Posts

อันตรายของเสียง ผลกระทบ สูญเสียการได้ยิน หูตึง วัยทำงาน

อันตรายของเสียง ผลกระทบมากกว่าที่คุณคิด หากคุณต้องสัมผัสกับเสียงดังเป็นระยะเวลานานๆ นอกจากเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึงแล้ว ยังเสี่ยงกับปัญหาด้านอื่นๆ อีกด้วย

4 วิธีการรับมือ ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน

       ขึ้นชื่อว่า “ผู้สูงอายุ” ก็จะมาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บสารพัด ใดๆ เลย การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ แต่เหล่าสูงวัยเองก็มักหนีไม่พ้น หูเอย ตาเอย แขนขาเอย โดยเฉพาะหู ที่เริ่มจะไม่ได้ยินหรือหูตึงนั่นเอง แล้วจะมีวิธีการรับมือหูตึงในวัยสูงอายุนี้ได้อย่างไร?  

ผู้สูงอายุ หูตึง ผลกระทบมากกว่าที่คิด


       ไม่ว่าใครก็ตาม เมื่อต้องเผชิญกับภาวะสูญเสียการได้ยิน หูไม่ได้ยิน หรือ หูตึง มักจะรู้สึกว่าการสื่อสารกับผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หรือน่าอึดอัดใจ

       โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับอาการหูไม่ค่อยได้ยิน ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนโดนแยกออกจากโลกภายนอก รู้สึกซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในด้านอื่นได้อีกด้วย

หูตึง ประสาทหูเสื่อม ตามอายุ

      ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุ หรือประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) เป็นอาการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในหูชั้นใน ความเสื่อมจะกระทบไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นความถี่ช่วงเสียงพูด ทำให้เริ่มฟังไม่ชัดเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือด เป็นต้น

“สูงวัย อย่างมีความสุข” ได้อย่างไร?

ดูแลผู้สูงอายุ

       มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่มีการสูญเสียการได้ยิน ทั้งที่ยอมรับตัวเองได้ และยังไม่ยอมรับตัวเองว่าหูไม่ได้ยิน การยอมรับตัวเองได้เร็ว และหาอุปกรณ์ช่วย จะเป็นผลดีต่อตัวผู้สูงอายุเอง

ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน

เรียนรู้ 4 วิธีการรับมือ สำหรับผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว

1. ลูกหลานควรเห็นอกเห็นใจ และผู้สูงอายุต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง

       การดูแลหรือพูดคุยกับผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยินหรือหูตึง อาจทำให้ลูกหลานรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าใจได้ในครั้งเดียวที่พูดด้วย แต่เชื่อเถอะว่าคนที่รู้สึกอึดอัดใจมากกว่า ก็คือตัวผู้สูงอายุเอง ที่ต้องสูญเสียความสามารถทางการได้ยิน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกับผู้สูงอายุแล้วท่านไม่เข้าใจ ลองเปลี่ยนวิธีการพูดหรือเปลี่ยนประโยคพูดใหม่ อย่าพูดจบแล้วเดินหนี เพราะท่านอาจคิดมาก น้อยใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่สำคัญกับคนในครอบครัว

       ตัวผู้สูงอายุเองก็ควรพูดหรือโต้ตอบไปตามที่ตนเองเข้าใจ อย่าคิดมากและอย่ากลัวที่จะพูด การพูดโต้ตอบเพื่อกระตุ้นให้สมองได้ทำงานบ้าง หยุดเครียดคิดมากวิตกกังวลและใช้ชีวิตให้มีความสุข ทำความเข้าใจและยอมรับว่าร่างกายของตนนั้นเสื่อมถอยลงตามอายุ และอารมณ์ที่แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือน้อยใจ 1 วัน หลากหลายอารมณ์นั่นก็เพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

2. ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง ลูกหลานต้องมีความอดทน

ผู้สูงอายุต้องยอมรับตัวเอง และลูกหลานต้องมีความอดทน

       การยอมรับว่าตนเองหูไม่ได้ยิน หรือสูญเสียความสามารถทางการได้ยินไปเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการเสื่อมของประสาทการได้ยินที่ค่อยๆ เสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว และคิดว่าตนเองไม่ได้มีปัญหาการได้ยิน
       ลูกหลานหรือคนในครอบครัวจำเป็นต้องสื่อสารกับท่านด้วยความอดทน พยายามพูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในขณะเดียวกันต้องพยายามให้ท่านได้รับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ท่านได้ยิน เพื่อรอวันที่ท่านพร้อมจะเปิดใจรับความช่วยเหลือ

3. ผู้สูงอายุควรหากิจกรรมทำ ลูกหลานส่งเสริมความมีคุณค่าให้กับผู้สูงอายุ

       มีผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอารมณ์ของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความคิดในแง่ลบต่างๆ หรือความอึดอัดที่ทำให้หงุดหงิดง่าย

       ดังนั้น ผู้สูงอายุควรหากิจกรรม หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบทำ เพื่อลดความเครียด วิตกกังวล เช่น การเดินออกกำลังกาย ปลูกผัก รดน้ำต้นไม้ หรือพบปะเพื่อนฝูง และลูกหลานควรทำความเข้าอกเข้าใจกับอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญในแต่ละวัน จะทำให้เราเข้าใจการแสดงออกของท่านได้มากขึ้น หมั่นหากิจกรรมทำร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว

4. คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ

คำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอ-

      เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ค่อยได้ยิน ให้พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ พูดช้าๆ และทำรูปปากให้ชัดเจนเพื่อที่อย่างน้อยท่านจะได้สามารถอ่านปาก ประกอบเสียงที่ได้ยินได้บ้าง

      ผู้สูงอายุจะจำได้ไม่ดีเท่าคนที่อายุน้อย เพราะเกิดจากความเสื่อมและความช้าของสมองในการรับรู้และประมวลผล

      การแก้ปัญหาหูไม่ได้ยิน หูตึง ในผู้สูงอายุ

      อาการหูตึงในผู้สูงอายุ หรือการที่ประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัยนั้นเป็นภาวะความเสื่อมของอวัยวะ การช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วยฟังถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงจากผู้พูด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยินอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ผู้สูงอายุ หูตึง หูไม่ได้ยิน ใส่เครื่องช่วยฟัง

      อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวของผู้ร่วมสนทนาหรือผู้พูดที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของอาการหูตึงในผู้สูงอายุและพยายามปรับการพูด เพื่อให้ผู้สูงอายุทำความเข้าใจบทสนทนาระหว่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยหลักการพูดเมื่อต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ได้ยิน มีดังนี้

• พยายามพูดในที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน หรือลดเสียงรบกวนรอบข้างระหว่างการพูดคุย
• พูดออกเสียงช้าๆ ชัดๆ พูดคำให้ครบ ไม่พูดงึมงำในคอ และตรวจสอบว่าผู้สูงอายุท่านเข้าใจ
• ใช้ท่าทางมือและสีหน้าประกอบในการสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร

อินทิเม็กซ์ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ให้มีสุขภาพการได้ยินที่ดีไปพร้อมกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

intimex อินทิเม็กซ์

ปรึกษาการได้ยินในผู้สูงอายุ

บริการทดสอบการได้ยิน ทดลองเครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : hearingchiangmai
Line : @hearingchiangmai

อาการสูญเสียการได้ยินในเด็ก

 

     การสูญเสียการได้ยินในเด็ก มักจะตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองการได้ยินของทารกแรกเกิดหลังคลอด (OAE) ประมาณ 2 วัน และพ่อแม่บางรายอาจตรวจพบการสูญเสียการได้ยินของลูกในภายหลังได้

 

สาเหตุการสูญเสียการได้ยินของทารก

     การสูญเสียการได้ยินของทารก ส่วนใหญ่มีสาเหตุ 3 ประการ


1. การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
2. ผลข้างเคียงที่เป็นพิษจากยา
3. พันธุกรรม (50 – 60 % ของกรณีการสูญเสียการได้ยินของทารก ตามรายงานของ CDC หลายครั้งที่เด็กที่สูญเสียการได้ยินเกิดจากยีนด้อยในพ่อแม่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน โรคเหล่านี้บางโรคอาจถูกตรวจพบโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมในระหว่างตั้งครรภ์)

 

อาการสูญเสียการได้ยิน ในเด็ก

     หากพบพฤติกรรมดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าลูกของคุณอาจมีปัญหาการได้ยิน


Baby and hearing

  • พัฒนาการด้านการพูดและภาษาล่าช้า
  • เด็กไม่สะดุ้ง เมื่อมีเสียงดัง
  • เด็กไม่สามารถระบุตำแหน่งของเสียงได้
  • ผลงานไม่ดีในโรงเรียน
  • ปัญหาพฤติกรรมในโรงเรียน
  • การวินิจฉัยความบกพร่องทางการเรียนรู้

โปรดหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยเป็นไปตาม พัฒนาการแต่ละช่วงวัย หรือไม่

 

 

การตรวจคัดกรองการได้ยิน

ทารกแรกเกิด เด็กเล็ก


     การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารก หรือเด็กเล็ก สามารถตรวจได้ในสถานพยาบาลที่มีแผนกหู คอ จมูก และวิธีที่นิยมตรวจ มีดังนี้

     Otoacoustic emissions (OAE) การวัดการตอบสนองของทารกที่มีต่อเสียง โดยวัดเสียงสะท้อนของหูชั้นในแต่ละข้าง

     – Auditory Brainstem Response (ABR) การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง วัดว่าประสาทหูตอบสนองต่อเสียงอย่างไรผ่านขั้วไฟฟ้าขนาดเล็กที่วางอยู่บนศีรษะของทารก ตรวจในขณะที่ทารกหลับ

หมายเหตุ : ลูกน้อยของคุณจะได้รับการตรวจแบบ ABR ก็ต่อเมื่อการตรวจ OAE ไม่ผ่าน

 

 

เมื่อตรวจพบว่า ลูกมีการสูญเสียการได้ยิน

ควรทำอย่างไร?


 

      การสูญเสียการได้ยินถาวรไม่สามารถกู้คืนได้ และมักจะเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดจากประสาทหูหรือเซลล์ขนเล็กๆ ของหูชั้นใน สำหรับคนส่วนใหญ่ ทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดคือ การใส่เครื่องช่วยฟังอย่างเหมาะสม และในบางกรณี อาจแนะนำการผ่าตัดประสาทหูเทียม

kid-playing

 

      การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดเป็นวิธีที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาในระยะแรก หากสามารถวินิจฉัยการสูญเสียการได้ยินและดำเนินการรักษาภายใน อายุ 6 เดือน จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูด ภาษา อารมณ์และสังคมอย่างเหมาะสม

 

 

      การสูญเสียการได้ยินในเด็ก ไม่ว่าจะทั้งสองข้างหรือข้างเดียว ในระดับเล็กน้อยหรือระดับรุนแรง มีผลต่อพัฒนาการทางภาษาที่ช้ากว่าเด็กที่มีการได้ยินปกติ โดยเฉพาะทักษะการฟังและแยกเสียง รวมถึงทักษะในการรับรู้ และแสดงออกของภาษา เพราะฉะนั้นการได้ยินในวัยเด็ก จึงสำคัญ

 

 

      หากคุณสงสัยว่า บุตรหลาน หรือคนใกล้ชิดสูญเสียการได้ยิน โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินหรือนักโสตสัมผัสวิทยาใกล้บ้านคุณ ยิ่งคุณได้รับการรักษาเร็วเท่าไหร่ ผลลัพธ์ของคุณก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ เด็กพัฒนาการช้า พูดช้า เด็กไม่พูด

ปรึกษาด้านพัฒนาการเด็ก ลูกไม่พูด พูดช้า ปัญหาพฤติกรรมเด็ก

 

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่ ยินดีให้คำปรึกษาด้านการได้ยิน
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook : m.me/hearingchiangmai
Line : line.me/ti/p/%40hearingchiangmai

 


ขอขอบคุณข้อมูล : healthyhearing.com, หนังสือคำแนะนำการคัดกรอง การได้ยินในทารกแรกเกิดของประเทศไทย [หน้า 14, 2562] 

 

ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน

 

หู คือ อวัยวะในการรับฟังเสียง

ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน

 

       การเสื่อมของประสาทหูเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย โดยส่วนใหญ่แล้วมักพบในวัยสูงอายุ สำหรับโรคประสาทหูเสื่อม ชนิดเฉียบพลัน หรือ โรคหูดับฉับพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของประสาทหูชั้นใน เกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ระดับการได้ยินลดลงอย่างรวดเร็ว บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเสียงดังในหู (เสียงจั๊กจั่น จิ้งหรีด) หูอื้อ เวียนศีรษะ อาเจียน เสียการทรงตัว เป็นต้น

 

ประสาทหูเสื่อม ชนิดเฉียบพลัน แบ่งได้ 2 สาเหตุ ดังนี้


แบบไม่ทราบสาเหตุ

  1. การติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหัดเยอรมัน งูสวัด คางทูม ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ
  2. การอุดตันของหลอดเลือดที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงหูชั้นใน
  3. การรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าไปยังหูชั้นกลาง เช่น การสั่งน้ำมูก/ไอ แบบรุนแรง

แบบทราบสาเหตุ

  1. การบาดเจ็บ เช่น ศีรษะกระแทก การผ่าตัดหู ความดันชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลง
  2. เนื้องอก
  3. การติดเชื้อของหูชั้นใน เช่น การอักเสบ
  4. สารพิษ/พิษจากยา เช่น ยาแอสไพริน ยาขับปัสสาวะ ยาบางชนิดอาจทำให้ประสาทหูเสื่อมอย่างถาวร เช่น ยาต้านจุลชีพกลุ่ม อะมิโนไกลโคไซด์ (สเตรปโตมัยซิน กานามัยซิน เจนตามัยซิน นีโอมัยซิน อะมิกาซิน) อาจเกิดทันทีหลังจากการใช้ยา หรือหลังจากหยุดยาไประยะหนึ่งแล้ว
  5. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

 

ขั้นตอนการรักษาประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน


       ในกรณีผู้ป่วยที่ทราบสาเหตุ แพทย์จะทำการรักษาโดยให้ยารักษาตามอาการ และกรณีผู้ป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วใน 2 สัปดาห์แรก หลังจากมีอาการ และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยสามารถกลับมาได้ยินเป็นปกติได้ (ส่วนใหญ่การได้ยินมักจะดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกของการสูญเสียการได้ยิน)

       แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยตรวจวัดระดับการได้ยินเป็นระยะๆ เพื่อประเมินผลการรักษา และอาจนัดติดตามผู้ป่วยในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยบางรายไม่ทราบสาเหตุ อาจพบสาเหตุในภายหลังได้

 

นอกจากนั้นผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น

โดย;-

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดัง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด ควรควบคุมโรคให้ดี
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น แอสไพริน อะมิโนไกลโคไซด์ ควินิน
  • หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
  • ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน) งดสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล
  • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ

 

ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ และแนวทางการรักษาโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน

 

 

 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน เราพร้อมให้คำปรึกษา

ศูนย์สุขภาพการได้ยินอินทิเม็กซ์ เชียงใหม่
โทร: 053-271533, 089-0537111
Facebook: m.me/hearingchiangmai
Line: line.me/ti/p/%40hearingchiangmai