Posts

2 เทคนิค ฟื้นฟูการฟัง หลังใส่เครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ

เทคนิค ฟื้นฟูการฟัง หลังจากใส่เครื่องช่วยฟังในผู้สูงอายุ จะช่วยให้ผู้สูงอายุคุ้นชินกับเสียง แยกแยะเสียงคำพูด เสียงสิ่งแวดล้อมและเสียงรบกวนได้ ทั้งนี้จะต้องฝึกฝน

4 เทคนิค ออกกำลังกาย ผู้มีปัญหาการได้ยิน และ ใส่เครื่องช่วยฟัง

ออกกำลังกาย ชะลอการเสื่อมลงของการสูญเสียการได้ยินได้ ผู้มีปัญหาการได้ยิน และผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง จะพบกับอุปสรรคในการออกกำลังกาย หากคุณต้องเข้าฟิตเนสร่วมกิจกรรมกลุ่มรับฟังเสียงเทรนเนอร์ เรามี 4 เทคนิคให้คุณนำไปปรับใช้

ใส่เครื่องช่วยฟัง วันละกี่ชั่วโมง

ใส่เครื่องช่วยฟัง วันละกี่ชั่วโมง การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟังในช่วงแรกจะต้องใช้เวลาในการปรับตัว เพื่อให้คุณคุ้นเคยกับเสียง เมื่อรู้สึกสบายแล้ว ควรพยายามใส่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

3 เทคนิค เริ่มต้น ใส่เครื่องช่วยฟัง ครั้งแรก

เมื่อคุณต้องเริ่มต้น ใส่เครื่องช่วยฟังเป็นครั้งแรก สิ่งที่คุณต้องเผชิญไม่ว่าเครื่องช่วยฟัง ราคาถูกหรือ เครื่องช่วยฟัง ราคาแพง ทุกคนล้วนต้องใช้เวลาในการปรับตัว

หูเสียสองข้าง ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง

กลไกการได้ยินของมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ การได้ยินทำให้เรารับรู้เสียงรอบตัวของเรา รับรู้มิติของเสียง และความสมดุล

การได้ยินไม่ได้เกิดขึ้นในหู แต่มันเกิดขึ้นในสมองของคุณ

       เสียงเดินทางผ่านหูของคุณ แก้วหูสั่นและทำให้กระดูกหูชั้นกลางเคลื่อนไหว เซลล์ขนเล็กๆ ภายในหูชั้นในจะเคลื่อนตัวขึ้นอยู่กับว่าเป็นเสียงต่ำ กลาง หรือสูง การเคลื่อนไหวเหล่านี้กระตุ้นเซลล์ประสาทในเส้นประสาทการได้ยินของคุณ จากนั้นสัญญาณจะข้ามไปยังอีกซีกหนึ่งของสมองส่วนการได้ยินของคุณ เพื่อตีความหมายว่าเป็นเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่นๆ

เมื่อคุณ สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง

       สมองของคุณต้องการข้อมูลที่ป้อนเข้ามาจากหูทั้งสองข้าง เพื่อแปรผลจากเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน 2 ข้าง แต่ใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว จะลดโอกาสการได้ยินและความเข้าใจของสมองลง 50 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งลดความสามารถในการรับรู้ความลึกและช่วงพื้นที่ที่คุณจะได้ยิน

Hearing

       เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง คุณจะได้ยินเสียงดีขึ้น ตอนนี้สมองรู้แล้วว่าจะเก็บข้อมูลใด และจะทิ้งข้อมูลใด ข้อมูลสำคัญจะเป็นเสียงพูด การสนทนา เพลง และเสียงที่มีความหมาย ข้อมูลที่ไม่สำคัญ เช่น เสียงรบกวนต่างๆ คุณจะได้ยินน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

       การได้ยินที่ดีขึ้นช่วยให้สมองทำสิ่งเหล่านี้ได้ หากคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง จะส่งสัญญาณที่เหมาะสมไปยังสมอง ให้แปรความหมายจากโทนเสียง และความถี่ต่างๆ ได้ และสามารถเติมเต็มในส่วนที่คุณอาจพลาดไป

หูเสียสองข้าง ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?

       เมื่อคุณพบว่าคุณมีการสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง และผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังได้แนะนำให้คุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น คุณมักมีคำถาม “ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ดีจริงหรือ?”

       หากคุณสูญเสียการได้ยินสองข้าง และนี่คือประโยชน์เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟัง

9 ประโยชน์ เพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น เมื่อ ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง

สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินสองข้าง


ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ได้ยินเสียงรบกวนลดลง

1. ได้ยินเสียงรบกวนลดลง

      หนึ่งในสาเหตุที่ผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังพบบ่อยที่สุด คือ การเข้าใจคำพูดในสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น ในร้านอาหาร

      การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ช่วยให้สมองประมวลผลเสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เน้นเสียงคำพูด และกรองเสียงรบกวนออก ความสามารถในการทำงานของสมองเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น หากคุณใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว

2. ลดอาการเหนื่อยล้า จากการฟัง

      การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้อาการเหนื่อยล้าจากการฟังลดลง เนื่องจากสมองมีข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการแปรความหมายของเสียงที่ได้ยินแล้ว ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว ต้องใช้พลังมากขึ้น ตั้งใจฟังมากขึ้น สมองต้องทำงานหนักเพื่อ “เติมคำในช่องว่าง” ให้กับคุณ

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ลดอาการเหนื่อยล้า จากการฟัง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ให้ความรู้สึกสมดุล ได้ยินเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น

3. ให้ความรู้สึกสมดุล ได้ยินเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น

        เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ข้อมูลของเสียงที่ได้ยินถูกป้อนอย่างสมดุลเข้าสู่หูทั้งสอง สมองจึงพึ่งพาหูแต่ละข้างอย่างเท่าเทียมกันในการฟัง ยิ่งสมองแปรผลและเข้าใจเสียงที่ได้ยินมากขึ้นเท่าใด คำพูดที่คุณได้ยินก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นเท่านั้น

4. รู้ทิศทางของเสียง

      หูสองข้าง ทำให้เราระบุที่มาได้ว่าเสียงมาจากทิศทางไหน เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง หูทั้งสองข้างทำงานร่วมกัน คลื่นเสียงจากหูทั้งสองข้างจะส่งไปยังสมอง เพื่อช่วยให้คุณระบุตำแหน่งที่มาของเสียง เช่น รู้ว่าเสียงไซเรนจากรถพยาบาล กำลังมาจากทิศทางไหนเมื่อคุณขับรถ

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง รู้ทิศทางของเสียง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ช่วงของการได้ยินเสียง กว้างขึ้นจาก 180◦ เป็น 360◦

5. การได้ยินเสียง มีช่วงกว้างขึ้นจาก 180 เป็น 360

      การได้ยินเสียงจากด้านใดด้านหนึ่งจะจำกัดปริมาณเสียงที่คุณได้ยินจากอีกด้านหนึ่ง ความเข้าใจเสียงของคุณจึงถูกจำกัด การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ทำให้คุณสามารถได้ยินเสียงอย่างชัดเจนจากทั้งสองทิศทาง คุณจะได้ยินเสียงง่ายขึ้นและได้ยินคนพูดคุยรอบตัวคุณ เพิ่มช่วงการได้ยินจาก 180 เป็น 360 องศาทีเดียว

6. เพิ่มความสามารถในการ “เลือกฟัง”

      เมื่อมีคนพูดคุยหลายคนพร้อมกัน เช่น ในร้านอาหาร การเข้าใจคู่สนทนาเป็นเรื่องลำบากมากหากคุณใส่เครื่องช่วยฟังในข้างเดียว เนื่องจากเสียงทุกเสียงจะเข้ามาที่หูข้างที่คุณใส่เครื่องช่วยฟัง เสียงทั้งหมดผสมผสานรวมกัน คุณจะไม่สามารถแยกเสียงคำพูดออกจากเสียงรบกวนรอบข้างได้เลย ความสามารถในการ “เลือกฟัง” จะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณได้ยินจากหูทั้งสองข้างเท่านั้น

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เพิ่มความสามารถในการเลือกฟัง
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง รองรับเสียงดังได้ดีขึ้น

7. รองรับเสียงดังได้ดีขึ้น

      หูแต่ละข้าง รองรับความดังของเสียงได้ในระดับหนึ่ง การได้ยินด้วยหูทั้งสองข้าง ทำให้เสียงดังที่เข้ามาถูกแบ่งระหว่างหูสองข้าง จึงทำให้คุณสามารถทนต่อเสียงดังในสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงตลอดวัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานในแต่ละวันของคุณได้ดีขึ้น

8. ประหยัดแบตเตอรี่

      เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เสียงที่ได้ยินจากหูทั้งสองข้างจะถูกส่งไปที่สมอง ซึ่งจะเพิ่มความดังตามธรรมชาติให้กับคุณ ทำให้การตั้งระดับความดังของเครื่องช่วยฟังไม่จำเป็นต้องดังมาก ในขณะที่การใส่เครื่องช่วยฟังข้างเดียว คุณต้องการความดังมากเพื่อชดเชยหูข้างที่ไม่ได้ยิน

ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง ประหยัดแบตเตอรี่
ใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง หูทั้งสองข้างแข็งแรง

9. หูทั้งสองข้างแข็งแรง

      หากคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้างและใส่เครื่องช่วยฟังในหูข้างเดียว คุณกำลังบังคับให้หูข้างเดียวทำงานสองข้าง คล้ายกับมีแขนที่อ่อนแอสองข้างที่ยกน้ำหนักด้วยแขนข้างเดียว หูข้างที่มีการสูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังจะอ่อนแอลง เนื่องจากสมองได้พึ่งพาหูข้างที่ใส่เครื่องช่วยฟังมากขึ้น เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อ หากคุณไม่ใช้มันคุณอาจสูญเสียมันไปได้ หากคุณสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้างควรได้รับการกระตุ้นของเสียงที่เข้ามาอย่างเพียงพอผ่านการใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อส่งเสริมให้คุณประสบความสำเร็จในการฟังในระยะยาว

พิจารณา การใส่เครื่องช่วยฟัง 2 ข้าง เมื่อคุณสูญเสียการได้ยินทั้งสองข้าง

ขอรับคำแนะนำการเลือกเครื่องช่วยฟัง บริการทดลองเครื่องช่วยฟัง

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง

 

การช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่ใส่เครื่องช่วยฟังเป็นครั้งแรก ให้ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟังอย่างที่ควรจะได้รับ

 

10 เทคนิค การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง ดังนี้

 

1. ให้เวลาตัวเอง


     ผู้มีประสบการณ์หลายท่านได้เปรียบเทียบการเริ่มใส่เครื่องช่วยฟัง ไม่เหมือนกับการเริ่มใส่แว่นสายตา ซึ่งการใส่แว่นสายตาคุณจะรู้สึกได้เลย ว่าภาพที่คุณมองเห็นนั้นคมชัดมากขึ้น

10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง      แต่ในกรณีของเครื่องช่วยฟัง  คุณอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัว อย่าคาดหวังให้สมองของคุณจะช่วยคุณให้ได้ยินชัดเจนและแยกแยะเสียงได้ดีเหมือนอย่างเคยในทันทีทันใด ให้เวลาตัวคุณคุ้นเคยกับการใส่เครื่องช่วยฟังในช่วง 2 – 3 วันแรกหรือสัปดาห์แรก ก่อนที่คุณจะรู้สึกสบายขึ้น

       เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังวันแรก ให้คุณเริ่มต้นโดยการนั่งในบริเวณที่เงียบๆ ของบ้านก่อน ในสภาพแวดล้อมที่เงียบนี้ คุณจะมีโอกาสเริ่มทำความคุ้นเคยกับเสียงใหม่ๆ และอาจพบว่าเสียงบางเสียงดังเกินไปในครั้งแรก เช่น เสียงเครื่องปรับอากาศทำงาน เสียงนาฬิกาเดิน เสียงเตือนของเครื่องไมโครเวฟ หรือเสียงกดชักโครก นั่นเป็นเพราะว่าคุณไม่ได้ยินมานานมากแล้ว หรืออาจไม่เคยได้ยินมาก่อน การได้ยินเสียงเหล่านี้ดังถือว่าปกติ เนื่องจากสมองของคุณกำลังกลับมาเรียนรู้ และทำความคุ้นเคยกับเสียง

 

 

2. เริ่มใส่เครื่องช่วยฟังระยะเวลาสั้นๆ ก่อน


10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง

     การฝึกให้สมองของคุณเกิดทักษะในการฟังกลับมา จำเป็นต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน “เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟังครั้งแรกให้เริ่มใส่ วันละ 2 – 3 ชั่วโมงก่อน และถอดออกเมื่อคุณรู้สึกเหนื่อยหรือถูกรบกวนจากเสียงมากเกินไป” ให้คุณพยายามเพิ่มชั่วโมงในการใส่ให้ได้นานขึ้น และควรใส่ทุกวัน เมื่อคุณสามารถใส่ได้นานขึ้น คุณจะสามารถแยกแยะเสียงต่างๆ แปลความหมายของเสียงพูด และโฟกัสกับสิ่งที่คุณได้ยินมากขึ้นตามไปด้วย

 

 

3. อ่านดังๆ


10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง     ก่อนที่คุณจะใส่เครื่องช่วยฟัง  คุณอาจได้ยินคู่สนทนาบอกกับคุณว่า “คุณพูดเสียงดังเกินไป” ซึ่งนั่นถือเป็นเรื่องปกติของ “ผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน”

     และเมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว คุณเองก็จะสามารถควบคุมระดับความดังของเสียงคำพูดของคุณได้ ซึ่งเทคนิคการควบคุมระดับความดังของเสียงง่ายๆ ก็คือ “การอ่านหนังสือหรือนิตยสาร แบบออกเสียง” การที่คุณได้ยินเสียงอ่านหนังสือของคุณเอง นอกจากจะช่วยให้คุณควบคุมระดับความดังของเสียงของคุณได้แล้ว ยังจะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะการฟังเสียงพูด สร้างความคุ้นเคยเมื่อคุณได้สนทนากับผู้อื่นอีกด้วย

 

 

4. พยายามอ่านและฟังควบคู่กันไปเสมอ


10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง     ทุกครั้งที่คุณชมภาพยนตร์จากโทรทัศน์ที่มีคำบรรยายใต้ภาพ “ให้คุณอ่านคำบรรยายใต้ภาพโดยไม่ต้องออกเสียงตามไปด้วยขณะที่คุณฟังภาพยนตร์” เทคนิคนี้จะช่วยให้สมองของคุณกลับมาคุ้นเคยกับเสียงพูดและเสียงต่างๆ เสียงพูด ที่คุณได้ยินจากภาพยนตร์ การฝึกฝนเช่นนี้ จะช่วยให้คุณปรับตัวเข้ากับเครื่องช่วยฟังได้รวดเร็วขึ้น

 

 

5. พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น


10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง     สมาชิกในครอบครัวและคนที่คุณรัก มีส่วนช่วยคุณอย่างมากในการปรับตัว เมื่อคุณเริ่มใส่เครื่องช่วยฟัง คุณจะรู้สึกสบายใจเมื่อได้คุยกับคนที่คุ้นเคย เสียงที่คุณคุ้นเคย

     เทคนิคนี้จะช่วยให้สมองของคุณกลับมาเรียนรู้การเชื่อมโยงระหว่างเสียงพูดกับภาษากาย เช่น การใช้สายตา การเคลื่อนไหวของมือ รอยยิ้ม โทนเสียงและท่วงท่า คุณจะสามารถใช้ประสบการณ์เหล่านี้ในการสนทนากับคนอื่นๆ ที่คุณพบเจอได้

 

 

6. จดบันทึกสถานการณ์ที่คุณมีปัญหาการฟัง


10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง     จดบันทึกสถานการณ์ และเสียงที่ทำให้คุณรู้สึกรำคาญ หรือสถานการณ์ที่คุณยังคงฟังการสนทนาได้ไม่ชัดเจน และนำมาเล่าให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังในวันนัดติดตามผลการใช้เครื่องช่วยฟังของคุณ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับเสียงเครื่องช่วยฟังให้กับคุณ

 

 

7. เข้าใจข้อจำกัดของเครื่องช่วยฟัง


10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง     เสียงพูดที่ได้ยินผ่านโทรศัพท์ แม้แต่โทรศัพท์ที่ดีที่สุด ก็แตกต่างจากเสียงพูดปกติ เสียงที่คุณได้ยินจากเครื่องช่วยฟังก็เช่นเดียวกัน แน่นอนว่าเสียงที่คุณได้ยินผ่านเครื่องช่วยฟังเป็นเสียงที่แตกต่างไปจากเสียงที่คุณเคยได้ยินมาก่อนที่คุณจะมีความบกพร่องทางการได้ยิน

     อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในปัจจุบันก็ยังมีส่วนช่วยทำให้คุณได้ยินเสียงต่างๆ และสามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้ ถึงแม้เสียงที่ได้ยินจะไม่เหมือนเดิมก็ตาม

 

 

8. อย่าปรับความดังขึ้นลงบ่อยๆ


10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง

     เทคโนโลยีของเครื่องช่วยฟังพัฒนาไปมากในปัจจุบัน เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง มีชิปคอมพิวเตอร์ที่ชาญฉลาด ทำหน้าที่ปรับระดับการขยายเสียง หรือลดเสียงให้คุณตามสภาพแวดล้อมอย่างอัตโนมัติ เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังครั้งแรก คุณมีแนวโน้มที่จะปรับระดับเสียงลดลงเมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์อึกทึก หรือปรับลดเสียงลงเมื่อคุณกำลังเดินเข้าห้องสมุดหรือคุณอาจจะอยากทดลองเร่งความดังเพื่อฟังเสียงที่อยู่ไกลๆ ซึ่งแม้แต่คนที่มีการได้ยินปกติก็ไม่สามารถได้ยิน การปรับเสียงขึ้นลงบ่อยๆ เช่นนี้ อาจทำให้ระบบอัตโนมัติของเครื่องรวนได้

 

 

9. มีความคาดหวังที่เหมาะสม


10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง     ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของการใส่เครื่องช่วยฟังที่คุณควรตระหนัก และไม่ควรเปรียบเทียบตัวคุณกับผู้อื่นนั้น มีอยู่หลายปัจจัย เช่น การเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับความบกพร่องของการได้ยิน เทคโนโลยีของเครื่องช่วยฟัง คุณภาพของเครื่องช่วยฟัง การฝึกฝนการฟังขณะใส่เครื่องช่วยฟัง ไลฟ์สไตล์ สภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตประจำวัน ระยะเวลาหรืออายุที่เริ่มสูญเสียการได้ยินจนถึงเวลาที่คุณใส่เครื่องช่วยฟัง สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน โรคประจำตัว รูปแบบการสูญเสียการได้ยิน และการยืดหยุ่นของการทำงานของสมอง เป็นต้น

 

 

10. หาผู้เชี่ยวชาญเครื่องช่วยฟังที่คุณไว้ใจ


10-เทคนิค-การเริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟัง     การปรับเสียงให้กับเครื่องช่วยฟังของคุณเป็นกระบวนการระยะยาวและต่อเนื่อง การเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจว่าจะสนับสนุน ช่วยเหลือ เข้าใจ และร่วมกันแก้ปัญหาที่คุณพบ เคียงข้างคุณในแต่ละขั้นตอนของการปรับตัว พร้อมปรับเสียงเครื่องช่วยฟังของคุณ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่ท้าทายเมื่อคุณมีประสบการณ์การฟังที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง และมีความสุขกับการได้ยินมากเท่าที่คุณต้องการ

 

 

 


ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ เราพร้อมให้คำปรึกษาด้านเครื่องช่วยฟัง
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai


ที่มา : www.houseofhearing.ca
การได้ยิน เชียงใหม่ ชีวิต

      เชื่อหรือไม่ “การได้ยิน” มีความสำคัญในลำดับต้นๆ รองลงมาจาก “การมองเห็น” แต่หลายคนที่กำลังมีปัญหาการได้ยิน หรือหูตึง กลับชะล่าใจไม่ยอมไปพูดคุยกับนักแก้ไขการได้ยินหรือแพทย์ ไม่กล้าใส่เครื่องช่วยฟัง เพราะพวกเขายังไม่ทราบว่าการสูญเสียการได้ยินสร้างผลกระทบด้านอื่นในชีวิตมากอย่างไร

 

      ผลการวิจัยของ National Council on the Aging ในประเทศสหรัฐอเมริกา จากจำนวนคนที่มีปัญหาการได้ยิน 2,000 ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า…

 

การใส่เครื่องช่วยฟัง

สามารถช่วยให้คุณภาพภาพชีวิตพวกเขาดีขึ้นในหลายด้าน ดังนี้


  • มีความมั่นใจมากขึ้น
  • พูดคุย สื่อสารง่ายขึ้น
  • ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้น
  • อารมณ์ดี นิ่งสงบมากขึ้น
  • สภาพจิตใจดีขึ้น
  • สุขภาพองค์รวมดีขึ้น
  • กล้าออกสังคมมากขึ้น

 

การใส่เครื่องช่วยฟัง

ยังช่วย ลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้


  • การทำตัวแปลกแยก ออกห่างจากสังคม
  • อารมณ์หงุดหงิดกับคนรอบข้าง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ภาวะจิตบกพร่อง หวาดระแวง
  • ความเครียด
  • ไม่มั่นใจ มองตัวเองในแง่ลบ

 

      หากคุณหรือคนใกล้เคียง กำลังมีปัญหาการได้ยินหรือหูตึง ควรรีบพบนักแก้ไขการได้ยิน (Audiologist) หรือแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษาและลองใส่เครื่องช่วยฟัง

 

เพราะไม่ใช่แค่ “การได้ยิน” จะดีขึ้น แต่คุณกำลังจะได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053271533, 0890537111
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/hearingchiangmai
คุยไลน์: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai