ตรวจการได้ยิน ทดสอบการได้ยิน

 

ความบกพร่องทางการได้ยิน เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ตั้งแต่ทารกแรกคลอด วัยเด็ก ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่สูงอายุ

 

      การพูดคุยสื่อสารมีความสำคัญ เมื่อความสามารถในการสื่อสารกับคนรอบข้างลดลง ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และนั่นอาจถึงเวลาที่คุณควรเข้ารับการตรวจการได้ยิน เพื่อเตรียมความพร้อมและหาวิธีป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่อาจเกิดขึ้น

      ปัจจุบันทารกแรกคลอด อายุตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จะได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน OAE

 

รู้จักกับ การตรวจการได้ยิน

การตรวจการได้ยิน แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ


       1. ตรวจการได้ยิน ว่าการได้ยินอยู่ในระดับใด ได้แก่ Pure tone audiometry

       2. ตรวจวัดความเข้าใจในความหมายของคำพูด ได้แก่ Speech discrimination score

       3. ตรวจหาตำแหน่งของพยาธิสภาพในระบบการได้ยิน เป็นการตรวจแบบพิเศษ ค่อนข้างเฉพาะ ได้แก่ Short Increment Sensitivity Index (SISI), Alternate Binaural (ABLB), Tone decay test, Stapedial reflex decay test, Brainstem electrical response audiometry, Oto-acoustic emission (OAE)

 

 

1. ตรวจการได้ยิน คืออะไร? ตรวจเพื่ออะไร?


      การตรวจการได้ยิน เป็นการตรวจเพื่อทดสอบความสามารถในการรับฟังเสียง ว่าได้ยินปกติหรือไม่ มีการได้ยินอยู่ในระดับใด (dB) หรือมีความผิดปกติ บกพร่องในช่วงความถี่เสียงที่เท่าไหร่ (Hz) เกิดที่หูข้างไหน

ระดับการได้ยินปกติ

Audiogram ผลตรวจการได้ยินปกติ (สีแดง หูข้างขวา สีน้ำเงิน หูข้างซ้าย)

 

 

ระดับการได้ยิน ในเกณฑ์ปกติ จะอยู่ระหว่าง – 10 ถึง 25 เดซิเบล

กรณีมากกว่า 25 เดซิเบล ถือว่าการได้ยินผิดปกติ

 

 

 

      การตรวจระดับการได้ยินดังกล่าว เป็นการตรวจแบบ Pure tone audiometry โดยการปล่อยเสียงบริสุทธิ์ (Pure tone) ณ ความถี่ต่างๆ ได้แก่ 250 500 1000 2000 4000 6000 และ 8000 Hz จะตรวจด้วย 2 วิธีการ ดังนี้;

Pure tone audiometry - Air conduction

ตรวจการได้ยินโดยเสียงผ่านอากาศ (Air conduction)

 

      1) ตรวจการได้ยินโดยเสียงผ่านอากาศ (Air conduction) คือ การวัดการทำงานของหูชั้นนอก และหูชั้นกลาง

      2) ตรวจการได้ยินโดยเสียงผ่านกระดูก (Bone conduction) คือ การวัดการทำงานของปลายประสาทหู ของหูชั้นใน

 

 

 

2. ตรวจวัดความเข้าใจในความหมายของคำพูด ตรวจอย่างไร?


      การตรวจวัดความเข้าใจในความหมายของคำพูด (Speech discrimination score) ผู้ตรวจจะมีชุดคำพูดให้ผู้เข้ารับการตรวจพูดตาม ที่ระดับ 35 เดซิเบล (dB) เหนือระดับจุดเริ่มต้นได้ยิน เพื่อวัดความสามารถในการพูดตามได้ถูกต้องกี่เปอร์เซ็นต์ (%)

 

types of hearing loss

     ผู้ที่มีการนำเสียงเสีย (หูชั้นกลาง) จะพูดตามได้ถูกต้องกว่า ผู้ที่มีประสาทรับเสียงเสีย (หูชั้นใน)

     ดังนั้น ประสาทรับเสียงในหูชั้นใน มีผลต่อการแปลความหมายของคำพูด แม้ว่าจะได้ยินเสียงดังแต่ก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายของคำพูดได้ หรือแม้กระทั่งพูดเสียงดังมาก ก็อาจทำให้ได้ยินเสียงผิดเพี้ยนไป

 

 

3. ตรวจหาตำแหน่งของพยาธิสภาพในระบบการได้ยิน


      การตรวจลักษณะนี้ จะเป็นการตรวจแบบพิเศษ ค่อนข้างเฉพาะ บางวิธีการตรวจจำเป็นต้องมีวิสัญญีแพทย์

– การตรวจ Short Increment Sensitivity Index (SISI) : การตรวจวัดความสามารถในการทำงานของปลายประสาทหูชั้นใน

– การตรวจ Alternate Binaural (ABLB) : การตรวจเปรียบเทียบการทำงานของหูข้างที่เสียกับหูข้างที่ดี

– การตรวจ Tone decay test : การตรวจความล้าของประสาทรับเสียงในการฟังเสียงดังต่อเนื่อง เช่น ผู้มีเนื้องอกกดทับเส้นประสาทรับเสียง

– การตรวจ Stapedial reflex decay test : การตรวจสมรรถภาพของหูชั้นกลาง

– การตรวจ Brainstem electrical response audiometry : การตรวจวัดระดับการได้ยินแบบอัตโนมัติ ด้วยคลื่นไฟฟ้าผ่านก้านสมอง

– การตรวจ Otoacoustic emission (OAE) : การตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน ใช้ตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กทารกแรกเกิด

 

 

ผลตรวจการได้ยินจะถูกนำไปใช้ประกอบการหาสาเหตุเพื่อวินิจฉัยโรค และเป็นแนวทางการรักษาสำหรับแพทย์ในขั้นตอนต่อไป

ตรวจวินิจฉัยโรค

หมายเหตุ ปัจจุบันผลตรวจการได้ยินยังได้ถูกนำไปใช้ในการสมัครงานบางตำแหน่ง บางสายงานอาชีพเฉพาะ การสมัครเข้าศึกษาในสถานศึกษาบางแห่ง

 


บริการตรวจการได้ยิน ตรวจประจำปี ตรวจทดลองเครื่องช่วยฟัง

ตรวจติดตามผลหลังจากใส่เครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  Facebook button  Line button


ขอขอบคุณข้อมูล : www.rama.mahidol.ac.th,
การตรวจวัดการได้ยิน – สุจิตรา ประสานสุข (Vol. 30; 2546) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.