Tag Archive for: พัฒนาการเด็ก

อาการสูญเสียการได้ยินในเด็ก

 

     การสูญเสียการได้ยินในเด็ก มักจะตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองการได้ยินของทารกแรกเกิดหลังคลอด (OAE) ประมาณ 2 วัน และพ่อแม่บางรายอาจตรวจพบการสูญเสียการได้ยินของลูกในภายหลังได้

 

สาเหตุการสูญเสียการได้ยินของทารก

     การสูญเสียการได้ยินของทารก ส่วนใหญ่มีสาเหตุ 3 ประการ


1. การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
2. ผลข้างเคียงที่เป็นพิษจากยา
3. พันธุกรรม (50 – 60 % ของกรณีการสูญเสียการได้ยินของทารก ตามรายงานของ CDC หลายครั้งที่เด็กที่สูญเสียการได้ยินเกิดจากยีนด้อยในพ่อแม่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน โรคเหล่านี้บางโรคอาจถูกตรวจพบโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมในระหว่างตั้งครรภ์)

 

อาการสูญเสียการได้ยิน ในเด็ก

     หากพบพฤติกรรมดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าลูกของคุณอาจมีปัญหาการได้ยิน


Baby and hearing

  • พัฒนาการด้านการพูดและภาษาล่าช้า
  • เด็กไม่สะดุ้ง เมื่อมีเสียงดัง
  • เด็กไม่สามารถระบุตำแหน่งของเสียงได้
  • ผลงานไม่ดีในโรงเรียน
  • ปัญหาพฤติกรรมในโรงเรียน
  • การวินิจฉัยความบกพร่องทางการเรียนรู้

โปรดหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยเป็นไปตาม พัฒนาการแต่ละช่วงวัย หรือไม่

 

 

การตรวจคัดกรองการได้ยิน

ทารกแรกเกิด เด็กเล็ก


     การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารก หรือเด็กเล็ก สามารถตรวจได้ในสถานพยาบาลที่มีแผนกหู คอ จมูก และวิธีที่นิยมตรวจ มีดังนี้

     Otoacoustic emissions (OAE) การวัดการตอบสนองของทารกที่มีต่อเสียง โดยวัดเสียงสะท้อนของหูชั้นในแต่ละข้าง

     – Auditory Brainstem Response (ABR) การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง วัดว่าประสาทหูตอบสนองต่อเสียงอย่างไรผ่านขั้วไฟฟ้าขนาดเล็กที่วางอยู่บนศีรษะของทารก ตรวจในขณะที่ทารกหลับ

หมายเหตุ : ลูกน้อยของคุณจะได้รับการตรวจแบบ ABR ก็ต่อเมื่อการตรวจ OAE ไม่ผ่าน

 

 

เมื่อตรวจพบว่า ลูกมีการสูญเสียการได้ยิน

ควรทำอย่างไร?


 

      การสูญเสียการได้ยินถาวรไม่สามารถกู้คืนได้ และมักจะเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดจากประสาทหูหรือเซลล์ขนเล็กๆ ของหูชั้นใน สำหรับคนส่วนใหญ่ ทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดคือ การใส่เครื่องช่วยฟังอย่างเหมาะสม และในบางกรณี อาจแนะนำการผ่าตัดประสาทหูเทียม

kid-playing

 

      การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดเป็นวิธีที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาในระยะแรก หากสามารถวินิจฉัยการสูญเสียการได้ยินและดำเนินการรักษาภายใน อายุ 6 เดือน จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูด ภาษา อารมณ์และสังคมอย่างเหมาะสม

 

 

      การสูญเสียการได้ยินในเด็ก ไม่ว่าจะทั้งสองข้างหรือข้างเดียว ในระดับเล็กน้อยหรือระดับรุนแรง มีผลต่อพัฒนาการทางภาษาที่ช้ากว่าเด็กที่มีการได้ยินปกติ โดยเฉพาะทักษะการฟังและแยกเสียง รวมถึงทักษะในการรับรู้ และแสดงออกของภาษา เพราะฉะนั้นการได้ยินในวัยเด็ก จึงสำคัญ

 

 

      หากคุณสงสัยว่า บุตรหลาน หรือคนใกล้ชิดสูญเสียการได้ยิน โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินหรือนักโสตสัมผัสวิทยาใกล้บ้านคุณ ยิ่งคุณได้รับการรักษาเร็วเท่าไหร่ ผลลัพธ์ของคุณก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ เด็กพัฒนาการช้า พูดช้า เด็กไม่พูด

ปรึกษาด้านพัฒนาการเด็ก ลูกไม่พูด พูดช้า ปัญหาพฤติกรรมเด็ก

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ยินดีให้คำปรึกษาด้านการได้ยิน
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

 


ขอขอบคุณข้อมูล : healthyhearing.com, หนังสือคำแนะนำการคัดกรอง การได้ยินในทารกแรกเกิดของประเทศไทย [หน้า 14, 2562] 

 

ลูกไม่ได้ยิน เด็ก ทารก ตรวจคัดครองการได้ยิน

 

        ทารกแรกเกิด 1,000 คน จะมี 1.7 คนที่เกิดมาพร้อมกับความพิการทางการได้ยิน ทารกแรกเกิดทุกคนจึงควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน ภายใน 14 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาพัฒนาการทางภาษา และปัญหาสติปัญญาล่าช้า

 

ทารกกลุ่มเสี่ยงต่อความพิการทางการได้ยิน

  1. เด็กที่มีคนในครอบครัว/ญาติที่หูหนวก หูตึง ตั้งแต่เล็ก
  2. มารดามีการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
  3. เด็กมีความผิดปกติของใบหู ใบหน้าและคอ
  4. เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม
  5. แรกเกิดมีปัญหาการหายใจลำบาก
  6. เด็กตัวเหลืองเมื่อแรกเกิด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ต้องรักษาโดยการถ่ายเลือด )
  7. เด็กที่เคยเข้ารับการรักษาในหน่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต (NICU)
  8. เด็กที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  9. ได้รับยาซึ่งอาจเป็นพิษต่อเส้นประสาทหู

 

พัฒนาการของเด็กที่มีการได้ยินปกติ


        นอกจากการพาลูกไปตรวจคัดกรองการได้ยินแล้ว พ่อแม่ทุกท่านสามารถสังเกตการตอบสนองต่อเสียงของลูกในช่วงอายุต่างๆ ดังนี้

 

แรกเกิด – 3 เดือน
  • สะดุ้ง ตื่น ร้องไห้ ลืมตาโต หยุดดูดนม เมื่อได้ยินเสียงดัง
  • หันหาเสียงดัง หยุดนิ่งฟัง
อายุ 3 – 6 เดือน
  • เงียบ ยิ้ม ตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคย
  • หันหน้า กรอกตามองหาเมื่อได้ยินเสียงพูด
อายุ 6 – 12 เดือน
  • หันไปหาเสียงพูดที่คุ้นเคยทันที
  • แสดงท่าทาง ทำตามคำสั่งง่ายๆ เข้าใจคำว่า “ บ๊าย – บาย ”
  • มองหาเมื่อได้ยินเสียงแปลกๆ
  • ชี้หรือหยิบของได้เมื่อท่านบอก
อายุ 1 – 1 ½ ปี
  • เริ่มคำพูดง่ายๆ ได้, พูดเป็นคำ 1 พยางค์
อายุ 2 ปี
  • ทำตามคำสั่งง่ายๆได้, พูดคำ 2 พยางค์

 

ทำไมจึงควรพาลูกไปตรวจคัดกรองการได้ยิน?

  • ถ้าตรวจพบว่า ลูกของท่านมีความผิดปกติทางการได้ยิน แพทย์หรือนักแก้ไขการได้ยินจะทำการตรวจดูภายในช่องหู เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นและแก้ไข เช่น กรณีขี้หูอุดตัน แพทย์จะทำการใช้เครื่องมือดูดขี้หูออก หรือถ้าลูกของท่านมีปัญหาหูชั้นกลางอักเสบ แพทย์จะรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
  • ลูกของท่านอาจจะต้องได้รับการตรวจการได้ยินซ้ำ กรณีผลตรวจการได้ยินระบุว่าผิดปกติ
  • หากพบว่าลูกของท่านมีปัญหาการได้ยินบกพร่อง แพทย์จะแจ้งและดำเนินการใส่เครื่องช่วยฟังให้กับลูกของท่าน เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

การใส่เครื่องช่วยฟังตั้งแต่เนิ่น ๆ ดีอย่างไร

        เด็กที่มีปัญหาการได้ยินบกพร่อง และได้รับการใส่เครื่องช่วยฟังก่อนอายุ 6 เดือน จะมีการพัฒนาทางด้านการพูด ภาษา และสังคม ดีกว่าเด็กที่ใส่เครื่องช่วยฟังช้า

 

 


เราพร้อมให้คำปรึกษา เพื่อสุขภาพการได้ยินของทุกคนในครอบครัว

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai