆ ของหูชั้นใน สำหรับคนส่วนใหญ่ ทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดคือ การใส่เครื่องช่วยฟังอย่างเหมาะสม และในบางกรณี อาจแนะนำการผ่าตัดประสาทหูเทียม

kid-playing

 

      การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดเป็นวิธีที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาในระยะแรก หากสามารถวินิจฉัยการสูญเสียการได้ยินและดำเนินการรักษาภายใน อายุ 6 เดือน จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูด ภาษา อารมณ์และสังคมอย่างเหมาะสม

 

 

      การสูญเสียการได้ยินในเด็ก ไม่ว่าจะทั้งสองข้างหรือข้างเดียว ในระดับเล็กน้อยหรือระดับรุนแรง มีผลต่อพัฒนาการทางภาษาที่ช้ากว่าเด็กที่มีการได้ยินปกติ โดยเฉพาะทักษะการฟังและแยกเสียง รวมถึงทักษะในการรับรู้ และแสดงออกของภาษา เพราะฉะนั้นการได้ยินในวัยเด็ก จึงสำคัญ

 

 

      หากคุณสงสัยว่า บุตรหลาน หรือคนใกล้ชิดสูญเสียการได้ยิน โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินหรือนักโสตสัมผัสวิทยาใกล้บ้านคุณ ยิ่งคุณได้รับการรักษาเร็วเท่าไหร่ ผลลัพธ์ของคุณก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ เด็กพัฒนาการช้า พูดช้า เด็กไม่พูด

ปรึกษาด้านพัฒนาการเด็ก ลูกไม่พูด พูดช้า ปัญหาพฤติกรรมเด็ก

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ยินดีให้คำปรึกษาด้านการได้ยิน
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

 


ขอขอบคุณข้อมูล : healthyhearing.com, หนังสือคำแนะนำการคัดกรอง การได้ยินในทารกแรกเกิดของประเทศไทย [หน้า 14, 2562] 

 

ประสาทหูเทียม (สำหรับเด็ก)

 

ผู้เข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม

กรณีเด็ก มีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้


  • หูหนวก ทั้ง 2 ข้าง (สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับ 80 เดซิเบลขึ้นไป – ABR, ASSR ระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป)
  • อายุแรกเกิด ถึง 4 ปี ที่ไม่รับรู้เสียงพูด และไม่มีพัฒนาการด้านทักษะการฟัง การพูด และภาษา (สำหรับมูลนิธิ เด็กต้องอายุไม่เกิน 3 ขวบ)
  • อายุมากกว่า 5 ปี แต่ยังจำแนกคำพูดได้น้อยกว่า 50% ไม่ได้ประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง
  • ผู้ปกครองต้องทุ่มเท เอาใจใส่ และส่งเสริมการมีพัฒนาการทางด้านทักษะการฟัง และการพูดของเด็กเป็นอย่างดี

หมายเหตุ : อายุ ไม่ได้ระบุแน่ชัด ขึ้นอยู่กับการประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัดของทีมแพทย์ และการประเมินความพร้อมของครอบครัวในการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด

          สำหรับความคาดหวังของการผ่าตัดประสาทหูเทียมในเด็กนั้น ผู้ปกครองจะเป็นผู้คาดหวังในการผ่าตัดเสียส่วนใหญ่ว่า หลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้วเด็กจะต้องได้ยินและมีพัฒนาการตามช่วงวัยเหมือนเด็กปกติทั่วไป ซึ่งความเป็นจริงแล้ว สำหรับเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด การรับรู้และพัฒนาการของเด็กจะช้ากว่าเด็กปกติ

    และเมื่อเข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม พัฒนาการของเด็กจะพัฒนาได้ช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครองและความพร้อมของตัวเด็กเอง

 

 

          ดังนั้นหลังจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ผู้ปกครองจำเป็นต้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ให้ความสำคัญกับการฝึกฟัง ฝึกพูด เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้เด็กเติบโตอย่างสมวัย (กรณีเด็กที่ทำการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแล้วไม่ได้รับการฝึกฟัง ฝึกพูด อาจทำให้เด็กเลือกใช้ภาษามือ และท่าทางแทนการสื่อสารด้วยภาษาพูด)

 

การสูญเสียการได้ยินเป็นเวลานาน ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้ และควรได้รับการฟื้นฟู ไม่เกิน 6 เดือน

 

สอบถามข้อมูลเทคโนโลยีประสาทหูเทียมเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai