Posts

4 วิธีการรับมือ ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน

       ขึ้นชื่อว่า “ผู้สูงอายุ” ก็จะมาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บสารพัด ใดๆ เลย การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ แต่เหล่าสูงวัยเองก็มักหนีไม่พ้น หูเอย ตาเอย แขนขาเอย โดยเฉพาะหู ที่เริ่มจะไม่ได้ยินหรือหูตึงนั่นเอง แล้วจะมีวิธีการรับมือหูตึงในวัยสูงอายุนี้ได้อย่างไร?  

ผู้สูงอายุ หูตึง ผลกระทบมากกว่าที่คิด


       ไม่ว่าใครก็ตาม เมื่อต้องเผชิญกับภาวะสูญเสียการได้ยิน หูไม่ได้ยิน หรือ หูตึง มักจะรู้สึกว่าการสื่อสารกับผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หรือน่าอึดอัดใจ

       โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับอาการหูไม่ค่อยได้ยิน ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนโดนแยกออกจากโลกภายนอก รู้สึกซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในด้านอื่นได้อีกด้วย

หูตึง ประสาทหูเสื่อม ตามอายุ

      ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุ หรือประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) เป็นอาการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในหูชั้นใน ความเสื่อมจะกระทบไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นความถี่ช่วงเสียงพูด ทำให้เริ่มฟังไม่ชัดเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือด เป็นต้น

“สูงวัย อย่างมีความสุข” ได้อย่างไร?

ดูแลผู้สูงอายุ

       มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่มีการสูญเสียการได้ยิน ทั้งที่ยอมรับตัวเองได้ และยังไม่ยอมรับตัวเองว่าหูไม่ได้ยิน การยอมรับตัวเองได้เร็ว และหาอุปกรณ์ช่วย จะเป็นผลดีต่อตัวผู้สูงอายุเอง

ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน

เรียนรู้ 4 วิธีการรับมือ สำหรับผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว

1. ลูกหลานควรเห็นอกเห็นใจ และผู้สูงอายุต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง

       การดูแลหรือพูดคุยกับผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยินหรือหูตึง อาจทำให้ลูกหลานรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าใจได้ในครั้งเดียวที่พูดด้วย แต่เชื่อเถอะว่าคนที่รู้สึกอึดอัดใจมากกว่า ก็คือตัวผู้สูงอายุเอง ที่ต้องสูญเสียความสามารถทางการได้ยิน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกับผู้สูงอายุแล้วท่านไม่เข้าใจ ลองเปลี่ยนวิธีการพูดหรือเปลี่ยนประโยคพูดใหม่ อย่าพูดจบแล้วเดินหนี เพราะท่านอาจคิดมาก น้อยใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่สำคัญกับคนในครอบครัว

       ตัวผู้สูงอายุเองก็ควรพูดหรือโต้ตอบไปตามที่ตนเองเข้าใจ อย่าคิดมากและอย่ากลัวที่จะพูด การพูดโต้ตอบเพื่อกระตุ้นให้สมองได้ทำงานบ้าง หยุดเครียดคิดมากวิตกกังวลและใช้ชีวิตให้มีความสุข ทำความเข้าใจและยอมรับว่าร่างกายของตนนั้นเสื่อมถอยลงตามอายุ และอารมณ์ที่แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือน้อยใจ 1 วัน หลากหลายอารมณ์นั่นก็เพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

2. ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง ลูกหลานต้องมีความอดทน

ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง และลูกหลานต้องมีความอดทน

       การยอมรับว่าตนเองหูไม่ได้ยิน หรือสูญเสียความสามารถทางการได้ยินไปเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการเสื่อมของประสาทการได้ยินที่ค่อยๆ เสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว และคิดว่าตนเองไม่ได้มีปัญหาการได้ยิน
       ลูกหลานหรือคนในครอบครัวจำเป็นต้องสื่อสารกับท่านด้วยความอดทน พยายามพูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในขณะเดียวกันต้องพยายามให้ท่านได้รับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ท่านได้ยิน เพื่อรอวันที่ท่านพร้อมจะเปิดใจรับความช่วยเหลือ

3. ผู้สูงอายุควรหากิจกรรมทำ ลูกหลานส่งเสริมความมีคุณค่าให้กับผู้สูงอายุ

       มีผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอารมณ์ของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความคิดในแง่ลบต่างๆ หรือความอึดอัดที่ทำให้หงุดหงิดง่าย

       ดังนั้น ผู้สูงอายุควรหากิจกรรม หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบทำ เพื่อลดความเครียด วิตกกังวล เช่น การเดินออกกำลังกาย ปลูกผัก รดน้ำต้นไม้ หรือพบปะเพื่อนฝูง และลูกหลานควรทำความเข้าอกเข้าใจกับอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญในแต่ละวัน จะทำให้เราเข้าใจการแสดงออกของท่านได้มากขึ้น หมั่นหากิจกรรมทำร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว

4. คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ

คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ-

      เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ค่อยได้ยิน ให้พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ พูดช้าๆ และทำรูปปากให้ชัดเจนเพื่อที่อย่างน้อยท่านจะได้สามารถอ่านปาก ประกอบเสียงที่ได้ยินได้บ้าง

      ผู้สูงอายุจะจำได้ไม่ดีเท่าคนที่อายุน้อย เพราะเกิดจากความเสื่อมและความช้าของสมองในการรับรู้และประมวลผล

      การแก้ปัญหาหูไม่ได้ยิน หูตึง ในผู้สูงอายุ

      อาการหูตึงในผู้สูงอายุ หรือการที่ประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัยนั้นเป็นภาวะความเสื่อมของอวัยวะ การช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วยฟังถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงจากผู้พูด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยินอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน ใส่เครื่องช่วยฟัง

      อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวของผู้ร่วมสนทนาหรือผู้พูดที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของอาการหูตึงในผู้สูงอายุและพยายามปรับการพูด เพื่อให้ผู้สูงอายุทำความเข้าใจบทสนทนาระหว่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยหลักการพูดเมื่อต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ได้ยิน มีดังนี้

• พยายามพูดในที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน หรือลดเสียงรบกวนรอบข้างระหว่างการพูดคุย
• พูดออกเสียงช้าๆ ชัดๆ พูดคำให้ครบ ไม่พูดงึมงำในคอ และตรวจสอบว่าผู้สูงอายุท่านเข้าใจ
• ใช้ท่าทางมือและสีหน้าประกอบในการสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร

อินทิเม็กซ์ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ให้มีสุขภาพการได้ยินที่ดีไปพร้อมกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

intimex อินทิเม็กซ์

ปรึกษาการได้ยินในผู้สูงอายุ

บริการทดสอบการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

หูเสียสองข้าง ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง

กลไกการได้ยินของมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ การได้ยินทำให้เรารับรู้เสียงรอบตัวของเรา รับรู้มิติของเสียง และความสมดุล

การได้ยินไม่ได้เกิดขึ้นในหู แต่มันเกิดขึ้นในสมองของคุณ

       เสียงเดินทางผ่านหูของคุณ แก้วหูสั่นและทำให้กระดูกหูชั้นกลางเคลื่อนไหว เซลล์ขนเล็กๆ ภายในหูชั้นในจะเคลื่อนตัวขึ้นอยู่กับว่าเป็นเสียงต่ำ กลาง หรือสูง การเคลื่อนไหวเหล่านี้กระตุ้นเซลล์ประสาทในเส้นประสาทการได้ยินของคุณ จากนั้นสัญญาณจะข้ามไปยังอีกซีกหนึ่งของสมองส่วนการได้ยินของคุณ เพื่อตีความหมายว่าเป็นเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่นๆ

เมื่อคุณ สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง

       สมองของคุณต้องการข้อมูลที่ป้อนเข้ามาจากหูทั้งสองข้าง เพื่อแปรผลจากเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง แต่ใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว จะลดโอกาสการได้ยินและความเข้าใจของสมองลง 50 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งลดความสามารถในการรับรู้ความลึกและช่วงพื้นที่ที่คุณจะได้ยิน

Hearing

       เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง คุณจะได้ยินเสียงดีขึ้น ตอนนี้สมองรู้แล้วว่าจะเก็บข้อมูลใด และจะทิ้งข้อมูลใด ข้อมูลสำคัญจะเป็นเสียงพูด การสนทนา เพลง และเสียงที่มีความหมาย ข้อมูลที่ไม่สำคัญ เช่น เสียงรบกวนต่างๆ คุณจะได้ยินน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

       การได้ยินที่ดีขึ้นช่วยให้สมองทำสิ่งเหล่านี้ได้ หากคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง จะส่งสัญญาณที่เหมาะสมไปยังสมอง ให้แปรความหมายจากโทนเสียง และความถี่ต่างๆ ได้ และสามารถเติมเต็มในส่วนที่คุณอาจพลาดไป

หูเสียสองข้าง ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?

       เมื่อคุณพบว่าคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง และผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังได้แนะนำให้คุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น คุณมักมีคำถาม “ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?”

       หากคุณสูญเสียการได้ยินสองข้าง และนี่คือประโยชน์เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟัง

9 ประโยชน์ เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น เมื่อ ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง

สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินสองข้าง


ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ได้ยินเสียงรบกวนลดลง

1. ได้ยินเสียงรบกวนลดลง

      หนึ่งในสาเหตุที่ผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังพบบ่อยที่สุด คือ การเข้าใจคำพูดในสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น ในร้านอาหาร

      การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ช่วยให้สมองประมวลผลเสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เน้นเสียงคำพูด และกรองเสียงรบกวนออก ความสามารถในการทำงานของสมองเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น หากคุณใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว

2. ลดอาการเหนื่อยล้า จากการฟัง

      การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้อาการเหนื่อยล้าจากการฟังลดลง เนื่องจากสมองมีข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการแปรความหมายของเสียงที่ได้ยินแล้ว ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว ต้องใช้พลังมากขึ้น ตั้งใจฟังมากขึ้น สมองต้องทำงานหนักเพื่อ “เติมคำในช่องว่าง” ให้กับคุณ

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ลดอาการเหนื่อยล้า จากการฟัง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ให้ความรู้สึกสมดุล ได้ยินเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น

3. ให้ความรู้สึกสมดุล ได้ยินเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น

        เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ข้อมูลของเสียงที่ได้ยินถูกป้อนอย่างสมดุลเข้าสู่หูทั้งสอง สมองจึงพึ่งพาหูแต่ละข้างอย่างเท่าเทียมกันในการฟัง ยิ่งสมองแปรผลและเข้าใจเสียงที่ได้ยินมากขึ้นเท่าใด คำพูดที่คุณได้ยินก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นเท่านั้น

4. รู้ทิศทางของเสียง

      หูสองข้าง ทำให้เราระบุที่มาได้ว่าเสียงมาจากทิศทางไหน เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง หูทั้งสองข้างทำงานร่วมกัน คลื่นเสียงจากหูทั้งสองข้างจะส่งไปยังสมอง เพื่อช่วยให้คุณระบุตำแหน่งที่มาของเสียง เช่น รู้ว่าเสียงไซเรนจากรถพยาบาล กำลังมาจากทิศทางไหนเมื่อคุณขับรถ

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง รู้ทิศทางของเสียง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ช่วงของการได้ยินเสียง กว้างขึ้นจาก 180◦ เป็น 360◦

5. การได้ยินเสียง มีช่วงกว้างขึ้นจาก 180 เป็น 360

      การได้ยินเสียงจากด้านใดด้านหนึ่งจะจำกัดปริมาณเสียงที่คุณได้ยินจากอีกด้านหนึ่ง ความเข้าใจเสียงของคุณจึงถูกจำกัด การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้คุณสามารถได้ยินเสียงอย่างชัดเจนจากทั้งสองทิศทาง คุณจะได้ยินเสียงง่ายขึ้นและได้ยินคนพูดคุยรอบตัวคุณ เพิ่มช่วงการได้ยินจาก 180 เป็น 360 องศาทีเดียว

6. เพิ่มความสามารถในการ “เลือกฟัง”

