ตรวจการได้ยิน ทดสอบการได้ยิน

 

ความบกพร่องทางการได้ยิน เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ตั้งแต่ทารกแรกคลอด วัยเด็ก ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่สูงอายุ

 

      การพูดคุยสื่อสารมีความสำคัญ เมื่อความสามารถในการสื่อสารกับคนรอบข้างลดลง ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และนั่นอาจถึงเวลาที่คุณควรเข้ารับการตรวจการได้ยิน เพื่อเตรียมความพร้อมและหาวิธีป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่อาจเกิดขึ้น

      ปัจจุบันทารกแรกคลอด อายุตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จะได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน OAE

 

รู้จักกับ การตรวจการได้ยิน

การตรวจการได้ยิน แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ


       1. ตรวจการได้ยิน ว่าการได้ยินอยู่ในระดับใด ได้แก่ Pure tone audiometry

       2. ตรวจวัดความเข้าใจในความหมายของคำพูด ได้แก่ Speech discrimination score

       3. ตรวจหาตำแหน่งของพยาธิสภาพในระบบการได้ยิน เป็นการตรวจแบบพิเศษ ค่อนข้างเฉพาะ ได้แก่ Short Increment Sensitivity Index (SISI), Alternate Binaural (ABLB), Tone decay test, Stapedial reflex decay test, Brainstem electrical response audiometry, Oto-acoustic emission (OAE)

 

 

1. ตรวจการได้ยิน คืออะไร? ตรวจเพื่ออะไร?


      การตรวจการได้ยิน เป็นการตรวจเพื่อทดสอบความสามารถในการรับฟังเสียง ว่าได้ยินปกติหรือไม่ มีการได้ยินอยู่ในระดับใด (dB) หรือมีความผิดปกติ บกพร่องในช่วงความถี่เสียงที่เท่าไหร่ (Hz) เกิดที่หูข้างไหน

ระดับการได้ยินปกติ

Audiogram ผลตรวจการได้ยินปกติ (สีแดง หูข้างขวา สีน้ำเงิน หูข้างซ้าย)

 

 

ระดับการได้ยิน ในเกณฑ์ปกติ จะอยู่ระหว่าง – 10 ถึง 25 เดซิเบล

กรณีมากกว่า 25 เดซิเบล ถือว่าการได้ยินผิดปกติ

 

 

 

      การตรวจระดับการได้ยินดังกล่าว เป็นการตรวจแบบ Pure tone audiometry โดยการปล่อยเสียงบริสุทธิ์ (Pure tone) ณ ความถี่ต่างๆ ได้แก่ 250 500 1000 2000 4000 6000 และ 8000 Hz จะตรวจด้วย 2 วิธีการ ดังนี้;

Pure tone audiometry - Air conduction

ตรวจการได้ยินโดยเสียงผ่านอากาศ (Air conduction)

 

      1) ตรวจการได้ยินโดยเสียงผ่านอากาศ (Air conduction) คือ การวัดการทำงานของหูชั้นนอก และหูชั้นกลาง

      2) ตรวจการได้ยินโดยเสียงผ่านกระดูก (Bone conduction) คือ การวัดการทำงานของปลายประสาทหู ของหูชั้นใน

 

 

 

2. ตรวจวัดความเข้าใจในความหมายของคำพูด ตรวจอย่างไร?


      การตรวจวัดความเข้าใจในความหมายของคำพูด (Speech discrimination score) ผู้ตรวจจะมีชุดคำพูดให้ผู้เข้ารับการตรวจพูดตาม ที่ระดับ 35 เดซิเบล (dB) เหนือระดับจุดเริ่มต้นได้ยิน เพื่อวัดความสามารถในการพูดตามได้ถูกต้องกี่เปอร์เซ็นต์ (%)

 

types of hearing loss

     ผู้ที่มีการนำเสียงเสีย (หูชั้นกลาง) จะพูดตามได้ถูกต้องกว่า ผู้ที่มีประสาทรับเสียงเสีย (หูชั้นใน)

     ดังนั้น ประสาทรับเสียงในหูชั้นใน มีผลต่อการแปลความหมายของคำพูด แม้ว่าจะได้ยินเสียงดังแต่ก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายของคำพูดได้ หรือแม้กระทั่งพูดเสียงดังมาก ก็อาจทำให้ได้ยินเสียงผิดเพี้ยนไป

 

 

3. ตรวจหาตำแหน่งของพยาธิสภาพในระบบการได้ยิน


      การตรวจลักษณะนี้ จะเป็นการตรวจแบบพิเศษ ค่อนข้างเฉพาะ บางวิธีการตรวจจำเป็นต้องมีวิสัญญีแพทย์

– การตรวจ Short Increment Sensitivity Index (SISI) : การตรวจวัดความสามารถในการทำงานของปลายประสาทหูชั้นใน

– การตรวจ Alternate Binaural (ABLB) : การตรวจเปรียบเทียบการทำงานของหูข้างที่เสียกับหูข้างที่ดี

– การตรวจ Tone decay test : การตรวจความล้าของประสาทรับเสียงในการฟังเสียงดังต่อเนื่อง เช่น ผู้มีเนื้องอกกดทับเส้นประสาทรับเสียง

– การตรวจ Stapedial reflex decay test : การตรวจสมรรถภาพของหูชั้นกลาง

– การตรวจ Brainstem electrical response audiometry : การตรวจวัดระดับการได้ยินแบบอัตโนมัติ ด้วยคลื่นไฟฟ้าผ่านก้านสมอง

– การตรวจ Otoacoustic emission (OAE) : การตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน ใช้ตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กทารกแรกเกิด

 

 

ผลตรวจการได้ยินจะถูกนำไปใช้ประกอบการหาสาเหตุเพื่อวินิจฉัยโรค และเป็นแนวทางการรักษาสำหรับแพทย์ในขั้นตอนต่อไป

ตรวจวินิจฉัยโรค

หมายเหตุ ปัจจุบันผลตรวจการได้ยินยังได้ถูกนำไปใช้ในการสมัครงานบางตำแหน่ง บางสายงานอาชีพเฉพาะ การสมัครเข้าศึกษาในสถานศึกษาบางแห่ง

 


บริการตรวจการได้ยิน ตรวจประจำปี ตรวจทดลองเครื่องช่วยฟัง

ตรวจติดตามผลหลังจากใส่เครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  Facebook button  Line button


ขอขอบคุณข้อมูล : www.rama.mahidol.ac.th,
การตรวจวัดการได้ยิน – สุจิตรา ประสานสุข (Vol. 30; 2546) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อายุการใช้งานเฉลี่ย เครื่องช่วยฟัง

 

เครื่องช่วยฟัง อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่คุณจะอยากทราบอายุการใช้งานของมัน ว่าใช้งานได้นานแค่ไหน?

 

เครื่องช่วยฟังมีอายุการใช้งาน สูงสุดกี่ปี?

 

เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูงที่ทันสมัยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยระหว่าง 3 – 7 ปี สำหรับบางคนอาจนานกว่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายปัจจัยในการดูแลรักษาเครื่องและการสวมใส่เครื่องของแต่ละบุคคล

 

 

8 ปัจจัย

มีผลต่ออายุการใช้งานเครื่องช่วยฟัง

 

1. วัสดุที่ใช้ทำเครื่องช่วยฟัง


       แม้ว่าเครื่องช่วยฟังจะได้รับการออกแบบให้มีความทนทาน แต่เครื่องช่วยฟังก็ทำมาจากพลาสติก โลหะ ซิลิกอน โพลีเมอร์ และวัสดุอื่นๆ ที่อาจมีการเสื่อมสลายของโครงสร้างเมื่อเวลาผ่านไป เครื่องช่วยฟังส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในปัจจุบันมีการเคลือบนาโนเพื่อป้องกันน้ำ ฝุ่น และความชื้น แต่ไม่ได้หมายความว่าสารเหล่านั้นจะไม่ถูกทำลายหรือเสื่อมสลายไป

 

 

2. ความถี่ในการทำความสะอาด และระยะเวลาการบำรุงรักษา


“เราอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด เครื่องช่วยฟังก็จะถูกสัมผัสกับสภาพแวดล้อมแบบเดียวกัน”

       ความร้อน ความชื้น ฝุ่น น้ำมันจากผิวหนังและเหงื่อ อุณหภูมิสุดขั้ว และแสงแดด รวมไปถึงขี้หูในช่องหูของคุณ สิ่งสกปรกเหล่านี้จะถูกสะสมไปเรื่อยๆ จนกว่าอุปกรณ์ของคุณจะได้รับการทำความสะอาด

 

เครื่องช่วยฟัง ควรทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน?

ทำความสะอาดเครื่องช่วยฟัง

       บางคนได้รับการทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังเพียงปีละ 1 – 2 ครั้ง ซึ่งไม่เพียงพอที่จะช่วยยืดอายุให้กับอุปกรณ์ของคุณให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ได้

       คุณสามารถทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังด้วยตัวของคุณเองเบื้องต้นเป็นประจำทุกวัน ชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดจะถูกส่งมอบพร้อมกับเครื่องช่วยฟัง เช่น ผ้าเช็ดอุปกรณ์ แปรงสำหรับปัดขี้หูและสิ่งสกปรก เป็นต้น

 

       และทุกๆ 3 – 4 เดือน ควรนำเครื่องเข้ารับการบำรุงรักษา ณ ศูนย์บริการของคุณ สำหรับการทำความสะอาด และการตรวจเช็คชิ้นส่วนอุปกรณ์ เช่น จุกยางซิลิโคน พิมพ์หู ท่อนำเสียง รังถ่าน ฯลฯ เพื่อช่วยให้เครื่องช่วยฟังของคุณมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

 

 

3. สถานที่ใส่เครื่องช่วยฟัง


       เครื่องช่วยฟังที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชื้นหรือมีฝุ่นมาก มักจะประสบปัญหาด้านประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องช่วยฟังในสภาพแวดล้อมอื่นๆ

       หากคุณกังวลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่คุณสวมเครื่องช่วยฟัง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังของคุณสำหรับแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน คุณอาจต้องใช้ปลอกหุ้มป้องกัน หรือกำหนดเวลาในการทำความสะอาดบ่อยขึ้น เพื่อยืดอายุเครื่องช่วยฟังของคุณ

 

 

4. วิธีการจัดเก็บเครื่องช่วยฟัง


จัดเก็บเครื่องช่วยฟังอย่างไร? เมื่อคุณไม่ได้สวมใส่เครื่อง

dry-and-store-global       สำหรับเครื่องช่วยฟังแบบใช้แบตเตอรี่แบบใช้แล้วทิ้ง ควรเก็บเครื่องช่วยฟังไว้ในที่ปลอดภัยและแห้ง หรือใช้สารดูดความชื้นในการดูแลเครื่องของคุณร่วมด้วย กรณีที่มีเครื่องอบ เครื่องอบจะช่วยไล่ความชื้นออกจากตัวเครื่องและทำให้เครื่องแห้ง เหมาะสำหรับผู้ที่มีเหงื่อเยอะ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

       สำหรับเครื่องช่วยฟังแบบชาร์จไฟ แบตเตอรี่ลิเธียมจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 4 – 5 ปี เช่นเดียวกับสมาร์ทโฟน อายุการใช้งานแบตเตอรี่จะสั้นลงเมื่อคุณใช้งานอุปกรณ์นานขึ้น หากคุณสังเกตว่าแบตเตอรี่หมดเร็วกว่าปกติ ติดต่อผู้ให้บริการอุปกรณ์ของคุณ

 

 

5. รูปแบบของเครื่องช่วยฟัง


ITE เครื่องช่วยฟังใส่ในช่องหู       เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู (BTE) มีแนวโน้มที่อายุการใช้งานจะยาวนานกว่าแบบใส่ในช่องหู (ITE) เนื่องจากแบบใส่ในช่องหู ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดจะอยู่ภายในช่องหู ซึ่งมีสภาพร้อนชื้น

       อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังจะถูกเคลือบด้วยสารนาโนบนส่วนประกอบภายในและภายนอก อาจทำให้ความทนทานนี้กลายเป็นอดีตไปในไม่ช้า

 

 

 

6. สรีรวิทยาของร่างกายคุณ


       ผู้ใส่เครื่องบางคนมีผิวมันมาก มีขี้หูหรือเหงื่อออกมาก ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องช่วยฟังได้เช่นกัน คุณไม่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้

       แต่หากคุณมีปัญหาเหล่านี้ คุณควรปรึกษากับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการได้ยินของคุณ เมื่อคุณเลือกเครื่องช่วยฟัง

 

 

7. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


       เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เครื่องช่วยฟังรุ่นใหม่จำนวนมากสามารถเชื่อมต่อไปยังโทรศัพท์ผ่านบลูทูธ เป็นต้น

Software ปรับแต่งเครื่องช่วยฟัง       ความล้าสมัยอาจเป็นปัญหาสำหรับเครื่องช่วยฟังรุ่นที่เก่ามาก เมื่อคุณใช้งานไป 5 – 10 ปี ผู้ผลิตเครื่องช่วยฟังอาจหยุดผลิตชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับเครื่องช่วยฟังรุ่นนั้น ซึ่งอาจทำให้การซ่อมแซมเครื่องช่วยฟังแบบเก่าทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการตั้งโปรแกรมเครื่องช่วยฟังก็จะถูกอัปเดทด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้ยากต่อการตั้งโปรแกรมเครื่องช่วยฟังรุ่นเหล่านั้น

 

Sound Engineerวิจัยและพัฒนาเครื่องช่วยฟัง       ประสิทธิภาพและคุณสมบัติของเครื่องช่วยฟังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีในเครื่องช่วยฟังที่ทันสมัยที่สุดที่มีอยู่เมื่อ 6 – 7 ปีที่แล้วถือเป็นพื้นฐานในปัจจุบัน ในขณะที่บางคนพอใจที่จะยึดติดกับสิ่งที่พวกเขามีอยู่หากยังคงทำงานได้ดี แต่หลายคนที่ซื้อเครื่องช่วยฟังพบว่าตัวเองต้องการได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ที่พร้อมให้ใช้งานในอีก 4 – 5 ปีข้างหน้า

 

 

8. ความต้องการที่เปลี่ยนไป


       ความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้สวมใส่อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานเครื่องช่วยฟังได้เช่นกัน เช่น ระดับการสูญเสียการได้ยินของบุคคลอาจพัฒนาไปถึงจุดที่เครื่องช่วยฟังไม่สามารถรองรับได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ หรือไลฟ์สไตล์ของบุคคลอาจเปลี่ยนไป ต้องใช้เครื่องช่วยฟังที่มีคุณสมบัติที่รองรับไลฟ์สไตล์นั้นๆ

 

 

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง Bernafon

 

        แม้ว่าคุณจะดูแลเครื่องช่วยฟังของคุณเป็นอย่างดีและมีอายุการใช้งานเกินคาด คุณอาจจำเป็นต้องพิจารณาซื้อเครื่องใหม่ เช่นเดียวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน

 

 

 

นวัตกรรมเครื่องช่วยฟังใหม่จะออกทุกๆ 2 – 3 ปี ดังนั้นหลังจาก 5 ปี เครื่องช่วยฟังของคุณอาจล้าสมัย และคุณอาจจำเป็นต้องอัปเกรดเป็นอุปกรณ์ที่ใหม่กว่า เนื่องจากเครื่องช่วยฟังมีอายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และที่สำคัญผู้ผลิตหยุดผลิตชิ้นส่วนทดแทน ทำให้การซ่อมแซมยากขึ้น

 

อัปเดทเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง Bernafon

อัปเดทเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังสำหรับคุณ

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  Facebook button  Line button

 


ขอขอบคุณข้อมูล : healthyhearing.com, hearingyourbest.com
ไข้หวัดใหญ่กับผู้สูงอายุ

 

หวัดเป็นโรคที่สามารถเป็นกันได้ทุกฤดู โดยเฉพาะในฤดูฝนและฤดูหนาวที่มีอากาศค่อนข้างเย็น การรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่ตลอดเวลาจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหวัดได้

 

        คนทั่วไปมักชินกับการเป็นหวัดและคิดว่าอาการไม่รุนแรง กินยานอนพักเดี๋ยวก็หาย จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญสักเท่าไหร่นัก แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วนั้น หวัดอาจไม่ใช่เพียงโรคธรรมดาอย่างที่คุณคิดก็ได้

 

หวัด ไข้หวัดใหญ่

        คนเป็นหวัด โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ หากเกิดกับคนทั่วไปที่มีอายุยังไม่มากนัก นอกจากจะมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นแล้วจำเป็นต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายวัน ไม่สามารถทำกิจกรรมชีวิตได้ตามปกติ

        แต่ทว่าไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดกับผู้สูงอายุ ก็จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ซึ่งโรคแทรกซ้อนเหล่านี้น่ากลัวกว่าไข้หวัดใหญ่เองเสียอีก

 

โรคแทรกซ้อนหลังเป็นหวัด อันตรายสำหรับผู้สูงอายุ


       ในทางการแพทย์ถือว่ากลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออันตรายจากโรคหวัด นอกจากผู้สูงอายุแล้วยังมีเด็กเล็กๆ และผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ที่มีความเสี่ยงเช่นกัน กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนไปยังระบบอื่นๆ ในร่างกายได้ง่ายเมื่อเกิดเป็นหวัดที่รุนแรง เช่น

 

– ระบบหัวใจ : เยื่อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คนที่เป็นจะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะหากผู้สูงอายุท่านเป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็มีโอกาสที่โรคจะทรุดหนัก อาจเกิดอาการหัวใจวายได้

 

– ระบบประสาท : สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คนที่เป็นจะมีอาการปวดศีรษะมาก ง่วงซึม ไปจนถึงขั้นหมดสติ

 

– ระบบหายใจ : หลอดลมอักเสบ ปอดบวม เกิดฝีในปอด หรือเกิดหนองในเยื่อหุ้มปอด อาการแสดงคือ จะรู้สึกว่าแน่นหน้าอกและเหนื่อยหอบ

 

– เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่อวัยวะอื่นๆ : เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางหรือหูชั้นในอักเสบ บางรายมีอาการหูอื้อ ปวดหู หรือมีเสียงดังในหู

 

       จากโรคแทรกซ้อนดังกล่าว พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มที่ได้รับอันตรายจนถึงกับเสียชีวิต คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากปอดบวม โรคหัวใจ หรือโรคประจำตัวที่เป็นอยู่

 

 

ไข้หวัดใหญ่ เมื่อเป็นแล้วอาการจะรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza ที่พบได้ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ติดเชื้อ หากร่างกายอ่อนแอสัมผัสกับสิ่งของหรือบริเวณที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็จะรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ดังนั้น การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ได้

 

 

old-asian-vaccinated

      แพทย์แนะนำกลุ่มที่ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่ ได้แก่

” ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป คนที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเป็นโลหิตจางอย่างรุนแรง คนที่เข้ามารับการรักษาโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลเป็นเวลานานๆ “

 

 

ขอขอบคุณข้อมูล : สาระสุขภาพ พิมพ์ครั้งที่ 3, โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม

 

ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยิน หากท่านรู้สึกว่าการได้ยินลดลง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ติดต่อ: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  Facebook button  Line button

 

ซื้อเครื่องช่วยฟังที่ไหน

 

หลายท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการ “ซื้อเครื่องช่วยฟัง” อยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น…

 

  • ซื้อเครื่องช่วยฟังได้ที่ไหน

  • เราสามารถซื้อใส่เองได้เลยไหม

  • เราต้องพบแพทย์ที่โรงพยาบาลก่อนหรือไม่

  • เครื่องช่วยฟังในอินเทอร์เน็ตแตกต่างกับเครื่องที่จำหน่ายตามร้านอย่างไร

  • ทำไมเครื่องช่วยฟังในอินเทอร์เน็ต มีราคาถูก

  • เครื่องช่วยฟังทำไมราคาแพง ราคาหลักหมื่นถึงหลักแสน

 

คำถามเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นกับผู้มีปัญหาการได้ยิน และเริ่มมองหาเครื่องช่วยฟังสักเครื่องมาเป็นตัวช่วยในการฟังให้กับตน

 

เริ่มจาก….

 

ซื้อเครื่องช่วยฟัง ได้ที่ไหน?


สถานที่แรกที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง นั่นคือ…

 

Hearing Aid by Hospital เครื่องช่วยฟังโรงพยาบาล         โรงพยาบาล และแน่นอน ท่านสามารถซื้อเครื่องช่วยฟังจากโรงพยาบาล ณ แผนกหู คอ จมูกได้ และจะต้องเป็นโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง ทั้งนี้การใส่เครื่องช่วยฟังที่โรงพยาบาล ท่านจะได้รับการตรวจการได้ยินและเครื่องช่วยฟังของท่านจะถูกปรับตามผลตรวจการได้ยิน

หมายเหตุ : โรงพยาบาลบางแห่งมีแผนกหู คอ จมูก แต่ไม่มีห้องตรวจการได้ยินและไม่มีอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังจำหน่าย (ราคา X,XXX – XX,XXX.-)

 

        ร้านขายยา อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังมีจำหน่ายในร้านขายยาขนาดใหญ่ ท่านสามารถซื้อใส่เองได้โดยไม่ต้องตรวจการได้ยิน ทั้งนี้เครื่องช่วยฟังจากร้านขายยาจะไม่สามารถปรับตามผลตรวจการได้ยินได้ โปรแกรมการตั้งค่าต่างๆ จะถูกตั้งค่ามาจากโรงงาน

หมายเหตุ : เครื่องช่วยฟังจะขยายเสียงทุกเสียง ทุกความถี่เสียงเท่าๆ กัน อาจทำให้รู้สึกรำคาญได้ (ราคา X,XXX.-)

 

        อินเทอร์เน็ต แหล่งรวมทุกอย่างที่ต้องการ ท่านจะพบกับเครื่องช่วยฟังหลากหลายรูปแบบ หลากหลายฟังก์ชั่นการทำงาน โดยที่ท่านสามารถเลือกซื้อใส่ได้เองโดยไม่ต้องตรวจการได้ยิน ทั้งนี้เครื่องช่วยฟังจะไม่ถูกตั้งค่าตามผลตรวจการได้ยินของท่าน โปรแกรมการตั้งค่าต่างๆ จะถูกตั้งค่ามาจากโรงงาน

หมายเหตุ : เครื่องช่วยฟังจะขยายเสียงทุกเสียง ทุกความถี่เสียงเท่าๆ กัน ใส่แล้วอาจทำให้รู้สึกรำคาญ เนื่องจากเครื่องไม่ได้ถูกปรับตามระดับการได้ยิน โปรดศึกษาคุณสมบัติเครื่องช่วยฟังเพิ่มเติม (ราคา XXX – XX,XXX.-)

 

        ร้านจำหน่ายเครื่องช่วยฟัง ท่านจะได้รับการตรวจการได้ยิน เครื่องช่วยฟังของท่านจะถูกปรับตามผลตรวจการได้ยิน และเครื่องช่วยฟังสามารถเพิ่มโปรแกรมการฟัง เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โบสถ์ ฯลฯ ตามไลฟ์สไตล์ของท่านได้ ทั้งนี้การปรับตั้งค่าเครื่องช่วยฟังจะใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเครื่องช่วยฟังยี่ห้อนั้นๆ โปรดศึกษาคุณสมบัติเครื่องช่วยฟังของท่าน

หมายเหตุ : ร้านจำหน่ายเครื่องช่วยฟังจะมีบริการหลังการขาย โปรดสอบถามศูนย์บริการฯ เพิ่มเติม (ราคา X,XXX – XXX,XXX.-)

 


 

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว…

 

         ท่านผู้มีปัญหาการได้ยินพอจะทราบแหล่งข้อมูลในการเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังให้กับตัวท่านเองแล้วว่าซื้อจากที่ไหนได้บ้าง และข้อแตกต่างของแต่ละสถานที่ที่จำหน่ายนั้นแตกต่างกันอย่างไร โปรดพิจารณาจากความคุ้มค่าและประโยชน์ที่ท่านจะได้รับหลังจากนี้

 

 

ซื้อเครื่องช่วยฟัง ต้องพบแพทย์ก่อนไหม?

 

วิธีการเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังที่ดีที่สุด คือ แนะนำให้พบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน ณ โรงพยาบาลหรือศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง ท่านจะได้รับการตรวจวัดระดับการได้ยิน ว่าท่านสูญเสียการได้ยินอยู่ในระดับใด และเหมาะกับเครื่องช่วยฟังประเภทไหน เพื่อการปรับเครื่องช่วยฟังให้พอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ใส่เครื่องแล้วฟังสบายและได้รับประโยชน์สูงสุด

 

 

“กรณีการได้ยินลดลงแบบเฉียบพลัน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้นาน ท่านอาจสูญเสียการได้ยินไปตลอดชีวิต”

Intimex Hearing Aids Service Center ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์

 

บริการตรวจการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai  hearingchiangmai  Line: @hearingchiangmai

Thai Languages-Specific Targets

 

รู้หรือไม่ ทั่วโลกเรามีภาษาในการพูดสื่อสารมากกว่า 7,000 ภาษา ซึ่งภาษาพูดที่ใช้กันมากที่สุดคือ ภาษาอังกฤษ และรองลงมาคือ ภาษาจีนแมนดาริน

 

2022 languages with the most speakers

ข้อมูลจาก Ethnologue, 2022

 

    การสื่อสารด้วยภาษาพูดในแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงการพูด ความหนักเบาของน้ำเสียง หรือแม้แต่ความเร็วในการพูด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการรับฟังเสียงสำหรับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง

 

 

 

 

Language Specific Targets

ระบบการตั้งค่าเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ

คิดค้นและพัฒนาโดย Marshall Chasin, AuD และ Neil S. Hockley, MSc


language specific targets

ซอฟต์แวร์ Bernafon’s Oasis fitting รองรับกว่า 7,000 ภาษา

      Language Specific Targets เป็นระบบที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์การตั้งค่าเครื่องช่วยฟังของ Bernafon ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านภาษาในการฟังโดยใช้ปัจจัยทางภาษาศาสตร์ เพื่อสร้างสัญญาณเสียงพูดให้เหมาะสมกับภาษาของผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟัง

    ระบบการตั้งค่านี้รองรับภาษามากกว่า 7,000 ภาษา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาไทย ภาษาละติน ฯลฯ (สอบถามผู้ให้บริการเครื่องช่วยฟังของท่าน)

 

 

เปรียบเทียบภาษาพูด ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาเกาหลี

การค้นคว้าของ Dr.Marshall Chasin, Au.D., Reg. CASLPO, AuD(C), Unpublished data, 2010.


English result

English: ‘‘My mother is at home.’’ Note the higher intensity of the entence final object as compared with the sentence final elements in Korean. Unpublished data from Chasin (2010).

Korean result

Korean: ‘‘A pretty picture is hanging on the wall.’’ Actual Korean word order: ‘‘A pretty picture the wall on is hanging.’’ The phrase ‘‘on is hanging’’ has significantly lower intensity than the sentence initial subject. Unpublished data from Chasin (2010).

 

       จากการค้นคว้าของ Dr.Marshall Chasin ได้เผยให้เห็นถึงความเข้มของเสียงในรูปประโยคสุดท้ายของภาษาอังกฤษ (object) ที่มีความเข้มสูงกว่ารูปประโยคสุดท้ายของภาษาเกาหลี (Verb)

       และในรูปประโยคภาษาเกาหลี วลี ‘‘on is hanging’’ (Verb) มีความเข้มของเสียงต่ำกว่าประโยคแรก (Subject) อย่างมีนัยสำคัญ

 

Eng VS Korean

ภาพกราฟแสดงระดับความดังเสียงในการ input/output (dB SPL) ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาเกาหลี

         ทั้งนี้จากภาพกราฟแสดงถึงระดับความดังเสียง ในการ input/output (dB SPL) ระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาเกาหลี ที่แตกต่างกัน

      Language Specific Targets ระบบการตั้งค่าภาษานี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังคนเกาหลี สามารถรับฟังเสียงได้ง่ายขึ้น

 

 

นอกจากนี้ Dr.Marshall Chasin ได้ยกตัวอย่างระดับความถี่เสียงที่ใช้ในภาษาอื่นๆ สำหรับผู้ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ ไว้ดังนี้

Compare Languages

ภาพตารางแสดงระดับความถี่เสียงกับภาษาอื่นๆ

 

 

Language Specific Targets ระบบการตั้งค่าภาษา จะช่วยให้ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังรับฟังเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ความหนักเบาของเสียง  ฯลฯ ในภาษาภูมิภาคของตนได้ง่ายขึ้น

 

 


ทดลองฟัง เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง Bernafon พร้อมการตั้งค่าผู้ใช้งานภาษาไทย

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111

Call-Button-Intimex chiangmai hearingchiangmai Line: @hearingchiangmai

เช็คสัญญาณปัญหาการได้ยิน-อาการหูตึง

 

        หูไม่ได้ยินหรือหูตึง ปัญหาการได้ยินที่คนส่วนมากมักมองข้ามและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร รู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อเริ่มสื่อสารกับผู้อื่นลำบากแล้ว

        อาการของการสูญเสียการได้ยินหรือหูตึง มีหลายระดับขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรง บางรายสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยในหูทั้งสองข้าง บางรายสูญเสียการได้ยินรุนแรงในหูข้างเดียว หรือบางรายสูญเสียการได้ยินในแต่ละข้างไม่เท่ากัน ดังนั้นประสบการณ์การฟังย่อมแตกต่างกัน

 

เช็คสัญญาณอาการที่เข้าข่ายผู้มีปัญหาการได้ยิน

ตรวจเช็คอาการดังต่อไปนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและหาวิธีป้องกันให้กับการได้ยินของคุณ


ดูทีวีเสียงดัง อาการหูตึง

  • เพื่อนหรือครอบครัวบอกว่าคุณเปิดทีวีหรือวิทยุดังเกินไป
  • คุณมีปัญหาในการทำความเข้าใจคำพูด โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง
  • คุณมีปัญหาในการสนทนาทางโทรศัพท์
  • คุณมีความรู้สึกว่าได้ยิน แต่ฟังไม่เข้าใจ
  • คุณไม่แน่ใจว่าเสียงมาจากทิศทางไหน
  • คุณมักจะขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ
  • คุณต้องพึ่งพาคู่สมรสหรือคนที่คุณรักเพื่อช่วยให้คุณได้ยิน
  • คุณพบว่าตัวเองกำลังหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม
  • คุณรู้สึกอ่อนเพลียหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เกิดจากความเหนื่อยล้าในการฟัง
  • คุณมีอาการเสียงดังในหู
  • คุณมีอาการหูอื้อ

 

     หากพบว่าตัวคุณเองมีปัญหาการได้ยินดังอาการที่กล่าวมานี้ กรณีเพิ่งเริ่มมีอาการ แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก เพื่อทำการรักษา หรือกรณีไม่แน่ใจว่าตัวคุณเองมีปัญหาการได้ยินหรือไม่ บางครั้งได้ยินดี แต่ในบางครั้งกลับไม่ได้ยิน

       แนะนำให้คุณตรวจการได้ยิน คุณจะทราบถึงระดับการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด (dB) มีปัญหาการได้ยินในช่วงความถี่เสียงที่เท่าไหร่ (Hz) เพื่อให้คุณเตรียมความพร้อมและหาวิธีการป้องกันหรือวิธีการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยคุณสามารถเข้ารับบริการตรวจการได้ยินได้ที่โรงพยาบาล หรือศูนย์บริการเอกชนใกล้บ้าน

 

 

คุณสามารถตรวจการได้ยินประจำปีได้โดยไม่ต้องรอให้แพทย์สั่ง หรือรอให้ตัวคุณเองไม่ได้ยิน

 

    


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน บริการตรวจการได้ยิน (Pure-Tone Audiometry)

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111

hearingchiangmai    Line: @hearingchiangmai

 

ขอบคุณข้อมูลจาก healthyhearing.com

เครื่องช่วยฟังกับผู้สูงอายุ

      

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและอวัยวะเริ่มถดถอยและเสื่อมลง

 

      การสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึงในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของประสาทหูหรือเซลล์ขน (Hair cell) ในการรับเสียง โดยเสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสื่อมในวัยผู้สูงอายุนั้นจะค่อยๆ เริ่มเสื่อมอย่างช้าๆ ส่งผลให้การได้ยินค่อยๆ ลดลง

 

คุณยายไม่ได้ยิน

      ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่จะช่วยรักษาหรือฟื้นฟูให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติดังเดิมได้

      ทั้งนี้การใส่เครื่องช่วยฟังจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ยินดีขึ้น เครื่องช่วยฟังจะทำหน้าที่ขยายเสียง โดยเสียงจะเป็นตัวเข้าไปกระตุ้นประสาทหูที่เหลืออยู่ให้ทำงานและคงสภาพการได้ยินไว้

 

 

หูตึงระดับใด ที่ผู้สูงอายุควรใส่เครื่องช่วยฟัง?

หูตึงมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย – ระดับรุนแรง


ระดับการสูญเสียได้ยินกับการใส่เครื่องช่วยฟังในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้

  • หูตึงระดับเล็กน้อย (26 – 40 dB) ยังสามารถสื่อสารได้ ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
  • หูตึงระดับปานกลาง (41 – 55 dB) เริ่มสื่อสารด้วยเสียงที่ดังขึ้น จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
  • หูตึงระดับค่อนข้างรุนแรง (56 – 70 dB) เริ่มสื่อสารด้วยการตะโกน จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
  • หูตึงระดับรุนแรง (71 – 90 dB) จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง ประเภทกำลังขยายสูง*

หมายเหตุ

สูญเสียการได้ยิน มากกว่า 40 dB ขึ้นไป แพทย์แนะนำการใส่อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง
สูญเสียการได้ยิน มากกว่า 80 dB ขึ้นไป แพทย์แนะนำการผ่าตัดประสาทหูเทียม (หลักเกณฑ์การผ่าตัดประสาทหูเทียม)

 

เครื่องช่วยฟัง กับ ผู้สูงอายุ


เครื่องช่วยฟังกับผู้สูงอายุ     นอกจากแว่นตาแล้ว เครื่องช่วยฟังก็ยังเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในวัยผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยเช่นกัน การใส่เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลามากกว่า 5 – 10 ปี เป็นเรื่องค่อนข้างยากในการฟัง เนื่องจากตัวผู้สูงอายุเองไม่ได้ยินเสียงบางเสียงมานาน เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้วอาจทำให้รู้สึกรำคาญได้ จึงจำเป็นต้องค่อยๆ ปรับตัวและให้เวลากับมัน (อ่าน 10 เทคนิคการเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง)

       หรือในบางท่านได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการซื้อเครื่องช่วยฟังในอินเทอร์เน็ตมาใส่เอง ใส่แล้วมีเสียงดังรบกวน ทำให้ฟังไม่รู้เรื่องมากกว่าเดิม บางท่านเสียงดังจนปวดหู ทำให้รู้สึกรำคาญ ทนใส่ไม่ไหวและไม่อยากใส่เครื่องอีกเลย

 

      ดังนั้น การใส่เครื่องช่วยฟังที่ดีควรเริ่มใส่ตั้งแต่ท่านเริ่มไม่ค่อยได้ยิน หรือเริ่มสื่อสารกับคนรอบข้างลำบาก ซึ่งโดยมากแล้วแพทย์จะแนะนำให้ใส่เมื่อมีการสูญเสียการได้ยิน มากกว่า 40 dB ขึ้นไป และควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจการได้ยินและปรับเครื่องตามผลการได้ยิน เพื่อให้ท่านใส่เครื่องช่วยฟังแล้วฟังสบาย สื่อสารกับคนรอบข้างกับลูกหลานได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน ตรวจการได้ยินผู้สูงอายุ (Pure-Tone Audiometry)

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง DFC ตัดเสียงหวีดรบกวน

 

อีกหนึ่งปัญหาของผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟัง คือ

เสียงหวีดรบกวน

 

         ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอิริยาบถใด หรือมีสิ่งใดเข้าใกล้กับเครื่องช่วยฟังของคุณ เครื่องก็มักจะส่งเสียงหวีด (Feedback) รบกวนออกมาทำให้คุณรู้สึกรำคาญ และในบางครั้งยังทำให้คุณรู้สึกขาดความมั่นใจต้องคอยกังวลว่าจะมีเสียงหวีดรบกวนระหว่างการสนทนา หรือสร้างความรำคาญให้กับผู้คนรอบข้างหรือไม่

 

 

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง 

Dynamic Feedback Canceller™ (DFC™)


Dynamic Feedback Canceller datapoint

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง Dynamic Feedback Canceller™ วิเคราะห์สัญญาณสูงสุด 126,000 ครั้งต่อวินาที

      DFC™ เทคโนโลยีตัดเสียงรบกวนอย่างรวดเร็วที่มีอยู่ในเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอลคุณภาพสูงจากเบอร์นาโฟน (Bernafon) ประมวลผลด้วยไมโครชิปใหม่ (Microchip) เทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคุณ

 

ด้วยการขจัดเสียงหวีดรบกวนออกจากเครื่องช่วยฟัง ภายใน 22 มิลลิวินาที*

 

 

 

        หากคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องใส่เครื่องช่วยฟัง สวมหมวก สวมแว่นตา คุยโทรศัพท์ หรือแม้แต่การโอบกอดคนรักของคุณเป็นประจำ เทคโนโลยี DFC™ จะช่วยเสริมสร้างการมีบุคลิกภาพที่ดีให้กับคุณ ให้คุณไม่ต้องคอยกังวลเสียงหวีด (Feedback) จากเครื่องช่วยฟังที่จะคอยรบกวน สร้างความรำคาญให้กับตัวคุณเองและคนรอบข้าง อีกทั้งยังช่วยให้คุณไม่พลาดกับบทสนทนาสำคัญๆ

 

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง

 

เรียนรู้เทคโนโลยี DFC™ เทคโนโลยีขจัดเสียงหวีดรบกวนอย่างรวดเร็ว ที่มีอยู่ในเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง รุ่น Viron และ Leox

 

 


ขอรับข้อมูลเครื่องช่วยฟังเทคโนโลยี DFC™ และทดลองฟัง ได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร : 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

ความแตกต่าง เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง vs เครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคา

      

 

เครื่องช่วยฟัง ไม่ว่าจะราคาถูกหรือราคาแพงต่างมีหลักการทำงานเดียวกัน คือ การขยายเสียง

 

 

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เครื่องช่วยฟังมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลากหลายราคา และหลากหลายคุณสมบัติในการทำงาน เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของแต่ละคน และแน่นอนว่าเครื่องช่วยฟังที่มีราคาแพง ย่อมมีฟังก์ชันการทำงานที่มากกว่าเครื่องช่วยฟังราคาถูก

 

การเลือกเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินหรือบกพร่องทางการได้ยิน นอกจากปัจจัยในเรื่องราคาเครื่องช่วยฟังแล้ว ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใส่เครื่อง คือ เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้วสามารถพูดคุยสื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้อย่างเข้าใจ ใส่เครื่องแล้วฟังสบาย และที่สำคัญคือช่วยให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายขึ้นกว่าการไม่ใส่เครื่อง

 

 

ความแตกต่างของ
เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง vs เครื่องช่วยฟังทั่วไป

เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง เครื่องช่วยฟังทั่วไป อนาล็อก อินเทอร์เน็ต ร้านขายยา

 

เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง เครื่องช่วยฟังทั่วไป
  • ซื้อได้ ณ ศูนย์จำหน่ายเครื่องช่วยฟัง
  • ต้องตรวจวัดระดับการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล (Digital) มี ไมโครชิพ ที่ช่วยขยายเสียงให้เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยินในแต่ความถี่เสียง สามารถแยกสัญญาณเสียงคำพูดออกจากสัญญาณเสียงรบกวนได้ ช่วยให้ฟังเสียงคำพูดได้ชัดเจนกว่าเสียงรบกวนรอบข้าง
  • สามารถปรับรายละเอียดของเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ได้อย่างละเอียด ด้วยซอฟแวร์การปรับเสียงโดยเฉพาะ ช่วยให้มีความแม่นยำมากขึ้น
  • สามารถปรับเสียงตามผลการได้ยิน เพื่อถนอมการได้ยิน
  • มีปุ่ม เพิ่ม – ลด เสียง และปุ่มเปลี่ยนโปรแกรมการฟัง เลือกโปรแกรมเฉพาะการฟังให้เหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ได้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร เสียงช้อนส้อมกระทบกัน โบสถ์ ฯลฯ
  • ราคาค่อนข้างสูง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน
  • ขนาด สี รูปร่าง ดีไซน์ที่ทันสมัย
  • การบริการหลังการขาย (สอบถามกับผู้จำหน่าย)
  • ซื้อได้ตาม ร้านขายยา อินเทอร์เน็ต ซื้อใส่เองได้เลย
  • ไม่ต้องตรวจวัดระดับการได้ยิน
  • มีทั้งเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล หรือระบบอนาล็อก การขยายเสียงไม่ยืดหยุ่นตามระดับการสูญเสียการได้ยินในแต่ละความถี่เสียง (กรณีระบบอนาล็อก ขยายเสียงด้วย ตัวขยายเสียง และจะขยายทุกเสียงเท่าๆ กัน ทั้งเสียงคำพูดและเสียงรบกวน ใส่แล้วอาจรู้สึกรำคาญได้)
  • ไม่สามารถปรับรายละเอียดของเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ได้ และไม่มีซอฟแวร์การปรับแต่งเสียง
  • ไม่สามารถปรับเสียงตามผลการได้ยิน
  • มีปุ่ม เพิ่ม – ลด เสียง และปุ่มเปลี่ยนโปรแกรมการฟัง เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปถูกตั้งค่าจากโรงงาน ไม่สามารถปรับรายละเอียดเสียงเพิ่มได้
  • ราคาถูก ตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน
  • รูปแบบเครื่องช่วยฟังทั่วไป
  • ส่วนใหญ่ไม่มีบริการหลังการขาย (สอบถามกับผู้จำหน่าย)

 

เลือกเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง-vs-เครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคาทั้งนี้ การเลือกเครื่องช่วยฟังไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง หรือเครื่องช่วยฟังทั่วไป ราคาถูกหรือราคาแพง ควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่ใส่แล้วพอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ประเภทและกำลังขยายของเครื่องจะต้องรองรับระดับการสูญเสียการได้ยิน และคุณสมบัติของเครื่องจะต้องเหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้การใส่เครื่องช่วยฟังเกิดประโยชน์สูงสุด

 

หากเลือกเครื่องช่วยฟังที่ไม่พอดีกับระดับการสูญเสียการได้ยิน เมื่อใส่เครื่องไปแล้วอาจสร้างความรำคาญในการรับฟังเสียง ฟังแล้วรู้สึกไม่สบายหู ทำให้ผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟังบางรายอาจเข็ดกับการใส่เครื่อง และไม่อยากใส่เครื่องช่วยฟังอีกเลย หรือในกรณีที่ทนใส่เครื่องไปนานๆ อาจส่งผลให้ ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น หรือ หูตึงเพิ่มมากขึ้น 

 

 

 

ผู้ที่สูญเสียการได้ยิน หรือผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ควรเข้ารับการตรวจการได้ยินเป็นประจำปีทุกปี เพื่อติดตามผลการได้ยินอย่างสม่ำเสมอ

 

 


ปรึกษาปัญหาการได้ยิน บริการตรวจการได้ยิน และทดลองเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร : 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

หูตึงมาก ควรเลือกเครื่องช่วยฟังแบบใด

 

 

หูตึงมาก หรือหูเสียมาก ควรเลือกเครื่องช่วยฟังแบบใด?”

เครื่องช่วยฟังที่ท่านใช้อยู่ เหมาะกับการได้ยินของท่านแล้วหรือไม่?

 

 

เคยสงสัยหรือไม่ว่า…

หูตึงมาก หรือหูเสียมาก ต้องใช้เครื่องช่วยฟังแบบไหน?

หูตึงมาก คือการได้ยินอยู่ในระดับใด?

 

 

หูตึงมาก – รุนแรง


  • หูตึงมาก หูเสียมาก  หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับค่อนข้างรุนแรง ตั้งแต่ 56 – 70 เดซิเบล  (ต้องพูดเสียงดังมาก จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา)
  • หูตึงรุนแรง หูเสียรุนแรง  หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรง ตั้งแต่ 71 – 90 เดซิเบล  (ต้องตะโกนเสียงดัง แม้ใส่เครื่องช่วยฟังก็จะได้ยินไม่ชัด)

หมายเหตุ : กรณีสูญเสียการได้ยินในระดับ 80 เดซิเบลขึ้นไป ทั้งสองข้าง โปรดพิจารณา การผ่าตัดประสาทหูเทียม

 

 

Leox เครื่องช่วยฟัง กำลังขยายสูง     ผู้มีปัญหาการได้ยิน หูตึงหรือหูเสียมาก ไปจนถึงขั้นรุนแรง ควรรู้…

       เครื่องช่วยฟังที่เหมาะกับการได้ยินสำหรับผู้ที่หูเสียมากไปจนถึงรุนแรง จะต้องเป็น เครื่องช่วยฟังแบบกำลังขยายสูง (High Power) ที่สามารถรองรับการขยายเสียงในระดับความดัง ตั้งแต่ 56 เดซิเบลขึ้นไป เพื่อให้พอดีกับการได้ยินและเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟังมากที่สุด

 

 

ทั้งนี้ ระดับความดังหรือกำลังขยายเสียงที่ไม่พอดีกับการได้ยิน มากไปหรือน้อยไป และต้องใส่เครื่องเป็นระยะเวลานานๆ อาจส่งผลให้ประสาทหูเสื่อมเพิ่มขึ้นหรือเร็วขึ้นกว่าเดิมได้

 

 

 

หากท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่ยังไม่เคยใส่เครื่องช่วยฟังมาก่อน หรือเคยซื้อเครื่องช่วยฟังมาใส่เองแบบไม่เคยตรวจการได้ยิน

 

ท่านอาจประสบปัญหาจากการใส่เครื่อง เช่น ใส่แล้วเสียงดังเกินไป ใส่แล้วมีเสียงหวีด เสียงรบกวน ก่อให้เกิดความรำคาญ ใส่แล้วไม่พอดีกับช่องหู ทำให้มีเสียงหวีดออกมาระหว่างการสนทนา การทำกิจกรรมต่างๆ เกิดความไม่มั่นใจ ไม่อยากพูดคุยหรือพบปะกับใคร

 

 


ปรึกษาการเลือกเครื่องช่วยฟัง บริการตรวจการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : @hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai