Posts

หูสองข้างได้ยินเท่ากันหรือไม่

 

หลายคนอาจมีข้อสงสัย….

      หูทั้งสองข้าง ได้ยินเท่ากันหรือไม่? เท้าข้างหนึ่งของคุณมักจะใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่งเล็กน้อย เช่นเดียวกับสายตาที่สั้นหรือยาวกว่ากันเล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หูข้างหนึ่งอาจได้ยินดีกว่าอีกข้างหนึ่ง แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

 

¹งานวิจัยค้นพบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางหูขวา มีปัญหาในการเรียนในโรงเรียนมากกว่าเด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูซ้าย

 

 

หูซ้าย และหูขวา

หูทั้งสองข้าง รับรู้เสียงแตกต่างกัน


      ¹Yvonne Sininger, Ph.D. ศาสตราจารย์ด้านศัลยศาสตร์ศีรษะและคอ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ร่วมกับทีมงาน ได้ทำการศึกษาการได้ยินของทารกแรกเกิดมากกว่า 3,000 ราย ก่อนออกจากโรงพยาบาล พวกเขาพบว่า หูข้างซ้ายปรับเข้ากับเสียงดนตรีได้ดีกว่า และหูข้างขวารับเสียงคล้ายเสียงพูดได้ดีกว่า

      การวิจัยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างที่เริ่มต้นที่หู “เราคิดเสมอว่าหูซ้ายและขวาของเราทำงานในลักษณะเดียวกัน” Sininger กล่าว ด้วยเหตุนี้ เรามักจะคิดว่ามันไม่สำคัญว่าหูข้างไหนที่มีความบกพร่องในตัวบุคคล ตอนนี้เราเห็นว่ามันอาจมีความหมายอย่างลึกซึ้งต่อพัฒนาการทางการพูดและภาษาของแต่ละคน

      การค้นพบนี้จะช่วยให้แพทย์ พัฒนาการพูดและภาษาในทารกแรกเกิดที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและฟื้นฟูผู้ที่สูญเสียการได้ยิน

 

hearing-loss-in-child

หูซ้ายจะรับข้อมูลโทนเสียงต่างๆ เสียงดนตรี อารมณ์ และสัญชาตญาณได้ดีกว่า ในขณะที่หูขวาจะรับเสียงคำพูดและตรรกะได้ดีกว่า

 

นั่นอาจอธิบายได้ว่า…

 

     ³ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างซ้ายมาก อาจพบว่าตัวเองไม่สามารถเข้าใจอารมณ์หรือการโต้เถียงของสมาชิกในครอบครัวได้น้อยลง ในขณะที่ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างขวามาก อาจสูญเสียความสามารถในการให้เหตุผลเชิงตรรกะบางส่วน หรือการแยกแยะสิ่งต่างๆ ลดลง

 

 ซึ่งตรงข้ามกับสมองของมนุษย์เรา กล่าวคือ…

 

      ²สมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะเหตุผล การมีวิจารณญาณ ตัวเลข ภาษา และสมองซีกขวา (Right Hemisphere) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ การจินตนาการ ดนตรี ศิลปะ อารมณ์

      สอดคล้องกับงานวิจัย ในปี ค.ศ. 1960 ของ Roger W. Sperry ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ได้ศึกษาสมองสองซีกของมนุษย์ และค้นพบว่า สมองทั้งสองซีกจะทำงานกลับข้างกัน สมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของร่างกายทางด้านขวา และสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของร่างกายทางด้านซ้าย

 

Brain-and-hearing

การทำงานของสมอง และการรับเสียงของหู

 

      ¹นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ Cone-Wesson แห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนา ผู้วิจัยร่วมกับ Sininger ยังอธิบายว่า “หากบุคคลใดหูหนวกอย่างสมบูรณ์ การค้นพบของเราอาจเสนอแนวทางแก่ศัลยแพทย์ในการใส่ประสาทหูเทียมในหูข้างซ้ายหรือข้างขวาของแต่ละคน และมีอิทธิพลต่อวิธีตั้งโปรแกรมประสาทหูเทียมหรือเครื่องช่วยฟังเพื่อประมวลผลเสียง” Cone-Wesson อธิบาย “โปรแกรมประมวลผลเสียงสำหรับอุปกรณ์ช่วยฟังสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับหูแต่ละข้างได้ เพื่อให้ได้สภาวะที่ดีที่สุดสำหรับการได้ยินเสียงคำพูดหรือเสียงดนตรี”

  

 

การให้ข้อมูลของคุณกับผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินและเครื่องช่วยฟัง จะเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม รวมถึงการปรับแต่งเสียงเพื่อการใช้งานเครื่องช่วยฟังของคุณให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

ทดสอบการได้ยิน ปรึกษาการเลือกเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

 


ขอขอบคุณข้อมูล :    ¹University Of California – Los Angeles, Left And Right Ears Not Created Equal As Newborns Process Sound. ScienceDaily. [2004, Sep10]., ²กลไกสมองสองซีกกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์. ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย, 2559, healthyhearing.com
คาเฟอีน กาแฟ กับการได้ยิน

คาเฟอีนกับการได้ยิน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ดื่มกาแฟมีผลกับการได้ยิน เสียงดังในหู หูอื้อ โรคน้ำในหูไม่เท่ากันหรือไม่ ควรดื่มกาแฟเครื่องดื่มคาเฟอีนอย่างไรให้ปลอดภัย

ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน

 

หู คือ อวัยวะในการรับฟังเสียง

ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน

 

       การเสื่อมของประสาทหูเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย โดยส่วนใหญ่แล้วมักพบในวัยสูงอายุ สำหรับโรคประสาทหูเสื่อม ชนิดเฉียบพลัน หรือ โรคหูดับฉับพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของประสาทหูชั้นใน เกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ระดับการได้ยินลดลงอย่างรวดเร็ว บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเสียงดังในหู (เสียงจั๊กจั่น จิ้งหรีด) หูอื้อ เวียนศีรษะ อาเจียน เสียการทรงตัว เป็นต้น

 

ประสาทหูเสื่อม ชนิดเฉียบพลัน แบ่งได้ 2 สาเหตุ ดังนี้


แบบไม่ทราบสาเหตุ

  1. การติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหัดเยอรมัน งูสวัด คางทูม ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ
  2. การอุดตันของหลอดเลือดที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงหูชั้นใน
  3. การรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าไปยังหูชั้นกลาง เช่น การสั่งน้ำมูก/ไอ แบบรุนแรง

แบบทราบสาเหตุ

  1. การบาดเจ็บ เช่น ศีรษะกระแทก การผ่าตัดหู ความดันชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลง
  2. เนื้องอก
  3. การติดเชื้อของหูชั้นใน เช่น การอักเสบ
  4. สารพิษ/พิษจากยา เช่น ยาแอสไพริน ยาขับปัสสาวะ ยาบางชนิดอาจทำให้ประสาทหูเสื่อมอย่างถาวร เช่น ยาต้านจุลชีพกลุ่ม อะมิโนไกลโคไซด์ (สเตรปโตมัยซิน กานามัยซิน เจนตามัยซิน นีโอมัยซิน อะมิกาซิน) อาจเกิดทันทีหลังจากการใช้ยา หรือหลังจากหยุดยาไประยะหนึ่งแล้ว
  5. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

 

ขั้นตอนการรักษาประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน


       ในกรณีผู้ป่วยที่ทราบสาเหตุ แพทย์จะทำการรักษาโดยให้ยารักษาตามอาการ และกรณีผู้ป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วใน 2 สัปดาห์แรก หลังจากมีอาการ และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยสามารถกลับมาได้ยินเป็นปกติได้ (ส่วนใหญ่การได้ยินมักจะดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกของการสูญเสียการได้ยิน)

       แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยตรวจวัดระดับการได้ยินเป็นระยะๆ เพื่อประเมินผลการรักษา และอาจนัดติดตามผู้ป่วยในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยบางรายไม่ทราบสาเหตุ อาจพบสาเหตุในภายหลังได้

 

นอกจากนั้นผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น

โดย;-

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดัง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด ควรควบคุมโรคให้ดี
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น แอสไพริน อะมิโนไกลโคไซด์ ควินิน
  • หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
  • ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน) งดสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล
  • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ

 

ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ และแนวทางการรักษาโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน

 

 

 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน เราพร้อมให้คำปรึกษา

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai