Posts
ความชื้น (Humidity) เกิดจากปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ หากในอากาศมีปริมาณไอน้ำปะปนอยู่มาก แสดงว่ามีความชื้นมาก เช่นเดียวกันกับในบริเวณที่อากาศ มีปริมาณไอน้ำปะปนอยู่น้อย บริเวณนั้นจะมีความชื้นน้อย ซึ่งความชื้นของอากาศสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความดันและอุณหภูมิ
การรักษาระดับความชื้นภายในบ้านให้เหมาะสมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดย The American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers (ASHRAE) กล่าวว่า ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมของมนุษย์อยู่ระหว่าง 30 – 60 เปอร์เซ็นต์
ความชื้น ส่งผลเสียกับ “เครื่องช่วยฟัง” อย่างไร?
ความชื้นในอากาศเป็นสิ่งที่หลายๆ คนมองข้าม แต่ในความเป็นจริงแล้วสภาพอากาศที่มีความชื้นมากเกินไปหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพ และอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังของเราได้
“เครื่องช่วยฟัง ประกอบด้วยชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผงวงจร และสายไฟ”
ความชื้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องช่วยฟังเสียหาย ความชื้นที่สูงจะทำให้เกิดปัญหาการนำไฟฟ้าของอุปกรณ์ บางครั้งอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ รวมถึงการสึกกร่อนของอุปกรณ์ที่เกิดจากการเป็น “สนิม” และในขณะที่ความชื้นต่ำเกินไปก็จะทำให้อุปกรณ์เปราะหักได้ง่าย
หากเราเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ในบริเวณที่มีอากาศชื้น หรืออากาศเย็นเกินไป การนำมาใช้ต้องเพิ่มความระมัดระวัง ควรนำมาวางไว้ในสภาพอากาศและอุณภูมิห้องปกติสักพัก ก่อนเปิดใช้งาน และหลังจากใช้งานเสร็จควรเก็บไว้ในกล่องพลาสติก หรือกล่องสูญญากาศ ภายในกล่องบรรจุสารดูดความชื้นไว้ เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องช่วยฟัง
ปรึกษาปัญหาการได้ยินและเครื่องช่วยฟัง ได้ที่
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai
ขอบคุณข้อมูล : Sod Engineering
หูตึงกับผู้สูงอายุ มักเป็นของคู่กัน เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายได้ผ่านการใช้งานมาอย่างหนักแล้วย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา
ปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากความสามารถในการรับเสียงลดลง มักมีอาการหูอื้อ หรือหูตึง โดยมีอาการเริ่มแรกคือ ไม่ค่อยได้ยินเสียงแหลมๆ หรือเสียงที่มีความถี่สูง เช่น เสียงผู้หญิง เสียงดนตรีคีย์สูงๆ หรือเมื่ออยู่ในสถานที่ซึ่งมีเสียงรบกวนก็อาจฟังไม่เข้าใจ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลงโดยไม่รู้ตัว และเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการพบปะ พูดคุยกับผู้อื่น เนื่องจากเมื่อสนทนาแล้วต้องให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ เสียงดังๆ ผู้สูงอายุบางคนอาจจะต้องมองหน้า มองปาก เพราะฟังด้วยหูอย่างเดียวไม่รู้เรื่องแล้ว
“สิ่งนี้เป็นสัญญาณเตือนว่า…ถึงเวลาที่ควรพาท่านเข้ารับการรักษาหรือควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาทางด้านการได้ยินแล้ว เพราะหากปล่อยไว้นาน ท่านอาจจะไม่ได้ยินอีกเลย ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลต่อการเกิดปัญหาซึมเศร้าได้”
การป้องกันและดูแลการได้ยิน ในผู้สูงอายุ
- ควรตรวจสุขภาพการได้ยินเป็นประจำทุกปี เมื่ออายุ 60 ปี ขึ้นไป
- ควบคุมดูแลโรคประจำตัว เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจทำให้หูตึงได้
- ในกรณีที่มีปัญหาการได้ยินขั้นรุนแรง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวัน ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง (Hearing aids) ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นได้
“การใส่เครื่องช่วยฟัง จะช่วยกระตุ้นการได้ยินให้ส่งคลื่นเสียงไปยังสมอง เพื่อคงการทำงานของสมองไว้”
ลูกหลานควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด คอยให้กำลังใจ มีปฏิสัมพันธ์กับท่านอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะคงการได้ยิน และสร้างความสุขให้กับท่าน
เราพร้อมให้คำปรึกษาปัญหาการได้ยิน หูตึง หูหนวก ไม่ได้ยิน
ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai