Posts

Thai Languages-Specific Targets

 

รู้หรือไม่ ทั่วโลกเรามีภาษาในการพูดสื่อสารมากกว่า 7,000 ภาษา ซึ่งภาษาพูดที่ใช้กันมากที่สุดคือ ภาษาอังกฤษ และรองลงมาคือ ภาษาจีนแมนดาริน

 

2022 languages with the most speakers

ข้อมูลจาก Ethnologue, 2022

 

    การสื่อสารด้วยภาษาพูดในแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงการพูด ความหนักเบาของน้ำเสียง หรือแม้แต่ความเร็วในการพูด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการรับฟังเสียงสำหรับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง

 

 

 

 

Language Specific Targets

ระบบการตั้งค่าเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ

คิดค้นและพัฒนาโดย Marshall Chasin, AuD และ Neil S. Hockley, MSc


language specific targets

ซอฟต์แวร์ Bernafon’s Oasis fitting รองรับกว่า 7,000 ภาษา

      Language Specific Targets เป็นระบบที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์การตั้งค่าเครื่องช่วยฟังของ Bernafon ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านภาษาในการฟังโดยใช้ปัจจัยทางภาษาศาสตร์ เพื่อสร้างสัญญาณเสียงพูดให้เหมาะสมกับภาษาของผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง

    ระบบการตั้งค่านี้รองรับภาษามากกว่า 7,000 ภาษา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาไทย ภาษาละติน ฯลฯ (สอบถามผู้ให้บริการเครื่องช่วยฟังของท่าน)

 

 

เปรียบเทียบภาษาพูด ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาเกาหลี

การค้นคว้าของ Dr.Marshall Chasin, Au.D., Reg. CASLPO, AuD(C), Unpublished data, 2010.


English result

English: ‘‘My mother is at home.’’ Note the higher intensity of the entence final object as compared with the sentence final elements in Korean. Unpublished data from Chasin (2010).

Korean result

Korean: ‘‘A pretty picture is hanging on the wall.’’ Actual Korean word order: ‘‘A pretty picture the wall on is hanging.’’ The phrase ‘‘on is hanging’’ has significantly lower intensity than the sentence initial subject. Unpublished data from Chasin (2010).

 

       จากการค้นคว้าของ Dr.Marshall Chasin ได้เผยให้เห็นถึงความเข้มของเสียงในรูปประโยคสุดท้ายของภาษาอังกฤษ (object) ที่มีความเข้มสูงกว่ารูปประโยคสุดท้ายของภาษาเกาหลี (Verb)

       และในรูปประโยคภาษาเกาหลี วลี ‘‘on is hanging’’ (Verb) มีความเข้มของเสียงต่ำกว่าประโยคแรก (Subject) อย่างมีนัยสำคัญ

 

Eng VS Korean

ภาพกราฟแสดงระดับความดังเสียงในการ input/output (dB SPL) ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาเกาหลี

         ทั้งนี้จากภาพกราฟแสดงถึงระดับความดังเสียง ในการ input/output (dB SPL) ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาเกาหลี ที่แตกต่างกัน

      Language Specific Targets ระบบการตั้งค่าภาษานี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังคนเกาหลี สามารถรับฟังเสียงได้ง่ายขึ้น

 

 

นอกจากนี้ Dr.Marshall Chasin ได้ยกตัวอย่างระดับความถี่เสียงที่ใช้ในภาษาอื่นๆ สำหรับผู้ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ ไว้ดังนี้

Compare Languages

ภาพตารางแสดงระดับความถี่เสียงกับภาษาอื่นๆ

 

 

Language Specific Targets ระบบการตั้งค่าภาษา จะช่วยให้ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังรับฟังเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ความหนักเบาของเสียง  ฯลฯ ในภาษาภูมิภาคของตนได้ง่ายขึ้น

 

 


ทดลองฟัง เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง Bernafon พร้อมการตั้งค่าผู้ใช้งานภาษาไทย

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai hearingchiangmai Line: @hearingchiangmai

เครื่องช่วยฟังกำลังขยายสูง LEOX
Viron Hearing Aids by Intimex
เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง DFC ตัดเสียงหวีดรบกวน

 

อีกหนึ่งปัญหาของผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟัง คือ

เสียงหวีดรบกวน

 

         ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอิริยาบถใด หรือมีสิ่งใดเข้าใกล้กับเครื่องช่วยฟังของคุณ เครื่องก็มักจะส่งเสียงหวีด (Feedback) รบกวนออกมาทำให้คุณรู้สึกรำคาญ และในบางครั้งยังทำให้คุณรู้สึกขาดความมั่นใจต้องคอยกังวลว่าจะมีเสียงหวีดรบกวนระหว่างการสนทนา หรือสร้างความรำคาญให้กับผู้คนรอบข้างหรือไม่

 

 

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง 

Dynamic Feedback Canceller™ (DFC™)


Dynamic Feedback Canceller datapoint

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง Dynamic Feedback Canceller™ วิเคราะห์สัญญาณสูงสุด 126,000 ครั้งต่อวินาที

      DFC™ เทคโนโลยีตัดเสียงรบกวนอย่างรวดเร็วที่มีอยู่ในเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอลคุณภาพสูงจากเบอร์นาโฟน (Bernafon) ประมวลผลด้วยไมโครชิปใหม่ (Microchip) เทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคุณ

 

ด้วยการขจัดเสียงหวีดรบกวนออกจากเครื่องช่วยฟัง ภายใน 22 มิลลิวินาที*

 

 

 

        หากคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องใส่เครื่องช่วยฟัง สวมหมวก สวมแว่นตา คุยโทรศัพท์ หรือแม้แต่การโอบกอดคนรักของคุณเป็นประจำ เทคโนโลยี DFC™ จะช่วยเสริมสร้างการมีบุคลิกภาพที่ดีให้กับคุณ ให้คุณไม่ต้องคอยกังวลเสียงหวีด (Feedback) จากเครื่องช่วยฟังที่จะคอยรบกวน สร้างความรำคาญให้กับตัวคุณเองและคนรอบข้าง อีกทั้งยังช่วยให้คุณไม่พลาดกับบทสนทนาสำคัญๆ

 

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง

 

เรียนรู้เทคโนโลยี DFC™ เทคโนโลยีขจัดเสียงหวีดรบกวนอย่างรวดเร็ว ที่มีอยู่ในเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง รุ่น Viron และ Leox

 

 


ขอรับข้อมูลเครื่องช่วยฟังเทคโนโลยี DFC™ และทดลองฟัง ได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร : 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

ความแตกต่าง เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง vs เครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคา

      

 

เครื่องช่วยฟัง ไม่ว่าจะราคาถูกหรือราคาแพงต่างมีหลักการทำงานเดียวกัน คือ การขยายเสียง

 

 

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เครื่องช่วยฟังมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลากหลายราคา และหลากหลายคุณสมบัติในการทำงาน เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของแต่ละคน และแน่นอนว่าเครื่องช่วยฟังที่มีราคาแพง ย่อมมีฟังก์ชันการทำงานที่มากกว่าเครื่องช่วยฟังราคาถูก

 

การเลือกเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินหรือบกพร่องทางการได้ยิน นอกจากปัจจัยในเรื่องราคาเครื่องช่วยฟังแล้ว ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใส่เครื่อง คือ เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้วสามารถพูดคุยสื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้อย่างเข้าใจ ใส่เครื่องแล้วฟังสบาย และที่สำคัญคือช่วยให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายขึ้นกว่าการไม่ใส่เครื่อง

 

 

ความแตกต่างของ
เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง vs เครื่องช่วยฟังทั่วไป

เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง เครื่องช่วยฟังทั่วไป อนาล็อก อินเทอร์เน็ต ร้านขายยา

 

เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง เครื่องช่วยฟังทั่วไป
  • ซื้อได้ ณ ศูนย์จำหน่ายเครื่องช่วยฟัง
  • ต้องตรวจวัดระดับการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล (Digital) มี ไมโครชิพ ที่ช่วยขยายเสียงให้เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยินในแต่ความถี่เสียง สามารถแยกสัญญาณเสียงคำพูดออกจากสัญญาณเสียงรบกวนได้ ช่วยให้ฟังเสียงคำพูดได้ชัดเจนกว่าเสียงรบกวนรอบข้าง
  • สามารถปรับรายละเอียดของเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ได้อย่างละเอียด ด้วยซอฟแวร์การปรับเสียงโดยเฉพาะ ช่วยให้มีความแม่นยำมากขึ้น
  • สามารถปรับเสียงตามผลการได้ยิน เพื่อถนอมการได้ยิน
  • มีปุ่ม เพิ่ม – ลด เสียง และปุ่มเปลี่ยนโปรแกรมการฟัง เลือกโปรแกรมเฉพาะการฟังให้เหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ได้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร เสียงช้อนส้อมกระทบกัน โบสถ์ ฯลฯ
  • ราคาค่อนข้างสูง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน
  • ขนาด สี รูปร่าง ดีไซน์ที่ทันสมัย
  • การบริการหลังการขาย (สอบถามกับผู้จำหน่าย)
  • ซื้อได้ตาม ร้านขายยา อินเทอร์เน็ต ซื้อใส่เองได้เลย
  • ไม่ต้องตรวจวัดระดับการได้ยิน
  • มีทั้งเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล หรือระบบอนาล็อก การขยายเสียงไม่ยืดหยุ่นตามระดับการสูญเสียการได้ยินในแต่ละความถี่เสียง (กรณีระบบอนาล็อก ขยายเสียงด้วย ตัวขยายเสียง และจะขยายทุกเสียงเท่าๆ กัน ทั้งเสียงคำพูดและเสียงรบกวน ใส่แล้วอาจรู้สึกรำคาญได้)
  • ไม่สามารถปรับรายละเอียดของเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ได้ และไม่มีซอฟแวร์การปรับแต่งเสียง
  • ไม่สามารถปรับเสียงตามผลการได้ยิน
  • มีปุ่ม เพิ่ม – ลด เสียง และปุ่มเปลี่ยนโปรแกรมการฟัง เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปถูกตั้งค่าจากโรงงาน ไม่สามารถปรับรายละเอียดเสียงเพิ่มได้
  • ราคาถูก ตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน
  • รูปแบบเครื่องช่วยฟังทั่วไป
  • ส่วนใหญ่ไม่มีบริการหลังการขาย (สอบถามกับผู้จำหน่าย)

 

เลือกเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง-vs-เครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคาทั้งนี้ การเลือกเครื่องช่วยฟังไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง หรือเครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคาถูกหรือราคาแพง ควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่ใส่แล้วพอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ประเภทและกำลังขยายของเครื่องจะต้องรองรับระดับการสูญเสียการได้ยิน และคุณสมบัติของเครื่องจะต้องเหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้การใส่เครื่องช่วยฟังเกิดประโยชน์สูงสุด

 

หากเลือกเครื่องช่วยฟังที่ไม่พอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน เมื่อใส่เครื่องไปแล้วอาจสร้างความรำคาญในการรับฟังเสียง ฟังแล้วรู้สึกไม่สบายหู ทำให้ผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟังบางรายอาจเข็ดกับการใส่เครื่อง และไม่อยากใส่เครื่องช่วยฟังอีกเลย หรือในกรณีที่ทนใส่เครื่องไปนานๆ อาจส่งผลให้ ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น หรือ หูตึงเพิ่มมากขึ้น 

 

 

 

ผู้ที่สูญเสียการได้ยิน หรือผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ควรเข้ารับการตรวจการได้ยินเป็นประจำปีทุกปี เพื่อติดตามผลการได้ยินอย่างสม่ำเสมอ

 

 


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน บริการตรวจการได้ยิน และทดลองเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร : 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

เครื่องช่วยฟัง 5 ข้อควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อ

 

        ปัจจัยการสูญเสียการได้ยิน เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาใด ที่ช่วยฟื้นฟูภาวะการสูญเสียการได้ยินให้กลับมาเป็นปกติดังเดิมได้ การใส่เครื่องช่วยฟังจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้การได้ยินดีขึ้น

 

ก่อนซื้อ “เครื่องช่วยฟัง” ต้องรู้อะไรบ้าง?

       เครื่องช่วยฟัง ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลากหลายราคา เครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอลที่ได้รับมาตรฐาน อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถปรับตั้งค่าตามผลตรวจการได้ยิน ขยายเสียงให้พอดีกับการได้ยินที่บกพร่องไปนั้นราคาเครื่องค่อนข้างสูง ราคาตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน

       ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องที่ผู้สวมใส่ต้องการ เรามี 5 ข้อควรรู้ที่จะช่วยในการตัดสินใจซื้อเครื่องช่วยฟังให้กับท่าน ดังนี้

 

5 ข้อควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องช่วยฟัง

สำหรับผู้ที่ไม่เคยใส่ เครื่องช่วยฟัง มาก่อน

 

1. ระดับการสูญเสียการได้ยิน


       อันดับแรก ท่านจะต้องทราบระดับการสูญเสียการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด หรือในระดับความดังกี่เดซิเบล (dB) โดยระดับการสูญเสียการได้ยิน ดังภาพต่อไปนี้

ระดับการได้ยิน เลือกเครื่องช่วยฟัง

กราฟแสดงระดับการได้ยิน

ข้อบ่งชี้ การใส่เครื่องช่วยฟัง ควรใส่เมื่อมีการสูญเสียการได้ยินในระดับ 40 เดซิเบล ขึ้นไป

 

2. กำลังขยายของ เครื่องช่วยฟัง


       ผลการตรวจวัดระดับการสูญเสียการได้ยิน จะช่วยให้ท่านเลือก ประเภทของเครื่องช่วยฟัง ที่เหมาะสมกับผลตรวจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขยายที่สามารถรองรับกับการสูญเสียการได้ยินที่อาจเพิ่มขึ้นได้

ประเภทเครื่องช่วยฟัง

• เครื่องช่วยฟังแบบในช่องหู (In The Ear – ITE) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงค่อนข้างรุนแรง (41 – 70 dB)

• เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (Behind The Ear – BTE) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงค่อนข้างรุนแรง (41 – 70 dB)

• เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูกำลังขยายสูง (Power Behind The Ear – Power BTE) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงขึ้นไป (71 – 90 dB)

 

       หมายเหตุ กรณีสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง 90 เดซิเบลขึ้นไป การใส่เครื่องช่วยฟังจะไม่ได้ประโยชน์ ในกรณีนี้การ ผ่าตัดประสาทหูเทียม จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

 

3. การรับประกัน และบริการหลังการขาย


       การเลือกซื้อเครื่องช่วยฟัง นอกจากเรื่องราคาแล้ว ยังควรคำนึงถึงการรับประกันและบริการหลังการขายของสถานที่จำหน่าย และเมื่อท่านตัดสินใจซื้อเครื่องช่วยฟังแล้ว

สิ่งที่ท่านควรสอบถามเพิ่มเติมกับผู้ให้บริการ คือ

   • ระยะเวลาการรับประกัน และเงื่อนไขในการรับประกัน
   • บริการหลังการขาย เช่น การติดตามผลหลังจากใส่เครื่อง การปรับเครื่องช่วยฟัง การทำความสะอาดเครื่อง
   • ศูนย์ให้บริการ (กรณีเครื่องมีปัญหา) เช่น ศูนย์ซ่อมเครื่อง ระยะเวลาการซ่อม ค่าใช้จ่าย/ราคาอะไหล่ เครื่องสำรองระหว่างซ่อม

       ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังจะต้องมั่นใจว่าหลังจากที่ท่านซื้อเครื่องช่วยฟังไปแล้วและเกิดปัญหาขึ้น ท่านสามารถกลับไปยังศูนย์ที่ให้บริการได้

 

4. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น


       การใช้เครื่องช่วยฟังจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น คือ ค่าใช้จ่ายแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง และค่าใช้จ่ายสารดูดความชื้น เนื่องจากเครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ และในการสวมใส่เครื่องเป็นประจำทุกวัน ความชื้นอาจถูกสะสมอยู่ภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์ชำรุดได้ การใช้สารดูดความชื้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยในการยืดอายุการใช้งานให้กับเครื่องช่วยฟัง

       ค่าใช้จ่ายอื่นๆ สอบถามเพิ่มเติมกับทางศูนย์บริการนั้นๆ

       หมายเหตุ แบตเตอรี่ต้องเป็นแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง เท่านั้น ไม่สามารถนำแบตเตอรี่ชนิดอื่นมาใส่แทนกันได้ เนื่องจากมีประจุไฟที่แตกต่างกัน อาจทำให้เครื่องช่วยฟังเกิดความเสียหายได้

 

5. ความคาดหวังของการใส่เครื่องช่วยฟัง


      ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังครั้งแรก และส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า การใส่เครื่องช่วยฟังนั้นจะทำให้การได้ยินกลับมาได้ยินปกติดังเดิม ซึ่งความเป็นจริงแล้วการใส่เครื่องช่วยฟังเป็นเพียงวิธีการช่วยให้การได้ยินดีขึ้น แต่ไม่สามารถกลับมาได้ยินเป็นปกติ 100% ได้

       การใส่เครื่องช่วยฟังครั้งแรกจำเป็นต้องฝึกทำความคุ้นเคยกับเครื่อง โดยการนับชั่วโมงการใส่เครื่อง ฝึกการฟัง ฝึกการพูด เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

 

เครื่องช่วยฟัง hearing aids

 

ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ โทร: 053-271533, 089-0537111

Call Button CM  Facebook button  Line button

สิทธิการเบิก เครื่องช่วยฟัง สำหรับประกันสังคม

       หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการ เบิกเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ประกันตน (ประกันสังคม) ซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ ประเภทและค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค กรณีสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรืออวัยวะบางส่วน

 

       การรับสิทธิ์ต้องเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้รับสิทธิ์เมื่อส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ขอรับการรักษาพยาบาล

 

ข้อบ่งชี้ของการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง
สำหรับผู้ประกันตน (ประกันสังคม)


        สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง และมีการได้ยินที่ยังคงเหลืออยู่ (Residual Hearing) ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่า หลังสิ้นสุดการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด โดยต้องระบุสาเหตุความจำเป็นในการใส่เครื่องช่วยฟัง ลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ดังนี้

     1.ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือการผ่าตัด มีข้อห้ามในการผ่าตัด แพทย์ผู้รักษาพิจารณาแล้วว่าการผ่าตัดไม่เกิดประโยชน์ หรือผู้ป่วยปฏิเสธการผ่าตัด

     2. สูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูเสื่อมอย่าเฉียบพลัน หลังการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 100 วัน

     3. การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการสื่อความหมาย และการดำรงชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

     4. การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาษาและการพูด หรือมีความพิการซ้อน

 

ส่องช่องหู ตรวจการได้ยิน ประกันสังคม

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
เบิกเครื่องช่วยฟัง ประกันสังคม :

1. สูญเสียการได้ยินทั้ง 2 ข้าง

2. ข้างที่ดีกว่า จะต้องมีค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินทางอากาศ (Air Conduction Threshold) ของความถี่ 500, 1,000 และ 2,000 เฮิรตซ์ เท่ากับ หรือ มากกว่า 40 เดซิเบล

 

 

 

การเบิกค่ารักษาพยาบาล

เครื่องช่วยฟังแต่ละประเภท


– เครื่องช่วยฟัง แบบกล่อง ระบบอนาล็อก เครื่องละ 7,000 บาท
– เครื่องช่วยฟัง แบบกล่อง ระบบดิจิตอล เครื่องละ 9,000 บาท
– เครื่องช่วยฟัง แบบทัดหลังใบหู ระบบดิจิตอล ข้างละ 12,000 บาท
– เครื่องช่วยฟัง แบบใส่ในช่องหู ระบบดิจิตอล ข้างละ 12,500 บาท
– เครื่องช่วยฟัง แบบนำเสียงผ่านกระดูกแบบหูเดียว ระบบดิจิตอล ข้างละ 12,500 บาท

(ราคานี้รวมค่าบริการทางการแพทย์แล้ว 3,000 บาท)


 

 

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ผู้ประกันตนติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาของผู้ประกันตนโดยตรง ถึงขั้นตอนและกระบวนการเบิกค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง

 

 

ประกันสังคม เครื่องช่วยฟัง

 

การเบิกเครื่องช่วยฟังใหม่ สามารถเบิกได้ต่อเมื่อ “อายุการใช้งานเครื่องช่วยฟัง อย่างน้อย 3 ปี และตรวจสอบแล้วว่าเครื่องช่วยฟังไม่สามารถใช้งานได้ หรือไม่เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยิน”

 

 

 

 


เราพร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาการได้ยิน

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

 

4 ข้อควรรู้ ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ

วัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสมอง ทุกอย่างจะเริ่มทำงานช้าลงในขณะที่อายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการทำงานของประสาทการรับเสียงที่เริ่มเสื่อมลงด้วยเช่นกัน

 

4 ข้อควรรู้ ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้


1. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ แบบค่อยเป็นค่อยไป

ในวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นการสูญเสียความสามารถทางการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป ของหูทั้งสองข้าง เป็นอาการที่เกิดได้ทั่วไปซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น

และพบประมาณ 30 คน จาก 100 คนในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป บางคนจึงไม่รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงแรก และยังคงได้รับผลกระทบไม่มาก

 

 


 

2.ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบ “มากกว่าที่หู”

ผู้มีอาการประสาทหูเสื่อมตามอายุที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังมีแนวโน้มที่จะมีความรู้สึกหดหู่มากกว่าผู้ที่ประสาทหูเสื่อมที่ใส่เครื่องช่วยฟัง*

เนื่องจากปัญหาการฟังและการสื่อสาร ทำให้อยากแยกตัวเองออกจากคนรอบข้าง ครอบครัว และเพื่อน ส่งผลให้เกิดความหดหู่ เศร้า และรู้สึกโดดเดี่ยว นอกจากนั้นความบกพร่องทางการได้ยินอาจนำไปสู่อันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น ไม่ได้ยินเสียง รถ ที่กำลังวิ่งเข้ามาขณะเดินอยู่บนถนน

 


 

3. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ มักมีปัญหาในการฟังเสียงสูง ได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้

อาการของผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามอายุ โดยทั่วไปรู้สึกว่าได้ยินเสียงคนอื่นพูดพึมพำ มีปัญหาการได้ยินเสียงสูงเช่น เสียงนาฬิกาเดิน มีปัญหาการฟังและความเข้าใจในบทสนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่มีเสียงรบกวนมาก ฟังเสียงผู้ชายง่ายกว่าเสียงผู้หญิง บางเสียงที่รู้สึกว่าดังมากเกินไปและน่ารำคาญ หรือมีเสียงดังในหู

ประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่แล้วจะส่งผลต่อการรับเสียงสูงจึงทำให้รู้สึกว่าได้ยินเสียงแต่จับคำพูดไม่ได้ ดังนั้นเรามักสังเกตว่าผู้สูงอายุยังคงพูดเสมอว่าได้ยินได้เห็นซึ่งจริงๆ แล้วคือการได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้ เนื่องจากเสียงบางเสียงผู้สูงอายุไม่สามารถได้ยิน

 


 

4. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ เสื่อมตามอายุ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ และปัญหาทางด้านสุขภาพ

ประสาทหูเสื่อมตามอายุไม่สามารถป้องกันได้ ไม่สามารถรักษาให้หายได้ สาเหตุของประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในอวัยวะของหูชั้นใน ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ อายุที่มากขึ้น ปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ผลข้างเคียงจากยา เช่น แอสไพริน ยาเคมีบำบัด และยาปฏิชีวนะบางตัว

 


 

สมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้านการได้ยินต้องการเสียงเข้าไปกระตุ้น เพื่อให้คงสมรรถภาพในการทำงานของประสาทการได้ยิน หากไม่มีเสียงเข้าไปกระตุ้น ประสิทธิภาพของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้านการได้ยินจะเสื่อมถอยลง

 

การช่วยเหลือผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามวัยด้วยเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังจะช่วยให้การได้ยินดีขึ้น แม้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีความบกพร่องทางการได้ยินแต่เป็นที่น่าเสียดายว่ายังได้รับการตรวจการได้ยินในอัตราน้อยกว่าที่เป็นอยู่

 

สำหรับผู้สุงอายุที่มีปัญหาได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้ หรือผู้ที่สงสัยว่าจะมีอาการประสาทหูเสื่อม สามารถนัดหมายเข้ารับการตรวจช่องหูเพื่อดูสุขภาพของช่องหู ตรวจสมรรถภาพของหูชั้นกลาง และการตรวจการได้ยินเพื่อให้ทราบความบกพร่องในแต่ละความถี่ โดยนักแก้ไขการได้ยินได้ที่ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ ทุกสาขา

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ยินดีให้บริการ
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
* https://www.nidcd.nih.gov/health/age-related-hearing-loss
** https://www.asha.org/uploadedFiles/AIS-Hearing-Loss-Age-Related.pdf
7 ข้อ เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ โควิด-19

       เมื่อทั้งโลกเปลี่ยนไปในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมที่ต้องการให้ผู้คนอยู่ห่างกัน ทำให้ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ และธุรกิจหลายธุรกิจต้องปิดตัวลง เป็นสาเหตุให้เราต้องแยกตัวเอง หลีกเลี่ยงพาตัวเองออกจากที่ที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก รักษาระยะห่างเพื่อความปลอดภัย และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19

 

      สำหรับผู้มีปัญหาทางการได้ยิน การรักษาสุขภาพการได้ยิน การดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง และอุปกรณ์ส่งเสริมการฟังที่เชื่อมต่อแบบไร้สายต่างๆ ให้ยังคงใช้งานได้ดีเต็มประสิทธิภาพ มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับความเครียด

 

การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ 7 ข้อ ดังนี้

สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินและใส่เครื่องช่วยฟัง


1. สำรองแบตเตอรี่

ท่านมั่นใจหรือไม่? ว่าท่านสำรองแบตเตอรี่ไว้เพียงพอสำหรับการใช้งานเครื่องช่วยฟังอย่างน้อยในอีก 2 เดือนข้างหน้า เติมสต๊อกแบตเตอรี่ของท่านให้เต็ม พร้อมใช้งานตลอดเวลา การสั่งซื้อออนไลน์ในช่วงเวลานี้อาจจะเหมาะสมกับสถานการณ์ได้ดี

 

ท่านสามารถเลือกช่องทางในการสั่งซื้อ ที่ท่านสะดวก:

  • โทร. 089 – 053 7111, 053 – 271 533
  • ออนไลน์ : Facebook, Line ID : @hearingchiangmai
  • Shopee : INTIMEXCHIANGMAI

 

2. การติดต่อผู้ให้บริการ กรณีฉุกเฉิน (เช่น เครื่องเงียบ เครื่องเสีย แบตเตอรี่หมด ฯลฯ)

เพื่อความอุ่นใจ ขอให้ท่านบันทึกเบอร์โทรติดต่อศูนย์บริการฯ หรือ เพิ่มช่องทางติดต่อทางออนไลน์ เช่น Facebook และ Line ของศูนย์บริการ ไว้ติดต่อยามฉุกเฉิน

 

3. รับบริการที่รถ (สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเข้ารับบริการภายในศูนย์ฯ)

ใช้บริการรอในรถ หรือทิ้งเครื่องช่วยฟังไว้กับผู้ให้บริการได้ทำการตรวจเช็คและทำความสะอาด (ใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาที) แล้วสามารถกลับเข้ามารับเครื่อง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก และลดความแออัดในการเข้ารับบริการภายในตัวอาคาร

 

4. Social Distancing การเว้นระยะห่าง ในการเข้ารับบริการ

การนัดหมายล่วงหน้า จะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถจัดสรรระยะเวลาการให้บริการแต่ละบุคคลได้ห่างกัน เพื่อลดความแออัดภายในศูนย์บริการ และจัดแบ่งโซนพื้นที่ให้บริการ โดยผู้เข้ารับบริการควรนั่งเว้นระยะห่างระหว่างนั่งรอรับบริการ เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับบริการทุกท่าน

 

5. ติดต่อเพื่อน หรือญาติของคุณอย่างสม่ำเสมอ (กรณีอยู่คนเดียว)

โทรศัพท์ หรือวีดีโอคอล กับเพื่อนหรือญาติของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เขาเหล่านั้นทราบว่า ท่าน/เขา ยังสบายดีและปลอดภัยดี

 

6. พิจารณาซื้อเครื่องสำรอง (Intimex Line My Shop)

หากท่านจำเป็นต้องได้ยิน และต้องใส่เครื่องเป็นประจำทุกวัน โปรดพิจารณาเครื่องสำรองเป็นตัวเลือกในสถานการณ์เช่นนี้

“เครื่องช่วยฟังประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โอกาสที่จะชำรุด ทำงานผิดปกติ หรือหยุดทำงานกระทันหันเกิดขึ้นได้เสมอ หากเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ประกาศสั่งห้ามออกนอกเคหะสถาน ท่านจะไม่สามารถส่งซ่อมได้ ด้วยเหตุนี้การมีเครื่องสำรองชั่วคราว อาจเป็นการเตรียมความพร้อมที่คุ้มค่า”

 

7. เตรียมพร้อมหากคุณต้องพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

หากท่านมีความจำเป็นต้องพบแพทย์ ขอให้เตรียมเครื่องช่วยฟังที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และแบตเตอรี่สำรองเผื่อไว้  ขอให้พาญาติหรือเพื่อนไปด้วยทุกครั้ง และจำเป็นต้องแจ้งแพทย์และพยาบาลที่เกี่ยวข้องว่าท่านมีความบกพร่องทางการได้ยินและใส่เครื่องช่วยฟังอยู่

 


              ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ ยังอยู่เคียงข้างผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากทางราชการ เพื่อช่วยให้ท่านมีความสุขกับการได้ยินอย่างที่ท่านต้องการ นอกจากนั้นเพื่อให้บริการสนับสนุนแก่ท่านที่ใส่เครื่องช่วยฟัง  ศูนย์ฯ ได้เพิ่มบริการพิเศษในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด ดังนี้

  1. จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการรับ-ส่งเครื่องที่รถส่วนตัวของท่าน โดยที่ท่านไม่จำเป็นต้องลงจากรถ
  2. จัดทำราคาเครื่องช่วยฟังสำรอง ในราคาพิเศษ ท่านสามารถสั่งซื้อผ่าน Line My Shop ที่ Intimex Line My Shop

 

การแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ทำให้ชีวิตของพวกเราทุกคนเต็มไปด้วยความท้าทาย ดังนั้นโปรดให้ความสำคัญกับการได้ยินของท่าน และติดต่อกับผู้ให้บริการด้านการได้ยินที่สามารถช่วยให้ท่านเตรียมพร้อมผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปพร้อมกัน