      เมื่อมีคนพูดคุยหลายคนพร้อมกัน เช่น ในร้านอาหาร การเข้าใจคู่สนทนาเป็นเรื่องลำบากมากหากคุณใส่เครื่องช่วยฟังในข้างเดียว เนื่องจากเสียงทุกเสียงจะเข้ามาที่หูข้างที่คุณใส่เครื่องช่วยฟัง เสียงทั้งหมดผสมผสานรวมกัน คุณจะไม่สามารถแยกเสียงคำพูดออกจากเสียงรบกวนรอบข้างได้เลย ความสามารถในการ “เลือกฟัง” จะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณได้ยินจากหูทั้งสองข้างเท่านั้น

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เพิ่มความสามารถในการเลือกฟัง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง รองรับเสียงดังได้ดีขึ้น

7. รองรับเสียงดังได้ดีขึ้น

      หูแต่ละข้าง รองรับความดังของเสียงได้ในระดับหนึ่ง การได้ยินด้วยหูทั้งสองข้าง ทำให้เสียงดังที่เข้ามาถูกแบ่งระหว่างหูสองข้าง จึงทำให้คุณสามารถทนต่อเสียงดังในสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงตลอดวัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานในแต่ละวันของคุณได้ดีขึ้น

8. ประหยัดแบตเตอรี่

      เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างจะถูกส่งไปที่สมอง ซึ่งจะเพิ่มความดังตามธรรมชาติให้กับคุณ ทำให้การตั้งระดับความดังของเครื่องช่วยฟังไม่จำเป็นต้องดังมาก ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว คุณต้องการความดังมากเพื่อชดเชยหูข้างที่ไม่ได้ยิน

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ประหยัดแบตเตอรี่
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง หูทั้งสองข้างแข็งแรง

9. หูทั้งสองข้างแข็งแรง

      หากคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้างและใส่เครื่องช่วยฟังในหูข้างเดียว คุณกำลังบังคับให้หูข้างเดียวทำงานสองข้าง คล้ายกับมีแขนที่อ่อนแอสองข้างที่ยกน้ำหนักด้วยแขนข้างเดียว หูข้างที่มีการสูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังจะอ่อนแอลง เนื่องจากสมองได้พึ่งพาหูข้างที่ใส่เครื่องช่วยฟังมากขึ้น เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อ หากคุณไม่ใช้มันคุณอาจสูญเสียมันไปได้ หากคุณสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้างควรได้รับการกระตุ้นของเสียงที่เข้ามาอย่างเพียงพอผ่านการใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อส่งเสริมให้คุณประสบความสำเร็จในการฟังในระยะยาว

พิจารณา การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เมื่อคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้าง

ขอรับคำแนะนำการเลือกเครื่องช่วยฟัง บริการทดลองเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

รับมือ สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน ด้วยโซลูชัน เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง

เมื่อ สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน จะรับมือปัญหานี้อย่างไร เมื่อเราต้องพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ติดต่อประสานงานภายนอกองค์กร ปัจจุบันมีเทคโนยีช่วยการได้ยิน

5 เคล็ดลับ เอาชนะความท้าทาย สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน

เมื่ออุปสรรคการ สูญเสียการได้ยิน วัยทำงาน ส่งผลต่อศักยภาพการทำงาน ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์เข้าใจถึงความท้าทายที่มาพร้อมกับความบกพร่องทางการได้ยินนี้ และ

หูสองข้างได้ยินเท่ากันหรือไม่

 

หลายคนอาจมีข้อสงสัย….

      หูทั้งสองข้าง ได้ยินเท่ากันหรือไม่? เท้าข้างหนึ่งของคุณมักจะใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่งเล็กน้อย เช่นเดียวกับสายตาที่สั้นหรือยาวกว่ากันเล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หูข้างหนึ่งอาจได้ยินดีกว่าอีกข้างหนึ่ง แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

 

¹งานวิจัยค้นพบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางหูขวา มีปัญหาในการเรียนในโรงเรียนมากกว่าเด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูซ้าย

 

 

หูซ้าย และหูขวา

หูทั้งสองข้าง รับรู้เสียงแตกต่างกัน


      ¹Yvonne Sininger, Ph.D. ศาสตราจารย์ด้านศัลยศาสตร์ศีรษะและคอ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ร่วมกับทีมงาน ได้ทำการศึกษาการได้ยินของทารกแรกเกิดมากกว่า 3,000 ราย ก่อนออกจากโรงพยาบาล พวกเขาพบว่า หูข้างซ้ายปรับเข้ากับเสียงดนตรีได้ดีกว่า และหูข้างขวารับเสียงคล้ายเสียงพูดได้ดีกว่า

      การวิจัยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างที่เริ่มต้นที่หู “เราคิดเสมอว่าหูซ้ายและขวาของเราทำงานในลักษณะเดียวกัน” Sininger กล่าว ด้วยเหตุนี้ เรามักจะคิดว่ามันไม่สำคัญว่าหูข้างไหนที่มีความบกพร่องในตัวบุคคล ตอนนี้เราเห็นว่ามันอาจมีความหมายอย่างลึกซึ้งต่อพัฒนาการทางการพูดและภาษาของแต่ละคน

      การค้นพบนี้จะช่วยให้แพทย์ พัฒนาการพูดและภาษาในทารกแรกเกิดที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและฟื้นฟูผู้ที่สูญเสียการได้ยิน

 

hearing-loss-in-child

หูซ้ายจะรับข้อมูลโทนเสียงต่างๆ เสียงดนตรี อารมณ์ และสัญชาตญาณได้ดีกว่า ในขณะที่หูขวาจะรับเสียงคำพูดและตรรกะได้ดีกว่า

 

นั่นอาจอธิบายได้ว่า…

 

     ³ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างซ้ายมาก อาจพบว่าตัวเองไม่สามารถเข้าใจอารมณ์หรือการโต้เถียงของสมาชิกในครอบครัวได้น้อยลง ในขณะที่ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างขวามาก อาจสูญเสียความสามารถในการให้เหตุผลเชิงตรรกะบางส่วน หรือการแยกแยะสิ่งต่างๆ ลดลง

 

 ซึ่งตรงข้ามกับสมองของมนุษย์เรา กล่าวคือ…

 

      ²สมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะเหตุผล การมีวิจารณญาณ ตัวเลข ภาษา และสมองซีกขวา (Right Hemisphere) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ การจินตนาการ ดนตรี ศิลปะ อารมณ์

      สอดคล้องกับงานวิจัย ในปี ค.ศ. 1960 ของ Roger W. Sperry ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ได้ศึกษาสมองสองซีกของมนุษย์ และค้นพบว่า สมองทั้งสองซีกจะทำงานกลับข้างกัน สมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของร่างกายทางด้านขวา และสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของร่างกายทางด้านซ้าย

 

Brain-and-hearing

การทำงานของสมอง และการรับเสียงของหู

 

      ¹นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ Cone-Wesson แห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนา ผู้วิจัยร่วมกับ Sininger ยังอธิบายว่า “หากบุคคลใดหูหนวกอย่างสมบูรณ์ การค้นพบของเราอาจเสนอแนวทางแก่ศัลยแพทย์ในการใส่ประสาทหูเทียมในหูข้างซ้ายหรือข้างขวาของแต่ละคน และมีอิทธิพลต่อวิธีตั้งโปรแกรมประสาทหูเทียมหรือเครื่องช่วยฟังเพื่อประมวลผลเสียง” Cone-Wesson อธิบาย “โปรแกรมประมวลผลเสียงสำหรับอุปกรณ์ช่วยฟังสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับหูแต่ละข้างได้ เพื่อให้ได้สภาวะที่ดีที่สุดสำหรับการได้ยินเสียงคำพูดหรือเสียงดนตรี”

  

 

การให้ข้อมูลของคุณกับผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินและเครื่องช่วยฟัง จะเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม รวมถึงการปรับแต่งเสียงเพื่อการใช้งานเครื่องช่วยฟังของคุณให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

ทดสอบการได้ยิน ปรึกษาการเลือกเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

 


ขอขอบคุณข้อมูล :    ¹University Of California – Los Angeles, Left And Right Ears Not Created Equal As Newborns Process Sound. ScienceDaily. [2004, Sep10]., ²กลไกสมองสองซีกกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์. ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย, 2559, healthyhearing.com
คาเฟอีน กาแฟ กับการได้ยิน

คาเฟอีนกับการได้ยิน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ดื่มกาแฟมีผลกับการได้ยิน เสียงดังในหู หูอื้อ โรคน้ำในหูไม่เท่ากันหรือไม่ ควรดื่มกาแฟเครื่องดื่มคาเฟอีนอย่างไรให้ปลอดภัย

โรคเกลียดเสียง Misophonia

 

เสียงนาฬิกาเดิน เสียงกดปากกา เสียงแป้นพิมพ์ หรือแม้กระทั่งเสียงเคี้ยว เสียงหายใจ

บางครั้งรวมถึงการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นต้นเหตุ เช่น มีคนอยู่ไม่สุข นั่งกระดิกเท้า

 

ความดังของเสียง หรืออิริยาบถการเคลื่อนไหวแค่เล็กๆ น้อยๆ สามารถทำให้คุณรู้สึกโกรธ หงุดหงิด รำคาญ หรืออยากจะหนี อาการเหล่านี้เรียกว่า โรคเกลียดเสียง (Misophonia)

 

 

โรคเกลียดเสียง เกิดจากอะไร?


         โรคเกลียดเสียงหรือโรคไวต่อเสียงบางชนิด ถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเสียงเป็นสิ่งเร้า เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของหูหรือการได้ยินแต่อย่างใด แต่เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง

         Dr.Sukhbinder Kumar นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ในคนที่มีภาวะเกลียดเสียงนั้น สมองส่วนอินซูล่าซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทสัมผัสกับอารมณ์ จะทำงานหนักกว่าคนทั่วไปในขณะที่ได้ยินเสียง ส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด หรือวิตกกังวล หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออกได้มากขึ้น ความผิดปกตินี้มีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง

Misophonia-child

 

จากสถิติพบว่า โรคเกลียดเสียงส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิง ตั้งแต่อายุ 9 – 13 ปี จนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีอาการถี่ขึ้น จนเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

 

 

 

โรคเกลียดเสียง รักษาอย่างไร?


      ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการบำบัดผู้ที่มีอาการโดยจิตแพทย์ ด้วยการให้ผู้ป่วยระบายความอึดอัดในใจ และอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงการกำเนิดของเสียง จากนั้นจึงค่อยๆ ฝึกให้ผู้ป่วยปรับตัวอยู่ร่วมกับเสียงกระตุ้นเหล่านั้นได้โดยไม่รู้สึกรำคาญ หรือผสมผสานการบำบัดด้วยเสียงโดยนักโสตสัมผัสวิทยาและการให้คำปรึกษาแบบประคับประคอง

Misophonia-โรคเกลียดเสียง

หรือหากมีอาการที่ยังไม่รุนแรง อาจลองเริ่มจากการหลีกเลี่ยงเสียงกระตุ้นเหล่านั้น โดยการใส่หูฟัง หรือใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังที่สร้างเสียงในหูที่คล้ายกับเสียงน้ำตก หรือเบี่ยงเบนความสนใจไปทำอย่างอื่น เช่น การพูดคุยกับเพื่อน การอ่านหนังสือ

 

 

แต่ถ้ารู้สึกว่าอาการเกลียดเสียงเริ่มจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์จะดีที่สุด

 

 

การรักษาอื่นๆ


         การใช้ชีวิตประจำวันก็มีบทบาทด้วยเช่นกัน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ และจัดการกับความเครียด การหลีกเลี่ยงเสียงรบกวน การอยู่ในพื้นที่เงียบสงบหรือจุดปลอดภัยในบ้านของคุณ โดยไม่มีใครส่งเสียงดังรบกวน

 

 

 


ยินดีให้คำปรึกษาปัญหาด้านการได้ยิน

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
เฟซบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
ไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

 

ขอบคุณข้อมูล : WebMD, Healthaddict, Gqthailand;ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์
ท่อยูสเตเชียน กับอาการเสียงดังในหู

 

ท่อยูสเตเชียน (Eustachian Tube) คืออะไร


      ท่อยูสเตเชียนเป็นท่อทางเดินขนาดเล็กและแคบ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลาง และโพรงหลังจมูก เมื่อใดก็ตามที่กลืน หาว หรือจาม ท่อยูสเตเชียนนี้จะเปิดออก วิธีนี้จะป้องกันไม่ให้ของเหลวและความดันอากาศถูกสร้างขึ้นภายในหู


 

ความสำคัญของท่อยูสเตเชียน

     ท่อยูสเตเชียน ทำหน้าที่ช่วยปรับความดันของหูชั้นกลางให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก เมื่อใดที่ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ จะทำให้เกิดอาการหูอื้อ ปวดหู มีเสียงดังในหู หรือเวียนศีรษะบ้านหมุนได้

 

 

ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ สาเหตุจาก


      ความผิดปกติของท่อยูสเตเชียน มักเกิดจากการอักเสบของท่อ ทำให้เมือกและของเหลวถูกสร้างขึ้น อย่างไรก็ตามการสะสมของของเหลวอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหวัดไข้หวัด ภูมิแพ้ หรือไซนัส

      และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงระดับความกดดันบรรยากาศอย่างรวดเร็ว เช่น ขึ้น-ลงลิฟท์ เร็วๆ เครื่องบินขึ้น-ลงเร็ว ดำน้ำโดยลดระดับเร็วเกินไป หรือแม้กระทั่งการเดินทางขึ้นภูเขา ทำให้เกิดอาการหูอื้อ ปวดหู มีเสียงดังในหู หรือเวียนศีรษะบ้านหมุน

 

วิธีการรักษา


  1. รับประทานยา ;- ยาแก้แพ้ (Anti-histamine, ยาหดหลอดเลือด (Oral decongestant  เช่น Pseudoephedrine) หรือ พ่นจมูกด้วยยาหดหลอดเลือด (Topical decongestant เช่น Ephedrine, Oxymetazoline) อาจร่วมกับการล้างจมูก
  2. ควรทำให้ท่อยูสเตเชียนทำงาน เปิด-ปิด ตลอดเวลา ;- เคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อให้มีการกลืนน้ำลายบ่อยๆ การทำ Toynbee maneuver  การทำ Valsalva maneuver
  1. กรณีทำ 2 วิธีดังกล่าวข้างต้น แล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจรักษาโดยวิธีผ่าตัด คือการเจาะเยื่อบุแก้วหู (myringotomy) เพื่อปรับความดันของหูชั้นกลางให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก และระบายของเหลวภายในหูชั้นกลาง (ถ้ามี) ในผู้ป่วยบางราย อาจต้องใส่ท่อ (myringotomy tube) คาไว้ที่เยื่อบุแก้วหู
  2. ควรป้องกันตนเองไม่ให้เป็นหวัด โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เช่น เครียด วิตก กังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ การสัมผัสอากาศที่เย็นมากเกินไป อากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือผู้ป่วยที่อาจแพร่เชื้อได้

 


หมายเหตุ ;-
    • การทำ Toynbee maneuver คือบีบจมูก 2 ข้าง และกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง และเอามือที่บีบจมูกออก และกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง 
    • การทำ Valsalva maneuver ซึ่งทำได้โดยให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าเต็มที่ และเอามือบีบจมูกไว้ ปิดปาก แล้วเบ่งลมให้อากาศผ่านทางจมูกที่ปิด อากาศจะผ่านไปที่ท่อยูสเตเชียน เข้าสู่หูชั้นกลาง และเอามือที่บีบจมูกออก และกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง ขณะที่เป็นหวัด หรือไซนัสอักเสบซึ่งมีการติดเชื้อในจมูก ไม่ควรทำวิธีนี้ เพราะจะทำให้เชื้อโรคในจมูก หรือไซนัส เข้าไปสู่หูชั้นกลางได้

 

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
1. ผศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน; ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
2. londonhearing

 

ช็อกโกแลตกับการได้ยิน

 

      อาหารแทบทุกชนิดล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของเรา ทุกคนรู้ว่านมดีต่อกระดูก และแครอทดีต่อสายตา แต่ใครจะรู้ว่าช็อกโกแลตดีสำหรับการได้ยิน

 

ช็อกโกแลต อาหารทรงคุณค่าแก่การได้ยิน


      ช็อกโกแลต (Chocolate) หนึ่งในผลิตผลที่มาจากเมล็ดโกโก้ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอลอย่างฟลาโวนอยด์ที่ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิต เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

       นอกจากนี้ในช็อกโกแลตยังมีสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง อย่างสารเซโรโทนิน โดพามีน ในการปรับสภาพอารมณ์และส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ช่วยลดภาวะอาการซึมเศร้าและความเครียดลงได้

 


ทีมนักวิจัย นำโดย Dr.Sang-Yeow Lee แพทย์หู คอ จมูก The Seoul National University Hospital ได้เผยแพร่งานวิจัยล่าสุด* ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients Journal เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 โดยเป็นการสำรวจของ Korean National Health and Nutrition Examination Survey กับประชากร 3,575 คน ที่มีอายุระหว่าง 40 – 64 ปี ในปี พ.ศ. 2555 – 2556 พบว่า…“อัตราการเกิดความบกพร่องทางการได้ยิน ทั้งเกิดในหูข้างเดียวหรือเกิดในหูทั้งสองข้าง ของผู้ที่รับประทานช็อกโกแลตต่ำกว่า ผู้ที่ไม่ได้รับประทานช็อกโกแลตอย่างมีนัยสำคัญ”

 

งานวิจัยยังพบว่า การรับประทานช็อกโกแลตเป็นประจำ อาจช่วยป้องกันผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนจากการเกิดความบกพร่องทางการได้ยินได้

 

       อย่างไรก็ตาม การบริโภคช็อกโกแลตควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น

 

 

ด้วยความห่วงใย

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6520725/
https://www.pobpad.com/
โฟลิก โฟเลต กับ การได้ยินในผู้สูงอายุ

 

โฟลิก หรือ โฟเลต เป็นวิตามินตัวเดียวกัน นั่นคือ วิตามินบี 9 เพียงแต่มีชื่อเรียกแตกต่างกัน โดย “โฟลิก” เป็นชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้น ส่วน “โฟเลต” เป็นชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ

 


Lucy Wills

 

โฟเลต (Folate) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 เมื่อ Lucy Wills รายงานว่า สารสกัดจากยีสต์สามารถรักษาภาวะโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติกในหญิงตั้งครรภ์ได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1941 สารนี้ได้ถูกพบในพืชผักอีกหลายชนิด เช่น ผักขม อัลฟาฟา จึงถูกเรียกว่า “โฟเลต” ซึ่งมาจากคำในภาษาลาตินว่า Folium หมายถึง ใบไม้ เมื่อเอ่ยถึงสารโฟเลต จึงทำให้นึกถึงใบไม้ ใบหญ้า ผักใบเขียว

 


 

โฟลิก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ควบคุมการทำงานของสมอง มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน และไม่ใช่แค่ลดโอกาสเสี่ยงการพิการแต่กำเนิดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการอ่อนเพลีย ป้องกันภาวะซีดหรือโลหิตจาง ป้องกันโรค NCDs และโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)

 

โฟลิก โฟเลต กับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลตหรือโฟลิกสูง  ทั้งนี้มีผลการวิจัยยืนยันว่า…

 

“การได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอประมาณ 800 ไมโครกรัมต่อวัน สามารถลดระดับของสารโฮโมซีสเตอีนได้ถึงร้อยละ 25 จึงสามารถชะลอการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุได้ (Homocysteine Lowering Trialists’ Collaboration, 1998)”

 

      สารโฮโมซีสเตอีนในเลือดเกิดจากการรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เป็นสารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หากมีมากเกินกว่าระดับที่ควรเป็นจะทำลายหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดที่อยู่ในสมอง รวมถึงหลอดเลือดที่เลี้ยงประสาทหู โดยจะมีผลทำให้หลอดเลือดดังกล่าวมีโอกาสตีบและอุดตันได้ง่ายกว่าที่ระดับของโฮโมซีสเตอีนในเลือดปกติ

 

รับประทานโฟลิกในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับวิตามินบี 6 และ บี 12 จะช่วยลดภาวะที่มีสารโฮโมซิสเทอีนเลือดสูง และลดความเสี่ยงโรคโลหิตจาง

 

ดังนั้น โฟลิก หรือโฟเลต มีความสำคัญในการรักษาระดับของโฮโมซีสเตอีนในเลือดไม่ให้สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น ลดโอกาสเสี่ยงจากผนังหลอดเลือดถูกทำลาย และยังมีส่วนช่วยในการชะลอการสูญเสียการได้ยิน

 

 

ปรึกษาทุกปัญหาการได้ยินและตรวจการได้ยิน ได้ที่

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai