เรามักได้ยินบ่อยๆ ว่า แก่แล้วหูไม่ได้ยิน หรือแก่แล้วหูตึงบ้างล่ะ ความจริงแล้วอาการหูไม่ได้ยิน ไม่เพียงเกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น อาการหูไม่ได้ยินเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แต่เรามักพบในวัยผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ อาจเนื่องมาจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น โรคประจำตัว หรือแม้แต่กรรมพันธุ์
ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้มนุษย์เรามีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น เทคโนยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างเครื่องช่วยฟังเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือและฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน ให้กับผู้บกพร่องทางการได้ยินกลับมาได้ยินและสามารถใช้ชีวิตตามแบบฉบับของตน
รู้หรือไม่?
สูญเสียการได้ยินเกี่ยวข้องกับอายุ พบบ่อยที่สุดในโลก
การสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวข้องกับอายุ หรือ ประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Age-related hearing loss หรือ Presbycusis) เป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของการสูญเสียการได้ยินทั่วโลก และจะสังเกตได้ชัดเจนเมื่ออายุประมาณ 60 ปี การสูญเสียการได้ยินมักเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปในหูทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ผู้สูงอายุอาจไม่รู้ว่าสูญเสียความสามารถในการได้ยินบางส่วนไป
คำถามต่อไปนี้ จะช่วยคัดกรองผู้สูงอายุที่บ้านของคุณ
ว่ามีปัญหาการได้ยินหรือไม่?
Presbycusis หรือ
Age-Related hearing loss
การสูญเสียการได้ยินเกี่ยวข้องกับอายุ
จัดอยู่ในประเภทการสูญเสียการได้ยินจากประสาทสัมผัส เป็นการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ที่เกิดจากความเสียหายภายในหูชั้นใน (คอเคลีย) หรือเส้นประสาทหูที่เชื่อมโยงไปยังสมอง ทำให้สูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งส่งผลต่อเสียงแหลมในช่วงแรก และจะสังเกตเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในการได้ยินเมื่อเวลาผ่านไป
อาการทั่วไป ได้แก่ การได้ยินเสียงที่เบาลง เสียงของเด็กฟังยากขึ้น และมีปัญหาการสนทนาในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวน เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Presbycusis
การได้ยินเสื่อมถอยตามอายุ ได้แก่
• กรรมพันธุ์ : ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน หากสมาชิกในครอบครัวของคุณบางคนสูญเสียการได้ยินเมื่ออายุมากขึ้น คุณก็มีโอกาสเป็นโรคนี้เช่นกัน
• ยาเป็นพิษต่อหู : ผลข้างเคียงของยาบางชนิด สร้างความเสียหายให้กับหูชั้นใน
• การสัมผัสเสียงดัง : การทำงานในพื้นที่เสียงดังเกินค่ามาตรฐานเป็นระยะเวลานานๆ งานวิจัยเผยให้เห็นว่าผู้ที่สูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง มักจะสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวข้องกับอายุที่รุนแรงมากขึ้น
• โรคประจำตัว : โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก (Stroke)
หูไม่ได้ยิน คุณภาพชีวิตลดลง
Presbycusis หูไม่ได้ยิน เนื่องด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นในผู้สูงอายุ เป็นมากกว่าการจำกัดความสามารถในการได้ยิน แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง ปัญหาในการได้ยินอาจสร้างความกังวลในการพูดคุยกับผู้อื่น สร้างความเครียดและความเหนื่อยล้าในการทำความเข้าใจสิ่งที่พวกเขากำลังพูด งานวิจัยระบุว่า การมีภาวะ Prebycusis ที่ไม่ได้รับการรักษาเชื่อมโยงกับปัญหาต่างๆ เช่น ความรู้สึกโดดเดี่ยว ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หวาดระแวง การรับรู้ลดลง และความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงในการแยกตัวออกจากสังคม และเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม
เทคโนโลยีช่วยเหลือการได้ยิน
ภาวะ Presbycusis ในผู้สูงอายุ
เครื่องช่วยฟัง เป็นแนวทางการรักษาการสูญเสียการได้ยินให้กลับมาได้ยิน ชะลอความเสื่อมถอยทางการได้ยินให้ช้าลง เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังจะเข้ามาช่วยเหลือการได้ยินและสร้างความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุ ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว ให้ผู้สูงอายุกลับเข้าสู่สังคมได้มากที่สุดเท่าที่ควรจะเป็น และยังสร้างความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน รับรู้เสียงเตือนภัยอันตราย เช่น ไฟไหม้ ไซเรน เสียงแตรรถ เสียงน้ำไหลที่อาจหลงลืมจากการเปิดน้ำทิ้งไว้ เสียงน้ำเดือดจากกาต้มน้ำ เสียงไมโครเวฟที่กำลังอุ่นอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ การจัดสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้เอื้ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้ม การบาดเจ็บจากการเดินชนสิ่งของได้
เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังในปัจจุบันทำงานด้วยไมโครชิป แม่นยำ และปลอดภัยตลอดการสวมใส่ สามารถปรับรายละเอียดเสียงได้ตามไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุ ไมโครโฟนสองตัวช่วยจับทิศทางเสียง เพิ่มการรับรู้ให้กับผู้สูงอายุ เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน สะดวกสบายในการสื่อสาร และเพลิดเพลินกับสาระความบันเทิง
เลือกเทคโนโลยีช่วยเหลือการได้ยิน
สร้างความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุ และครอบครัวของคุณ
เทคโนโลยีการแพทย์ที่ก้าวหน้า อายุที่ยืนยาว สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุของคุณ
หากคุณกังวลเกี่ยวกับการได้ยินของผู้สูงอายุที่บ้าน เริ่มต้นด้วยการพาผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจการได้ยิน
นัดหมายตรวจการได้ยิน ผู้สูงอายุ
ขอขอบคุณข้อมูล : www.audiology.org, www.my.clevelandclinic.org, www.nidcd.nih.gov
สิทธิพิเศษ! มอบสุขภาพการได้ยินดีให้กับ คุณแม่ อายุ 60 ปี ขึ้นไป
ลงทะเบียน Hearing Program for Mom รับบริการพิเศษ โปรแกรมตรวจการได้ยินสำหรับคุณแม่ จากอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
ลงทะเบียน…วันนี้ – 31 สิงหาคม 2567 (กรณีตรวจ Refer. จากแพทย์ ไม่เข้าร่วมรายการ)
• Otoscope ตรวจหาความผิดปกติภายในช่องหู
• ตรวจการได้ยิน เพื่อเฝ้าระวังภาวะ Presbycusis ในผู้สูงอายุ
• ตรวจการได้ยิน เพื่อหาแนวทางป้องกันและรับมือภาวะ Presbycusis ในผู้สูงอายุ