Posts

ภาคเหนือ ไข้หูดับ ปีพ.ศ.2564

 

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้หูดับในประเทศไทย
ฉบับที่ 21/2564 ประจำสัปดาห์ที่ 22 (วันที่ 30 พ.ค. – 5 มิ.ย. 64)

 

รายงานพบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 171 ราย

เสียชีวิต 11 ราย

 

กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงาน ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี รองลงมาคือ อายุ 55 – 64 ปี และอายุ 45 – 54 ปี ตามลำดับ อาชีพที่พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ คือ รับจ้าง รองลงมาคือ เกษตรกร ภาคที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ ภาคเหนือ รองลงมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ นครราชสีมา และสุโขทัย ตามลำดับ

 

      พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคไข้หูดับเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมและวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการป่วยด้วยโรคไข้หูดับ โรคไข้หูดับเกิดจาก เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis)

 

โรคไข้หูดับ สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ


1. การบริโภคเนื้อหมู และเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ

2. การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ ทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค ติดต่อผ่านทางบาดแผล รอยถลอก และทางเยื่อบุตา

 

 

อาการหลังได้รับเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส ซูอิส หรือไข้หูดับ ในไม่กี่ชั่วโมง จนถึง 5 วัน


  • มีไข้สูง
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้
  • อาเจียน
  • ถ่ายเหลว
  • คอแข็ง
  • สูญเสียการได้ยินถึงขั้นหูหนวกถาวร
  • ข้ออักเสบ
  • เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังติดเชื้อรุนแรง
  • ติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้

 

กลุ่มเสี่ยงที่เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ

 

กรมควบคุมโรค แนะนำวิธีป้องกันโรคไข้หูดับ ดังนี้


  1. ควรรับประทานหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น และเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาวหรือสีคล้ำ ล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังสัมผัส หากรับประทานอาหารปิ้งย่าง ขอให้ทำให้สุกก่อนเสมอ และแยกอุปกรณ์ที่ใช้หยิบเนื้อหมูสุกและดิบ
  2. ผู้ที่สัมผัสกับหมู โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมใส่เสื้อและกางเกงที่ปกปิดมิดชิด ใส่รองเท้าและ ถุงมือทุกครั้งเมื่อเข้าไปทำงานในคอกสุกร หลีกเลี่ยงการจับซากสุกรที่ตายด้วยมือเปล่า ล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด  และผู้จำหน่าย ควรจำหน่ายเนื้อหมูที่มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ทำความสะอาดแผงด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อทุกวันหลังเลิกขาย และเก็บเนื้อหมูที่จะขายในอุณหภูมิที่ตํ่ากว่า 10°C

 

      ทั้งนี้ หากมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังสัมผัสหมูที่ป่วยหรือรับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูไม่สุก ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการรับประทานหมูดิบให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดอัตราการหูหนวกและการเสียชีวิตได้

 

ข้อมูล : สายด่วนกรมควบคุมโรค สอบถามเพิ่มเติมได้ โทร. 1422

 

 

 


เราพร้อมให้คำปรึกษาปัญหาการได้ยิน หูหนวก หูดับ

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

Pork Streptococcus Suis

 

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 19 ตุลาคม 2561

พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หูดับแล้ว 274 ราย เสียชีวิต 26 ราย โดยยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งพบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 317 ราย เสียชีวิต 15 ราย

 

       ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาอายุ 45 – 54 ปี  ภาคเหนือมีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดถึง 199 ราย หรือเกือบ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยทั้งหมด และจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ พะเยา อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ และสระแก้ว ตามลำดับ

 

ไข้หูดับ

 

โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “สเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis)

โดยเชื้อจะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย เป็นเชื้อที่สามารถติดจากหมูสู่คนได้ ซึ่งมีการรายงานเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2511


โรคนี้ติดต่อได้ 2 ทาง คือ

  1. การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ รวมทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมู โดยติดต่อสู่คนทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกาย หรือทางเยื่อบุตา
  2. การบริโภคเนื้อหมู และเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ ที่มีเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะมีอาการหลังรับประทาน 3 – 5 วัน บางรายแสดงอาการหลังจากรับประทานภายใน 1 วัน ซึ่งเชื้อจะเข้าไปทำให้เยื่อหุ้มสมอง เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาจทำให้ประสาทหูทั้ง 2 ข้างอักเสบและเสื่อมจนหูหนวกถาวร และอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

 

วิธีป้องกันโรคไข้หูดับ คือ

  • กินเนื้อหมูปรุงสุกเท่านั้น และควรเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์
  • ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรค โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมรองเท้า บู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง

 

อาการของโรคไข้หูดับ คือ

ไข้สูง  ปวดศีรษะอย่างรุนแรง  เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภายหลังสัมผัสหมูที่ป่วย หรือหลังกินอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูดิบ หรือ สุกๆ ดิบๆ ให้รีบพบแพทย์ทันที และบอกประวัติการกินหมูดิบให้ทราบ เพราะหากมาพบแพทย์เร็วจะช่วยลดอัตราการหูหนวกและการเสียชีวิตได้ และโรคนี้สามารถรักษาหายและมียารักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ

ข้อมูล : สายด่วนกรมควบคุมโรค สอบถามเพิ่มเติมได้ โทร. 1422

 

สำหรับผู้ป่วยโรคไข้หูดับ ที่สูญเสียการได้ยินแล้วนั้น ท่านสามารถกลับมาได้ยินอีกครั้ง ด้วยวิธีการ การผ่าตัดประสาทหูเทียม  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นประสาทการได้ยิน และผ่านไปยังสมองโดยตรง

ประสาทหูเทียม เชียงใหม่ หูหนวก

 

 

เราพร้อมให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่มีอาการหูดับ หรือมีปัญหาการได้ยิน

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

หูดับ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ประสาทหูเทียม เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง

     พอพูดถึงลาบหมู หลายคนคงน้ำลายไหลอยากทานขึ้นมาเลยใช่ไหมครับ? แต่ทราบไหมครับว่า “ลาบหมูดิบ” อาจทำให้คุณถึงตายได้! และหลายรายก็มีอาการ “หูดับ” จนไม่ได้ยินเสียงอะไรเลยแม้แต่นิด เนื่องจากการติดเชื้อจนอักเสบลุกลาม ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

 

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากอะไร?

     บางคนอาจเรียกว่า โรคไข้หูดับ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสสเต็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ที่เกิดจากการกินลาบหมูดิบ เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็สามารถกระจายไปยังเยื่อหุ้มสมองได้ โดยจะแสดงอาการดังนี้

  • ไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ อาเจียน ซึ่งจะเปิดหลังการรับเชื้อไป 2-5 วัน
  • ประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้ จะมีอาการหูดับหลังการรับเชื้อไป 3-5 วัน
  • บางรายมีอาการแสดงออกทางผิวหนัง เช่นอาการจ้ำเลือด เลือดออกใต้ผิวหนัง
  • อาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ไตวาย โลหิตเป็นพิษ

แล้วจะป้องกันอย่างไรดี?

  • หลีกเลี่ยงการทานลาบ หลู้ ที่ใช้ส่วนประกอบจากหมูดิบ เช่นเนื้อหมูดิบ เลือดหมู
  • เมื่อมีแผล ต้องระมัดระวังในการสัมผัสกับเนื้อหมู
  • หากเลี้ยงหมู ควรดูแลสถานที่ให้ถูกสุขอนามัย และสวมถุงมือ สวมรองเท้าบู๊ท ระหว่างปฏิบัติงาน
  • เลือกซื้อเนื้อหมูจากสถานที่ที่ไว้ใจได้ และไม่เลือกเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ

 

ถ้าหูดับจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะกลับมาได้ยินได้ไหม?

     ถ้าหูดับหรือหูหนวก โดยส่วนมากแล้วเซลล์รับเสียงในหูชั้นในจะถูกทำลายไปจนไม่เหลือพอที่จะทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงจากเครื่องช่วยฟังได้

 

อีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาคือ การผ่าตัดประสาทหูเทียม

ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นประสาทการได้ยิน และผ่านไปยังสมองโดยตรง

ประสาทหูเทียม เชียงใหม่ หูหนวก

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับประสาทหูเทียม คลิกที่นี่

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ เรื่องการเบิกประสาทหูเทียม คลิกที่นี่

 

 

เราพร้อมให้คำปรึกษาหูดับ ประสาทหูเทียม

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai